บอร์ดแบงก์ชาติรับทราบ และเห็นชอบให้ฝ่ายบริหารคุยกับ รฟม.ในการสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง คาดต้องใช้พื้นที่ ธปท.บ้าง และบางส่วนอาจมีการเวนคืนที่ดินแถวบางขุนพรหม ย้ำการใช้พื้นที่ ธปท.ก็ต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยด้วย ภาคอสังหาฯ ชี้ราคาเกาะแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงพุ่งต่อเนื่อง คาดต่อปีไม่ต่ำกว่า 30-40% พร้อมแนะภาครัฐ-รฟม. ทำความเข้าใจชาวบ้านกับการเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า หวั่นปัญหาม็อบบานปลายกระทบโครงการได้
เมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติ ได้ประชุมวาระปกติประจำเดือน มิ.ย.56 ซึ่งใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง มีการนำเสนอวาระที่ประชุม 6-7 เรื่อง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ในฐานะเลขานุการบอร์ดแบงก์ชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า บอร์ดแบงก์ชาติได้รับทราบ และเห็นชอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คุยกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แต่ไม่ใช่อนุมัติว่าใช้พื้นที่ของ ธปท.หรือไม่ โดยเข้าใจว่าสถานีจะอยู่ใต้ถนนสามเสน
ส่วนทางขึ้นลงของสถานีจะอยู่บริเวณใดยังไม่ชัดเจน ต้องคุยกับรฟม.อีกที จึงคาดว่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคงเข้าพื้นที่ ธปท.บ้าง
“จากรั้วเข้ามาใต้ดินไม่เกิน 10 เมตร ซึ่งส่วนนั้นจะมีอาคาร 2 ของ ธปท.จะต้องคำนึงระบบรักษาความปลอดภัยพอสมควร อย่างไรก็ตาม การสร้างรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ดีเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย และคาดว่าประชาชนบางส่วนจะถูกเวนคืนบ้าง แม้ใช้พื้นที่แบงก์ชาติบ้าง” เลขานุการบอร์ดแบงก์ชาติกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสี่แยกบางขุนพรหมมีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหมของสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งประชาชนบางส่วนได้เสนอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถของ ธปท.
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้ 10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ 11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม
ที่ดินเกาะแนวสายสีม่วงราคาพุ่ง
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ภาครัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง และชุมชนออกไปย่านชานเมืองมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการเปิดที่ดินตาบอด และถูกพัฒนาให้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่ล่าสุด ชาวบางขุนพรหมได้ชุมนุม พร้อมประกาศขอตายพื้นที่บรรพบุรุษ ค้าน รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ เหตุถูกเวนคืนพื้นที่ไม่มีความชัดเจน
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ผลจากการขยายของโครงการรถไฟฟ้าส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรไปยังชานเมืองมากขึ้น โดยคาดว่า มีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สูงสุดอยู่ในย่านบางใหญ่ เติบโตเกินกว่า 100% รองลงมาคือ บางบัวทอง ไม่ต่ำกว่า 85% ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีความคืบหน้าไปมาก ขณะที่ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้ไปลงทุน และพัฒนาที่ดินจำนวนมาก จนส่งผลต่อราคาที่ดินที่ปรับตัวค่อนข้างมาก คาดว่าราคาซื้อขายที่ดินติดถนนสายหลักอย่างรัตนาธิเบศร์ วงแหวนกาญจนาภิเษก น่าจะปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 30-40% ต่อปี ไม่รวมทำเลเปิดใหม่ที่กลายเป็นทำเลสุดฮอต
“เราในฐานะผู้ประกอบการหนุนเรื่องเกี่ยวกับการลงทุน และสร้างโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน และเปิดโอกาสในทางเลือกของการมีที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ถูกบีบบังคับต้องอยู่ในเมือง ซึ่งในความเป็นจริง ราคาที่ดินในเมืองแพงมาก ทำให้ที่อยู่อาศัยสูงตามต้นทุน และหากในอนาคตเป้ารถไฟฟ้า 10 สายที่จะมีขึ้น จะพลิกโฉมการอยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป เมืองบริเวณรอบนอกกรุงเทพฯ จะช่วยแบ่งรับภาระเมืองหลวงไปในอนาคต”
แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องของการบริหารจัดการของการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่เกิดปัญหาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีประชาชนผู้อยู่อาศัยออกมาประท้วง การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของภาครัฐ ยังไม่นับรวมความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน รวมถึงวิกฤตบนท้องถนนที่ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในเมืองมีปัญหาเรื่องการสัญจร มีปัญหาเรื่องสุขภาพ
“จะว่าไปแล้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทางแค่ 23 กม. วงเงินลงทุน 60,000 ล้าน ที่ รฟม.ลงนามในสัญญาก่อสร้างกันมาตั้งแต่ปีมะโว้ 2552 อุตส่าห์ซอยสัญญาก่อสร้างออกไปถึง 7 สัญญา เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 4 ปี แต่จนวันนี้ผ่านมาจะ 4 ปีรอมร่อ การก่อสร้างเพิ่งคืบหน้าไปได้แค่ 50% เท่านั้น จน รฟม.ต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการจากปลายปี 2557 ไปเป็นปลายปี 58 หรือเผลอๆ อาจต้องเลื่อนไปกลางปี 59” แหล่งข่าวระบุ และตั้งข้อสังเกตว่า
หากภาครัฐมีความชัดเจนในเรื่องของการเวนคืนที่ดินแล้ว ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าการคัดค้านจะเกิดจากคนในชุมชน หรือมีวาระซ่อนเร้นจากกลุ่มอื่น
เมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) หรือบอร์ดแบงก์ชาติ ได้ประชุมวาระปกติประจำเดือน มิ.ย.56 ซึ่งใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง มีการนำเสนอวาระที่ประชุม 6-7 เรื่อง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ในฐานะเลขานุการบอร์ดแบงก์ชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า บอร์ดแบงก์ชาติได้รับทราบ และเห็นชอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คุยกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แต่ไม่ใช่อนุมัติว่าใช้พื้นที่ของ ธปท.หรือไม่ โดยเข้าใจว่าสถานีจะอยู่ใต้ถนนสามเสน
ส่วนทางขึ้นลงของสถานีจะอยู่บริเวณใดยังไม่ชัดเจน ต้องคุยกับรฟม.อีกที จึงคาดว่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคงเข้าพื้นที่ ธปท.บ้าง
“จากรั้วเข้ามาใต้ดินไม่เกิน 10 เมตร ซึ่งส่วนนั้นจะมีอาคาร 2 ของ ธปท.จะต้องคำนึงระบบรักษาความปลอดภัยพอสมควร อย่างไรก็ตาม การสร้างรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ดีเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย และคาดว่าประชาชนบางส่วนจะถูกเวนคืนบ้าง แม้ใช้พื้นที่แบงก์ชาติบ้าง” เลขานุการบอร์ดแบงก์ชาติกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสี่แยกบางขุนพรหมมีการติดป้ายคัดค้านการสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหมของสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ตลอดถนนสามเสน ซึ่งประชาชนบางส่วนได้เสนอให้ใช้พื้นที่ลานจอดรถของ ธปท.
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะเริ่มที่จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่สถานีเตาปูน แล้วเบี่ยงมาทางด้านตะวันออก เปลี่ยนเป็นเส้นอุโมงค์ใต้ดินก่อนถึงคลองบางซื่อ เบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร แยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาชัย ผ่านวัดราชนัดดา เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพุทธ แล้ววิ่งเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ มี 16 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 6 สถานี 1.สถานีรัฐสภา กลาง ถ.สามเสน ระหว่างอาคารรัฐสภาใหม่ กับ ม.พัน 4 รอ. 2.สถานีศรีย่าน หน้ากรมชลประทาน 3.สถานีสามเสน บริเวณจุดตัด ถ.ราชวิถี 4.สถานีหอสมุดแห่งชาติ 5.สถานีบางขุนพรหม อยู่หน้าแบงก์ชาติ
6.สถานีผ่านฟ้า อยู่ ถ.พระสุเมรุใกล้กับ ถ.ราชดำเนินนอก และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แล้วเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม 7.สถานีวังบูรพา อยู่ ถ.มหาชัย แยกสามยอด เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 8.สถานีสะพานพุทธ 9.สถานีวงเวียนใหญ่ ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้วงเวียนใหญ่ อนาคตเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง (มหาชัย-แม่กลอง) และสถานีบีทีเอสได้ 10.สถานีสำเหร่ หน้ากรมการแพทย์ทหารเรือ 11.สถานีจอมทอง หน้า ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 12.สถานีดาวคะนอง ถ.สุขสวัสดิ์ซอย 7 13.สถานีบางปะกอก ซอย 30 14.สถานีประชาอุทิศ เยื้อง ถ.ประชาอุทิศ 15.สถานีราษฎร์บูรณะ อยู่คร่อมคลองแจงร้อน และ 16.สถานีพระประแดง บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ถ.วงแหวนอุตสาหกรรม
ที่ดินเกาะแนวสายสีม่วงราคาพุ่ง
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ภาครัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง และชุมชนออกไปย่านชานเมืองมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการเปิดที่ดินตาบอด และถูกพัฒนาให้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่ล่าสุด ชาวบางขุนพรหมได้ชุมนุม พร้อมประกาศขอตายพื้นที่บรรพบุรุษ ค้าน รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ เหตุถูกเวนคืนพื้นที่ไม่มีความชัดเจน
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ผลจากการขยายของโครงการรถไฟฟ้าส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรไปยังชานเมืองมากขึ้น โดยคาดว่า มีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สูงสุดอยู่ในย่านบางใหญ่ เติบโตเกินกว่า 100% รองลงมาคือ บางบัวทอง ไม่ต่ำกว่า 85% ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีความคืบหน้าไปมาก ขณะที่ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้ไปลงทุน และพัฒนาที่ดินจำนวนมาก จนส่งผลต่อราคาที่ดินที่ปรับตัวค่อนข้างมาก คาดว่าราคาซื้อขายที่ดินติดถนนสายหลักอย่างรัตนาธิเบศร์ วงแหวนกาญจนาภิเษก น่าจะปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 30-40% ต่อปี ไม่รวมทำเลเปิดใหม่ที่กลายเป็นทำเลสุดฮอต
“เราในฐานะผู้ประกอบการหนุนเรื่องเกี่ยวกับการลงทุน และสร้างโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน และเปิดโอกาสในทางเลือกของการมีที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ถูกบีบบังคับต้องอยู่ในเมือง ซึ่งในความเป็นจริง ราคาที่ดินในเมืองแพงมาก ทำให้ที่อยู่อาศัยสูงตามต้นทุน และหากในอนาคตเป้ารถไฟฟ้า 10 สายที่จะมีขึ้น จะพลิกโฉมการอยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป เมืองบริเวณรอบนอกกรุงเทพฯ จะช่วยแบ่งรับภาระเมืองหลวงไปในอนาคต”
แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องของการบริหารจัดการของการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่เกิดปัญหาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีประชาชนผู้อยู่อาศัยออกมาประท้วง การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของภาครัฐ ยังไม่นับรวมความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน รวมถึงวิกฤตบนท้องถนนที่ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในเมืองมีปัญหาเรื่องการสัญจร มีปัญหาเรื่องสุขภาพ
“จะว่าไปแล้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทางแค่ 23 กม. วงเงินลงทุน 60,000 ล้าน ที่ รฟม.ลงนามในสัญญาก่อสร้างกันมาตั้งแต่ปีมะโว้ 2552 อุตส่าห์ซอยสัญญาก่อสร้างออกไปถึง 7 สัญญา เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 4 ปี แต่จนวันนี้ผ่านมาจะ 4 ปีรอมร่อ การก่อสร้างเพิ่งคืบหน้าไปได้แค่ 50% เท่านั้น จน รฟม.ต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการจากปลายปี 2557 ไปเป็นปลายปี 58 หรือเผลอๆ อาจต้องเลื่อนไปกลางปี 59” แหล่งข่าวระบุ และตั้งข้อสังเกตว่า
หากภาครัฐมีความชัดเจนในเรื่องของการเวนคืนที่ดินแล้ว ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าการคัดค้านจะเกิดจากคนในชุมชน หรือมีวาระซ่อนเร้นจากกลุ่มอื่น