พี่น้องชาวนาและคนเสื้อแดงเอ๋ย. . .
บัดนี้รู้หรือยังว่าจะหันคมหอกคมดาบไปทางไหน
หน้ากากขาวได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมที่ทักษิณและระบอบทักษิณได้สร้างขึ้นในสังคมไทยไปเรียบร้อยแล้วเช่นเดียวกับคนอีกหลายล้านทั่วโลก
เป็นความก้าวหน้าที่พัฒนามาจากการชุมนุมประท้วงแบบดั้งเดิมที่ต้องการแกนนำจัดตั้งเพื่อแสดงออกถึงการต่อสู้ให้กลายเป็นดุจดังมังกรเห็นหัวแต่ไม่เห็นหาง ใช้ทรัพยากรไม่มากแต่ได้ผลสำเร็จเช่นเดียวกันสามารถปรากฏตัวแสดงสัญลักษณ์ของการต่อสู้ได้ทุกเวลาและสถานที่ จน “เป็ดเหลิม” ผู้เปิดคอมฯ ยังไม่เป็นอับจนปัญญาต้องออกมาพูด “คำโต” ว่ามีใครต่อใครเป็นแกนนำอยู่เบื้องหลัง ถ้ามีและเป็นแกนนำจริงก็ต้องอยู่ข้างหน้าซิถึงจะถูกจริงไหม!
ความสำเร็จของหน้ากากขาวกล่าวได้ว่าเติบโตมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถทำอะไรเพื่อประชาชนสำเร็จสักเรื่องเดียวก็ว่าได้
จำนำข้าวตันละ 15,000 บาทเป็นตัวอย่างที่ดีของความล้มเหลวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เป็นรัฐบาลในระบอบทักษิณโดยแท้จริง เพราะทักษิณคิดให้รัฐบาลนี้ทำ ทำอย่างไรก็เลิกโครงการดีๆ อย่างนี้ไม่ได้ แม้แต่นักวิชาการแดง เช่น นิธิถึงกับกล่าวว่า จำนำข้าวเป็นการปฏิรูปประเทศ จะขาดทุนให้ชาวนาสักหน่อยจะเป็นไรไป
จุดตายของจำนำข้าวอยู่ที่การตั้งราคาจำนำฝืนกลไกตลาดที่สูงกว่าราคาตลาดเกือบ 2 เท่า ผลก็คือชาวนาหันมาทำกำไรกับรัฐบาลแทนที่จะเป็นผู้ซื้อ/ผู้บริโภค (end user)
ข้าวที่ขายในตลาดโลกเป็นข้าวสารมิใช่ข้าวเปลือก เมื่อตั้งต้นราคาจำนำข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทราคาข้าวสารก็จะสูงถึง 24,000 บาท หรือประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หากดูจากราคาตลาดข้าวสารโลก (www.oryza.com) ในปัจจุบันจะพบว่าคู่แข่ง เช่น เวียดนามขายแพงที่สุดที่ 385 อินเดียขายที่ 450 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะขายข้าวโดยไม่ขาดทุนออกไปได้อย่างไรเมื่อราคาแพงกว่าชาวบ้านเขาถึง 2 เท่า
หากประสงค์จะสร้างเงื่อนไขให้ชาวนามีอำนาจต่อรองไม่ต้องรีบขายขาดข้าวก็ต้องตั้งราคาจำนำให้ต่ำกว่าราคาตลาด เช่น 350 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันเพื่อให้ชาวนาสามารถทำกำไรโดยสามารถมาไถ่ถอนเมื่อราคาข้าวสูงขึ้นกว่า 350
การลดราคาจำนำข้าวเปลือกเหลือแค่ 12,000 บาท/ตันจึงไม่ได้แก้ไขอะไรให้ดีขึ้นมาเพราะคิดเป็นราคาข้าวสารแล้วยังสูงถึง 19,200 บาท หรือกว่า 640 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ชาวนาก็ยังคงขายข้าวทำกำไรกับรัฐบาลอยู่ดีแทนที่จะขายให้กับผู้ซื้อ/ผู้บริโภคตัวจริงเนื่องจากราคาจำนำยังแพงกว่าราคาตลาด
ส่วน “คำหวาน” ของยิ่งลักษณ์ว่าหากราคาตลาดโลกสูงขึ้นในภายภาคหน้าก็จะปรับราคาจำนำกลับมาที่ 15,000 บาทนั้นก็เป็น “คำโต” เช่นกันเพราะที่เป็นอยู่ไม่ว่าราคาจำนำจะเป็น 15,000/12,000 บาทก็สูงกว่าราคาตลาดอยู่แล้ว ราคาจำนำนี้จึง “หลุดโลก” จะปรับกลับมาเป็นดังเดิมหรือไม่นั้นไม่เกี่ยวข้องกับราคาตลาดโลกแต่อย่างใด ใจร้ายหลอกชาวนากันทั้งขึ้นทั้งล่อง
แต่ผลจากการจำนำข้าวทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ขาดทุนอย่างมโหฬารกว่า 2.6 แสนล้านบาทชั่วเวลาแค่ 2 ปีหรือ 3 ฤดูกาลผลิต และหากรวมฤดูกาลผลิตที่ 4 เข้าไปก็จะไม่หนี 3 แสนล้านไปได้สักเท่าไร จริงๆ แล้วอยากจะทำนายว่าหากขายสต๊อกข้าวที่มีอยู่ออกไปไม่ได้ราคาเพราะข้าวเน่าข้าวหายหรือราคาตลาดโลกตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ การขาดทุนถึงหลัก 5 แสนล้านก็มิใช่เป็นไปไม่ได้
จากวงเงินรับซื้อกว่า 6 แสนล้านบาท หากขาดทุนเงินหายไปแล้ว 3 แสนล้านบาทและสต๊อกข้าวที่มีอยู่กว่า 17.5 ล้านตันที่ไม่สามารถขายออกไปได้โดยไม่ขาดทุนซึ่งจะมีมูลค่าเสื่อมลงทุกวันเพราะเป็นสินค้าที่ไม่คงทนเก็บไว้ได้ไม่นานพร้อมๆ กับค่าเก็บรักษาที่เพิ่มสวนทางขึ้นทุกวัน หมายความว่านโยบายจำนำข้าวจะไม่มีเงินเหลือไว้จำนำต่อไปสักเท่าใด
ภาวะรัฐบาล “ถังแตก” จึงเป็นที่มาของการลดราคาและจำกัดวงเงินซื้อจากเกษตรกรโดยพลัน จะรอให้หมดฤดูกาลก็ไม่ได้ทั้งๆ ที่เกษตรกรใช้ข้อมูล 15,000 บาทเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะปลูกหรือไม่ ข้ออ้างเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาดหรือสอดคล้องกับวินัยทางการคลังจึงเป็นการพูด “คำโต” ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วไม่มีเงินจะทำต่อไปแม้ให้หมดฤดูกาลผลิตนี้ก็ตาม
การพูด “คำโต” เพื่อแก้ตัวในภายหลังอีกประการหนึ่งก็คือจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดเป็นการขาดทุนเพื่อให้ชาวนาได้ประโยชน์ ประเทศขาดทุนแต่ชาวนาได้ประโยชน์จะเป็นไรไป
การพยายามปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับจำนำข้าวในทุกขั้นตอนมันฟ้องว่าซื้อเข้ามาในราคาเต็ม 15,000 บาท/ตันใช่หรือไม่ แต่ราคาข้าวในประเทศก็ไม่เคยขึ้นใกล้เคียงราคา 15,000 บาทดังกล่าวแต่อย่างใด ชาวนาได้รับแค่ 9,000-11,000 บาท/ตันโดยอ้างเหตุสารพัด (ดูข้อมูลการขายข้าวทั่วประเทศได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร www.oae.go.th) วราเทพจะอ้างได้อย่างไรว่าชาวนาได้ประโยชน์จากเงินภาษีที่ประชาชนไทยทุกคนจ่ายให้ ทำไมยอมขาดทุนแล้วชาวนายังไม่ได้เท่ากับที่ขาดทุนไป? วราเทพบอกได้ไหมว่าส่วนต่างที่ชาวนาไม่ได้แต่ชาวไทยผู้เสียภาษีจ่ายอีก 4,000 - 6,000 บาท/ตันของจำนวนข้าวที่คาดว่าได้ซื้อมาประมาณ 40 ล้านตันหรือประมาณ 200,000,000,000 บาทมันหายไปไหน?
นักการเมืองมักจะเชื่อฟังคำแนะนำของนักวิชาการด้านกฎหมายเพราะไม่รู้และเป็นเรื่องที่ทำให้ติดคุกติดตะรางได้โดยง่าย แต่นักการเมืองมักไม่เชื่อคำแนะนำของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เพราะทนงตนคิดว่าตนเองนั้นเก่งกว่าเหนือกว่า หากไม่เก่งกว่าจะรวยกว่านักวิชาการได้อย่างไร นี่จึงเป็นอวิชชาการโดยแท้
นโยบายจำนำข้าวมิใช่เพิ่งทำในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่ทำมาก่อนหน้านั้นในหลายรัฐบาล แต่ไม่มีใคร “บ้า” หรือถือดีมีอวิชชาไม่ฟังเสียงเตือนไปตั้งราคาจำนำให้สูงกว่าราคาตลาดอย่าง “จำนำข้าวทุกเมล็ด” เพราะรู้ดีว่าจุดจบในบั้นปลายจะเป็นอย่างไร อย่าได้บิดเบือนโทษใครอีกเลย
ทักษิณและขี้ข้าของเขาจึงพบกับจุดจบและความล้มเหลวจากนโยบายจำนำข้าวที่ทำไปอย่างคนจิตวิปริต เช่นเดียวกับนโยบายประชานิยมอื่นๆ ที่ได้ทำมา เช่น กองทุนหมู่บ้าน รถคันแรก แปลงทรัพย์สิน (ส่วนรวม) มาเป็นทุน ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน หรือพักหนี้/ดอกเบี้ยลูกหนี้ดี ที่ทักษิณอวดฉลาดบอกว่าเป็นนโยบาย “คิดใหม่ ทำใหม่” ทั้งๆ ที่หลายๆ คนได้ “คิดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ทำ” เพราะมันสร้างความเสียหายมากกว่าประโยชน์
ชาวนา คนเสื้อแดง และอื่นๆ หากไม่มัวเมาประชานิยมเหมือนไปเสพเห็ดขี้ควายหน้าทำเนียบฯ น่าจะตระหนักได้แล้วว่าตนเองนั้นถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่ป็นธรรมจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เป็นของทักษิณและทำเพื่อทักษิณแต่เพียงอย่างเดียว
รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาศัยการตายหรือถูกจับของคนเสื้อแดงมาเป็นข้ออ้างในการป้ายสีพลิกขาวให้เป็นดำให้ทหารและรัฐบาลชุดก่อนเพื่อออกกฎหมายล้างความผิดให้ทักษิณและแกนนำที่พาคนเสื้อแดงไปตายทั้งๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญหรืออกกฎหมายเพื่อคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษปล่อยให้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทำงานไป
เช่นเดียวกันรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อาศัยความโลภที่มีอยู่ทุกคนทำโครงการจำนำข้าวโดยที่ชาวนาตัวจริงได้ผลประโยชน์เพียงน้อยนิด แต่บนความทุกข์มหาศาลของเพื่อนร่วมชาติที่ต้องสูญเสียโครงสร้างการผลิตและการค้าขายโดยเสรีนอกเหนือไปจากเงินภาษีที่หล่นหาย
หน้ากากขาวจึงมีคุณูปการที่ใครจะมี “สีเสื้อ” ใด แต่หากมาอยู่หลังหน้ากากขาวแล้วทุกคนก็มีพันธกิจร่วมกันคือต่อต้านความไม่เป็นธรรมที่ทักษิณและระบอบทักษิณได้สร้างขึ้นในสังคมไทย เป็นการสลายสีลดความขัดแย้งไปโดยปริยาย
พี่น้องชาวนาและคนเสื้อแดง พวกคุณเข้าใจหรือยังว่าควรจะหันคมหอกคมดาบไปทางด้านใด
บัดนี้รู้หรือยังว่าจะหันคมหอกคมดาบไปทางไหน
หน้ากากขาวได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมที่ทักษิณและระบอบทักษิณได้สร้างขึ้นในสังคมไทยไปเรียบร้อยแล้วเช่นเดียวกับคนอีกหลายล้านทั่วโลก
เป็นความก้าวหน้าที่พัฒนามาจากการชุมนุมประท้วงแบบดั้งเดิมที่ต้องการแกนนำจัดตั้งเพื่อแสดงออกถึงการต่อสู้ให้กลายเป็นดุจดังมังกรเห็นหัวแต่ไม่เห็นหาง ใช้ทรัพยากรไม่มากแต่ได้ผลสำเร็จเช่นเดียวกันสามารถปรากฏตัวแสดงสัญลักษณ์ของการต่อสู้ได้ทุกเวลาและสถานที่ จน “เป็ดเหลิม” ผู้เปิดคอมฯ ยังไม่เป็นอับจนปัญญาต้องออกมาพูด “คำโต” ว่ามีใครต่อใครเป็นแกนนำอยู่เบื้องหลัง ถ้ามีและเป็นแกนนำจริงก็ต้องอยู่ข้างหน้าซิถึงจะถูกจริงไหม!
ความสำเร็จของหน้ากากขาวกล่าวได้ว่าเติบโตมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถทำอะไรเพื่อประชาชนสำเร็จสักเรื่องเดียวก็ว่าได้
จำนำข้าวตันละ 15,000 บาทเป็นตัวอย่างที่ดีของความล้มเหลวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เป็นรัฐบาลในระบอบทักษิณโดยแท้จริง เพราะทักษิณคิดให้รัฐบาลนี้ทำ ทำอย่างไรก็เลิกโครงการดีๆ อย่างนี้ไม่ได้ แม้แต่นักวิชาการแดง เช่น นิธิถึงกับกล่าวว่า จำนำข้าวเป็นการปฏิรูปประเทศ จะขาดทุนให้ชาวนาสักหน่อยจะเป็นไรไป
จุดตายของจำนำข้าวอยู่ที่การตั้งราคาจำนำฝืนกลไกตลาดที่สูงกว่าราคาตลาดเกือบ 2 เท่า ผลก็คือชาวนาหันมาทำกำไรกับรัฐบาลแทนที่จะเป็นผู้ซื้อ/ผู้บริโภค (end user)
ข้าวที่ขายในตลาดโลกเป็นข้าวสารมิใช่ข้าวเปลือก เมื่อตั้งต้นราคาจำนำข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทราคาข้าวสารก็จะสูงถึง 24,000 บาท หรือประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หากดูจากราคาตลาดข้าวสารโลก (www.oryza.com) ในปัจจุบันจะพบว่าคู่แข่ง เช่น เวียดนามขายแพงที่สุดที่ 385 อินเดียขายที่ 450 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะขายข้าวโดยไม่ขาดทุนออกไปได้อย่างไรเมื่อราคาแพงกว่าชาวบ้านเขาถึง 2 เท่า
หากประสงค์จะสร้างเงื่อนไขให้ชาวนามีอำนาจต่อรองไม่ต้องรีบขายขาดข้าวก็ต้องตั้งราคาจำนำให้ต่ำกว่าราคาตลาด เช่น 350 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันเพื่อให้ชาวนาสามารถทำกำไรโดยสามารถมาไถ่ถอนเมื่อราคาข้าวสูงขึ้นกว่า 350
การลดราคาจำนำข้าวเปลือกเหลือแค่ 12,000 บาท/ตันจึงไม่ได้แก้ไขอะไรให้ดีขึ้นมาเพราะคิดเป็นราคาข้าวสารแล้วยังสูงถึง 19,200 บาท หรือกว่า 640 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ชาวนาก็ยังคงขายข้าวทำกำไรกับรัฐบาลอยู่ดีแทนที่จะขายให้กับผู้ซื้อ/ผู้บริโภคตัวจริงเนื่องจากราคาจำนำยังแพงกว่าราคาตลาด
ส่วน “คำหวาน” ของยิ่งลักษณ์ว่าหากราคาตลาดโลกสูงขึ้นในภายภาคหน้าก็จะปรับราคาจำนำกลับมาที่ 15,000 บาทนั้นก็เป็น “คำโต” เช่นกันเพราะที่เป็นอยู่ไม่ว่าราคาจำนำจะเป็น 15,000/12,000 บาทก็สูงกว่าราคาตลาดอยู่แล้ว ราคาจำนำนี้จึง “หลุดโลก” จะปรับกลับมาเป็นดังเดิมหรือไม่นั้นไม่เกี่ยวข้องกับราคาตลาดโลกแต่อย่างใด ใจร้ายหลอกชาวนากันทั้งขึ้นทั้งล่อง
แต่ผลจากการจำนำข้าวทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ขาดทุนอย่างมโหฬารกว่า 2.6 แสนล้านบาทชั่วเวลาแค่ 2 ปีหรือ 3 ฤดูกาลผลิต และหากรวมฤดูกาลผลิตที่ 4 เข้าไปก็จะไม่หนี 3 แสนล้านไปได้สักเท่าไร จริงๆ แล้วอยากจะทำนายว่าหากขายสต๊อกข้าวที่มีอยู่ออกไปไม่ได้ราคาเพราะข้าวเน่าข้าวหายหรือราคาตลาดโลกตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ การขาดทุนถึงหลัก 5 แสนล้านก็มิใช่เป็นไปไม่ได้
จากวงเงินรับซื้อกว่า 6 แสนล้านบาท หากขาดทุนเงินหายไปแล้ว 3 แสนล้านบาทและสต๊อกข้าวที่มีอยู่กว่า 17.5 ล้านตันที่ไม่สามารถขายออกไปได้โดยไม่ขาดทุนซึ่งจะมีมูลค่าเสื่อมลงทุกวันเพราะเป็นสินค้าที่ไม่คงทนเก็บไว้ได้ไม่นานพร้อมๆ กับค่าเก็บรักษาที่เพิ่มสวนทางขึ้นทุกวัน หมายความว่านโยบายจำนำข้าวจะไม่มีเงินเหลือไว้จำนำต่อไปสักเท่าใด
ภาวะรัฐบาล “ถังแตก” จึงเป็นที่มาของการลดราคาและจำกัดวงเงินซื้อจากเกษตรกรโดยพลัน จะรอให้หมดฤดูกาลก็ไม่ได้ทั้งๆ ที่เกษตรกรใช้ข้อมูล 15,000 บาทเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะปลูกหรือไม่ ข้ออ้างเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาดหรือสอดคล้องกับวินัยทางการคลังจึงเป็นการพูด “คำโต” ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วไม่มีเงินจะทำต่อไปแม้ให้หมดฤดูกาลผลิตนี้ก็ตาม
การพูด “คำโต” เพื่อแก้ตัวในภายหลังอีกประการหนึ่งก็คือจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดเป็นการขาดทุนเพื่อให้ชาวนาได้ประโยชน์ ประเทศขาดทุนแต่ชาวนาได้ประโยชน์จะเป็นไรไป
การพยายามปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับจำนำข้าวในทุกขั้นตอนมันฟ้องว่าซื้อเข้ามาในราคาเต็ม 15,000 บาท/ตันใช่หรือไม่ แต่ราคาข้าวในประเทศก็ไม่เคยขึ้นใกล้เคียงราคา 15,000 บาทดังกล่าวแต่อย่างใด ชาวนาได้รับแค่ 9,000-11,000 บาท/ตันโดยอ้างเหตุสารพัด (ดูข้อมูลการขายข้าวทั่วประเทศได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร www.oae.go.th) วราเทพจะอ้างได้อย่างไรว่าชาวนาได้ประโยชน์จากเงินภาษีที่ประชาชนไทยทุกคนจ่ายให้ ทำไมยอมขาดทุนแล้วชาวนายังไม่ได้เท่ากับที่ขาดทุนไป? วราเทพบอกได้ไหมว่าส่วนต่างที่ชาวนาไม่ได้แต่ชาวไทยผู้เสียภาษีจ่ายอีก 4,000 - 6,000 บาท/ตันของจำนวนข้าวที่คาดว่าได้ซื้อมาประมาณ 40 ล้านตันหรือประมาณ 200,000,000,000 บาทมันหายไปไหน?
นักการเมืองมักจะเชื่อฟังคำแนะนำของนักวิชาการด้านกฎหมายเพราะไม่รู้และเป็นเรื่องที่ทำให้ติดคุกติดตะรางได้โดยง่าย แต่นักการเมืองมักไม่เชื่อคำแนะนำของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เพราะทนงตนคิดว่าตนเองนั้นเก่งกว่าเหนือกว่า หากไม่เก่งกว่าจะรวยกว่านักวิชาการได้อย่างไร นี่จึงเป็นอวิชชาการโดยแท้
นโยบายจำนำข้าวมิใช่เพิ่งทำในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่ทำมาก่อนหน้านั้นในหลายรัฐบาล แต่ไม่มีใคร “บ้า” หรือถือดีมีอวิชชาไม่ฟังเสียงเตือนไปตั้งราคาจำนำให้สูงกว่าราคาตลาดอย่าง “จำนำข้าวทุกเมล็ด” เพราะรู้ดีว่าจุดจบในบั้นปลายจะเป็นอย่างไร อย่าได้บิดเบือนโทษใครอีกเลย
ทักษิณและขี้ข้าของเขาจึงพบกับจุดจบและความล้มเหลวจากนโยบายจำนำข้าวที่ทำไปอย่างคนจิตวิปริต เช่นเดียวกับนโยบายประชานิยมอื่นๆ ที่ได้ทำมา เช่น กองทุนหมู่บ้าน รถคันแรก แปลงทรัพย์สิน (ส่วนรวม) มาเป็นทุน ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน หรือพักหนี้/ดอกเบี้ยลูกหนี้ดี ที่ทักษิณอวดฉลาดบอกว่าเป็นนโยบาย “คิดใหม่ ทำใหม่” ทั้งๆ ที่หลายๆ คนได้ “คิดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ทำ” เพราะมันสร้างความเสียหายมากกว่าประโยชน์
ชาวนา คนเสื้อแดง และอื่นๆ หากไม่มัวเมาประชานิยมเหมือนไปเสพเห็ดขี้ควายหน้าทำเนียบฯ น่าจะตระหนักได้แล้วว่าตนเองนั้นถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่ป็นธรรมจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เป็นของทักษิณและทำเพื่อทักษิณแต่เพียงอย่างเดียว
รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาศัยการตายหรือถูกจับของคนเสื้อแดงมาเป็นข้ออ้างในการป้ายสีพลิกขาวให้เป็นดำให้ทหารและรัฐบาลชุดก่อนเพื่อออกกฎหมายล้างความผิดให้ทักษิณและแกนนำที่พาคนเสื้อแดงไปตายทั้งๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญหรืออกกฎหมายเพื่อคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษปล่อยให้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทำงานไป
เช่นเดียวกันรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อาศัยความโลภที่มีอยู่ทุกคนทำโครงการจำนำข้าวโดยที่ชาวนาตัวจริงได้ผลประโยชน์เพียงน้อยนิด แต่บนความทุกข์มหาศาลของเพื่อนร่วมชาติที่ต้องสูญเสียโครงสร้างการผลิตและการค้าขายโดยเสรีนอกเหนือไปจากเงินภาษีที่หล่นหาย
หน้ากากขาวจึงมีคุณูปการที่ใครจะมี “สีเสื้อ” ใด แต่หากมาอยู่หลังหน้ากากขาวแล้วทุกคนก็มีพันธกิจร่วมกันคือต่อต้านความไม่เป็นธรรมที่ทักษิณและระบอบทักษิณได้สร้างขึ้นในสังคมไทย เป็นการสลายสีลดความขัดแย้งไปโดยปริยาย
พี่น้องชาวนาและคนเสื้อแดง พวกคุณเข้าใจหรือยังว่าควรจะหันคมหอกคมดาบไปทางด้านใด