ปัจจัยลบรุมเร้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.ลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 คาดยังชะลอตัวต่อเนื่อง เหตุคนกังวลปัญหาการเมือง เศรษฐกิจโลก และอำนาจซื้อหดตัว แนะรัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในด่วน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2556ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เพราะมีปัจจัยลบหลายอย่างบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2556 อยู่ที่ระดับ 81.6 ลดจากเดือนพ.ค.ที่ 82.5 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 64 ลดลงจาก 65 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 87.3 ลดลงจาก 88.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 71.8 ลดจาก 72.8 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 73.5 ลดจาก 74.4 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 99.3 ลดจาก 100.4
ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับที่ 100
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง มีปัจจัยจากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือ 4.5% จากเดิม 5.3% ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้รัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวข้องเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าลงเหลือตันละ 12,000 บาทจากเดิม 15,000 บาท ในช่วงที่ทำการสำรวจ ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐฯ ประกาศลดวงเงินในมาตรการผ่อนคลายการเงิน (คิวอี) ในช่วงปลายปีนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือนมิ.ย.ลดลง 110.17 จุด, การส่งออกของไทยเดือนพ.ค.ลดลง 5.2% และขาดดุลการค้าสูงถึง 2,304.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ความกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยในอนาคต ความไม่สงบใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง
”ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงขาลง ปัจจัยลบที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความกังวลปัญหาการเมืองในประเทศ การชุมนุมประท้วง ห่วงการยุบสภา รองลงมาเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจกระทบต่อการผลิต การส่งออก และการจ้างงาน ทำให้ประชาชนไม่มีอำนาจซื้อ เพราะราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เห็นได้จากผลสำรวจภาวการณ์ใช้จ่ายของประชาชน ที่ยังเห็นว่า ความเหมาะสมในการซื้อบ้าน รถยนต์ ท่องเที่ยว ลดลง” นายธนวรรธน์กล่าว
+++อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ในช่วงขาลงไปจนถึงไตรมาส 3 เพราะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น ขณะที่การผลิต การส่งออก และการท่องเที่ยว อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก รัฐบาลต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อ ซึ่งการชะลอการปรับขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี)ไปจนถึงเดือนก.ย.นี้ จะทำให้ไม่เกิดผลลบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค และต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังค้างอยู่โดยเร็ว เพื่อช่วยพยุงการจ้างงาน รวมถึงต้องสนับสนุนการท่องเที่ยว และการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ยังคาดว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 4-4.5% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2556ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เพราะมีปัจจัยลบหลายอย่างบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.2556 อยู่ที่ระดับ 81.6 ลดจากเดือนพ.ค.ที่ 82.5 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 64 ลดลงจาก 65 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 87.3 ลดลงจาก 88.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 71.8 ลดจาก 72.8 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 73.5 ลดจาก 74.4 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 99.3 ลดจาก 100.4
ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับที่ 100
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง มีปัจจัยจากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือ 4.5% จากเดิม 5.3% ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้รัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวข้องเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าลงเหลือตันละ 12,000 บาทจากเดิม 15,000 บาท ในช่วงที่ทำการสำรวจ ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐฯ ประกาศลดวงเงินในมาตรการผ่อนคลายการเงิน (คิวอี) ในช่วงปลายปีนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เดือนมิ.ย.ลดลง 110.17 จุด, การส่งออกของไทยเดือนพ.ค.ลดลง 5.2% และขาดดุลการค้าสูงถึง 2,304.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ความกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยในอนาคต ความไม่สงบใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง
”ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงขาลง ปัจจัยลบที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความกังวลปัญหาการเมืองในประเทศ การชุมนุมประท้วง ห่วงการยุบสภา รองลงมาเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจกระทบต่อการผลิต การส่งออก และการจ้างงาน ทำให้ประชาชนไม่มีอำนาจซื้อ เพราะราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เห็นได้จากผลสำรวจภาวการณ์ใช้จ่ายของประชาชน ที่ยังเห็นว่า ความเหมาะสมในการซื้อบ้าน รถยนต์ ท่องเที่ยว ลดลง” นายธนวรรธน์กล่าว
+++อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ในช่วงขาลงไปจนถึงไตรมาส 3 เพราะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น ขณะที่การผลิต การส่งออก และการท่องเที่ยว อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก รัฐบาลต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อ ซึ่งการชะลอการปรับขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี)ไปจนถึงเดือนก.ย.นี้ จะทำให้ไม่เกิดผลลบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค และต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังค้างอยู่โดยเร็ว เพื่อช่วยพยุงการจ้างงาน รวมถึงต้องสนับสนุนการท่องเที่ยว และการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ยังคาดว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 4-4.5% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5%