ASTVผู้จัดการายวัน-"ปู"ท่องสคริปแจกแจงงบประมาณปี 57 โวสอดคล้องเศรษฐกิจขยายตัว โดยมี 8 ยุทธศาสตร์หลักในการบริหารประเทศ "มาร์ค"ขู่ยื่นถอดถอน "โต้ง" นำร่องไม่รับหลักการ ซัดทำงบเอื้อแต่คนรวย ด้าน "กรณ์"ทวงสัญญาจำนำข้าวเหลว ขาดทุนยับ จะรับผิดชอบอย่างไร หมอวรงค์เจ้าเก่าแฉแหลก "โต้ง" เอี่ยวงาบข้าว ปูด "วีระวุฒิ" เลขาฯ "บุญทรง" ตัวจริงเสียงจริงจัดการโกงข้าว "เกียรติ"เหน็บจำนำทำทายาทโรงสีซื้อรถหรูเป็นว่าเล่น ซัด ปตท. ให้โฆษณา วอยซ์ทีวี ปีเดียว 30 ล้าน
วานนี้ (29 พ.ค.) ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอในวงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวอยู่ภายใต้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะเติบโต 4-5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ประกอบกับการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่จะมีบทบาทมากขึ้น ตามการเบิกจ่ายตามแผนการกู้เงินตามพระราชกำหนดและตามร่างพระราชบัญญัติ ขณะเดียวกัน ภาคต่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียและเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกมีบทบาทมากขึ้นต่อการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 และต่อเนื่องจนถึงปี 2557
ส่วนภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ในไตรมาสแรกของปี 2556 ชะลอตัวลง เนื่องจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ในขณะที่นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักในโลกกำลังขยายปริมาณเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีเงินทุนไหลสู่ภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย และสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในปี 2556 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี 4.2-5.2% อัตราเงินเฟ้อประมาณ 2.3-3.3%
สำหรับรายละเอียดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2557 วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น 2.511 ล้านล้านบาท เงินชดเชยเงินคงคลัง 1.34 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้จำนวน 2.384 ล้านล้านบาท หักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จำนวน 1.09 แสนล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2.275 ล้านล้านบาท หรือ 17.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
"ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ประเทศ ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานในทุกๆ ด้านของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในทุกพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อดำเนินนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศและการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1.เร่งรัดการพัฒนาประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 145,006.9 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 2.ความมั่นคงแห่งรัฐ จำนวน210,783.5 ล้านบาท อาทิ การเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน 13,670.8 ล้านบาท การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย จำนวน 421.8 ล้านบาท การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ จำนวน 181,006.4 ล้านบาท การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำนวน 15,684.5 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 3.การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน จำนวน 343,746.7 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 4.การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคมจำนวน 849,861.9 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 5.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวน 112,288.5 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 6.การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 21,323.8 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 7.การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 9,004.5 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 8.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 351,339.9 ล้านบาท ส่วนรายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 481,644.3 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การบริหารบุคลากรภาครัฐ การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 13,423.7 ล้านบาท
**"มาร์ค"นำร่องไม่รับหลักการงบ57
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า งบประมาณปี 57 เป็นตัวเลขสูงมากกว่าเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากที่จะนำไปสู่การตรวจสอบ จึงมีความเป็นห่วงในการใช้จ่ายงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นห่วงการที่กระทรวงการคลัง จะออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในการพัฒนาโครงการพื้นฐานของประเทศก็เกือบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินทั้งปี ฝ่ายค้านจึงขอเรียกร้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่จะต้องผ่านขั้นตอนของสภา อย่างเข้มงวด เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ ผ่านสภาไปได้ อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ เพราะสามารถกู้ในระบบงบประมาณปกติได้
"ไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องการปรับปรุงระบบการศึกษา แต่กลับกำหนดงบประมาณซื้อรถตู้ 1 พันคัน รองรับการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก โดยระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมถึงมีการลดงบวิจัยไปถึงร้อยละ 20 สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษา และการพัฒนาเพื่อวางรากฐานให้กับประชาชน เพราะยังมุ่งส่งเสริมการเป็นหนี้ ทั้งที่ควรส่งเสริมให้ประชาชนออมเงิน แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว จนมีคนเสียสิทธิ์ ซึ่งพรรคจะยื่นถอดถอนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ออกจากตำแหน่ง เพราะจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งตนเชื่อว่าประชาชนอยากได้บำนาญของประชาชนคืนมา"
นอกจากนี้ รัฐบาลยังตัดสวัสดิการชุมชนที่รัฐบาลที่แล้วส่งเสริมเรื่องการออมโดยสมทบเพิ่มให้ร่วมกับท้องถิ่น แต่รัฐบาลนี้กลับตัดงบประมาณ และไม่ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้าง โดยไม่ออกกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน ไม่สานต่อโฉนดชุมชน ในขณะที่ธนาคารที่ดิน ถูกตัดงบประมาณจากปีที่แล้ว 48 ล้านบาท เหลือแค่ 17 ล้านบาท แต่รัฐบาลกลับมีกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การพัฒนาที่ดินราชพัสดุเพียง 1 แปลง ซึ่งยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน แต่ใช้เงินถึง 1,500 ล้านบาท เทียบกับจัดงบ 17 ล้านบาทให้กับธนาคารที่ดิน ที่จะช่วยเหลือคนจนในเรื่องที่ดินทำกิน ก็ต้องถามว่านี่หรือคือรัฐบาลเพื่อคนจน
ส่วนการจัดงบเรื่องปรองดอง 421.8 ล้านบาท และจัดงบปฏิรูปกฎหมายกว่า 8 หมื่นล้านบาท ตนคิดว่าถ้าอยากจะปรองดอง อยากปฏิรูปกฎหมายควรเริ่มต้นจากการทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ก่อน จะเป็นใครฝ่ายไหนก็ต้องยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย หลักการให้อภัยเป็นเรื่องของอนาคต เพราะชาวบ้านทำผิดกฎหมาย ไม่มีโอกาสหนีไปต่างประเทศ ไม่มีโอกาสออกกฎหมายนิรโทษกรรม ดังนั้น ต้องทำให้เกิดความเท่าเทียมกันก่อน
ดังนั้น ฝ่ายค้านรับหลักการการจัดงบประมาณแบบนี้ไม่ได้ โดยเพราะนโยบายด้านพลังงานที่ทำให้คนจนเสียโอกาส แบกภาระมากขึ้น แต่ปตท.รวย ธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กที่หากินกับรัฐบาลรวย มีคนรวยจากจำนำข้าว แต่ไม่ใช่ชาวนา ส่วนเมกะโปรเจกต์ สร้างคนรวยเพิ่มจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคนี้ ก็เหมือนกับธุรกิจโทรคมนาคมสมัยพี่ชายนายกรัฐมนตรี ที่นำไปสู่การรวยกระจุกจนกระจาย
**“โต้ง" ชี้ตั้งงบ 57 สูงถือเป็นเรื่องปกติ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ชี้แจงว่า รู้สึกเสียใจที่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ถูกใจฝ่ายค้านเลยแม้แต่นโยบายเดียว ขณะที่ในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลได้คำนึงถึงความจำเป็น และให้มีความสอดคล้องกับจีดีพีของประเทศ ซึ่งงบประมาณในปี 57 รัฐบาลจะบริหารให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เป็นอย่างดี และจะพยายามบริหารงบประมาณให้เกิดความสมดุล ในปีงบประมาณต่อๆ ไป โดยมองว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะที่อยู่ร้อยละ 60 นั้น ไม่ถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่รัฐบาลก็จะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ร้อยละ 50
ส่วนร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว อาทิ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โครงการบริหารจัดการน้ำ รัฐบาลไม่มีความตั้งใจว่า จะออกกฎหมายกู้เงิน เพื่อสร้างหนี้ให้กับประชาชนตามที่ฝ่ายค้านระบุ และรัฐบาลจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม เพราะนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่างกับสมัย นายอภิสิทธิ์
**"กรณ์"ทวงสัญญาโต้งรับผิดชอบจำนำข้าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปราย ว่า ตนไม่สามารถเห็นด้วยกับงบประมาณ 2557 เพราะสะท้อนว่ารัฐบาลตั้งงบฯ โดยไม่รับรู้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน แต่รัฐบาลเน้นตั้งงบขาดดุลจาก 3 แสนล้านบาท เหลือ 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งการลดการขาดดุลนี้ ไม่ใช่ฝีมือบริหาร แต่เป็นการลดโดยผลักภาระให้ประชาชน เช่น การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การเพิ่มราคาก๊าซหุงต้ม ถ้ารัฐบาลต้องการบริหารให้เป็นงบสมดุลจริงหรือขาดดุลน้อยลง อย่าไปเพิ่มภาระให้ประชาชน แนะนำรัฐบาลทบทวนตัดค่าใช้จ่ายในโครงการประชานิยมลง โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นภาระต่องบประมาณต่อเนื่อง ที่ต้องใช้เงินสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะต้องปรับเพิ่ม
“ปิดบัญชีในปีแรก โครงการขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท และจะขาดทุนซ้ำซาก เพราะราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามคาด ดังนั้น ที่นายกิตติรัตน์ เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า โครงการนี้จะไม่ทำให้รัฐบาลไทยขาดทุนมากกว่างบประมาณที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ใช้ไปในโครงการประกันราคาข้าว ซึ่งสรุปแล้วใช้เงินไปแค่ 6 หมื่นล้านบาท ท่านจะรับผิดชอบอย่างไร เมื่อไม่กี่วันก่อน สื่อมวลชนถามเรื่องนี้ ท่านก็บอกว่าให้มาคุยในสภา วันนี้ผมอยู่ตรงนี้แล้ว รมว.คลังอยู่ที่ไหน ถ้าอยู่ในสภาขอให้มาตอบ จะแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายอย่างไร ถ้าอ้างว่าเพราะงบขาดดุลที่ลดลง ขอเสนอให้ยกเลิกโครงการนี้”นายกรณ์กล่าว
**แฉลูกเจ้าของโรงสีซื้อรถหรู
นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปราย ว่า รัฐบาลไม่สามารถสรุปความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวได้ เพราะยังไม่มีการปิดบัญชี ขณะผู้ที่เป็นประธานคณะกรรมการปิดบัญชี ก็ถูกย้ายฟ้าผ่าไปแล้ว เพราะมีการปิดบัญชีว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท แต่ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา ซึ่งประธานคณะกรรมการฯ คนนี้ ถือเป็นคนทำงานดี มีความรู้ความสามารถ สังคมก็ยอมรับ แต่รู้ว่าโครงการนี้ ทำให้มีคนได้ประโยชน์ เพราะจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีโรงสีกว่า 600โรง มีรายได้เพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านบาท และในขณะนี้สินค้าขายดีที่สุด คือ รถเฟอร์รารี่และปอร์เช่ ซึ่งลูกหลานของโรงสีเป็นผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ตนต้องหวังพึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้เร่งตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ประเทศจะเสียหายมากกว่านี้
นอกจากนี้ ยังพบว่า บริษัท วอยซ์ ทีวี มีรายได้โฆษณาจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง รวมกัน 49 ล้านบาท โดยเป็น ปตท. บริษัทเดียว 30 ล้านบาท ซึ่งบริษัท วอยซ์ ทีวี สามารถดูชื่อได้เลยว่าผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนตระกูลไหน ญาติใคร แล้วอย่างนี้ ท่านนายกฯ จะมาขออนุมัติเห็นขอบ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2557 ได้อย่างไร อีกทั้งยังพบว่าบัญชีของบริษัท ปตท. ยังมีการเบิกงบไปเลี้ยงรับรอง อดีตเลขาธิการนายกฯ และในวันที่ 12 ก.ค.2555 จะพบว่า ปตท. นำงบไปเลี้ยงอาหาร รัฐมนตรี ทั้งกลางวัน และเย็น เป็นหลักแสน
***"หมอวรงค์"เจ้าเก่าแฉโต้งเอี่ยวโกงข้าว
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายโครงการจำนำข้าว โดยยืนยันว่า สิ่งที่บอกว่าชาวนาขายข้าวได้ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ไม่จริง คนที่รวย คือ นายทุนโรงสี แต่คนรวยสุด คือ นายทุนผูกขาดด้านข้าวและคนในรัฐบาล โดยใช้วิธีระบายข้าวที่อ้างเป็นความลับ วิธีโกง คือ การขายแบบจีทูจี การขายผ่านผู้ประกอบการ การขายให้องค์กรหรือหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะการระบายข้าวผ่านผู้ประกอบการในสมัยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรมว.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 มีการขายข้าวขาว 8 แสนกิโลกรัม ราคาตันละ 5,700 บาทแก่โรงสีโชควรลักษณ์ จ.กำแพงเพชร ต่อมา วันรุ่งขึ้น 22 ธ.ค.2554 โรงสีโชควรลักษณ์นำขายข้าวลอตนี้ไปขายต่อแก่โรงสีแห่งหนึ่งที่จ.กำแพงเพชร ในราคาตันละ 12,000 บาท โดยใช้แฟกซ์โอนใบมอบอำนาจแค่ใบเดียวราคา5บาท แต่ ฟันกำไรเนาะๆ ถึง 6,300 บาทต่อตัน
“อยากทราบว่า เป็นการขายด้วยความบริสุทธิ์ใจหรือไม่ นายกิตติรัตน์ปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะกำไรที่โรงสีได้รับมากกว่าเงินที่รัฐบาลได้ ซึ่งคิดได้ 2 ประเด็นคือ 1.ฉลาดน้อย 2สมรู้ร่วมคิด แต่คนระดับนายกิตติรัตน์ไม่เชื่อว่า จะฉลาดน้อย ส่วนยอดการขายข้าวในโครงการจำนำข้าวปี 2554 มีมูลค่า 20,473 ล้านบาท จึงอยากรู้ว่า แล้วส่วนต่าง 6,300 บาทต่อตัน ไปเข้ากระเป๋าพวกท่านเท่าไร ล่าสุดเดือนก.พ ปี 2556 มียอดการขายข้าวในโครงการ 66,000 ล้านบาท ดังนั้นจะมีเงินเข้ากระเป๋าทุนสามานย์เท่าไร”
***แฉ"วีระวุฒิ"ตัวจริงเสียงจริงงาบข้าว
นพ.วรงค์กล่าวว่า เหตุผลที่มีการขายข้าวให้โรงสีโชควรลักษณ์นั้น เจ้าของโรงสีแห่งนี้ชื่อ “เสี่ยเปี๊ยก” ตนตั้งสมมติฐานได้ว่า “เสี่ยเปี๊ยก” เป็นคนใกล้ชิด “เสี่ยเปี๋ยง” ที่เป็นนายทุนผูกขาดการค้าขายรายใหญ่และมีความใกล้ชิดนายใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลขายข้าวให้เฉพาะกับโรงสีหรือนักธุรกิจที่มีความใกล้ชิด เพื่อนำไปขายต่อฟันกำไร และทุกคนทราบดีว่า นักธุรกิจที่ขายข้าวอันดับ 1 ในประเทศไทยคือ “เสี่ยเปี๋ยง” และเป็นที่รู้กันว่า โรงสีเพรสซิเดนท์ ซึ่งเป็นไซโลขนาดใหญ่ เก็บข้าวได้เป็นแสนตัน มี “เสี่ยเปี๋ยง” เป็นเจ้าของ แต่ต่อมาถูกฟ้องล้มละลาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “เคทีบี” ที่ล่าสุดกลายเป็นคู่สัญญาการทำสัญญาเก็บข้าวเปลือก 288,000 ตัน กับรัฐบาล โดยผู้ลงนามทำสัญญาของเคทีบี คือ เจ้าของโรงสีที่จ.ลพบุรี สะท้อนว่า เป็นมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้มีอิทธิพลในการค้าขายข้าว จึงไม่แปลกที่รัฐบาลขายข้าวราคาถูกให้แล้วโรงสีไปขายต่อในราคาแพง แสดงว่า ในกระทรวงพาณิชย์มีคนไม่ธรรมดาเป็นจอมบงการเรื่องนี้ ซึ่งได้ติดตามตรวจสอบพบว่า บุคคลคนนี้มีความสำคัญอยู่ในทุกรัฐบาล โดยมีตำแหน่งเป็นเลขานุการรมช.พาณิชย์ สมัยที่นายกิตติรัตน์เป็น รมว.พาณิชย์ และมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในโครงการจำนำข้าวทุกชุด และเมื่อมีการปรับครม.ให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรมว.พาณิชย์ บุคคลคนนี้ก็ยังมาเป็นเลขานุการรมว.พาณิชย์ และยังได้เป็นคณะกรรมการในนโยบายจำนำข้าวทุกชุดเหมือนเดิม
“แม้แต่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่มีสถานะเป็นรมช.พาณิชย์ ยังไม่ได้เป็นกรรมการเรื่องการจำนำข้าวเลย แสดงว่า คนๆ นี้มีความสำคัญมาก มีอำนาจเหนือรัฐมนตรี คนๆ นี้คือ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริงในกระทรวงพาณิชย์ มีความใกล้ชิดกับกลุ่มทุนด้านข้าว ซึ่งข้าราชการจะเสนออะไร ท่านรัฐมนตรีจะถามว่า คุณหมอทราบหรือยังทุกครั้ง”
นพ.วรงค์กล่าวว่า ยังมีตัวแทนนายทุนสามานต์ อีกคน ใช้รถโฟลก์สวาเก้น ทะเบียน ฮธ 20 เข้าออกกระทรวงพาณิชย์ทุกวัน ซึ่งคนในกระทรวงกระซิบตนว่าเขามาทำงานตามปกติ เมื่อสืบค้นดูพบว่า เจ้าของรถคือ น.ส.ชุติมา วัชระพุกกะ ตอนแรกก็ไม่แปลกใจ แต่ก็กังขาว่า เป็นคนเดียวกับนางชุฎิมา วัจนะพุกกะ ที่เป็นภรรยาของน.พ.วีระวุฒิหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดการอภิปรายของนพ.วรงค์ ส.ส.เพื่อไทยลุกขึ้นประท้วงเป็นระยๆ เนื่องจากมีการพาดพิงถึงบุคคลภายนอก ที่ไม่มีสิทธิชี้แจงทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งนายเจริญได้ตักเตือนขอให้พาดพิงเท่าที่จำเป็น แต่นพ.วรงค์ยังคงพาดพิงบุคคลภายนอกเป็นระยะๆ จนเกิดการโต้เถียงระหว่างกันอยู่นานจนนายเจริญต้องสั่งพักประชุม 10 นาที เมื่อเวลา 19.10
วานนี้ (29 พ.ค.) ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอในวงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวอยู่ภายใต้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะเติบโต 4-5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ประกอบกับการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่จะมีบทบาทมากขึ้น ตามการเบิกจ่ายตามแผนการกู้เงินตามพระราชกำหนดและตามร่างพระราชบัญญัติ ขณะเดียวกัน ภาคต่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียและเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกมีบทบาทมากขึ้นต่อการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 และต่อเนื่องจนถึงปี 2557
ส่วนภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ในไตรมาสแรกของปี 2556 ชะลอตัวลง เนื่องจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ในขณะที่นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักในโลกกำลังขยายปริมาณเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีเงินทุนไหลสู่ภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย และสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในปี 2556 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี 4.2-5.2% อัตราเงินเฟ้อประมาณ 2.3-3.3%
สำหรับรายละเอียดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2557 วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น 2.511 ล้านล้านบาท เงินชดเชยเงินคงคลัง 1.34 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้จำนวน 2.384 ล้านล้านบาท หักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จำนวน 1.09 แสนล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2.275 ล้านล้านบาท หรือ 17.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
"ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ประเทศ ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานในทุกๆ ด้านของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในทุกพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อดำเนินนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศและการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1.เร่งรัดการพัฒนาประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 145,006.9 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 2.ความมั่นคงแห่งรัฐ จำนวน210,783.5 ล้านบาท อาทิ การเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน 13,670.8 ล้านบาท การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย จำนวน 421.8 ล้านบาท การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ จำนวน 181,006.4 ล้านบาท การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำนวน 15,684.5 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 3.การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน จำนวน 343,746.7 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 4.การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคมจำนวน 849,861.9 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 5.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวน 112,288.5 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 6.การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 21,323.8 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 7.การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 9,004.5 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 8.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 351,339.9 ล้านบาท ส่วนรายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 481,644.3 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การบริหารบุคลากรภาครัฐ การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 13,423.7 ล้านบาท
**"มาร์ค"นำร่องไม่รับหลักการงบ57
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า งบประมาณปี 57 เป็นตัวเลขสูงมากกว่าเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากที่จะนำไปสู่การตรวจสอบ จึงมีความเป็นห่วงในการใช้จ่ายงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นห่วงการที่กระทรวงการคลัง จะออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในการพัฒนาโครงการพื้นฐานของประเทศก็เกือบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินทั้งปี ฝ่ายค้านจึงขอเรียกร้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่จะต้องผ่านขั้นตอนของสภา อย่างเข้มงวด เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ ผ่านสภาไปได้ อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ เพราะสามารถกู้ในระบบงบประมาณปกติได้
"ไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องการปรับปรุงระบบการศึกษา แต่กลับกำหนดงบประมาณซื้อรถตู้ 1 พันคัน รองรับการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก โดยระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมถึงมีการลดงบวิจัยไปถึงร้อยละ 20 สะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษา และการพัฒนาเพื่อวางรากฐานให้กับประชาชน เพราะยังมุ่งส่งเสริมการเป็นหนี้ ทั้งที่ควรส่งเสริมให้ประชาชนออมเงิน แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว จนมีคนเสียสิทธิ์ ซึ่งพรรคจะยื่นถอดถอนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ออกจากตำแหน่ง เพราะจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งตนเชื่อว่าประชาชนอยากได้บำนาญของประชาชนคืนมา"
นอกจากนี้ รัฐบาลยังตัดสวัสดิการชุมชนที่รัฐบาลที่แล้วส่งเสริมเรื่องการออมโดยสมทบเพิ่มให้ร่วมกับท้องถิ่น แต่รัฐบาลนี้กลับตัดงบประมาณ และไม่ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้าง โดยไม่ออกกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่ดิน ไม่สานต่อโฉนดชุมชน ในขณะที่ธนาคารที่ดิน ถูกตัดงบประมาณจากปีที่แล้ว 48 ล้านบาท เหลือแค่ 17 ล้านบาท แต่รัฐบาลกลับมีกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การพัฒนาที่ดินราชพัสดุเพียง 1 แปลง ซึ่งยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน แต่ใช้เงินถึง 1,500 ล้านบาท เทียบกับจัดงบ 17 ล้านบาทให้กับธนาคารที่ดิน ที่จะช่วยเหลือคนจนในเรื่องที่ดินทำกิน ก็ต้องถามว่านี่หรือคือรัฐบาลเพื่อคนจน
ส่วนการจัดงบเรื่องปรองดอง 421.8 ล้านบาท และจัดงบปฏิรูปกฎหมายกว่า 8 หมื่นล้านบาท ตนคิดว่าถ้าอยากจะปรองดอง อยากปฏิรูปกฎหมายควรเริ่มต้นจากการทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ก่อน จะเป็นใครฝ่ายไหนก็ต้องยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย หลักการให้อภัยเป็นเรื่องของอนาคต เพราะชาวบ้านทำผิดกฎหมาย ไม่มีโอกาสหนีไปต่างประเทศ ไม่มีโอกาสออกกฎหมายนิรโทษกรรม ดังนั้น ต้องทำให้เกิดความเท่าเทียมกันก่อน
ดังนั้น ฝ่ายค้านรับหลักการการจัดงบประมาณแบบนี้ไม่ได้ โดยเพราะนโยบายด้านพลังงานที่ทำให้คนจนเสียโอกาส แบกภาระมากขึ้น แต่ปตท.รวย ธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กที่หากินกับรัฐบาลรวย มีคนรวยจากจำนำข้าว แต่ไม่ใช่ชาวนา ส่วนเมกะโปรเจกต์ สร้างคนรวยเพิ่มจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุคนี้ ก็เหมือนกับธุรกิจโทรคมนาคมสมัยพี่ชายนายกรัฐมนตรี ที่นำไปสู่การรวยกระจุกจนกระจาย
**“โต้ง" ชี้ตั้งงบ 57 สูงถือเป็นเรื่องปกติ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ชี้แจงว่า รู้สึกเสียใจที่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ถูกใจฝ่ายค้านเลยแม้แต่นโยบายเดียว ขณะที่ในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลได้คำนึงถึงความจำเป็น และให้มีความสอดคล้องกับจีดีพีของประเทศ ซึ่งงบประมาณในปี 57 รัฐบาลจะบริหารให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เป็นอย่างดี และจะพยายามบริหารงบประมาณให้เกิดความสมดุล ในปีงบประมาณต่อๆ ไป โดยมองว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะที่อยู่ร้อยละ 60 นั้น ไม่ถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่รัฐบาลก็จะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ร้อยละ 50
ส่วนร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว อาทิ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โครงการบริหารจัดการน้ำ รัฐบาลไม่มีความตั้งใจว่า จะออกกฎหมายกู้เงิน เพื่อสร้างหนี้ให้กับประชาชนตามที่ฝ่ายค้านระบุ และรัฐบาลจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม เพราะนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่างกับสมัย นายอภิสิทธิ์
**"กรณ์"ทวงสัญญาโต้งรับผิดชอบจำนำข้าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปราย ว่า ตนไม่สามารถเห็นด้วยกับงบประมาณ 2557 เพราะสะท้อนว่ารัฐบาลตั้งงบฯ โดยไม่รับรู้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน แต่รัฐบาลเน้นตั้งงบขาดดุลจาก 3 แสนล้านบาท เหลือ 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งการลดการขาดดุลนี้ ไม่ใช่ฝีมือบริหาร แต่เป็นการลดโดยผลักภาระให้ประชาชน เช่น การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การเพิ่มราคาก๊าซหุงต้ม ถ้ารัฐบาลต้องการบริหารให้เป็นงบสมดุลจริงหรือขาดดุลน้อยลง อย่าไปเพิ่มภาระให้ประชาชน แนะนำรัฐบาลทบทวนตัดค่าใช้จ่ายในโครงการประชานิยมลง โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นภาระต่องบประมาณต่อเนื่อง ที่ต้องใช้เงินสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะต้องปรับเพิ่ม
“ปิดบัญชีในปีแรก โครงการขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท และจะขาดทุนซ้ำซาก เพราะราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามคาด ดังนั้น ที่นายกิตติรัตน์ เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า โครงการนี้จะไม่ทำให้รัฐบาลไทยขาดทุนมากกว่างบประมาณที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ใช้ไปในโครงการประกันราคาข้าว ซึ่งสรุปแล้วใช้เงินไปแค่ 6 หมื่นล้านบาท ท่านจะรับผิดชอบอย่างไร เมื่อไม่กี่วันก่อน สื่อมวลชนถามเรื่องนี้ ท่านก็บอกว่าให้มาคุยในสภา วันนี้ผมอยู่ตรงนี้แล้ว รมว.คลังอยู่ที่ไหน ถ้าอยู่ในสภาขอให้มาตอบ จะแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายอย่างไร ถ้าอ้างว่าเพราะงบขาดดุลที่ลดลง ขอเสนอให้ยกเลิกโครงการนี้”นายกรณ์กล่าว
**แฉลูกเจ้าของโรงสีซื้อรถหรู
นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปราย ว่า รัฐบาลไม่สามารถสรุปความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวได้ เพราะยังไม่มีการปิดบัญชี ขณะผู้ที่เป็นประธานคณะกรรมการปิดบัญชี ก็ถูกย้ายฟ้าผ่าไปแล้ว เพราะมีการปิดบัญชีว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท แต่ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา ซึ่งประธานคณะกรรมการฯ คนนี้ ถือเป็นคนทำงานดี มีความรู้ความสามารถ สังคมก็ยอมรับ แต่รู้ว่าโครงการนี้ ทำให้มีคนได้ประโยชน์ เพราะจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีโรงสีกว่า 600โรง มีรายได้เพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านบาท และในขณะนี้สินค้าขายดีที่สุด คือ รถเฟอร์รารี่และปอร์เช่ ซึ่งลูกหลานของโรงสีเป็นผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ตนต้องหวังพึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้เร่งตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ประเทศจะเสียหายมากกว่านี้
นอกจากนี้ ยังพบว่า บริษัท วอยซ์ ทีวี มีรายได้โฆษณาจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง รวมกัน 49 ล้านบาท โดยเป็น ปตท. บริษัทเดียว 30 ล้านบาท ซึ่งบริษัท วอยซ์ ทีวี สามารถดูชื่อได้เลยว่าผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนตระกูลไหน ญาติใคร แล้วอย่างนี้ ท่านนายกฯ จะมาขออนุมัติเห็นขอบ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2557 ได้อย่างไร อีกทั้งยังพบว่าบัญชีของบริษัท ปตท. ยังมีการเบิกงบไปเลี้ยงรับรอง อดีตเลขาธิการนายกฯ และในวันที่ 12 ก.ค.2555 จะพบว่า ปตท. นำงบไปเลี้ยงอาหาร รัฐมนตรี ทั้งกลางวัน และเย็น เป็นหลักแสน
***"หมอวรงค์"เจ้าเก่าแฉโต้งเอี่ยวโกงข้าว
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายโครงการจำนำข้าว โดยยืนยันว่า สิ่งที่บอกว่าชาวนาขายข้าวได้ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ไม่จริง คนที่รวย คือ นายทุนโรงสี แต่คนรวยสุด คือ นายทุนผูกขาดด้านข้าวและคนในรัฐบาล โดยใช้วิธีระบายข้าวที่อ้างเป็นความลับ วิธีโกง คือ การขายแบบจีทูจี การขายผ่านผู้ประกอบการ การขายให้องค์กรหรือหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะการระบายข้าวผ่านผู้ประกอบการในสมัยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรมว.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 มีการขายข้าวขาว 8 แสนกิโลกรัม ราคาตันละ 5,700 บาทแก่โรงสีโชควรลักษณ์ จ.กำแพงเพชร ต่อมา วันรุ่งขึ้น 22 ธ.ค.2554 โรงสีโชควรลักษณ์นำขายข้าวลอตนี้ไปขายต่อแก่โรงสีแห่งหนึ่งที่จ.กำแพงเพชร ในราคาตันละ 12,000 บาท โดยใช้แฟกซ์โอนใบมอบอำนาจแค่ใบเดียวราคา5บาท แต่ ฟันกำไรเนาะๆ ถึง 6,300 บาทต่อตัน
“อยากทราบว่า เป็นการขายด้วยความบริสุทธิ์ใจหรือไม่ นายกิตติรัตน์ปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะกำไรที่โรงสีได้รับมากกว่าเงินที่รัฐบาลได้ ซึ่งคิดได้ 2 ประเด็นคือ 1.ฉลาดน้อย 2สมรู้ร่วมคิด แต่คนระดับนายกิตติรัตน์ไม่เชื่อว่า จะฉลาดน้อย ส่วนยอดการขายข้าวในโครงการจำนำข้าวปี 2554 มีมูลค่า 20,473 ล้านบาท จึงอยากรู้ว่า แล้วส่วนต่าง 6,300 บาทต่อตัน ไปเข้ากระเป๋าพวกท่านเท่าไร ล่าสุดเดือนก.พ ปี 2556 มียอดการขายข้าวในโครงการ 66,000 ล้านบาท ดังนั้นจะมีเงินเข้ากระเป๋าทุนสามานย์เท่าไร”
***แฉ"วีระวุฒิ"ตัวจริงเสียงจริงงาบข้าว
นพ.วรงค์กล่าวว่า เหตุผลที่มีการขายข้าวให้โรงสีโชควรลักษณ์นั้น เจ้าของโรงสีแห่งนี้ชื่อ “เสี่ยเปี๊ยก” ตนตั้งสมมติฐานได้ว่า “เสี่ยเปี๊ยก” เป็นคนใกล้ชิด “เสี่ยเปี๋ยง” ที่เป็นนายทุนผูกขาดการค้าขายรายใหญ่และมีความใกล้ชิดนายใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลขายข้าวให้เฉพาะกับโรงสีหรือนักธุรกิจที่มีความใกล้ชิด เพื่อนำไปขายต่อฟันกำไร และทุกคนทราบดีว่า นักธุรกิจที่ขายข้าวอันดับ 1 ในประเทศไทยคือ “เสี่ยเปี๋ยง” และเป็นที่รู้กันว่า โรงสีเพรสซิเดนท์ ซึ่งเป็นไซโลขนาดใหญ่ เก็บข้าวได้เป็นแสนตัน มี “เสี่ยเปี๋ยง” เป็นเจ้าของ แต่ต่อมาถูกฟ้องล้มละลาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “เคทีบี” ที่ล่าสุดกลายเป็นคู่สัญญาการทำสัญญาเก็บข้าวเปลือก 288,000 ตัน กับรัฐบาล โดยผู้ลงนามทำสัญญาของเคทีบี คือ เจ้าของโรงสีที่จ.ลพบุรี สะท้อนว่า เป็นมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้มีอิทธิพลในการค้าขายข้าว จึงไม่แปลกที่รัฐบาลขายข้าวราคาถูกให้แล้วโรงสีไปขายต่อในราคาแพง แสดงว่า ในกระทรวงพาณิชย์มีคนไม่ธรรมดาเป็นจอมบงการเรื่องนี้ ซึ่งได้ติดตามตรวจสอบพบว่า บุคคลคนนี้มีความสำคัญอยู่ในทุกรัฐบาล โดยมีตำแหน่งเป็นเลขานุการรมช.พาณิชย์ สมัยที่นายกิตติรัตน์เป็น รมว.พาณิชย์ และมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในโครงการจำนำข้าวทุกชุด และเมื่อมีการปรับครม.ให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรมว.พาณิชย์ บุคคลคนนี้ก็ยังมาเป็นเลขานุการรมว.พาณิชย์ และยังได้เป็นคณะกรรมการในนโยบายจำนำข้าวทุกชุดเหมือนเดิม
“แม้แต่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่มีสถานะเป็นรมช.พาณิชย์ ยังไม่ได้เป็นกรรมการเรื่องการจำนำข้าวเลย แสดงว่า คนๆ นี้มีความสำคัญมาก มีอำนาจเหนือรัฐมนตรี คนๆ นี้คือ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริงในกระทรวงพาณิชย์ มีความใกล้ชิดกับกลุ่มทุนด้านข้าว ซึ่งข้าราชการจะเสนออะไร ท่านรัฐมนตรีจะถามว่า คุณหมอทราบหรือยังทุกครั้ง”
นพ.วรงค์กล่าวว่า ยังมีตัวแทนนายทุนสามานต์ อีกคน ใช้รถโฟลก์สวาเก้น ทะเบียน ฮธ 20 เข้าออกกระทรวงพาณิชย์ทุกวัน ซึ่งคนในกระทรวงกระซิบตนว่าเขามาทำงานตามปกติ เมื่อสืบค้นดูพบว่า เจ้าของรถคือ น.ส.ชุติมา วัชระพุกกะ ตอนแรกก็ไม่แปลกใจ แต่ก็กังขาว่า เป็นคนเดียวกับนางชุฎิมา วัจนะพุกกะ ที่เป็นภรรยาของน.พ.วีระวุฒิหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดการอภิปรายของนพ.วรงค์ ส.ส.เพื่อไทยลุกขึ้นประท้วงเป็นระยๆ เนื่องจากมีการพาดพิงถึงบุคคลภายนอก ที่ไม่มีสิทธิชี้แจงทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งนายเจริญได้ตักเตือนขอให้พาดพิงเท่าที่จำเป็น แต่นพ.วรงค์ยังคงพาดพิงบุคคลภายนอกเป็นระยะๆ จนเกิดการโต้เถียงระหว่างกันอยู่นานจนนายเจริญต้องสั่งพักประชุม 10 นาที เมื่อเวลา 19.10