ASTVผู้จัดการ - บอร์ดแบงก์ชาติเตรียมนำเรื่องสถานที่ตั้งสถานีบางขุนพรหม ของรถไฟฟ้าสายสีม่วงเข้าพิจารณาวันที่ 24 มิ.ย. หลังชาวบ้านในละแวกออกมาคัดค้านกรณี รฟม.เตรียมเวนคืนที่ดินและเสนอให้ใช้ลานจอดรถของแบงก์ชาติแทน “ประสาร” ระบุ ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจตัดสินใจเอง
จากกรณีที่ผู้สื่อข่าว ASTVผู้จัดการ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังพบว่ามีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ของสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 แต่กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ โดยเฉพาะชาวชุมชนบางขุนพรหม ที่ตามแผนของ รฟม.จะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม โดยจะใช้พื้นที่ระยะทางประมาณ 300 เมตร ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู ในการก่อสร้างสถานี ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านจากประชาชนในชุมชนอย่างหนัก ทั้งนี้ในการประชุมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ได้มีการเสนอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติแทนนั้น
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนไม่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว ต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปหารือกับคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติ อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงเรื่องความความมั่นคงและปลอดภัยภายใน ธปท.ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ จะมีการประชุมบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งคาดว่าจะนำเรื่องนี้เข้าร่วมพิจารณาด้วย
สำหรับ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้ 10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ
11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม
จากกรณีที่ผู้สื่อข่าว ASTVผู้จัดการ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังพบว่ามีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ของสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 แต่กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ โดยเฉพาะชาวชุมชนบางขุนพรหม ที่ตามแผนของ รฟม.จะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม โดยจะใช้พื้นที่ระยะทางประมาณ 300 เมตร ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู ในการก่อสร้างสถานี ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านจากประชาชนในชุมชนอย่างหนัก ทั้งนี้ในการประชุมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ได้มีการเสนอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติแทนนั้น
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนไม่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว ต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปหารือกับคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติ อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงเรื่องความความมั่นคงและปลอดภัยภายใน ธปท.ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ จะมีการประชุมบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งคาดว่าจะนำเรื่องนี้เข้าร่วมพิจารณาด้วย
สำหรับ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้ 10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ
11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม