เมื่อวานนี้ ( 26 มิ.ย.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ด้านการจัดการน้ำ ระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนไทย และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมประเทศเกาหลีใต้ จัดโดยโครงการสื่อสุขภาวะชุมชนชายขอบ และชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม มีนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาหการ นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาเครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน ตัวแทนจากประเทศไทย และ นายยัม ฮชองฮอล ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ (Korean Federation Environmental Movement:KFEM)เข้าร่วมเสวนา
นายหาญณรงค์ กล่าวว่า จากโครงการ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลนั้น ทำไปโดยไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน สะท้อนชัดว่ารัฐบาลมีการให้ข้อมูลที่บิดเบือน ไม่แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่โปร่งใส ทำให้ชาวบ้านเกิดความสับสน อย่างกรณีของ บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น หรือ เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลแผนก่อสร้างใน 2 โมดูล คือ โมดูล เอ 3 และโมดูล เอ 5 ซึ่งเป็นโครงการแก้มลิง และฟลัดเวย์ ที่ทางเครือข่ายภาคประชาชนเกาหลี ได้ลงพื้นที่สำรวจเมื่อวันที่ 24-25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ใน จ.พิษณุโลก และนครสวรรค์ นั่นก็เป็นอีกแผน ที่ไร้ซึ่งการทำกรอบแนวคิดในการศึกษา ว่าเพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องก่อสร้าง ขณะที่หลายๆ โครงการมีการแอบลงพื้นที่สำรวจ เพื่อก่อสร้างเส้นทางฟลัดเวย์ และพัฒนาคูคลองโดยการขุดลอก และไม่แสดงข้อมูลเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้
ที่น่ากังวลมากที่สุด คือ รูปแบบการพัฒนาเส้นทางต่างๆ ในงบ 3.5 แสนล้าน นั้นคนยังสงสัยว่า เป็นโครงการขุดลอกคลองชลประธาน หรือ เป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข หรือแม้กระทั่งการขุดลอกบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความไร้แผนงานในการพัฒนา
**แฉ "เค วอเตอร์"ล้มเหลวในเกาหลี
ด้านนาย ยัม กล่าวว่า หลังจากทีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ทราบว่า เค วอเตอร์ ชนะการประมูลแผนพัฒนาการทรัพยากรน้ำ ใน 2 แผน ของประเทศไทย วงเงินงบประมาณ 1.5 แสนล้านนั้น ตนรู้สึกกังวลอย่างมาก กลัวว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง ทั้งปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีตามมา และปัญหาเรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าราคาเสนอโครงการ เพราะเค วอเตอร์ มีประวัติที่ไม่ดีนัก โดยแต่เดิมนั้น บริษัทดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินการในการพัฒนาระบบน้ำ แต่ต่อมา เค วอเตอร์ มารับงานก่อสร้างอื่นๆ เช่น การสร้างระบบน้ำประปาในพื้นที่อุตสาหกรรม และเมืองใหญ่ จากนั้นก็ย้ายมาก่อสร้างด้านการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ การก่อสร้างพนังกั้นน้ำท่วม ซึ่งไม่ใช่งานหลัก ทั้งๆ ที่ก่อตั้งมาในฐานะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทุนสนับสนุนโดยรัฐบาลที่ถือหุ้นมากถึง 99 % และมีผู้บริหารระดับสูง หรือ ซีอีโอ ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปี 2012 เค วอเตอร์ มีทรัพย์สินอยู่ที่ 676,000 ล้านบาท 304,000 ล้านบาท และหนี้สินประมาณ 372,000 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้ของบริษัท อยู่ที่ 99,000 ล้านบาท
ระยะเวลา 3 ปีจากปี 2008-20011 ที่ เค วอเตอร์ ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำ และคลองกังงิน รวมระยะทางทั้งหมด 600 กม. โดยใช้งบประมาณสูงถึง 5,945,000 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทระบุว่า เป็นการสร้างฟลัดเวย์ และแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งของเกาหลีใต้นั้น พบว่า ผลจากการก่อสร้างก่อหนี้สินสูงขึ้นถึง 758 % ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความล้มเหลวของเค วอเตอร์ มากที่สุด โดย 50 % ของงบประมาณนั้น เค วอเตอร์ ใช้เพื่อการบำรุงรักษาโครงการหลังก่อสร้าง ซึ่งความล้มเหลวที่มีนี้ ทำให้คนเกาหลีใต้เกือบ 80 % ต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าว
ขณะที่ความไม่โปร่งใสเรื่องการเงินนั้น อยู่ในช่วงการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของเกาหลีใต้ และสำนักงานตรวจสอบการทุจจริต เพราะเข้าข่ายทำผิดกฏหมายการเงิน ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ซึ่งเขื่อนใน 4 แม่น้ำ สร้างปัญหา สาหร่ายเขียว(Green late)ทำลายระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำของเกาหลีใต้ ทำให้สัตว์และพืชสำคัญเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น เค วอเตอร์ จึงเข้าข่ายทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งทางภาคประชาชนจะเร่งตั้งคณะทำงานจากองค์กรอิสระ และภาคประชาชน เพื่อตรวจสอบ กรณีปัญหาดังกล่าว และสรุปนำเสนอสาธารณะอีกครั้ง
** รัฐบาลต้องหันกลับมาทบทวนโครงการ
ด้านนายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาเครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน กล่าวว่า จากสถานะการเงินที่แย่ลง ของเค วอเตอร์ นั้น สะท้อนให้เห็นชัดว่า ไม่เหมาะสมแก่การรับดำเนินโครงการเส้นทางผันน้ำ สร้างฟลัดเวย์ และโครงการขุดลอกคลองบางส่วน ในแผนโมดูล เอ 5 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา และท่าจีน ในภาคตะวันตก และปริมณฑล เพราะแม้แต่โครงการในประเทศยังมีความเสียหายมหาศาลแล้ว หากปล่อยให้ดำเนินการ ย่อมไม่เกิดผลดี
อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาในส่วนของภาคประชาชนมากกว่าว่า ต้องการอะไร รวมทั้งรัฐบาลเองต้องเร่งชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีแผนพัฒนาลุ่มน้ำด้วยว่า ดำเนินการเพื่ออะไร เป็นโครงการขุดคลองของชลประทาน หรือเป็นการแก้ปัญหาระบบน้ำอย่างไร เพราะขณะนี้ประชาชนยังกังวลอยู่มาก
นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาล ใจเย็น ในเรื่องของการเดินหน้าโครงการ แล้วหันมาใส่ใจการแก้ปัญหาระบบน้ำ ที่ชุมชนทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำ มากกว่าการเร่งอนุมัติงบประมาณ อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสี่ยงกับความล้มเหลว ทั้งนี้ตนหวังว่า กรณีสถานการณ์ของ เค วอเตอร์ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไตร่ตรอง แล้วยอมฟังเสียงประชาชน โดยการประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ กรณีที่ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำภาคเหนือ ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้มีการขุดลอก คลอง หนองน้ำ และบึงต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะภาคเหนือเป็นต้นน้ำ ควรเน้นที่การรักษาป่าไม้ มากกว่าการขุดลอก
**แผนตีหัวผู้รับเหมา-แบ่งชิ้นเค้กก่อนเซ็นสัญญา
ขณะที่ นายอรรถวิช สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีนายยัม ฮชองฮอล ออกมาระบุ บริษัท เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลหลายโมดูล ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่ามีฐานะการเงินย่ำแย่ และมีหนี้สินสูงกว่า 700 เปอร์เซนต์ และไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้นั้น ว่า เรื่องคุณสมบัติของ เค วอเตอร์ นั้น เชื่อว่าเขาสามารถสร้างตามโครงการที่กำหนดไว้ได้ เพราะสุดท้ายก็จะมีการจ้างบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กในประเทศไทยมาทำโครงการ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็เคยไปดูถึงประเทศเกาหลีมาแล้ว
ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องของคุณสมบัติ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงการตีหัวผู้รับเหมา แบบเหนือเมฆ เพื่อต่อรองราคา และผลประโยชน์กัน เพราะรัฐบาลมีเวลาต่อรองราคา จนถึงวันที่ 30 ก.ย. ก่อนจะมีการลงนามในสัญญาจ้าง ซึ่งหากผู้ชนะคือ เค วอเตอร์ ไม่สามารถต่อรองราคา ต่อรองผลประโยชน์กับรัฐบาลได้ลงตัว รัฐบาลก็จะสามารถพิจารณาบริษัทร่วมประมูล อันดับ 2 ได้ ซึ่งก็คือ บริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งเหตุนี้เอง ที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องยื่นถอดถอนครม.ทั้งคณะ เพราะสุดท้ายแล้วงานก็จะอยู่ในมือแค่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยเตือนรัฐบาลแล้วว่า ไม่ควรประมูลโครงการทั้งหมดแบบรวมเข่ง เพราะนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลมีรูปแบบการก่อสร้าง งบประมาณที่ชัดเจนประมาณ 30 % ซึ่งก็ควรแยกประมูลเป็นรายโครงการ โดยให้บริษัทขนาดเล็กในประเทศเข้ามาทำ และหากไม่มีความพร้อมที่จะทำทั้งหมดก่อนที่สิ้นสุดการกู้ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ก็ควรกู้แค่ที่มีความพร้อม แต่การรวมทั้งหมดแล้วประมูลแบบยกเข่ง โดยปิดโอกาสบริษัทขนาดเล็กนั้น เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริต และสามารถตีหัวผู้รับเหมา หาผลประโยชน์ได้ และพอมีแค่ไม่กี่บริษัทที่ได้งาน หากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อย่างกรณีของ เค วอเตอร์ ถ้ามีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อโครงการทั้งหมด แต่หากมีการแยกประมูลตั้งแต่ต้น ก็จะมีปัญหาเป็นบางโครงการเท่านั้น
** ลุ้น ศาลปค.สั่งทำประชาพิจารณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ศาลปกครองจะพิพากษากรณีโครงการบริหารจัดการน้ำในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ว่า ในการแถลงของตุลาการเจ้าของสำนวน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.นั้น แม้ไม่ใช่คำวินิจฉัย แต่ว่าก็มีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีการพูดถึงการปฏิบัติตาม มาตรา 67 ซึ่งดูเหมือนว่า จุดยืนหรือแนวคิดของผู้ที่แถลง บอกว่า ควรที่จะต้องมีการปฏิบัติตาม มาตรา 67 โดยการเข้าไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อประกอบกับการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสังคม ก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา ซึ่งหากมีการวินิจฉัยตามแนวนี้ รัฐบาลก็ต้องไปดำเนินการตามแนวนี้ ส่วนอาจจะเซ็นสัญญาไม่ทัน วันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งครบกำหนดการกู้เงิน ตนคิดว่าเป็นข้ออ้างของรัฐบาล ที่จะกู้เงินแล้วค่อยไปทำสัญญาในภายหลัง
ส่วนกรณีนายยัม ฮชองฮอล ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ออกมาระบุว่า บริษัท เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลหลายโมดูล ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่ามีฐานะการเงินย่ำแย่ และมีหนี้สินสูงกว่า 700 % และไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้นั้น อันนี้ก็เป็นคำถามต่อไปถึงรัฐบาลว่า เรามีความมั่นใจอะไร ว่าบริษัทดังกล่าวทำได้
“รัฐบาลต้องไปตรวจสอบว่า เขาพร้อมทำจริงหรือเปล่า แต่ว่าถ้ากระบวนการบอกว่า ผ่านการคัดเลือกมาแล้วนี่ อันนี้ก็ต้องมาตอบคำถามว่า ทำไมคนที่เขาตั้งข้อสังเกต หรือมีข้อมูลตรงนี้มา เขาถึงมีความไม่เชื่อมั่นตรงนี้ แล้วรัฐบาลมีความมั่นใจอะไร”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ในส่วนการตรวจสอบของพรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กำลังตรวจสอบต่อเนื่อง ซึ่งการที่เราจะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนหน้านี้นั้น ก็น่าจะเกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะข้อสังเกตเราเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วก็มีข้อสังเกตของ ป.ป.ช. เองว่า บริษัทต่างๆจะสามารถทำงานได้จริงหรือไม่ จะเกิดการทิ้งงานหรือไม่ ซึ่งก็อยู่ในคำร้องหมดแล้ว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า ขอเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ไม่ควรให้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี มาตรวจสอบ เพราะการให้บุคคลที่รับผิดชอบเรื่องนี้มาตรวจสอบ จะไม่สามารถมั่นใจได้ว่า จะดำเนินการไปด้วยความโปร่งใส
"นายกฯควรเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วยตนเอง เพราะข้อมูลที่ปรากฏมาจากบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ และได้ลงไปพื้นที่ที่จะก่อสร้างโครงการนี้ร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของไทยแล้ว ไม่ใช่ออกมากล่าวหาเลื่อนลอย ดังนั้นอยากให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบ เพื่อสร้างความโปร่งใส และดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มุ่งหวังเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ"
นายหาญณรงค์ กล่าวว่า จากโครงการ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลนั้น ทำไปโดยไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน สะท้อนชัดว่ารัฐบาลมีการให้ข้อมูลที่บิดเบือน ไม่แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่โปร่งใส ทำให้ชาวบ้านเกิดความสับสน อย่างกรณีของ บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น หรือ เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลแผนก่อสร้างใน 2 โมดูล คือ โมดูล เอ 3 และโมดูล เอ 5 ซึ่งเป็นโครงการแก้มลิง และฟลัดเวย์ ที่ทางเครือข่ายภาคประชาชนเกาหลี ได้ลงพื้นที่สำรวจเมื่อวันที่ 24-25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ใน จ.พิษณุโลก และนครสวรรค์ นั่นก็เป็นอีกแผน ที่ไร้ซึ่งการทำกรอบแนวคิดในการศึกษา ว่าเพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องก่อสร้าง ขณะที่หลายๆ โครงการมีการแอบลงพื้นที่สำรวจ เพื่อก่อสร้างเส้นทางฟลัดเวย์ และพัฒนาคูคลองโดยการขุดลอก และไม่แสดงข้อมูลเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้
ที่น่ากังวลมากที่สุด คือ รูปแบบการพัฒนาเส้นทางต่างๆ ในงบ 3.5 แสนล้าน นั้นคนยังสงสัยว่า เป็นโครงการขุดลอกคลองชลประธาน หรือ เป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข หรือแม้กระทั่งการขุดลอกบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความไร้แผนงานในการพัฒนา
**แฉ "เค วอเตอร์"ล้มเหลวในเกาหลี
ด้านนาย ยัม กล่าวว่า หลังจากทีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ทราบว่า เค วอเตอร์ ชนะการประมูลแผนพัฒนาการทรัพยากรน้ำ ใน 2 แผน ของประเทศไทย วงเงินงบประมาณ 1.5 แสนล้านนั้น ตนรู้สึกกังวลอย่างมาก กลัวว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง ทั้งปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีตามมา และปัญหาเรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าราคาเสนอโครงการ เพราะเค วอเตอร์ มีประวัติที่ไม่ดีนัก โดยแต่เดิมนั้น บริษัทดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินการในการพัฒนาระบบน้ำ แต่ต่อมา เค วอเตอร์ มารับงานก่อสร้างอื่นๆ เช่น การสร้างระบบน้ำประปาในพื้นที่อุตสาหกรรม และเมืองใหญ่ จากนั้นก็ย้ายมาก่อสร้างด้านการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ การก่อสร้างพนังกั้นน้ำท่วม ซึ่งไม่ใช่งานหลัก ทั้งๆ ที่ก่อตั้งมาในฐานะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทุนสนับสนุนโดยรัฐบาลที่ถือหุ้นมากถึง 99 % และมีผู้บริหารระดับสูง หรือ ซีอีโอ ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปี 2012 เค วอเตอร์ มีทรัพย์สินอยู่ที่ 676,000 ล้านบาท 304,000 ล้านบาท และหนี้สินประมาณ 372,000 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้ของบริษัท อยู่ที่ 99,000 ล้านบาท
ระยะเวลา 3 ปีจากปี 2008-20011 ที่ เค วอเตอร์ ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำ และคลองกังงิน รวมระยะทางทั้งหมด 600 กม. โดยใช้งบประมาณสูงถึง 5,945,000 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทระบุว่า เป็นการสร้างฟลัดเวย์ และแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งของเกาหลีใต้นั้น พบว่า ผลจากการก่อสร้างก่อหนี้สินสูงขึ้นถึง 758 % ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความล้มเหลวของเค วอเตอร์ มากที่สุด โดย 50 % ของงบประมาณนั้น เค วอเตอร์ ใช้เพื่อการบำรุงรักษาโครงการหลังก่อสร้าง ซึ่งความล้มเหลวที่มีนี้ ทำให้คนเกาหลีใต้เกือบ 80 % ต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าว
ขณะที่ความไม่โปร่งใสเรื่องการเงินนั้น อยู่ในช่วงการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของเกาหลีใต้ และสำนักงานตรวจสอบการทุจจริต เพราะเข้าข่ายทำผิดกฏหมายการเงิน ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ซึ่งเขื่อนใน 4 แม่น้ำ สร้างปัญหา สาหร่ายเขียว(Green late)ทำลายระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำของเกาหลีใต้ ทำให้สัตว์และพืชสำคัญเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น เค วอเตอร์ จึงเข้าข่ายทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งทางภาคประชาชนจะเร่งตั้งคณะทำงานจากองค์กรอิสระ และภาคประชาชน เพื่อตรวจสอบ กรณีปัญหาดังกล่าว และสรุปนำเสนอสาธารณะอีกครั้ง
** รัฐบาลต้องหันกลับมาทบทวนโครงการ
ด้านนายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาเครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน กล่าวว่า จากสถานะการเงินที่แย่ลง ของเค วอเตอร์ นั้น สะท้อนให้เห็นชัดว่า ไม่เหมาะสมแก่การรับดำเนินโครงการเส้นทางผันน้ำ สร้างฟลัดเวย์ และโครงการขุดลอกคลองบางส่วน ในแผนโมดูล เอ 5 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา และท่าจีน ในภาคตะวันตก และปริมณฑล เพราะแม้แต่โครงการในประเทศยังมีความเสียหายมหาศาลแล้ว หากปล่อยให้ดำเนินการ ย่อมไม่เกิดผลดี
อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาในส่วนของภาคประชาชนมากกว่าว่า ต้องการอะไร รวมทั้งรัฐบาลเองต้องเร่งชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีแผนพัฒนาลุ่มน้ำด้วยว่า ดำเนินการเพื่ออะไร เป็นโครงการขุดคลองของชลประทาน หรือเป็นการแก้ปัญหาระบบน้ำอย่างไร เพราะขณะนี้ประชาชนยังกังวลอยู่มาก
นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาล ใจเย็น ในเรื่องของการเดินหน้าโครงการ แล้วหันมาใส่ใจการแก้ปัญหาระบบน้ำ ที่ชุมชนทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำ มากกว่าการเร่งอนุมัติงบประมาณ อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสี่ยงกับความล้มเหลว ทั้งนี้ตนหวังว่า กรณีสถานการณ์ของ เค วอเตอร์ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไตร่ตรอง แล้วยอมฟังเสียงประชาชน โดยการประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ กรณีที่ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำภาคเหนือ ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้มีการขุดลอก คลอง หนองน้ำ และบึงต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะภาคเหนือเป็นต้นน้ำ ควรเน้นที่การรักษาป่าไม้ มากกว่าการขุดลอก
**แผนตีหัวผู้รับเหมา-แบ่งชิ้นเค้กก่อนเซ็นสัญญา
ขณะที่ นายอรรถวิช สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีนายยัม ฮชองฮอล ออกมาระบุ บริษัท เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลหลายโมดูล ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่ามีฐานะการเงินย่ำแย่ และมีหนี้สินสูงกว่า 700 เปอร์เซนต์ และไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้นั้น ว่า เรื่องคุณสมบัติของ เค วอเตอร์ นั้น เชื่อว่าเขาสามารถสร้างตามโครงการที่กำหนดไว้ได้ เพราะสุดท้ายก็จะมีการจ้างบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กในประเทศไทยมาทำโครงการ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็เคยไปดูถึงประเทศเกาหลีมาแล้ว
ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องของคุณสมบัติ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงการตีหัวผู้รับเหมา แบบเหนือเมฆ เพื่อต่อรองราคา และผลประโยชน์กัน เพราะรัฐบาลมีเวลาต่อรองราคา จนถึงวันที่ 30 ก.ย. ก่อนจะมีการลงนามในสัญญาจ้าง ซึ่งหากผู้ชนะคือ เค วอเตอร์ ไม่สามารถต่อรองราคา ต่อรองผลประโยชน์กับรัฐบาลได้ลงตัว รัฐบาลก็จะสามารถพิจารณาบริษัทร่วมประมูล อันดับ 2 ได้ ซึ่งก็คือ บริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งเหตุนี้เอง ที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องยื่นถอดถอนครม.ทั้งคณะ เพราะสุดท้ายแล้วงานก็จะอยู่ในมือแค่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยเตือนรัฐบาลแล้วว่า ไม่ควรประมูลโครงการทั้งหมดแบบรวมเข่ง เพราะนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลมีรูปแบบการก่อสร้าง งบประมาณที่ชัดเจนประมาณ 30 % ซึ่งก็ควรแยกประมูลเป็นรายโครงการ โดยให้บริษัทขนาดเล็กในประเทศเข้ามาทำ และหากไม่มีความพร้อมที่จะทำทั้งหมดก่อนที่สิ้นสุดการกู้ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ก็ควรกู้แค่ที่มีความพร้อม แต่การรวมทั้งหมดแล้วประมูลแบบยกเข่ง โดยปิดโอกาสบริษัทขนาดเล็กนั้น เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริต และสามารถตีหัวผู้รับเหมา หาผลประโยชน์ได้ และพอมีแค่ไม่กี่บริษัทที่ได้งาน หากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อย่างกรณีของ เค วอเตอร์ ถ้ามีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อโครงการทั้งหมด แต่หากมีการแยกประมูลตั้งแต่ต้น ก็จะมีปัญหาเป็นบางโครงการเท่านั้น
** ลุ้น ศาลปค.สั่งทำประชาพิจารณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ศาลปกครองจะพิพากษากรณีโครงการบริหารจัดการน้ำในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ว่า ในการแถลงของตุลาการเจ้าของสำนวน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.นั้น แม้ไม่ใช่คำวินิจฉัย แต่ว่าก็มีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีการพูดถึงการปฏิบัติตาม มาตรา 67 ซึ่งดูเหมือนว่า จุดยืนหรือแนวคิดของผู้ที่แถลง บอกว่า ควรที่จะต้องมีการปฏิบัติตาม มาตรา 67 โดยการเข้าไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อประกอบกับการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสังคม ก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา ซึ่งหากมีการวินิจฉัยตามแนวนี้ รัฐบาลก็ต้องไปดำเนินการตามแนวนี้ ส่วนอาจจะเซ็นสัญญาไม่ทัน วันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งครบกำหนดการกู้เงิน ตนคิดว่าเป็นข้ออ้างของรัฐบาล ที่จะกู้เงินแล้วค่อยไปทำสัญญาในภายหลัง
ส่วนกรณีนายยัม ฮชองฮอล ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ออกมาระบุว่า บริษัท เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลหลายโมดูล ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่ามีฐานะการเงินย่ำแย่ และมีหนี้สินสูงกว่า 700 % และไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้นั้น อันนี้ก็เป็นคำถามต่อไปถึงรัฐบาลว่า เรามีความมั่นใจอะไร ว่าบริษัทดังกล่าวทำได้
“รัฐบาลต้องไปตรวจสอบว่า เขาพร้อมทำจริงหรือเปล่า แต่ว่าถ้ากระบวนการบอกว่า ผ่านการคัดเลือกมาแล้วนี่ อันนี้ก็ต้องมาตอบคำถามว่า ทำไมคนที่เขาตั้งข้อสังเกต หรือมีข้อมูลตรงนี้มา เขาถึงมีความไม่เชื่อมั่นตรงนี้ แล้วรัฐบาลมีความมั่นใจอะไร”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ในส่วนการตรวจสอบของพรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กำลังตรวจสอบต่อเนื่อง ซึ่งการที่เราจะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนหน้านี้นั้น ก็น่าจะเกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะข้อสังเกตเราเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วก็มีข้อสังเกตของ ป.ป.ช. เองว่า บริษัทต่างๆจะสามารถทำงานได้จริงหรือไม่ จะเกิดการทิ้งงานหรือไม่ ซึ่งก็อยู่ในคำร้องหมดแล้ว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า ขอเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ไม่ควรให้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี มาตรวจสอบ เพราะการให้บุคคลที่รับผิดชอบเรื่องนี้มาตรวจสอบ จะไม่สามารถมั่นใจได้ว่า จะดำเนินการไปด้วยความโปร่งใส
"นายกฯควรเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วยตนเอง เพราะข้อมูลที่ปรากฏมาจากบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ และได้ลงไปพื้นที่ที่จะก่อสร้างโครงการนี้ร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของไทยแล้ว ไม่ใช่ออกมากล่าวหาเลื่อนลอย ดังนั้นอยากให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบ เพื่อสร้างความโปร่งใส และดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มุ่งหวังเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ"