ASTV ผู้จัดการรายวันหุ้นไทยลบ 20 จุด ข่าวลบจากต่างแดนรุมกดดัน ทั้งการปรับเครดิตแบงก์ในยุโรป ความรุนแรงที่อียิปต์ ส่วนในประเทศ การลดเป้าจีดีพีส่อฉุดกำไรบริษัทจดทะเบียน ล่าสุดต่างชาติขาย 3 พันล้าน พบกลุ่มแบงก์กอดคอร่วงหนัก BBL รูด11 บาท SCB - KBANK รูด4.50-5.00 บาท หลังโครงการภาครัฐเลื่อน จีดีพีส่อลด จนต้องลดเป้าปล่อยสินเชื่อ โบรกฯคาดพรุ่งนี้โอกาสฟื้นมีน้อย เหตุแรงเทขายเยอะหลังดัชนีปรับตัวขึ้นกว่า120 จุด ชี้แนวโน้มหุ้นครึ่งปีหลังฟื้นตัวช้าจากมาตรการ QE ที่ไม่แน่นอน และปัญหาหนี้ครัวเรือน สะท้อนภาพลบการลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (3ก.ค.) ปรับตัวในแดนลบ ปิดที่ระดับ 1,443.57 จุด ลดลง 20.41จุด หรือ 1.39% มูลค่าการซื้อขาย 50,999.68 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,463.90 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,435.01 จุด โดยนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 3,376.87 ล้านบาท ตามมาด้วยบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,009.82 ล้านบาท
ภาพรวม ดัชนีปรับตัวลดลงหนักในช่วงการซื้อขายรอบบ่าย ส่วนหนึ่งมาจากความตึงเครียดและรุนแรงในอียิปต์ ประกอบกับตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากการที่ตลาดหุ้นยุโรปเปิดการซื้อขายปรับตัวลดลงถ้วนหน้า จากS&P ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของสถาบันการเงินในยุโรป 3 แห่ง อีกทั้งยังถูกกดดันจากแรงเทขายทำกำไร หลังจากที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร่วม 120 จุด จากช่วงสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ จีนรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลง
โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ BAY ปิดที่ 36.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.35% มูลค่าซื้อขาย 4,858.68 ล้านบาท , INTUCH ปิดที่ 85.00 บาท ลดลง 1.50 บาท หรือ 1.72% มูลค่าซื้อขาย 2,551.90 ล้านบาท , KTB ปิดที่ 20.30 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 2.40% มูลค่าซื้อขาย 2,533.26 ล้านบาท , ADVANC ปิดที่ 290 บาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 2,411.87 ล้านบาท และ SCB ปิดที่ 162.50 บาท ลดลง 5.50บาท หรือ 3.27%
นอกจากนี้ พบว่า หุ้นในกลุ่มธนาคาร ปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดย BBL ปิดที่ 197.00 บาท ลดลง 11.00 บาท หรือ 5.29% มูลค่าซื้อขาย 1,864.50 ล้านบาท ด้านKBANK ปิดที่ 185.50 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 2.11% มูลค่าซื้อขาย 2,093.86 ล้านบาท , TMB ปิดที่ 2.34 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 4.10% มูลค่าซื้อขาย 690.63 ล้านบาท แม้ในสัปดาห์หน้าจะเริ่มมีการประการผลดำเนินงานไตรมาส2 ซึ่งคาดการณ์ว่าทุกธนาคารจะมีผลดำเนินงานปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการปรับลดเป้าจีดีพี และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หลังโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า หรือการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้ภาคธนาคารปรับลดเป้าการปล่อยสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังลง ขณะเดียวกันจากความตรึงเครียดในในอียิปต์ กลับส่งผลให้หุ้นกลุ่มน้ำมันอย่าง PTT และ PTTEP ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนดัชนี
***หุ้นครึ่งปีหลังผันผวนหนัก - QE หลอนไม่เลิก
ด้าน ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า มุมมองภาพรวมตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มผันผวนแกว่งตัวรุนแรงโดยดัชนีอาจร่วงลงมาต่ำสุดที่ 1,220 จุด และกลับกันอาจปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 1,600 จุดได้ ตามทิศทางตลาดรวมของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม นักลงทุนต้องพิจารณาดัชนีหุ้นที่แกว่งตัวผันผวนจากเงินทุนที่ขาดสภาพคล่องในประเทศบราซิล และอเมริกาใต้ และภาคการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่กำลังรอข้อสรุป และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในช่วงเดือนกันยายนนี้ว่าจะส่งสัญญาณในการปรับลด หรือยกเลิกมาตรการ QE ก่อนกำหนดหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีการปรับลดลงก็จะส่งผลต่อผลตอบแทนการซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ ลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลง แต่ถ้าหากมีความชัดเจนออกมาว่าจะมีการยกเลิก QE ในอนาคตอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ก็จะทำให้ตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ทยอยปรับตัวขึ้นได้ ทั้งนี้ ดัชนี SET Index อาจปรับตัวลดลงถึง 1,200 จุด เมื่อเฟดปรับลดมาตรการ QE ลงทันที
“อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอนาคตตลาดหุ้นไทยหากเป็นไปตามที่คาดไว้ที่เฟดจะยกเลิกมาตรการ QE ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวขึ้นไปถึงระดับ 1,600 จุด ได้เช่นเดิม”
ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (3ก.ค.) ปรับตัวในแดนลบ ปิดที่ระดับ 1,443.57 จุด ลดลง 20.41จุด หรือ 1.39% มูลค่าการซื้อขาย 50,999.68 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,463.90 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,435.01 จุด โดยนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 3,376.87 ล้านบาท ตามมาด้วยบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,009.82 ล้านบาท
ภาพรวม ดัชนีปรับตัวลดลงหนักในช่วงการซื้อขายรอบบ่าย ส่วนหนึ่งมาจากความตึงเครียดและรุนแรงในอียิปต์ ประกอบกับตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากการที่ตลาดหุ้นยุโรปเปิดการซื้อขายปรับตัวลดลงถ้วนหน้า จากS&P ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของสถาบันการเงินในยุโรป 3 แห่ง อีกทั้งยังถูกกดดันจากแรงเทขายทำกำไร หลังจากที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร่วม 120 จุด จากช่วงสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ จีนรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลง
โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ BAY ปิดที่ 36.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.35% มูลค่าซื้อขาย 4,858.68 ล้านบาท , INTUCH ปิดที่ 85.00 บาท ลดลง 1.50 บาท หรือ 1.72% มูลค่าซื้อขาย 2,551.90 ล้านบาท , KTB ปิดที่ 20.30 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 2.40% มูลค่าซื้อขาย 2,533.26 ล้านบาท , ADVANC ปิดที่ 290 บาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 2,411.87 ล้านบาท และ SCB ปิดที่ 162.50 บาท ลดลง 5.50บาท หรือ 3.27%
นอกจากนี้ พบว่า หุ้นในกลุ่มธนาคาร ปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดย BBL ปิดที่ 197.00 บาท ลดลง 11.00 บาท หรือ 5.29% มูลค่าซื้อขาย 1,864.50 ล้านบาท ด้านKBANK ปิดที่ 185.50 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 2.11% มูลค่าซื้อขาย 2,093.86 ล้านบาท , TMB ปิดที่ 2.34 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 4.10% มูลค่าซื้อขาย 690.63 ล้านบาท แม้ในสัปดาห์หน้าจะเริ่มมีการประการผลดำเนินงานไตรมาส2 ซึ่งคาดการณ์ว่าทุกธนาคารจะมีผลดำเนินงานปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการปรับลดเป้าจีดีพี และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หลังโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า หรือการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้ภาคธนาคารปรับลดเป้าการปล่อยสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังลง ขณะเดียวกันจากความตรึงเครียดในในอียิปต์ กลับส่งผลให้หุ้นกลุ่มน้ำมันอย่าง PTT และ PTTEP ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนดัชนี
***หุ้นครึ่งปีหลังผันผวนหนัก - QE หลอนไม่เลิก
ด้าน ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า มุมมองภาพรวมตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มผันผวนแกว่งตัวรุนแรงโดยดัชนีอาจร่วงลงมาต่ำสุดที่ 1,220 จุด และกลับกันอาจปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 1,600 จุดได้ ตามทิศทางตลาดรวมของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม นักลงทุนต้องพิจารณาดัชนีหุ้นที่แกว่งตัวผันผวนจากเงินทุนที่ขาดสภาพคล่องในประเทศบราซิล และอเมริกาใต้ และภาคการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่กำลังรอข้อสรุป และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในช่วงเดือนกันยายนนี้ว่าจะส่งสัญญาณในการปรับลด หรือยกเลิกมาตรการ QE ก่อนกำหนดหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีการปรับลดลงก็จะส่งผลต่อผลตอบแทนการซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ ลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลง แต่ถ้าหากมีความชัดเจนออกมาว่าจะมีการยกเลิก QE ในอนาคตอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ก็จะทำให้ตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ทยอยปรับตัวขึ้นได้ ทั้งนี้ ดัชนี SET Index อาจปรับตัวลดลงถึง 1,200 จุด เมื่อเฟดปรับลดมาตรการ QE ลงทันที
“อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอนาคตตลาดหุ้นไทยหากเป็นไปตามที่คาดไว้ที่เฟดจะยกเลิกมาตรการ QE ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวขึ้นไปถึงระดับ 1,600 จุด ได้เช่นเดิม”