ASTVผู้จัดการรายวัน - "กิตติรัตน์" ยังหวัง กนง.ลดดอกเบี้ยมากกว่าสลึง! ซัดกรณีแบงก์ชาติข้องใจตัวเลขสภาพัฒน์ถือว่าไม่ให้เกียรติกัน "ประสาร" ไม่สนส่งทีมงานบุกสภาพัฒน์ขอตัวเลขจริง โยนลดดอกเบี้ยเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ใน กนง. "อาคม" ยัน "จีดีพี" ได้มาตรฐานสากล โพลล์นักเศรษฐศาสตร์ 41% เชื่อ กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ว่า หวังว่า กนง.จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.75% ลงมามากกว่า 0.25% เพราะหากลดแค่ 0.25 หรือไม่ลดลงมาเลย แสดงว่า กนง.ไม่รู้ร้อนรู้หนาว เพราะถ้ารู้ร้อนรู้หนาว คงจะลดมากกว่านั้น แต่หากสุดท้ายแล้วที่ประชุม กนง.ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% รัฐบาลจะซื้อเสื้อกันหนาวเป็นของขวัญ
ส่วนกรณีที่ ธปท.และสภาพัฒน์ ออกมาตอบโต้กันในเรื่องตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/56 ที่ขยายตัวเพียง 5.3% นั้นนายกิตติรัตน์มองว่าหน่วยงานราชการด้วยกันไม่ควรออกมาตอบโต้กันเอง เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (28 พ.ค.) จะเชิญกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สภาพัฒน์และ ธปท.เข้ามารายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อให้ ครม.รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน
"ตัวเลขจีดีพี 5.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เป็นทางการ ทางสภาพัฒน์ฯ ได้ส่งข้อมูลมาที่นายกรัฐมนตรีและผม แต่ที่ทราบข่าวทางแบงก์ชาติตั้งข้อสังเกต ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าเป็นเรื่องทำให้เป็นประเด็น สภาพัฒน์เป็นหน่วยงานมาตรฐานมีหน้าที่รวบรวมภาวะเศรษฐกิจ การเป็นส่วนราชการด้วยกันแต่ตั้งข้อสงสัยกันแบบนี้ ถือว่าไม่ค่อยให้เกียรติส่วนราชการสำคัญ"นายกิตติรัตน์ กล่าวและว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของชาติไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจได้ โดยขณะนี้เสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยถือว่าขยายตัวได้ดีขึ้นตั้งแต่ปี 55 และในปี 56 มีโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ และในปี 57 รัฐบาลเตรียมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดูแลโดยเฉพาะเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ส่งออก และเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเดินหน้าต่อได้ เพราะผู้ส่งออกถือว่าเป็นผู้เลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
อย่างไรก็ดี แม้เงินบาทในขณะนี้เริ่มอ่อนค่าลงบ้างแล้วนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องดูว่าจะเพียงพอต่อภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้หรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะต้องฟังจากผู้ส่งออกโดยตรง และต้องยอมรับว่าผู้ส่งออกบางรายได้รับผลกระทบแต่ไม่กล้าบอกข้อมูลให้กับรัฐบาล เพราะไม่อยากให้มองว่าเป็นการกดดันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องติดตามว่าผู้ส่งออกจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้หรือไม่
ธปท.บุกเช็กข้อมูลสภาพัฒน์
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ทีมเจ้าหน้าที่ ธปท.จะไปพูดคุยกับสภาพัฒน์ ถึงตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันและใช้เป็นข้อมูลในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยรวมถึงเสนอเป็นข้อมูลให้ กนง.ประกอบการพิจารณาดอกเบี้ย โดย ธปท.จะมีการชี้แจงข้อมูลเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและมุมมองของธปท.ที่มองไปข้างหน้า คาดว่าจะชี้แจงหลังจากประชุมบอร์ด กนง.ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้
กรณีที่เงินบาทอ่อนค่าส่งผลให้แรงกดดันในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่จะถึงนี้ลดลงนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทอ่อนค่าเป็นไปตามภาวะตลาด ซึ่งต้องติดตาม เพราะช่วงนี้ตลาดการเงินยังอ่อนไหวอยู่ แต่มีปัจจัยหลายอย่างทั้งข่าวเกิดใน-ต่างประเทศ จึงเข้าใจว่าไม่ใช่ตลาดการเงินรอการตัดสินใจ กนง. โดยเชื่อว่ากรรมการในบอร์ด กนง.ป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมีข้อมูลดูอยู่และพิจารณาตามเนื้อผ้า ฉะนั้นไม่ว่าจะตัดสินใจแนวทางไหนก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน ถือเป็นหลักสำคัญ
"สภาพัฒน์" ยืนยันตัวเลข "จีดีพี"
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สศช.ได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ในการประเมินตัวเลขจีดีพี ไตรมาส 1/2556 ที่เห็นว่าจะขยายตัวได้ 5.3% ลดลงไป 2.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เนื่องจากผลกระทบเรื่องการส่งออกไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จากปัจจัยค่าเงินบาทเป็นหลัก โดยยืนยันว่าสภาพัฒน์ได้ใช้ระบบการจัดทำตัวเลขจีดีพีตามระบบรายได้ประชาชาติตามมาตรฐานสากลขององค์การสหประชาชาติที่ใช้กันทั่วโลก มีการประเมินติดตามคุณภาพจากองค์กรระหว่างประเทศที่ดูแลสถิติอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจีดีพีทั้งรายไตรมาสและรายปี ซึ่งประมวลผลบนพื้นฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และอาจมีความแตกต่างจากข้อมูลประมาณการ ซึ่งประมวลผลจากเครื่องชี้วัดสำคัญเป็นหลัก
"ต้องการให้แยกแยะข้อมูลตัวเลขจริง กับตัวเลขประมาณการหรือการพยากรณ์ออกจากกัน เพราะตัวเลขเหล่านี้อาจไม่ตรงกันได้ขึ้นอยู่กับการนำข้อมูลมาประมวลผล โดยความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นจะเรียงลำดับตามความน่าเชื่อถือ หากเป็นข้อมูลประมาณการจะมีความน่าเชื่อถือน้อยสุด รองลงมาคือข้อมูลจากการเก็บตัวอย่าง และข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคือข้อมูลจริงที่เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าความแตกต่างระหว่างข้อมูลประมวลผลจริง กับข้อมูลดัชนีและข้อมูลประมาณการเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทุกด้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีการหารือกันอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความถูกต้องของข้อมูลเช่นในอดีต ดัชนีการลงทุนเอกชนที่ ธปท.จัดทำก็มีความแตกต่างจากตัวเลขการประมวลผลจริงของ สศช.ค่อนข้างมาก เนื่องจากการใช้เครื่องชี้การลงทุนไม่ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน แต่เมื่อได้มีการหารือกับสภาพัฒน์ฯ แล้ว ธปท.ก็ได้ทำการปรับปรุงเครื่องชี้วัดการลงทุนเอกชนใหม่ ทำให้ดัชนีการลงทุนของ ธปท. มีความสอดคล้องกับข้อมูลจริงของ สศช.มากขึ้น
โพลล์ 41.5% คาด กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 35 แห่ง จำนวน 65 คน เรื่อง “ผู้ว่าฯ ธปท. ดอกเบี้ย และรัฐมนตรีฯ คลัง กับปัญหาค่าบาทแข็ง” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.1 กังวลมากถึงมากที่สุดต่อปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐมนตรีคลัง กับ ผู้ว่าฯธปท. ส่วนร้อยละ 32.3 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ถึงเวลาหรือยังที่ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นค่าเงินบาท ร้อยละ 46.2 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา โดยให้เหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ต้นตอของปัญหา อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่เครื่องมือดูแลค่าเงินบาทที่มีประสิทธิภาพ หากแต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ร้อยละ 29.2 เห็นว่าถึงเวลาแล้ว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งเพราะดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้เงินไหลเข้าประเทศทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ประกอบกับเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มชะลอตัว
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 49.2 ยังเห็นว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.0 เป็นการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่ไม่ถูกทาง ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าถูกทางแล้ว และร้อยละ 55.4 เห็นว่า กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยควรให้ความสำคัญกับภาวะเงินเฟ้อมากกว่าค่าเงินบาท ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับค่าเงินบาทมากกว่า
สำหรับการประชุม กนง.ในวันที่ 29 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 41.5 คาดว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.50 ขณะที่ร้อยละ 38.5 คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 73.8 เห็นว่านโยบายการเงินจำเป็นต้องสอดประสานกับนโยบายการคลัง มีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอดประสานกัน สุดท้ายเมื่อถามว่ามีความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อการทำหน้าที่ ผู้ว่าฯธปท. ของนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล โดยเฉพาะการเตรียมมาตรการรองรับค่าเงินบาทแข็ง ร้อยละ 80.0 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 13.8 ที่เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอก ผู้ว่าฯธปท. และรัฐมนตรีคลังเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้น มีดังนี้ (1) หันหน้าเข้าหากัน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง (2) เข้าใจอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่ก้าวก่ายอำนาจกัน ไว้ใจและเชื่อมั่นกัน แล้วแก้ไขปัญหาตามอำนาจที่มีโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ (3) อย่าใช้ทิฐิตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อมูลและประสบการณ์ที่มีใช้สื่อให้น้อยลงเพื่อไม่ให้มีข่าวหลุดออกไปเพราะจะดูไม่ดีในตลาดและประสิทธิภาพของเครื่องมือจะลดลง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ว่า หวังว่า กนง.จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.75% ลงมามากกว่า 0.25% เพราะหากลดแค่ 0.25 หรือไม่ลดลงมาเลย แสดงว่า กนง.ไม่รู้ร้อนรู้หนาว เพราะถ้ารู้ร้อนรู้หนาว คงจะลดมากกว่านั้น แต่หากสุดท้ายแล้วที่ประชุม กนง.ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% รัฐบาลจะซื้อเสื้อกันหนาวเป็นของขวัญ
ส่วนกรณีที่ ธปท.และสภาพัฒน์ ออกมาตอบโต้กันในเรื่องตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/56 ที่ขยายตัวเพียง 5.3% นั้นนายกิตติรัตน์มองว่าหน่วยงานราชการด้วยกันไม่ควรออกมาตอบโต้กันเอง เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (28 พ.ค.) จะเชิญกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สภาพัฒน์และ ธปท.เข้ามารายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อให้ ครม.รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน
"ตัวเลขจีดีพี 5.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เป็นทางการ ทางสภาพัฒน์ฯ ได้ส่งข้อมูลมาที่นายกรัฐมนตรีและผม แต่ที่ทราบข่าวทางแบงก์ชาติตั้งข้อสังเกต ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าเป็นเรื่องทำให้เป็นประเด็น สภาพัฒน์เป็นหน่วยงานมาตรฐานมีหน้าที่รวบรวมภาวะเศรษฐกิจ การเป็นส่วนราชการด้วยกันแต่ตั้งข้อสงสัยกันแบบนี้ ถือว่าไม่ค่อยให้เกียรติส่วนราชการสำคัญ"นายกิตติรัตน์ กล่าวและว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของชาติไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจได้ โดยขณะนี้เสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยถือว่าขยายตัวได้ดีขึ้นตั้งแต่ปี 55 และในปี 56 มีโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ และในปี 57 รัฐบาลเตรียมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดูแลโดยเฉพาะเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ส่งออก และเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเดินหน้าต่อได้ เพราะผู้ส่งออกถือว่าเป็นผู้เลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
อย่างไรก็ดี แม้เงินบาทในขณะนี้เริ่มอ่อนค่าลงบ้างแล้วนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องดูว่าจะเพียงพอต่อภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้หรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะต้องฟังจากผู้ส่งออกโดยตรง และต้องยอมรับว่าผู้ส่งออกบางรายได้รับผลกระทบแต่ไม่กล้าบอกข้อมูลให้กับรัฐบาล เพราะไม่อยากให้มองว่าเป็นการกดดันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องติดตามว่าผู้ส่งออกจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้หรือไม่
ธปท.บุกเช็กข้อมูลสภาพัฒน์
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ทีมเจ้าหน้าที่ ธปท.จะไปพูดคุยกับสภาพัฒน์ ถึงตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันและใช้เป็นข้อมูลในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยรวมถึงเสนอเป็นข้อมูลให้ กนง.ประกอบการพิจารณาดอกเบี้ย โดย ธปท.จะมีการชี้แจงข้อมูลเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและมุมมองของธปท.ที่มองไปข้างหน้า คาดว่าจะชี้แจงหลังจากประชุมบอร์ด กนง.ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้
กรณีที่เงินบาทอ่อนค่าส่งผลให้แรงกดดันในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่จะถึงนี้ลดลงนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทอ่อนค่าเป็นไปตามภาวะตลาด ซึ่งต้องติดตาม เพราะช่วงนี้ตลาดการเงินยังอ่อนไหวอยู่ แต่มีปัจจัยหลายอย่างทั้งข่าวเกิดใน-ต่างประเทศ จึงเข้าใจว่าไม่ใช่ตลาดการเงินรอการตัดสินใจ กนง. โดยเชื่อว่ากรรมการในบอร์ด กนง.ป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมีข้อมูลดูอยู่และพิจารณาตามเนื้อผ้า ฉะนั้นไม่ว่าจะตัดสินใจแนวทางไหนก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน ถือเป็นหลักสำคัญ
"สภาพัฒน์" ยืนยันตัวเลข "จีดีพี"
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สศช.ได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ในการประเมินตัวเลขจีดีพี ไตรมาส 1/2556 ที่เห็นว่าจะขยายตัวได้ 5.3% ลดลงไป 2.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เนื่องจากผลกระทบเรื่องการส่งออกไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จากปัจจัยค่าเงินบาทเป็นหลัก โดยยืนยันว่าสภาพัฒน์ได้ใช้ระบบการจัดทำตัวเลขจีดีพีตามระบบรายได้ประชาชาติตามมาตรฐานสากลขององค์การสหประชาชาติที่ใช้กันทั่วโลก มีการประเมินติดตามคุณภาพจากองค์กรระหว่างประเทศที่ดูแลสถิติอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจีดีพีทั้งรายไตรมาสและรายปี ซึ่งประมวลผลบนพื้นฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และอาจมีความแตกต่างจากข้อมูลประมาณการ ซึ่งประมวลผลจากเครื่องชี้วัดสำคัญเป็นหลัก
"ต้องการให้แยกแยะข้อมูลตัวเลขจริง กับตัวเลขประมาณการหรือการพยากรณ์ออกจากกัน เพราะตัวเลขเหล่านี้อาจไม่ตรงกันได้ขึ้นอยู่กับการนำข้อมูลมาประมวลผล โดยความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นจะเรียงลำดับตามความน่าเชื่อถือ หากเป็นข้อมูลประมาณการจะมีความน่าเชื่อถือน้อยสุด รองลงมาคือข้อมูลจากการเก็บตัวอย่าง และข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคือข้อมูลจริงที่เกิดขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าความแตกต่างระหว่างข้อมูลประมวลผลจริง กับข้อมูลดัชนีและข้อมูลประมาณการเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทุกด้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีการหารือกันอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความถูกต้องของข้อมูลเช่นในอดีต ดัชนีการลงทุนเอกชนที่ ธปท.จัดทำก็มีความแตกต่างจากตัวเลขการประมวลผลจริงของ สศช.ค่อนข้างมาก เนื่องจากการใช้เครื่องชี้การลงทุนไม่ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน แต่เมื่อได้มีการหารือกับสภาพัฒน์ฯ แล้ว ธปท.ก็ได้ทำการปรับปรุงเครื่องชี้วัดการลงทุนเอกชนใหม่ ทำให้ดัชนีการลงทุนของ ธปท. มีความสอดคล้องกับข้อมูลจริงของ สศช.มากขึ้น
โพลล์ 41.5% คาด กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 35 แห่ง จำนวน 65 คน เรื่อง “ผู้ว่าฯ ธปท. ดอกเบี้ย และรัฐมนตรีฯ คลัง กับปัญหาค่าบาทแข็ง” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.1 กังวลมากถึงมากที่สุดต่อปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐมนตรีคลัง กับ ผู้ว่าฯธปท. ส่วนร้อยละ 32.3 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ถึงเวลาหรือยังที่ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นค่าเงินบาท ร้อยละ 46.2 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา โดยให้เหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ต้นตอของปัญหา อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่เครื่องมือดูแลค่าเงินบาทที่มีประสิทธิภาพ หากแต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ร้อยละ 29.2 เห็นว่าถึงเวลาแล้ว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งเพราะดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้เงินไหลเข้าประเทศทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ประกอบกับเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มชะลอตัว
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 49.2 ยังเห็นว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.0 เป็นการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่ไม่ถูกทาง ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าถูกทางแล้ว และร้อยละ 55.4 เห็นว่า กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยควรให้ความสำคัญกับภาวะเงินเฟ้อมากกว่าค่าเงินบาท ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับค่าเงินบาทมากกว่า
สำหรับการประชุม กนง.ในวันที่ 29 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 41.5 คาดว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.50 ขณะที่ร้อยละ 38.5 คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 73.8 เห็นว่านโยบายการเงินจำเป็นต้องสอดประสานกับนโยบายการคลัง มีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอดประสานกัน สุดท้ายเมื่อถามว่ามีความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อการทำหน้าที่ ผู้ว่าฯธปท. ของนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล โดยเฉพาะการเตรียมมาตรการรองรับค่าเงินบาทแข็ง ร้อยละ 80.0 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 13.8 ที่เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอก ผู้ว่าฯธปท. และรัฐมนตรีคลังเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้น มีดังนี้ (1) หันหน้าเข้าหากัน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง (2) เข้าใจอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่ก้าวก่ายอำนาจกัน ไว้ใจและเชื่อมั่นกัน แล้วแก้ไขปัญหาตามอำนาจที่มีโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ (3) อย่าใช้ทิฐิตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อมูลและประสบการณ์ที่มีใช้สื่อให้น้อยลงเพื่อไม่ให้มีข่าวหลุดออกไปเพราะจะดูไม่ดีในตลาดและประสิทธิภาพของเครื่องมือจะลดลง