ชาวบางขุนพรหมขอตายพื้นที่บรรพบุรุษ ค้าน รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ เหตุถูกคืนพื้นที่ไม่มีความชัดเจน เสนอใช้พื้นที่ลานจอดรถแบงก์ชาติ สร้างสถานีขึ้นลงแทน หรือยุบสถานีไปเลย
ผู้สื่อข่าว “หนังสือพิมพ์ astvผู้จัดการ” ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากพบว่ามีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ของสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งจากการสอบถามนางสาวอภิสรา สิทธิสรเดช และนายนิรุทธ สิทธิสรเดช ตัวแทนชาวบ้านย่านบางขุนพรหม ทราบว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการมีแผนการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 แต่กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ โดยเฉพาะชาวชุมชนบางขุนพรหมที่ตามแผนของ รฟม.จะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งก่อนหน้านี้แม้จะมีการประชุมชี้แจงกลุ่มย่อย แต่ทาง รฟม.โดยบริษัทที่ปรึกษาก็มีใบปลิวมาแจ้งให้ไปประชุมไม่กี่หลังคาเรือนขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ จนกระทั่งมีการประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 6 เม.ย.2556 ซึ่งมีชาวบ้านเพียง 6 หลังคาเรือนที่ได้รับใบปลิวแจ้งมีการประชุมชี้แจง ซึ่งมีคนไปประชุมประมาณ 50 คนที่วัดสามพระยา จากที่มีกว่าร้อยหลังคาเรือนในพื้นที่ทาง บ.ที่ปรึกษา รฟม.ก็ได้ชี้แจงแต่เพียงว่าจะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเกิดขึ้น โดยบอกแต่เพียงว่าจะใช้พื้นที่ระยะทางประมาณ 300 เมตร ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู ในการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งพวกตนตกใจมาก ต่อมาวันที่ 30 เม.ย.ก็มีการประชุมโดยเชิญชาวบ้านที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งหมดมาประชุม แต่ก็เป็นเหมือนการประชาสัมพันธ์โครงการก็ยังไม่มีการแจ้งว่าจะมีการเวนคืนพื้นที่ส่วนใดบ้าง มีกี่หลังคาเรือน บ้านเลขที่ใดที่ต้องเวนคืน
นางสาวอภิสรา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ พวกตนได้เป็นตัวแทนชาวชุมชนไปหารือกับผู้บริหารระดับสูงของทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาทิ นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายบริหาร นายชาญชัย บุญฤทธิไชยศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานบริหาร เพื่อขอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถสร้างสถานีแทนที่จะเวนคืนที่ของชาวบ้าน ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยินดีที่จะให้ใช้พื้นที่ แต่จะต้องไม่กระทบส่วนความมั่นคง จากนั้นพวกตนก็ได้แจ้งไปยัง บ.ที่ปรึกษาฯ แต่เรื่องก็เงียบหาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทาง บ.ที่ปรึกษาได้แจ้งกับพวกตนว่าได้ส่งวิศวกรเข้ามาตรวจวัดพื้นที่แล้ว สามารถสร้างสถานีขึ้นลงในพื้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ และอีกฝั่งก็จะใช้พื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบางขุนพรหม ขณะเดียวกันได้สอบถามไปยัง ธปท.ก็ทราบว่า รฟม.ไม่มีการติดต่อส่งแปลนการใช้พื้นที่มาให้แต่ประการใด พอสอบถามไปยัง บ.ที่ปรึกษาอีกครั้งทางนั้นก็บอกว่าทาง ธปท.ไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถ และท้ายที่สุด รฟม.ก็มีการประกาศว่าจะกลับมาใช้พื้นที่ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู โดยนับจากสี่แยกบางขุนพรหม ร่นมา 17 เมตร จะเป็นจุดเริ่มต้นโครงการโดยกล่าวอ้างว่าพื้นที่ของ ธปท.ไม่เพียงพอ
“ค่าเวนคืนเราไม่สนใจ ไม่มีใครอยากย้ายมันไม่คุ้มค่าที่เราจะต้องเสียสิ่งที่บรรพบุรุษสร้าง เช่น ย่านนี้มีบ้านโบราณอายุกว่า 160 ปี บ้านที่พวกพี่อยู่กันมาก็ 40-50 ปีแล้ว ซึ่งที่พวกเราร้อนใจก็เพราะว่าผู้ว่าการ รฟม.ประกาศจะเวนคืนที่ภายในปีนี้ และเริ่มโครงการตั้งแต่ต้นปีหน้า พี่จากที่เคยหลับสนิทก็ต้องมาสะดุ้งตื่นตี 2-3 ทุกวัน ตอนนี้เราประชุมกันทุกอาทิตย์พูดคุยกันแต่เรื่องนี้จนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านเรา เริ่มออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน ทยอยติดป้ายบางส่วนและจะติดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอยากให้ รฟม.กลับไปใช้พื้นที่ลานจอดรถของแบงก์ชาติ นอกจากนี้ เรายังมีข้อสังเกตว่าทำไมถึงไม่ใช้พื้นที่อาคารร้างแถวย่านบางลำพูแทน แค่ขยับขึ้นไปไม่กี่ร้อยเมตรซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีนักท่องเที่ยวมาจากทั่วโลก ซึ่งจะคุ้มค่าในการลงทุน หรือหากเป็นไปได้ก็ให้ยุบสถานีบางขุนพรหม ไปรวมที่สถานีผ่านฟ้า ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์แทน และให้สร้างปล่องระบายอากาศ ทางหนีไฟในพื้นที่ของแบงก์ชาติ ถ้ากลัวเกิดไฟไหม้ ดังนั้น จึงขอผู้ว่าการ รฟม. ผู้ว่าการแบงก์ชาติ เมตตาประชาชนที่เดือดร้อน” นางสาวอภิสรา กล่าว
ตัวแทนชุมชนบางขุนพรหม กล่าวด้วยว่า หาก รฟม.ยืนยันที่จะสร้างตรงนี้ตนเองยืนยันได้เลยว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนจะกลายเป็นสถานีไม่มีผู้ใช้ อย่าคิดว่าใกล้ไกล พวกตนสามารถนั่งรถประจำทางได้ เมื่อฝนตกน้ำก็ท่วมถึงทางเดินเท้าแม้จะมีการลอกท่ออย่างดีจาก กทม.แล้วก็ตาม อีกทั้งซอยวัดสามพระยา ซึ่งเป็นบริเวณที่จะสร้างมีจุดเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาหากเกิดอุทกภัยก็จะน่าห่วงที่สุด ที่สำคัญพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ของบรรพบุรุษมีโฉนดทุกหลังคาเรือน ไม่ใช่ที่ทรัพย์สิน และที่รกร้างแต่อย่างใด ดังนั้นหากมาสร้างที่นี่คนในพื้นที่จริงๆ เดือดร้อนแน่นอน
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้
10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ 11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม
ผู้สื่อข่าว “หนังสือพิมพ์ astvผู้จัดการ” ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากพบว่ามีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ของสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งจากการสอบถามนางสาวอภิสรา สิทธิสรเดช และนายนิรุทธ สิทธิสรเดช ตัวแทนชาวบ้านย่านบางขุนพรหม ทราบว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการมีแผนการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 แต่กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ โดยเฉพาะชาวชุมชนบางขุนพรหมที่ตามแผนของ รฟม.จะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งก่อนหน้านี้แม้จะมีการประชุมชี้แจงกลุ่มย่อย แต่ทาง รฟม.โดยบริษัทที่ปรึกษาก็มีใบปลิวมาแจ้งให้ไปประชุมไม่กี่หลังคาเรือนขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ จนกระทั่งมีการประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 6 เม.ย.2556 ซึ่งมีชาวบ้านเพียง 6 หลังคาเรือนที่ได้รับใบปลิวแจ้งมีการประชุมชี้แจง ซึ่งมีคนไปประชุมประมาณ 50 คนที่วัดสามพระยา จากที่มีกว่าร้อยหลังคาเรือนในพื้นที่ทาง บ.ที่ปรึกษา รฟม.ก็ได้ชี้แจงแต่เพียงว่าจะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเกิดขึ้น โดยบอกแต่เพียงว่าจะใช้พื้นที่ระยะทางประมาณ 300 เมตร ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู ในการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งพวกตนตกใจมาก ต่อมาวันที่ 30 เม.ย.ก็มีการประชุมโดยเชิญชาวบ้านที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งหมดมาประชุม แต่ก็เป็นเหมือนการประชาสัมพันธ์โครงการก็ยังไม่มีการแจ้งว่าจะมีการเวนคืนพื้นที่ส่วนใดบ้าง มีกี่หลังคาเรือน บ้านเลขที่ใดที่ต้องเวนคืน
นางสาวอภิสรา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ พวกตนได้เป็นตัวแทนชาวชุมชนไปหารือกับผู้บริหารระดับสูงของทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาทิ นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายบริหาร นายชาญชัย บุญฤทธิไชยศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานบริหาร เพื่อขอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถสร้างสถานีแทนที่จะเวนคืนที่ของชาวบ้าน ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยินดีที่จะให้ใช้พื้นที่ แต่จะต้องไม่กระทบส่วนความมั่นคง จากนั้นพวกตนก็ได้แจ้งไปยัง บ.ที่ปรึกษาฯ แต่เรื่องก็เงียบหาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทาง บ.ที่ปรึกษาได้แจ้งกับพวกตนว่าได้ส่งวิศวกรเข้ามาตรวจวัดพื้นที่แล้ว สามารถสร้างสถานีขึ้นลงในพื้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ และอีกฝั่งก็จะใช้พื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบางขุนพรหม ขณะเดียวกันได้สอบถามไปยัง ธปท.ก็ทราบว่า รฟม.ไม่มีการติดต่อส่งแปลนการใช้พื้นที่มาให้แต่ประการใด พอสอบถามไปยัง บ.ที่ปรึกษาอีกครั้งทางนั้นก็บอกว่าทาง ธปท.ไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถ และท้ายที่สุด รฟม.ก็มีการประกาศว่าจะกลับมาใช้พื้นที่ตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหม ไปจนเกือบถึงสะพานข้ามคลองบางลำพู โดยนับจากสี่แยกบางขุนพรหม ร่นมา 17 เมตร จะเป็นจุดเริ่มต้นโครงการโดยกล่าวอ้างว่าพื้นที่ของ ธปท.ไม่เพียงพอ
“ค่าเวนคืนเราไม่สนใจ ไม่มีใครอยากย้ายมันไม่คุ้มค่าที่เราจะต้องเสียสิ่งที่บรรพบุรุษสร้าง เช่น ย่านนี้มีบ้านโบราณอายุกว่า 160 ปี บ้านที่พวกพี่อยู่กันมาก็ 40-50 ปีแล้ว ซึ่งที่พวกเราร้อนใจก็เพราะว่าผู้ว่าการ รฟม.ประกาศจะเวนคืนที่ภายในปีนี้ และเริ่มโครงการตั้งแต่ต้นปีหน้า พี่จากที่เคยหลับสนิทก็ต้องมาสะดุ้งตื่นตี 2-3 ทุกวัน ตอนนี้เราประชุมกันทุกอาทิตย์พูดคุยกันแต่เรื่องนี้จนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านเรา เริ่มออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน ทยอยติดป้ายบางส่วนและจะติดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอยากให้ รฟม.กลับไปใช้พื้นที่ลานจอดรถของแบงก์ชาติ นอกจากนี้ เรายังมีข้อสังเกตว่าทำไมถึงไม่ใช้พื้นที่อาคารร้างแถวย่านบางลำพูแทน แค่ขยับขึ้นไปไม่กี่ร้อยเมตรซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีนักท่องเที่ยวมาจากทั่วโลก ซึ่งจะคุ้มค่าในการลงทุน หรือหากเป็นไปได้ก็ให้ยุบสถานีบางขุนพรหม ไปรวมที่สถานีผ่านฟ้า ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์แทน และให้สร้างปล่องระบายอากาศ ทางหนีไฟในพื้นที่ของแบงก์ชาติ ถ้ากลัวเกิดไฟไหม้ ดังนั้น จึงขอผู้ว่าการ รฟม. ผู้ว่าการแบงก์ชาติ เมตตาประชาชนที่เดือดร้อน” นางสาวอภิสรา กล่าว
ตัวแทนชุมชนบางขุนพรหม กล่าวด้วยว่า หาก รฟม.ยืนยันที่จะสร้างตรงนี้ตนเองยืนยันได้เลยว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนจะกลายเป็นสถานีไม่มีผู้ใช้ อย่าคิดว่าใกล้ไกล พวกตนสามารถนั่งรถประจำทางได้ เมื่อฝนตกน้ำก็ท่วมถึงทางเดินเท้าแม้จะมีการลอกท่ออย่างดีจาก กทม.แล้วก็ตาม อีกทั้งซอยวัดสามพระยา ซึ่งเป็นบริเวณที่จะสร้างมีจุดเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาหากเกิดอุทกภัยก็จะน่าห่วงที่สุด ที่สำคัญพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ของบรรพบุรุษมีโฉนดทุกหลังคาเรือน ไม่ใช่ที่ทรัพย์สิน และที่รกร้างแต่อย่างใด ดังนั้นหากมาสร้างที่นี่คนในพื้นที่จริงๆ เดือดร้อนแน่นอน
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้
10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ 11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม