วานนี้(17 มิ.ย.56) นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. กล่าวยืนยันว่าขณะนี้เอกชนทั้ง 4 กลุ่มบริษัท ได้ลงนามเอกสารที่เป็นผลการเจรจา และ ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี บรรจุเรื่องนี้ลงในระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มิ.ย.นี้ โดยสาระสำคัญ คือ การขออนุมัติการดำเนินโครงการทั้ง 9 โมดูล และ กรอบวงเงินจำนวน 304,000 ล้านบาท
ด้านนายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)ได้จัดแถลงข่าวด่วนว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนการนำรายชื่อบริษัทเอกชนที่จะเสนอเข้าครม. และต้องการให้ทบทวนบางโมดูลที่ไม่น่าจะดำเนินการได้เพราะยังไม่ชัดเจน อาจมีผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่อย่างรุนแรง รวมทั้งยังขัดต่อระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอีกด้วย
ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือผลการคัดเลือกผู้รับจ้างที่ผ่านเกณฑ์ทางด้านเทคนิคแล้ว จึงมาเปิดซองด้านราคาซึ่งโดยทั่วไปน่าจะเป็นกระบวนการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ไม่ใช่กระบวนการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งขั้นตอนตามปกติจะต้องมีการแข่งขันด้านราคาด้วยวิธีการประมูล (อีออคชั่น)เพื่อให้ได้ราคาต่ำสุดบนพื้นฐานรูปแบบเดียวกัน แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงทำให้สูงเกือบเท่ากับกรอบวงเงินกู้ที่จัดเตรียมไว้
เรื่องนี้รัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะถูกการฟ้องร้องกับเอกชน และกลายเป็นค่าโง่แบบโครงการใหญ่ทั้ง 2 โครงการโดยสมาคมจะเป็นองค์กรกลาง เพื่อติดตามตรวจสอบโครงการน้ำ และแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ โดยต้องรอความหวังสุดท้ายว่าศาลปกครองจะมีคำตัดสินพิพากษาในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนนั้นขอเสนอให้รัฐบาลออกเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เมื่อก่อสร้างไปแล้ว เนื่องจากว่าโครงการนี้ใช้วิธีการออกแบบไปก่อสร้างไป และที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เปิดเผยข้อมูลเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทเอกชนที่ชนะการเสนอราคาในรอบแรก การจัดซื้อจัดจ้างแบบวิธีพิเศษมีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการทิ้งงาน และให้เกิดความโปร่งใส โดย นายปลอด จะเสนอรายชื่อบริษัทเอกชนที่ชนะการเสนอราคาทั้ง 9 แผนงาน 10 โครงการ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา หากผ่านความเห็นชอบต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ในการทำสัญญา ก่อนดำเนินการก่อสร้าง โดยเห็นว่ารัฐบาลควรใช้เวลานี้ออกเดินสายทำความเข้าใจ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันถ่วงที หากเกิดปัญหาขึ้น
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานกลุ่มราษฎรคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ จ.แพร่ อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า ขอให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ทบทวนการอนุมัติลงนามในสัญญากับภาคเอกชน ที่จะเข้าสู่ ครม. ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชน และไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เชื่อมโยงทุกโมดูล นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำตามแผนงานโมดูล A1 ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน เช่น เขื่อนแม่น้ำยม เขื่อนแม่ขาน เขื่อนแม่แจ่ม เขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็นแผนเดิมนั้น ที่ผ่านมายังไม่ได้ข้อยุติและชาวบ้านยังคงคัดค้านอยู่ ดังนั้น จึงเป็นการผลักปัญหาไปให้ภาคเอกชนที่ประมูลงานได้ ให้เกิดความขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่แทน
ทั้งนี้ ยังขอให้รัฐบาลชี้แจงเหตุผลที่ไม่เลือกตามข้อเสนอของรัฐบาลญี่ปุ่นโดย ไจก้า ที่ใช้งบประมาณน้อยกว่า และไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนด้วย
ที่รัฐสภา นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ(กมธ.) พิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วงเงินงบประมาณ 10,384,873,200 ล้านบาท แต่รัฐบาลตัดงบในการพัฒนาสวัดิการสังคมขั้นพื้นฐาน อาทิ งบกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นการออมร่วมกันระหว่างชุมชน โดยจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีทั้งหมด 5,559 กองทุน มีสมาชิก 3.48 ล้านคน โดยปกติรัฐบาลต้องสมทบเงินจำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติไม่จ่ายเงินสมทบ จึงทำให้ที่ผ่านมามีการมาชุมนุมและทวงถาม หน้ารัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ยังตัดงบกองทุนบ้านมั่นคง จากเดิมได้รับงบประมาณ 2,400 บาท แต่ปีนี้ตัดเหลือเพียง 174 ล้านบาท ส่วนโครงการแก้ปัญหาที่ดิน ที่ทำกิน ในชนบท จากเดิมงบประมาณ 550 ล้าน เหลือเพียง 264 ล้านบาท
" รัฐบาลใช้เงินเป็นแสนล้านไปกลับเรื่องอื่นๆ แต่กลับตัดงบที่เป็นเงินสนับสนุนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนกว่า 10 เท่า ถือเป็นการตัดแบบไม่เผาผี หรือตัดจนเหี้ยน รัฐบาลควรต้องมีการทบทวนและปรับเพิ่มงบขึ้นมา ก่อนที่จะมีการเคลื่อนของสมาชิกองค์กรชุมชนกว่า 4 ล้านคนทั่วประเทศ " นายอรรถพร .
ด้านนายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)ได้จัดแถลงข่าวด่วนว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนการนำรายชื่อบริษัทเอกชนที่จะเสนอเข้าครม. และต้องการให้ทบทวนบางโมดูลที่ไม่น่าจะดำเนินการได้เพราะยังไม่ชัดเจน อาจมีผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่อย่างรุนแรง รวมทั้งยังขัดต่อระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอีกด้วย
ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือผลการคัดเลือกผู้รับจ้างที่ผ่านเกณฑ์ทางด้านเทคนิคแล้ว จึงมาเปิดซองด้านราคาซึ่งโดยทั่วไปน่าจะเป็นกระบวนการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ไม่ใช่กระบวนการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งขั้นตอนตามปกติจะต้องมีการแข่งขันด้านราคาด้วยวิธีการประมูล (อีออคชั่น)เพื่อให้ได้ราคาต่ำสุดบนพื้นฐานรูปแบบเดียวกัน แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงทำให้สูงเกือบเท่ากับกรอบวงเงินกู้ที่จัดเตรียมไว้
เรื่องนี้รัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะถูกการฟ้องร้องกับเอกชน และกลายเป็นค่าโง่แบบโครงการใหญ่ทั้ง 2 โครงการโดยสมาคมจะเป็นองค์กรกลาง เพื่อติดตามตรวจสอบโครงการน้ำ และแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ โดยต้องรอความหวังสุดท้ายว่าศาลปกครองจะมีคำตัดสินพิพากษาในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนนั้นขอเสนอให้รัฐบาลออกเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เมื่อก่อสร้างไปแล้ว เนื่องจากว่าโครงการนี้ใช้วิธีการออกแบบไปก่อสร้างไป และที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เปิดเผยข้อมูลเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทเอกชนที่ชนะการเสนอราคาในรอบแรก การจัดซื้อจัดจ้างแบบวิธีพิเศษมีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการทิ้งงาน และให้เกิดความโปร่งใส โดย นายปลอด จะเสนอรายชื่อบริษัทเอกชนที่ชนะการเสนอราคาทั้ง 9 แผนงาน 10 โครงการ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา หากผ่านความเห็นชอบต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ในการทำสัญญา ก่อนดำเนินการก่อสร้าง โดยเห็นว่ารัฐบาลควรใช้เวลานี้ออกเดินสายทำความเข้าใจ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันถ่วงที หากเกิดปัญหาขึ้น
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานกลุ่มราษฎรคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ จ.แพร่ อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า ขอให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ทบทวนการอนุมัติลงนามในสัญญากับภาคเอกชน ที่จะเข้าสู่ ครม. ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชน และไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เชื่อมโยงทุกโมดูล นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำตามแผนงานโมดูล A1 ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน เช่น เขื่อนแม่น้ำยม เขื่อนแม่ขาน เขื่อนแม่แจ่ม เขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็นแผนเดิมนั้น ที่ผ่านมายังไม่ได้ข้อยุติและชาวบ้านยังคงคัดค้านอยู่ ดังนั้น จึงเป็นการผลักปัญหาไปให้ภาคเอกชนที่ประมูลงานได้ ให้เกิดความขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่แทน
ทั้งนี้ ยังขอให้รัฐบาลชี้แจงเหตุผลที่ไม่เลือกตามข้อเสนอของรัฐบาลญี่ปุ่นโดย ไจก้า ที่ใช้งบประมาณน้อยกว่า และไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนด้วย
ที่รัฐสภา นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ(กมธ.) พิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วงเงินงบประมาณ 10,384,873,200 ล้านบาท แต่รัฐบาลตัดงบในการพัฒนาสวัดิการสังคมขั้นพื้นฐาน อาทิ งบกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นการออมร่วมกันระหว่างชุมชน โดยจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีทั้งหมด 5,559 กองทุน มีสมาชิก 3.48 ล้านคน โดยปกติรัฐบาลต้องสมทบเงินจำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติไม่จ่ายเงินสมทบ จึงทำให้ที่ผ่านมามีการมาชุมนุมและทวงถาม หน้ารัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ยังตัดงบกองทุนบ้านมั่นคง จากเดิมได้รับงบประมาณ 2,400 บาท แต่ปีนี้ตัดเหลือเพียง 174 ล้านบาท ส่วนโครงการแก้ปัญหาที่ดิน ที่ทำกิน ในชนบท จากเดิมงบประมาณ 550 ล้าน เหลือเพียง 264 ล้านบาท
" รัฐบาลใช้เงินเป็นแสนล้านไปกลับเรื่องอื่นๆ แต่กลับตัดงบที่เป็นเงินสนับสนุนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนกว่า 10 เท่า ถือเป็นการตัดแบบไม่เผาผี หรือตัดจนเหี้ยน รัฐบาลควรต้องมีการทบทวนและปรับเพิ่มงบขึ้นมา ก่อนที่จะมีการเคลื่อนของสมาชิกองค์กรชุมชนกว่า 4 ล้านคนทั่วประเทศ " นายอรรถพร .