โดย...พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ
ptorsuwan@yahoo.com
ตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่บริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาในปี 54 เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือไหลบ่าลงมาสู่ภาคกลาง จนกระทั่งพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลหลายส่วนต้องจมอยู่ใต้น้ำ หลายจังหวัดโดยเฉพาะในภาคกลางตอนล่างต้องกลายเป็นเมืองบาดาลอยู่นานนับเดือนผู้คนเดือดร้อนต้องอพยพสูญเสียบ้านและทรัพย์สิน ธุรกิจทั้งด้านพาณิชย์ อุตสาหกรรม ตลอดจนเกษตรกรรมได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าสูงมากและที่ยากจะประเมินได้ ที่สำคัญมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องขวัญ กำลังใจ และความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อการจัดการเรื่องภัยพิบัติในลักษณะนี้ ความรู้สึกแบบนี้ได้บั่นทอนทั้งการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชนและศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อความเสี่ยงภัยและความหวาดกลัวเกิดขึ้นกับประชาชน กลับเป็นโอกาสของคนบางกลุ่มที่พลิกวิกฤตนี้เป็นโอกาสของตนเอง ผลักความเสี่ยงและความเดือดร้อนไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะดูเหมือนว่าทันทีที่วิกฤตอุทกภัยได้บรรเทาลงไปแล้ว ทางรัฐบาลก็ได้ดำเนินการผลักดันแผนการจัดการน้ำทันที แน่นอนว่าแผนการนี้มีมูลค่าการลงทุนที่สูงมากนับแสนล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันแผนการนี้ได้ถูกผลักดันออกมาเป็นยิ่งกว่าเมกะโปรเจกต์ เพราะเป็นซีรี่ส์โครงการจัดการน้ำที่รวมแล้วมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท
ผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดเรื่องของโครงการต่างๆ ตัวเลขการลงทุน ความเสี่ยงทางธุรกิจ หรือกระบวนการประมูลในเมกะโปรเจกต์นี้ เพราะมีการเผยแพร่และวิพากษ์วิจารณ์กันมากอยู่แล้ว ทั้งในแง่ความเหมาะสม ความคุ้มค่า ความโปร่งใส ไปจนถึงประเด็นเรื่องความถูกต้องของกระบวนการตามกฎหมาย
มุมที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอบ้างก็คือมุมจากชาวบ้านที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลต้องการจะก่อสร้างโครงการเขื่อนเพื่อตอบสนองการบริหารจัดการน้ำในเมกะโปรเจกต์ 3.5 แสนล้านบาทนี้ เพราะในฐานะคนกรุงเทพฯ ที่เพิ่งจะมีโอกาสไปเยี่ยนเยือนพื้นที่ตำบลสะเอียบในจังหวัดแพร่ สะเอียบเป็นชุมชนที่ต่อสู้กับรัฐในโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นมายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว มาบัดนี้โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง สำหรับเป็นหนึ่งโครงการในเมกะโปรเจกต์บริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดนี้ แต่การรื้อฟื้นครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการใหม่ โดยแบ่งเขื่อนออกเป็นสองเขื่อนคือเขื่อมยมบน และเขื่อนยมล่าง ซึ่งไม่ว่ารูปแบบเขื่อนจะเป็นแก่งเสือเต้นเดิม หรือการแปลงรูปให้เป็นสองเขื่อน ทั้งหมดก็ล้วนส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชนสะเอียบอย่างรุนแรง คือเป็นไปในแบบทำลายล้างชุมชน และทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่จะต้องจมอยู่ใต้บาดาลก็คือป่าไม้สักทองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นป่าไม้สักทองแห่งสุดท้ายแล้วของประเทศไทย
ผู้เขียนเพิ่งจะมีโอกาสเดินทางไปเยือนชุมชนสะเอียบ โดยได้ร่วมติดตามคณะศึกษาเรียนรู้การวิจัยด้านสุขภาวะชุมชนในชนบท โดยความมุ่งหมายครั้งแรก ทางคณะได้ตั้งใจจะเดินทางไปศึกษาดูงานที่สะเอียบ แต่เนื่องจากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลได้ดึงบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการโครงการสร้างเขื่อนแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่แค่ดำเนินการก่อสร้าง แต่ต้องรื้อถอนหรือกำจัดชุมชนออกไปก่อน เป็นเหตุให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจผู้แปลกหน้า ทางผู้นำชุมชนจึงได้ปฏิเสธไม่ให้คณะของเราได้เข้าไปในพื้นที่สะเอียบ ทางคณะจึงจำเป็นต้องย้ายไปศึกษาเรียนรู้ที่หมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งก็คือหมู่บ้านนาหลวงแทน
แต่หลังจากลงพื้นที่บ้านนาหลวงเพียงวันเดียว ทางผู้นำชาวบ้านสะเอียบก็ได้เดินทางมาพูดคุยทำความเข้าใจกับทางคณะของผู้เขียน และสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าทางคณะของผู้เขียนไม่ใช่คนของทางรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐ ในการที่จะมาดำเนินการอะไรซึ่งน่าจะเป็นอันตรายต่อชุมชน หลังจากที่สื่อสารให้เกิดความเข้าใจและมั่นใจแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราได้เข้าไปในพื้นที่สะเอียบ และที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือพวกเรายังได้เดินทางเข้าไปในป่าสักทองซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากยังได้เข้าร่วมพิธีบวชป่าซึ่งชาวบ้านร่วมกันจัดเตรียมการให้แก่พวกเรา เราได้มีโอกาสโอบกอดต้นไม้ ในขณะที่โอบต้นไม้ในใจก็ภาวนาว่าเราจะช่วยกันพิทักษ์ต้นไม้รักษาชีวิตสัตว์ในป่าแห่งนี้ในทุกวิธีที่จะสามารถทำได้ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ยากจะจินตนาการได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนเมืองอย่างตัวผู้เขียนเอง แต่เมื่อได้ลองไปสัมผัสแล้ว จะสื่อได้ถึงความสำคัญของการพิทักษ์ป่าไม้ และอนุรักษ์วิถีชาวบ้านเอาไว้
การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นนโยบายของรัฐไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว วัตถุประสงค์ก็คือการจัดการน้ำเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มภาคกลางตอนบน ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับอีกหลายๆ เขื่อนในประเทศไทย ที่ภาครัฐมักจะอ้างว่าการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานจัดการน้ำเพื่อส่งเสริมการเกษตรเป็นหลัก หรือไม่ก็เป็นการสร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นลำดับรองลงมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสร้างเขื่อนก็มิใช่คำตอบที่สมเหตุสมผลต่อทั้งการชลประทานหรือการผลิตพลังงานเสมอไป เพราะยังมีทางเลือกอื่นสำหรับการจัดการน้ำสำหรับการชลประทานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยกว่าอย่างอ่างเก็บน้ำแก้มลิง ชลประทานระบบท่อ ฟลัดเวย์ ฯลฯ แต่การสร้างเขื่อนอาจจำเป็นสำหรับฝ่ายการเมืองในเรื่องการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝงในการก่อสร้าง ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการเมือง แต่ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า ระบบนิเวศ ตลอดจนวิถีของชุมชน เรียกได้ว่าเป็นการถอนรากถอนโคนกันเลยทีเดียว เพราะการสร้างเขื่อนคือการเอาน้ำขนาดมหึมาเข้าท่วมป่าเขาตลอดจนบ้านเรือนผู้คนทั้งหมด ต้นไม้สักทองอันทรงคุณค่าย่อมต้องตายลงทั้งหมด เพียงแต่เราไม่อาจจะแน่ใจว่าต้นไม้จะตายเพราะถูกน้ำท่วมหรือถูกคนตัดแล้วขนย้ายออกไปก่อนเท่านั้น
ในขณะที่ชาวบ้านที่สะเอียบกำลังมีชีวิตอยู่กับความหวาดกลัว เพราะภาครัฐดูเหมือนจะเปลี่ยนกลยุทธ์ในการผลักดันโครงการสร้างเขื่อน โดยไปดึงเอาบริษัทเอกชนมารับสัมปทาน ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับทุนจำนวนมหาศาล ที่จะใช้ในการปะทะกับชาวบ้านโดยตรง ภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ ที่ทั้งผูกขาดในรื่องการใช้กฎหมาย ตลอดจนการใช้อิทธิพลนอกกฎหมาย ชาวบ้านที่นั่นจึงตกอยู่ในสถานะที่ลำบากและน่าเห็นใจ เพราะไม่แปลกเลยที่ผู้คนจะรู้สึกผูกพันอยู่กับบ้านและถิ่นฐานของตัวเอง ถึงแม้ว่ารัฐจะจ่ายเงินชดเชยมากเท่าใดก็ตาม การย้ายถิ่นฐานสำหรับคนเราไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยเพียงไร ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้โดยง่าย ทั้งในเรื่องการหาที่ทางใหม่ๆ สำหรับทำมาหากิน การเรียนรู้ที่อยู่กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ หรือการพลัดพรากจากญาติพี่น้องและเพื่อนร่วมถิ่นฐานเดิม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ความหวาดกลัวของชาวบ้านสะเอียบมีที่มาจากการถูกคุกคามโดยรัฐ การดำรงชีวิตอยู่โดยปราศจากความมั่นคง อาจจะถูกถอนรากถอนชุมชนเมื่อใดก็ได้ ชีวิตไม่มีความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาผู้นำชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผู้เฒ่าผู้แก่และเยาวชน คนเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะถูกจัดการอย่างรุนแรงทั้งโดยกฎหมายและวิธีนอกกฎหมาย เพราะได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาล
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการผลักดันโครงการ ภาครัฐย่อมจะอาศัยกฎหมายในการดำเนินคดีอาญาต่อชาวบ้าน โดยพุ่งเป้าไปที่แกนนำในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินบนเขาเพื่อทำไร่ การออกโฉนดชุมชนซึ่งยังไม่มีกฎหมายใดรองรับ เพราะการติดหล่มในคดีอาญาของประเทศนี้ถือเป็นความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส การดำเนินคดีนอกเหนือจะทำลายความชอบธรรมในการอยู่อาศัยบนแผ่นดินเกิดของตัวชาวบ้านเอง ซึ่งอาจจะอยู่กันมานานหลายชั่วคนก่อนการสถาปนารัฐไทยเสียด้วยซ้ำและแน่นอนที่สุดว่าการต่อสู้คดีอาญาต้องอาศัยพลังกายใจและพลังทุนมาก อาจจะเกินความสามารถของประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยทั่วๆ ไป กลวิธีนี้จึงใช้บั่นทอนทั้งกำลังกายและกำลังใจของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ชาวบ้านสะเอียบดำรงชีวิตอยู่กับผืนป่ามานับร้อยปี พวกเขาย่อมตระหนักดีเพราะมีป่าไม้พวกเขาถึงดำรงอยู่ได้ ชาวบ้านสามารถเข้าป่าไปเก็บเห็ดเ ก็บหน่อไม้ จับหมูป่ากินกันมายาวนาน พวกเขารู้ดีว่าการตัดไม้ทำลายป่าคือการฆ่าตัวตาย อย่างน้อยก็เรื่องอาหารการกินและภาวะภัยพิบัติจากน้ำป่าที่ไหลหลากรุนแรงในช่วงฤดูฝน นี่เองจึงเป็นที่มาของการออกโฉนดชุมชน เพราะชาวบ้านรู้จักควบคุมการใช้พื้นที่เพาะปลูกกันเอง ไม่ให้ล้ำเข้าผืนป่าจนทำลายสมดุลของธรรมชาติ แต่เพราะว่าการเกษตรกรรมเพิ่งจะเข้ามาทีหลัง และได้เข้าครอบงำวิถีชาวบ้านไปจนหมดสิ้นแล้วจนถึงปัจจุบัน
วิถีชาวบ้านที่เห็นได้ในทุกวันนี้ก็คือเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว ซึ่งก็คือการปลูกพืชประเภทเดียวและที่เห็นในพื้นที่นี้ก็คือการปลูกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพด ทั้งนี้ได้ก่อเกิดเป็นวงจรทาสในระบบเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวคือหน่วยงานภาครัฐปล่อยเงินกู้ ให้เกษตรกรเป็นหนี้ ต้องเข้าสู่ระบบการเกษตรซึ่งกำหนดโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ที่จัดหาเมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าเชื้อรา ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และยาฆ่าแมลงให้ เกษตรกรทำงานใช้แรงงานเพาะปลูก เก็บเกี่ยวพืชไร่เพื่อเอาไปขายแก่กลุ่มทุน ได้เงินไปเพื่อผัดผ่อนหนี้สิน วนเวียนอย่างนี้ไม่รู้จบ โดยเราจะสังเกตได้ว่าเกือบทุกครัวเรือนจะทำการเกษตรพืชไร่เหมือนๆ กันหมด
ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเหลือกันอยู่แค่แม่ลูกสองคน ผู้เป็นแม่ชรามากอายุแปดสิบกว่ามีอาการป่วยหลายอย่างรุมเร้า ในขณะที่ลูกชายอายุสามสิบกว่าๆ ก็เป็นผู้ป่วยจิตเภท คือจะมีอาการคลุ้มคลั่งบางเวลาต้องอาศัยยาระงับประสาทควบคุมอยู่ตลอด ลูกชายเล่าให้ฟังถึงวิถีชีวิตของตนเองที่ต้องออกไปทำงานในไร่เพื่อเลี้ยงแม่ ในขณะที่คุยกันอยู่นั้น ผู้เขียนก็สังเกตเห็นมือทั้งสองข้างเป็นสีแดงออกชมพู และได้รับคำตอบว่าเกิดขึ้นจากการใช้มือคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ผสมยาฆ่าเชื้อราที่จะใช้โรยลงแปลงเพาะปลูกซึ่งถึงแม้จะล้างมือด้วยน้ำเปล่าก็ไม่สามารถล้างออกได้โดยง่าย สอบถามถึงการใช้สารเคมีทั้งยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลง ซึ่งสังเกตเห็นวางอยู่ในบ้านด้วย จึงได้รับคำอธิบายว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เพราะถึงแม้เขาจะตระหนักดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ก็ยังดีกว่าตกอยู่ในภาวะเป็นหนี้เป็นสินและอดตายในระยะสั้น
ต่อกรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือเขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่างนั้น ชาวบ้านที่นั่นเขายืนหยัดที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด ซึ่งผู้เขียนมองเห็นและสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก เพราะชาวบ้านที่นั่นเขาไม่มีที่จะไป ผู้เขียนยังได้ยินคำบ่นจากชาวบ้านว่าคนกรุงเทพฯ ที่จมน้ำท่วมเพียงไม่กี่วันแต่ดันจะเอาน้ำมาท่วมพวกเขาทั้งชีวิต ฟังแล้วให้สะท้อนใจหดหู่ยิ่งนัก สิ่งที่ฝ่ายการเมืองทุกยุคทุกสมัยทุกพรรคกระทำต่อชาวบ้าน ก็คือการสมรู้ร่วมคิดกันกอบโกยผลประโยชน์ในหลายรูปแบบ โดยแอบอ้างมติมหาชนตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ประชาธิปไตยที่ชาวบ้านสะเอียบหรืออาจจะเป็นชาวบ้านในทุกตารางนิ้วของประเทศนี้มีก็อาจจะอยู่แค่ในคูหาเลือกตั้งเท่านั้น แต่ชีวิตและวิญญาณของพวกเขาพวกเรากลับถูกกดทับลงให้กลายเป็นทาสอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็น
ptorsuwan@yahoo.com
ตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่บริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาในปี 54 เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือไหลบ่าลงมาสู่ภาคกลาง จนกระทั่งพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลหลายส่วนต้องจมอยู่ใต้น้ำ หลายจังหวัดโดยเฉพาะในภาคกลางตอนล่างต้องกลายเป็นเมืองบาดาลอยู่นานนับเดือนผู้คนเดือดร้อนต้องอพยพสูญเสียบ้านและทรัพย์สิน ธุรกิจทั้งด้านพาณิชย์ อุตสาหกรรม ตลอดจนเกษตรกรรมได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าสูงมากและที่ยากจะประเมินได้ ที่สำคัญมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องขวัญ กำลังใจ และความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อการจัดการเรื่องภัยพิบัติในลักษณะนี้ ความรู้สึกแบบนี้ได้บั่นทอนทั้งการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชนและศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อความเสี่ยงภัยและความหวาดกลัวเกิดขึ้นกับประชาชน กลับเป็นโอกาสของคนบางกลุ่มที่พลิกวิกฤตนี้เป็นโอกาสของตนเอง ผลักความเสี่ยงและความเดือดร้อนไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะดูเหมือนว่าทันทีที่วิกฤตอุทกภัยได้บรรเทาลงไปแล้ว ทางรัฐบาลก็ได้ดำเนินการผลักดันแผนการจัดการน้ำทันที แน่นอนว่าแผนการนี้มีมูลค่าการลงทุนที่สูงมากนับแสนล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันแผนการนี้ได้ถูกผลักดันออกมาเป็นยิ่งกว่าเมกะโปรเจกต์ เพราะเป็นซีรี่ส์โครงการจัดการน้ำที่รวมแล้วมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท
ผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดเรื่องของโครงการต่างๆ ตัวเลขการลงทุน ความเสี่ยงทางธุรกิจ หรือกระบวนการประมูลในเมกะโปรเจกต์นี้ เพราะมีการเผยแพร่และวิพากษ์วิจารณ์กันมากอยู่แล้ว ทั้งในแง่ความเหมาะสม ความคุ้มค่า ความโปร่งใส ไปจนถึงประเด็นเรื่องความถูกต้องของกระบวนการตามกฎหมาย
มุมที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอบ้างก็คือมุมจากชาวบ้านที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลต้องการจะก่อสร้างโครงการเขื่อนเพื่อตอบสนองการบริหารจัดการน้ำในเมกะโปรเจกต์ 3.5 แสนล้านบาทนี้ เพราะในฐานะคนกรุงเทพฯ ที่เพิ่งจะมีโอกาสไปเยี่ยนเยือนพื้นที่ตำบลสะเอียบในจังหวัดแพร่ สะเอียบเป็นชุมชนที่ต่อสู้กับรัฐในโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นมายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว มาบัดนี้โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง สำหรับเป็นหนึ่งโครงการในเมกะโปรเจกต์บริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดนี้ แต่การรื้อฟื้นครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการใหม่ โดยแบ่งเขื่อนออกเป็นสองเขื่อนคือเขื่อมยมบน และเขื่อนยมล่าง ซึ่งไม่ว่ารูปแบบเขื่อนจะเป็นแก่งเสือเต้นเดิม หรือการแปลงรูปให้เป็นสองเขื่อน ทั้งหมดก็ล้วนส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชนสะเอียบอย่างรุนแรง คือเป็นไปในแบบทำลายล้างชุมชน และทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่จะต้องจมอยู่ใต้บาดาลก็คือป่าไม้สักทองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นป่าไม้สักทองแห่งสุดท้ายแล้วของประเทศไทย
ผู้เขียนเพิ่งจะมีโอกาสเดินทางไปเยือนชุมชนสะเอียบ โดยได้ร่วมติดตามคณะศึกษาเรียนรู้การวิจัยด้านสุขภาวะชุมชนในชนบท โดยความมุ่งหมายครั้งแรก ทางคณะได้ตั้งใจจะเดินทางไปศึกษาดูงานที่สะเอียบ แต่เนื่องจากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลได้ดึงบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการโครงการสร้างเขื่อนแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่แค่ดำเนินการก่อสร้าง แต่ต้องรื้อถอนหรือกำจัดชุมชนออกไปก่อน เป็นเหตุให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจผู้แปลกหน้า ทางผู้นำชุมชนจึงได้ปฏิเสธไม่ให้คณะของเราได้เข้าไปในพื้นที่สะเอียบ ทางคณะจึงจำเป็นต้องย้ายไปศึกษาเรียนรู้ที่หมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งก็คือหมู่บ้านนาหลวงแทน
แต่หลังจากลงพื้นที่บ้านนาหลวงเพียงวันเดียว ทางผู้นำชาวบ้านสะเอียบก็ได้เดินทางมาพูดคุยทำความเข้าใจกับทางคณะของผู้เขียน และสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าทางคณะของผู้เขียนไม่ใช่คนของทางรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐ ในการที่จะมาดำเนินการอะไรซึ่งน่าจะเป็นอันตรายต่อชุมชน หลังจากที่สื่อสารให้เกิดความเข้าใจและมั่นใจแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราได้เข้าไปในพื้นที่สะเอียบ และที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือพวกเรายังได้เดินทางเข้าไปในป่าสักทองซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากยังได้เข้าร่วมพิธีบวชป่าซึ่งชาวบ้านร่วมกันจัดเตรียมการให้แก่พวกเรา เราได้มีโอกาสโอบกอดต้นไม้ ในขณะที่โอบต้นไม้ในใจก็ภาวนาว่าเราจะช่วยกันพิทักษ์ต้นไม้รักษาชีวิตสัตว์ในป่าแห่งนี้ในทุกวิธีที่จะสามารถทำได้ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ยากจะจินตนาการได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนเมืองอย่างตัวผู้เขียนเอง แต่เมื่อได้ลองไปสัมผัสแล้ว จะสื่อได้ถึงความสำคัญของการพิทักษ์ป่าไม้ และอนุรักษ์วิถีชาวบ้านเอาไว้
การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นนโยบายของรัฐไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว วัตถุประสงค์ก็คือการจัดการน้ำเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มภาคกลางตอนบน ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับอีกหลายๆ เขื่อนในประเทศไทย ที่ภาครัฐมักจะอ้างว่าการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานจัดการน้ำเพื่อส่งเสริมการเกษตรเป็นหลัก หรือไม่ก็เป็นการสร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นลำดับรองลงมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสร้างเขื่อนก็มิใช่คำตอบที่สมเหตุสมผลต่อทั้งการชลประทานหรือการผลิตพลังงานเสมอไป เพราะยังมีทางเลือกอื่นสำหรับการจัดการน้ำสำหรับการชลประทานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยกว่าอย่างอ่างเก็บน้ำแก้มลิง ชลประทานระบบท่อ ฟลัดเวย์ ฯลฯ แต่การสร้างเขื่อนอาจจำเป็นสำหรับฝ่ายการเมืองในเรื่องการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝงในการก่อสร้าง ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการเมือง แต่ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า ระบบนิเวศ ตลอดจนวิถีของชุมชน เรียกได้ว่าเป็นการถอนรากถอนโคนกันเลยทีเดียว เพราะการสร้างเขื่อนคือการเอาน้ำขนาดมหึมาเข้าท่วมป่าเขาตลอดจนบ้านเรือนผู้คนทั้งหมด ต้นไม้สักทองอันทรงคุณค่าย่อมต้องตายลงทั้งหมด เพียงแต่เราไม่อาจจะแน่ใจว่าต้นไม้จะตายเพราะถูกน้ำท่วมหรือถูกคนตัดแล้วขนย้ายออกไปก่อนเท่านั้น
ในขณะที่ชาวบ้านที่สะเอียบกำลังมีชีวิตอยู่กับความหวาดกลัว เพราะภาครัฐดูเหมือนจะเปลี่ยนกลยุทธ์ในการผลักดันโครงการสร้างเขื่อน โดยไปดึงเอาบริษัทเอกชนมารับสัมปทาน ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับทุนจำนวนมหาศาล ที่จะใช้ในการปะทะกับชาวบ้านโดยตรง ภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ ที่ทั้งผูกขาดในรื่องการใช้กฎหมาย ตลอดจนการใช้อิทธิพลนอกกฎหมาย ชาวบ้านที่นั่นจึงตกอยู่ในสถานะที่ลำบากและน่าเห็นใจ เพราะไม่แปลกเลยที่ผู้คนจะรู้สึกผูกพันอยู่กับบ้านและถิ่นฐานของตัวเอง ถึงแม้ว่ารัฐจะจ่ายเงินชดเชยมากเท่าใดก็ตาม การย้ายถิ่นฐานสำหรับคนเราไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยเพียงไร ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้โดยง่าย ทั้งในเรื่องการหาที่ทางใหม่ๆ สำหรับทำมาหากิน การเรียนรู้ที่อยู่กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ หรือการพลัดพรากจากญาติพี่น้องและเพื่อนร่วมถิ่นฐานเดิม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ความหวาดกลัวของชาวบ้านสะเอียบมีที่มาจากการถูกคุกคามโดยรัฐ การดำรงชีวิตอยู่โดยปราศจากความมั่นคง อาจจะถูกถอนรากถอนชุมชนเมื่อใดก็ได้ ชีวิตไม่มีความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาผู้นำชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผู้เฒ่าผู้แก่และเยาวชน คนเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะถูกจัดการอย่างรุนแรงทั้งโดยกฎหมายและวิธีนอกกฎหมาย เพราะได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาล
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการผลักดันโครงการ ภาครัฐย่อมจะอาศัยกฎหมายในการดำเนินคดีอาญาต่อชาวบ้าน โดยพุ่งเป้าไปที่แกนนำในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินบนเขาเพื่อทำไร่ การออกโฉนดชุมชนซึ่งยังไม่มีกฎหมายใดรองรับ เพราะการติดหล่มในคดีอาญาของประเทศนี้ถือเป็นความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส การดำเนินคดีนอกเหนือจะทำลายความชอบธรรมในการอยู่อาศัยบนแผ่นดินเกิดของตัวชาวบ้านเอง ซึ่งอาจจะอยู่กันมานานหลายชั่วคนก่อนการสถาปนารัฐไทยเสียด้วยซ้ำและแน่นอนที่สุดว่าการต่อสู้คดีอาญาต้องอาศัยพลังกายใจและพลังทุนมาก อาจจะเกินความสามารถของประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยทั่วๆ ไป กลวิธีนี้จึงใช้บั่นทอนทั้งกำลังกายและกำลังใจของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ชาวบ้านสะเอียบดำรงชีวิตอยู่กับผืนป่ามานับร้อยปี พวกเขาย่อมตระหนักดีเพราะมีป่าไม้พวกเขาถึงดำรงอยู่ได้ ชาวบ้านสามารถเข้าป่าไปเก็บเห็ดเ ก็บหน่อไม้ จับหมูป่ากินกันมายาวนาน พวกเขารู้ดีว่าการตัดไม้ทำลายป่าคือการฆ่าตัวตาย อย่างน้อยก็เรื่องอาหารการกินและภาวะภัยพิบัติจากน้ำป่าที่ไหลหลากรุนแรงในช่วงฤดูฝน นี่เองจึงเป็นที่มาของการออกโฉนดชุมชน เพราะชาวบ้านรู้จักควบคุมการใช้พื้นที่เพาะปลูกกันเอง ไม่ให้ล้ำเข้าผืนป่าจนทำลายสมดุลของธรรมชาติ แต่เพราะว่าการเกษตรกรรมเพิ่งจะเข้ามาทีหลัง และได้เข้าครอบงำวิถีชาวบ้านไปจนหมดสิ้นแล้วจนถึงปัจจุบัน
วิถีชาวบ้านที่เห็นได้ในทุกวันนี้ก็คือเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว ซึ่งก็คือการปลูกพืชประเภทเดียวและที่เห็นในพื้นที่นี้ก็คือการปลูกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพด ทั้งนี้ได้ก่อเกิดเป็นวงจรทาสในระบบเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวคือหน่วยงานภาครัฐปล่อยเงินกู้ ให้เกษตรกรเป็นหนี้ ต้องเข้าสู่ระบบการเกษตรซึ่งกำหนดโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ที่จัดหาเมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าเชื้อรา ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และยาฆ่าแมลงให้ เกษตรกรทำงานใช้แรงงานเพาะปลูก เก็บเกี่ยวพืชไร่เพื่อเอาไปขายแก่กลุ่มทุน ได้เงินไปเพื่อผัดผ่อนหนี้สิน วนเวียนอย่างนี้ไม่รู้จบ โดยเราจะสังเกตได้ว่าเกือบทุกครัวเรือนจะทำการเกษตรพืชไร่เหมือนๆ กันหมด
ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเหลือกันอยู่แค่แม่ลูกสองคน ผู้เป็นแม่ชรามากอายุแปดสิบกว่ามีอาการป่วยหลายอย่างรุมเร้า ในขณะที่ลูกชายอายุสามสิบกว่าๆ ก็เป็นผู้ป่วยจิตเภท คือจะมีอาการคลุ้มคลั่งบางเวลาต้องอาศัยยาระงับประสาทควบคุมอยู่ตลอด ลูกชายเล่าให้ฟังถึงวิถีชีวิตของตนเองที่ต้องออกไปทำงานในไร่เพื่อเลี้ยงแม่ ในขณะที่คุยกันอยู่นั้น ผู้เขียนก็สังเกตเห็นมือทั้งสองข้างเป็นสีแดงออกชมพู และได้รับคำตอบว่าเกิดขึ้นจากการใช้มือคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ผสมยาฆ่าเชื้อราที่จะใช้โรยลงแปลงเพาะปลูกซึ่งถึงแม้จะล้างมือด้วยน้ำเปล่าก็ไม่สามารถล้างออกได้โดยง่าย สอบถามถึงการใช้สารเคมีทั้งยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลง ซึ่งสังเกตเห็นวางอยู่ในบ้านด้วย จึงได้รับคำอธิบายว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เพราะถึงแม้เขาจะตระหนักดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ก็ยังดีกว่าตกอยู่ในภาวะเป็นหนี้เป็นสินและอดตายในระยะสั้น
ต่อกรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือเขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่างนั้น ชาวบ้านที่นั่นเขายืนหยัดที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด ซึ่งผู้เขียนมองเห็นและสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก เพราะชาวบ้านที่นั่นเขาไม่มีที่จะไป ผู้เขียนยังได้ยินคำบ่นจากชาวบ้านว่าคนกรุงเทพฯ ที่จมน้ำท่วมเพียงไม่กี่วันแต่ดันจะเอาน้ำมาท่วมพวกเขาทั้งชีวิต ฟังแล้วให้สะท้อนใจหดหู่ยิ่งนัก สิ่งที่ฝ่ายการเมืองทุกยุคทุกสมัยทุกพรรคกระทำต่อชาวบ้าน ก็คือการสมรู้ร่วมคิดกันกอบโกยผลประโยชน์ในหลายรูปแบบ โดยแอบอ้างมติมหาชนตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ประชาธิปไตยที่ชาวบ้านสะเอียบหรืออาจจะเป็นชาวบ้านในทุกตารางนิ้วของประเทศนี้มีก็อาจจะอยู่แค่ในคูหาเลือกตั้งเท่านั้น แต่ชีวิตและวิญญาณของพวกเขาพวกเรากลับถูกกดทับลงให้กลายเป็นทาสอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็น