ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กแบงก์กรุงศรีฯ ปลื้ม BTMU เข้ามาซื้อหุ้นช่วยเพิ่มช่องทางบริการทางการเงินให้กับธนาคารในการบุกตลาดกลุ่ม AEC และต่างประเทศ ยันกลุ่มรัตนรักษ์ไม่ขายหุ้น ด้าน ธปท.ระบุ BTMU แจ้งเหตุผลเข้าซื้อ BAY เพื่อรองรับลูกค้าญี่ปุ่น เผยช่วงนี้แบงก์ต่างชาติเข้าไทยคึกคัก มีทั้งออสเตรเลียและเกาหลีใต้ยืนเรื่อง หลังเปิดรับรายใหม่ตั้งบริษัทลูกในไทยแค่วันเดียว
ภายหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่จาก GE Capital เป็นธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ: BTMU) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเครือมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJ Financial Group: MUFG) วานนี้ (3 ก.ค.) นายวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ BAY กล่าวว่า ธนาคารพร้อมรับการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและครบวงจร เมื่อคำนึงถึง AEC และปริมาณธุรกิจและการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นที่ไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโอกาสที่ธนาคารกรุงศรี จะได้เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจสำคัญทั่วโลก อนาคตของธนาคารจึงดูสดใสยิ่งนัก
"การเปิดประตูต้อนรับให้ MUFG/BTMU เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นและรับภารกิจที่ท้าทายยิ่ง จึงเป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียกับธนาคารกรุงศรีและสังคมไทย พัฒนาการที่สำคัญครั้งนี้จะช่วยย้ำความแข็งแกร่งของธนาคารกรุงศรีในประเทศไทย และเสริมศักยภาพในการขยายธุรกิจไปสู่ประเทศในภูมิภาคให้คล่องตัวยิ่งขึ้น" นายวีระพันธุ์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่ม MUFG/BTMU มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้นำในการบริหารและเข้าถือหุ้นแทนกลุ่ม GE Capital แล้วยังจะซื้อหุ้นเพิ่มอีกด้วยการเข้าทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้นทั้งหมด และหลังที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ให้ความเห็นชอบกลุ่มรัตนรักษ์ก็จะไม่ลดจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ แต่ธนาคาร กรุงศรีและกลุ่มรัตนรักษ์ก็ยินดีเปิดรับให้สถาบันการเงินที่มีความสำคัญระดับโลก รวมทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญใน Investment Bank ยักษ์ใหญ่ที่ชื่อว่า Morgan Stanley เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นผู้นำที่จะต่อยอดสร้างผลงานของกรุงศรีให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
ด้านนางเจนิส แวน เอ็กเคอเรน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAY กล่าวว่า ธนาคารเชื่อว่าการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธ์กับธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศและเร่งการเติบโตของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเอเชีย ธนาคารพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อขยายการให้บริการทางการเงินในไทยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่กว้างขึ้นและหลากหลายขึ้น
**BTMUยื่นหนังสือแบงก์ชาติ**
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ธปท.ได้รับหนังสือจาก BTMU ให้เหตุผลที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้น แต่ ธปท.ไม่แปลกใจ เพราะ BTMU ต้องการทำธุรกิจรองรับลูกค้าญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในไทยเป็นหลักและจะมีลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามมาอีกเยอะส่วนจะใช้เวลานานแค่ไหนขึ้นอยู่กับคำขอที่เสนอมาและการพิจารณาเรื่องที่ขอมาเป็นสำคัญ ถ้าทำตามหลักกฎหมาย ทาง BTMU จะต้องขอถือหุ้นเกิน 10% และขอต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% ในธนาคารกรุงศรีฯ รวมถึงขอผ่อนผันเรื่องเวลาตามหลักเกณฑ์ให้ถือหุ้นในสถาบันการเงินได้แห่งเดียว
ปัจจุบันต่างชาติถือหุ้นรายใหญ่เกิน 49% ในสถาบันการเงินไทยมีทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) ธนาคารยูโอบี ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ถ้าการซื้อขายหุ้นสามัญของ BTMU ครั้งนี้แล้วเสร็จจะส่งผลให้ธนาคารกรุงศรีฯ กลายเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยรายที่ 5
***ต่างชาติรุมระบบการเงินไทย
กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดให้สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่ไม่เกิน 5 ราย ขอจัดตั้งเป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ (Subsidiary) ในไทย ซึ่งให้ยื่นเรื่องได้ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.-30 ธ.ค.56 นี้ นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ต่างชาติหลายรายแสดงความสนใจค่อนข้างมาก ซึ่งเปิดให้ยื่นเรื่องมาแค่วันเดียวก็มีสถาบันการเงินต่างชาติเริ่มมาคุยบ้างไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย เกาหลีใต้ โดยมองว่าแนวโน้มต่างชาติมาไทยน่าจะเป็นแถบทวีปเอเชียและออสเตรเลียมากขึ้นเพราะช่วงหลังบริษัทแม่ของสถาบันการเงินต่างชาติกลุ่มสหรัฐและยุโรปไม่ค่อยแข็งแรงมากนัก ซึ่งที่ผ่านมามีการพูดคุยกันหลายราย แต่ก็ต้องยกเลิกไป
“ธปท.จะให้เวลาสถาบันการเงินต่างชาติยื่นไม่เกินสิ้นปีนี้ เมื่อยื่นครบแล้วค่อยพิจารณา โดยธปท.จะดูจากใบสมัครในช่วง 3 เดือนแรกของปี 57 หรือประมาณเดือนม.ค.-มี.ค. ซึ่งเราจะคัดเลือกสถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่ที่ดีที่สุดไม่เกิน 5 ราย หลังจากนั้นจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้แก่สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่เป็น Subsidiary ไม่เกิน 3 เดือนหรือไม่เกินเดือนมิ.ย.57 ถึงจะสรุปได้ว่ามีใครได้บ้าง และได้กี่ราย ”
นอกจากนี้ ถ้าเมกะฯ ที่เป็น Subsidiary ในไทยอยู่แล้ว ซึ่งมีแค่ 4 สาขาเท่านั้น ถ้าต้องการยกระดับให้มีสาขา 20 แห่งและเครื่องเอทีเอ็ม 20 เครื่องเหมือน Subsidiary รายใหม่ก็ต้องเพิ่มทุน เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศจีนที่กำลังขอยกระดับอยู่ โดยต้องเพิ่มทุนให้ได้แค่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งต่างกับ Subsidiary รายใหม่ที่กำหนดให้มีทุนจดทะเบียนชำระถึง 20,000 ล้านบาท
เพราะธปท.อยากได้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีความตั้งใจจริงมาทำธุรกิจในไทย ไม่ใช่เข้า-ออก เหมือนช่วงที่ผ่านมา เมื่อบริษัทแม่ที่ต่างประเทศมีปัญหาก็ถอยกลับออกไป
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้พิจารณาแล้วว่าปัจจุบันสถาบันการเงินไทยมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างมาก จึงได้เปิดให้สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่เข้ามาตั้งเป็น Subsidiary โดยขณะนี้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่สถาบันการเงินต่างชาติอยู่ในไทยน้อยมากแค่ 10%ของทั้งตลาดการเงินไทย อีกทั้งการเปิดให้ต่างชาติรายใหม่เข้ามาส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมไปถึงหลายประเทศเห็นว่าไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้.
ภายหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่จาก GE Capital เป็นธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ: BTMU) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเครือมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJ Financial Group: MUFG) วานนี้ (3 ก.ค.) นายวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ BAY กล่าวว่า ธนาคารพร้อมรับการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและครบวงจร เมื่อคำนึงถึง AEC และปริมาณธุรกิจและการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นที่ไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโอกาสที่ธนาคารกรุงศรี จะได้เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจสำคัญทั่วโลก อนาคตของธนาคารจึงดูสดใสยิ่งนัก
"การเปิดประตูต้อนรับให้ MUFG/BTMU เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นและรับภารกิจที่ท้าทายยิ่ง จึงเป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียกับธนาคารกรุงศรีและสังคมไทย พัฒนาการที่สำคัญครั้งนี้จะช่วยย้ำความแข็งแกร่งของธนาคารกรุงศรีในประเทศไทย และเสริมศักยภาพในการขยายธุรกิจไปสู่ประเทศในภูมิภาคให้คล่องตัวยิ่งขึ้น" นายวีระพันธุ์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่ม MUFG/BTMU มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้นำในการบริหารและเข้าถือหุ้นแทนกลุ่ม GE Capital แล้วยังจะซื้อหุ้นเพิ่มอีกด้วยการเข้าทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้นทั้งหมด และหลังที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ให้ความเห็นชอบกลุ่มรัตนรักษ์ก็จะไม่ลดจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ แต่ธนาคาร กรุงศรีและกลุ่มรัตนรักษ์ก็ยินดีเปิดรับให้สถาบันการเงินที่มีความสำคัญระดับโลก รวมทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญใน Investment Bank ยักษ์ใหญ่ที่ชื่อว่า Morgan Stanley เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นผู้นำที่จะต่อยอดสร้างผลงานของกรุงศรีให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
ด้านนางเจนิส แวน เอ็กเคอเรน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAY กล่าวว่า ธนาคารเชื่อว่าการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธ์กับธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศและเร่งการเติบโตของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเอเชีย ธนาคารพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อขยายการให้บริการทางการเงินในไทยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่กว้างขึ้นและหลากหลายขึ้น
**BTMUยื่นหนังสือแบงก์ชาติ**
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ธปท.ได้รับหนังสือจาก BTMU ให้เหตุผลที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้น แต่ ธปท.ไม่แปลกใจ เพราะ BTMU ต้องการทำธุรกิจรองรับลูกค้าญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในไทยเป็นหลักและจะมีลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามมาอีกเยอะส่วนจะใช้เวลานานแค่ไหนขึ้นอยู่กับคำขอที่เสนอมาและการพิจารณาเรื่องที่ขอมาเป็นสำคัญ ถ้าทำตามหลักกฎหมาย ทาง BTMU จะต้องขอถือหุ้นเกิน 10% และขอต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% ในธนาคารกรุงศรีฯ รวมถึงขอผ่อนผันเรื่องเวลาตามหลักเกณฑ์ให้ถือหุ้นในสถาบันการเงินได้แห่งเดียว
ปัจจุบันต่างชาติถือหุ้นรายใหญ่เกิน 49% ในสถาบันการเงินไทยมีทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) ธนาคารยูโอบี ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ถ้าการซื้อขายหุ้นสามัญของ BTMU ครั้งนี้แล้วเสร็จจะส่งผลให้ธนาคารกรุงศรีฯ กลายเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยรายที่ 5
***ต่างชาติรุมระบบการเงินไทย
กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดให้สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่ไม่เกิน 5 ราย ขอจัดตั้งเป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ (Subsidiary) ในไทย ซึ่งให้ยื่นเรื่องได้ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.-30 ธ.ค.56 นี้ นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ต่างชาติหลายรายแสดงความสนใจค่อนข้างมาก ซึ่งเปิดให้ยื่นเรื่องมาแค่วันเดียวก็มีสถาบันการเงินต่างชาติเริ่มมาคุยบ้างไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย เกาหลีใต้ โดยมองว่าแนวโน้มต่างชาติมาไทยน่าจะเป็นแถบทวีปเอเชียและออสเตรเลียมากขึ้นเพราะช่วงหลังบริษัทแม่ของสถาบันการเงินต่างชาติกลุ่มสหรัฐและยุโรปไม่ค่อยแข็งแรงมากนัก ซึ่งที่ผ่านมามีการพูดคุยกันหลายราย แต่ก็ต้องยกเลิกไป
“ธปท.จะให้เวลาสถาบันการเงินต่างชาติยื่นไม่เกินสิ้นปีนี้ เมื่อยื่นครบแล้วค่อยพิจารณา โดยธปท.จะดูจากใบสมัครในช่วง 3 เดือนแรกของปี 57 หรือประมาณเดือนม.ค.-มี.ค. ซึ่งเราจะคัดเลือกสถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่ที่ดีที่สุดไม่เกิน 5 ราย หลังจากนั้นจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้แก่สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่เป็น Subsidiary ไม่เกิน 3 เดือนหรือไม่เกินเดือนมิ.ย.57 ถึงจะสรุปได้ว่ามีใครได้บ้าง และได้กี่ราย ”
นอกจากนี้ ถ้าเมกะฯ ที่เป็น Subsidiary ในไทยอยู่แล้ว ซึ่งมีแค่ 4 สาขาเท่านั้น ถ้าต้องการยกระดับให้มีสาขา 20 แห่งและเครื่องเอทีเอ็ม 20 เครื่องเหมือน Subsidiary รายใหม่ก็ต้องเพิ่มทุน เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศจีนที่กำลังขอยกระดับอยู่ โดยต้องเพิ่มทุนให้ได้แค่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งต่างกับ Subsidiary รายใหม่ที่กำหนดให้มีทุนจดทะเบียนชำระถึง 20,000 ล้านบาท
เพราะธปท.อยากได้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีความตั้งใจจริงมาทำธุรกิจในไทย ไม่ใช่เข้า-ออก เหมือนช่วงที่ผ่านมา เมื่อบริษัทแม่ที่ต่างประเทศมีปัญหาก็ถอยกลับออกไป
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้พิจารณาแล้วว่าปัจจุบันสถาบันการเงินไทยมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างมาก จึงได้เปิดให้สถาบันการเงินต่างชาติรายใหม่เข้ามาตั้งเป็น Subsidiary โดยขณะนี้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่สถาบันการเงินต่างชาติอยู่ในไทยน้อยมากแค่ 10%ของทั้งตลาดการเงินไทย อีกทั้งการเปิดให้ต่างชาติรายใหม่เข้ามาส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมไปถึงหลายประเทศเห็นว่าไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้.