วานนี้ ( 17 ก.ค.) ศาลปกครองกลางอออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรกในคดีที่ นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ยื่นฟ้องรมว.คมนาคม อธิบดีกรมทางหลวง บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ จำกัด และคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-4 กรณี ขอให้เพิกถอนมติครม. ที่ขยายเวลาอายุสัมปทานการลงทุนทางยกระดับอุตราภิมุข จาก 25 ปี เป็น 27 ปี พร้อมเพิกถอนบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอนดินแดง–ดอนเมือง ฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 ก.ย. 50 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.52 –วันที่ 21 ธ.ค.57 ที่มีผลให้ปรับอัตราค่าผ่านทางยกระดับอุตราภิมุขใหม่ ช่วงดินแดง–ดอนเมือง–อนุสรณ์สถาน (ดอนเมืองโทล์ลเวย์) ของบริษัททางยกระดับดอนเมืองฯ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.52–วันที่ 21 ธ.ค.57
โดยการออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกนี้ คณะตุลาการได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนของคู่กรณีแถลงด้วยวาจาต่อศาลเพิ่มเติม โดยตัวแทนผู้ถูกฟ้อง ได้แถลงต่อศาลยืนยันว่า การเสนอปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไปตามข้อสัญญา ขณะที่การให้บริการเส้นทางใด เป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาล จากนั้นนายชยิน แสงจันทร์ ตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงความเห็นส่วนตัวที่มีต่อคดี แต่ไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาคดีขององค์คณะว่า เห็นควรให้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาเป็นไปตามข้อบันทึกในสัญญาสัมปทานแล้ว ไม่ขัดต่อสัญญา ซึ่งผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการประสานงานที่มีอัยการสูงสุด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา และมีอำนาจพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการร่วมทุนรัฐและเอกชน พ.ศ. 2535 ขณะที่หากผู้ฟ้องและประชาชนเห็นว่าค่าผ่านทางสูงเกินความจำเป็น ก็สามารถที่จะใช้บริการเส้นทางจราจรวิภาวดี ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่รัฐได้ให้บริการเส้นทางปกติไว้แล้ว
ทั้งนี้ เมื่อตุลาการผู้แถลงคดี เสนอความเห็นต่อองค์คณะแล้ว องค์คณะฯได้แจ้งคู่ความว่า หลังจากนี้จะกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา และแจ้งให้คู่ความทราบนัดต่อไป
โดยการออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกนี้ คณะตุลาการได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนของคู่กรณีแถลงด้วยวาจาต่อศาลเพิ่มเติม โดยตัวแทนผู้ถูกฟ้อง ได้แถลงต่อศาลยืนยันว่า การเสนอปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไปตามข้อสัญญา ขณะที่การให้บริการเส้นทางใด เป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาล จากนั้นนายชยิน แสงจันทร์ ตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงความเห็นส่วนตัวที่มีต่อคดี แต่ไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาคดีขององค์คณะว่า เห็นควรให้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาเป็นไปตามข้อบันทึกในสัญญาสัมปทานแล้ว ไม่ขัดต่อสัญญา ซึ่งผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการประสานงานที่มีอัยการสูงสุด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา และมีอำนาจพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการร่วมทุนรัฐและเอกชน พ.ศ. 2535 ขณะที่หากผู้ฟ้องและประชาชนเห็นว่าค่าผ่านทางสูงเกินความจำเป็น ก็สามารถที่จะใช้บริการเส้นทางจราจรวิภาวดี ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่รัฐได้ให้บริการเส้นทางปกติไว้แล้ว
ทั้งนี้ เมื่อตุลาการผู้แถลงคดี เสนอความเห็นต่อองค์คณะแล้ว องค์คณะฯได้แจ้งคู่ความว่า หลังจากนี้จะกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา และแจ้งให้คู่ความทราบนัดต่อไป