เหตุการณ์ไฟฟ้าดับไปทั่วพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้เมื่อตอนหัวค่ำวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างขนานใหญ่ ทั้งในประเด็นที่เป็นสาเหตุ การให้ข้อมูลของทางราชการโดยเฉพาะเรื่องจำนวนกำลังผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคตทั้งระดับเทคนิคและนโยบายไฟฟ้า บทความนี้พยายามจะตอบคำถามและแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวครับ
คำว่า “ดับ” ในภาษาปักษ์ใต้ไม่ได้มีความเดียวตามที่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เข้าใจกัน คือทำให้ “ไฟ” ที่กำลังติดอยู่ต้องดับลง หรือ “ดับทุกข์” แต่ยังมีความหมายถึง การจัดระเบียบ การจัดสิ่งของให้เข้าที่เข้าทาง รวมถึงการทำความสะอาด ปัดกวาดด้วย โดยไม่จำกัดอยู่แค่ภายในบ้านของตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงการจัดระเบียบของบ้านเมืองที่เป็นเรื่องของสาธารณะด้วย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง “โครงการดับบ้านดับเมือง” ได้นำคณะออกทัศนศึกษาในภาคอีสาน ปรากฏว่าด้วยความที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “ดับ” ทางโรงแรมหนึ่งได้กรุณาขึ้นป้ายต้อนรับว่า “ยินดีต้อนรับคณะคับบ้านคับเมือง” หัวหน้าคณะฯ จึงต้องรีบไปขอร้องให้ทางโรงแรมรีบเอาป้ายนั้นลงทันที เพราะเกรงว่าเดี๋ยวพี่จิ๊กโก๋บางคนจะมาขอดูตัว “ใครวะใหญ่คับบ้านคับเมือง” นี่เป็นการยืนยันว่าพี่น้องภาคอื่นไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “ดับ” ในภาษาปักษ์ใต้จริงๆ
บทความนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบกิจการไฟฟ้ารวมถึงนโยบายไฟฟ้าที่ควรจะเป็นของประเทศไทย ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟใต้ หรือความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้แต่อย่างใด แต่หลังจากเหตุการณ์ไฟดับ ผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ใช้ยุทธวิถีระเบิดเสาไฟฟ้าแทน (ฮาไม่ออก)
เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม ผมจึงขอเขียนเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
ข้อ 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าดับ
ไม่นานหลังจากเกิดไฟฟ้าดับ ผู้รับผิดชอบทั้งระดับรัฐมนตรีพลังงานและผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้ออกมาให้ข่าวที่ไม่ค่อยจะตรงกัน บางท่านบอกว่าระบบสายส่งล่มในช่วงจอมบึง-บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่ได้บอกว่าล่มเพราะอะไร บางท่านบอกว่าล่มเพราะฟ้าผ่า บางท่านว่าล่มขณะกำลังซ่อม ทำให้เราสับสนคิดไปว่า เกิดฟ้าผ่าขณะกำลังซ่อม หรืออะไรกันแน่
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหรือฟ้าผ่า ถ้าเป็นการซ่อมจริงทำไมไม่มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าว่าหากเกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุขึ้น ให้โรงไฟฟ้าที่สามารถเดินเครื่องได้สะดวก เช่น เขื่อนรัชประภา บางลาง หรือโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ใช้น้ำมันเตา เป็นต้น
หากเป็นเรื่องฟ้าผ่าจริงก็ยิ่งเป็นเรื่องน่าเสียใจมากขึ้นไปอีก เพราะเราน่าจะมีระบบสายล่อฟ้าทั้งระบบ ไม่ว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนก็ตาม หรือเราจะให้ “ฟ้า” มากำหนดเรา
ข้อที่ 2 เรื่องกำลังการผลิตในภาคใต้ไม่พอ
บางท่านให้ข่าวว่า ภาคใต้มีโรงไฟฟ้าของตนเองไม่พอกับความต้องการใช้ บางรายก็ว่ามีโรงไฟฟ้า 600 เมกะวัตต์มั่ง 1,300 เมกะวัตต์มั่ง แต่ความต้องการใช้อยู่ที่ 2,400 เมกะวัตต์ 2,500 เมกะวัตต์ ข้อมูลดังกล่าวมีบางส่วนที่สำคัญไม่เป็นความจริงครับ
หลังเหตุการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงรัฐมนตรีพลังงานก็ฉวยโอกาสเรียกร้องให้สังคมสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 วัน ท่านรัฐมนตรีคนเดิมได้ออกมาตัดพ้อว่า ถ้าคนภาคใต้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ้าเกิดไฟฟ้าไม่พอก็ให้รับผิดชอบกันเองก็แล้วกัน
จากข้อมูลที่ กฟผ. รายงานต่อสาธารณะว่า ในปี 2554 ในพื้นที่ภาคใต้มีกำลังผลิตอยู่ที่ 2,429 เมกะวัตต์ซึ่งมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดซึ่งอยู่ที่ 2,200 เมกะวัตต์
กำลังการผลิตดังกล่าว ยังไม่ได้รวมความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ซึ่งได้ลงทุนไป 6 พันล้านบาทเปิดดำเนินการในปี 2545 (หลังวันที่ตำรวจสลายการชุมชนของชาวบ้าน 1 วัน) และยังไม่รวมระบบสายส่ง 500 กิโลโวลต์ (ที่ล่ม) ซึ่งได้ลงทุนไปประมาณ 5 หมื่นล้านบาทโดยมีกำลังการผลิตถึง 600 เมกะวัตต์
เมื่อรวมทั้งหมดภาคใต้จึงมีกำลังการผลิตถึงกว่า 3,300 เมกะวัตต์ แต่มีความจำเป็นต้องใช้แค่ 2,200 เมกะวัตต์เท่านั้น การอ้างว่าได้มีการหยุดซ่อมหลายโรงพร้อมกัน ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบชัดเจนขึ้น
คุณมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญพลังงานกล่าวว่า ในช่วงที่เกิดเหตุว่า ประเทศมาเลเซียได้ส่งไฟฟ้ามาให้แค่ 200 เมกะวัตต์ ในราคาหน่วยละ 14 บาท
ความจริงโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นการแลกไฟฟ้า(Exchange) ไม่ใช่การซื้อขาย ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีปัญหา อีกประเทศหนึ่งก็จะส่งไฟฟ้ามา สิ้นปีแล้วค่อยมาหักลบกลบหนี้กันเฉพาะในส่วนที่ต่างกัน
ผมเคยเข้าไปค้นข้อมูลในเว็บไซต์ดูเมื่อ 10 ปีก่อนพบว่า ในปีนั้นประเทศไทยมียอดรวมที่ส่งให้มาเลเซียใช้มากกว่า แล้วจ่ายเงินกันในราคาหน่วยละประมาณ 2-3 บาทเท่านั้นเอง
ข้อมูลเรื่องค่าไฟฟ้าที่มาเลเซียส่งมาในราคาหน่วยละ 14 บาทนี้ สอดคล้องกับผู้บริหาร กฟผ. ระดับผู้ช่วยผู้ว่าการในภาคอีสานท่านหนึ่งเคยพูดที่ภาคอีสานหลังกรณี ดรามา 5 เมษายน 2556 (กรณีก๊าซจากพม่าหยุดซ่อม)
หมายเหตุ ผมได้ตรวจสอบจากรายงานไฟฟ้าของประเทศไทย 2554 หน้า 12 โดยกระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2554 ไทยส่งไฟฟ้าไปให้ 3 ประเทศคือ ลาว พม่า กัมพูชาและมาเลเซีย เฉลี่ยราคาหน่วยละ 3.22 เท่านั้น ทำไมมันห่างจาก 14 บาทมากเหลือเกิน ผมจึงขอสรุปในเบื้องต้นว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นเท็จแน่นอน
ในวันนั้น นักพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วยได้กระซิบถามผมในเวลาต่อมาว่า “ทำไมค่าไฟฟ้าจากมาเลเซียจึงแพงจัง”
ผมว่าข้อมูลที่ว่า “ค่าไฟฟ้าที่มาเลเซียส่งมาช่วยหน่วยละ 14 บาท” เป็นข้อมูลที่ต้องตรวจสอบและตั้งคำถามว่าเป็นจริงหรือไม่ นี่เป็นความร่วมมือระหว่างมิตรประเทศเพื่อนบ้านหรือเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมกันแน่ ถ้าจริงเขาใช้เชื้อเพลิงอะไร เบื้องหลังในการให้ข้อมูลที่น่าสงสัยเช่นนี้ ก็เพื่อบีบบังคับให้สังคมทั่วประเทศมาบีบให้คนภาคใต้ต้องยอมให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใช่หรือไม่
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ คือ ทำไมโครงการความร่วมมือที่ “แลกเปลี่ยน” จึงได้กลายมาเป็นการซื้อขายในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริงถึง 3-4 เท่าตัว สัญญาเดิมได้ถูกแก้ไขไปในสมัยใด
ข้อที่ 3 จะ “ดับ” ไฟฟ้าในภาคใต้อย่างไร
สมมติว่าโรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริง (สมมตินะครับสมมติ) แล้วทำไมจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยเล่า โรงไฟฟ้าชนิดอื่นไม่มีแล้วเหรอ!
คำตอบมี 2 ข้อ คือหนึ่งเพราะนโยบายพลังงานของไทยเราเขียนโดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานฟอสซิล ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวหากันลอยๆ แต่มีหลักฐานครับ บริษัทเหมืองบ้านปู รวมทั้งบริษัท ปตท.จำกัด ได้ลงทุนเหมืองถ่านหินไว้ในต่างประเทศ จึงไม่แปลกอะไรที่ไฟฟ้าดับยังไม่ทันจะติดเลย กระแสเรียกหาถ่านหินก็กระจายไปทั่วประเทศแล้ว
คำตอบที่ 2 คือ โรงไฟฟ้าชนิดอื่นก็มีเยอะแยะ เช่น น้ำเสียจากโรงหีบปาล์มน้ำมัน ทะลายปาล์ม เป็นต้น นพ.วรรณรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีพลังงาน (สายคุณสุวัฒน์) เคยให้สัมภาษณ์ว่า ของเสียจากปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่เพียงอย่างเดียวสามารถผลิตไฟฟ้าได้เกินความต้องการของจังหวัดเสียด้วยซ้ำ
โรงงานน้ำมันปาล์มแห่งหนึ่งมีโรงไฟฟ้าขนาด 0.4 เมกะวัตต์โดยใช้น้ำเสียจากการผลิต สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ปีละ 20 ล้านบาท (ป้อนครอบครัวที่เสียค่าไฟฟ้าเดือนละ 500 บาทได้ถึง 3.3 พันครอบครัว) เจ้าของโรงไฟฟ้าสามารถได้ทุนคืนภายใน 4 ปี แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ที่คนใหญ่คนโตเชียร์กันอยู่นั้นต้องใช้เวลานานกี่สิบปีจึงจะได้ทุนคืน
นักอุตสาหกรรมท่านหนึ่ง (ในสภาอุตสาหกรรม) ได้เล่าให้ฟังในที่ประชุมแห่งหนึ่งว่า โรงไฟฟ้าจากแสงแดดก็สามารถได้ทุนคืนในเวลาประมาณ 4 ปี (เพราะได้ค่าเพิ่มราคาในอัตราสูง)
หลักการของพลังงานหรือของโรงไฟฟ้าก็เป็นไปตามทฤษฎีของพลังงาน คือ “สสารและพลังงานไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ แต่เปลี่ยนรูปกันไปมาระหว่างกัน” ดังนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะทำให้เกิดการสูญเสียเชื้อเพลิงที่ต้องขนส่งมาไกล และต้องสูญเสีย (Loss) ในการกระจายไฟฟ้าผ่านสายส่งในรูปของความร้อนด้วย
ด้วยหลักการดังกล่าว (ซึ่งใครๆ ก็ทราบ) จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจึงจะดีและมั่นคง ด้วยเหตุดังกล่าว ประเทศสาธารณรัฐเยอรมนีจึงได้สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากการเกษตร และของเสียกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศจำนวนมากกว่า 1 หมื่นโรง โดยมีขนาดเพียง 0.5 ถึง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น ไม่ใช่ 800 เมกะวัตต์ดังกรณีถ่านหินในบ้านเรา และไม่ใช่ 9.9 เมกะวัตต์ดังกรณีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่นักลงทุนไทยพยายามเลี่ยงกฎหมายด้านผลกระทบกันอยู่
เยอรมนีเป็นประเทศที่มีแสงแดดน้อยกว่าไทยมาก แต่เขาสามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้เป็นจำนวนมาก หากยกไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างเดียวที่เยอรมนีผลิตมาใช้ในประเทศไทยจะสามารถป้อนความต้องการได้ถึง 18% ของที่คนไทยใช้
หากยกไฟฟ้าที่เยอรมนีผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด คือ แสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล จะสามารถป้อนประเทศไทยได้ถึง 80%
คำถามคือทำไมคนไทยไม่ทำ
นักธุรกิจโรงหีบปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยเล่าให้อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟังว่า เขาเตรียมตัวจะผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียที่เคยปล่อยไปกระทบการทำมาหากินของชาวบ้าน แต่การไฟฟ้าไม่รับซื้อโดยอ้างว่า “โควตาเต็มแล้ว”
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคใน กทม. ได้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไปกว่า 1 ล้านบาท แต่การไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อ
ปัญหาที่คนปักษ์ใต้เรียกปัญหาในลักษณะนี้ว่า “ปัญหาเบลอๆ พรรค์นี้” นั้นทางประเทศเยอรมนีได้แก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จนานแล้ว โดยการตราเป็นกฎหมายว่า “ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้สามารถขายไฟฟ้าได้ก่อน โดยไม่จำกัดจำนวน ไม่มีโควตา”
แต่ประเทศไทยกลับสงวนโควตาไว้ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินก่อน
ข้อที่ 4 ปัญหานโยบายไฟฟ้าที่ทุกจังหวัดเป็นง่อย
ถ้าอ้างว่าไฟฟ้าดับเพราะโรงไฟฟ้าไม่พอ ลองมาพิจารณากรณีจังหวัดสงขลาที่มีโรงไฟฟ้าขนาด 715 เมกะวัตต์และความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ ในขณะที่คนสงขลาทั้งจังหวัดใช้ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 400 เมกะวัตต์ แต่ทำไมไฟฟ้าจึงดับทั้งจังหวัดทั้งๆ ที่มีไฟฟ้าถึง 1 พันเมกะวัตต์
คำตอบก็คือ ในทางกายภาพได้ถูกออกแบบให้นำไฟฟ้าไปป้อนจังหวัดอื่นข้างเคียงด้วย เช่นพัทลุง เป็นต้น พอเกิดปัญหาผมเข้าใจว่า ก็คล้ายๆ กับเลือดไหลออกจากร่างกายจึงพากันดับหมด ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยโดยคุณมนูญ ศิริวรรณก็คือ เจ้าหน้าที่ไม่กล้าหรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจห้ามเลือด ต้องรอคำสั่งการจากผู้มีอำนาจซึ่งอยู่ในรูปของกรรมการ (ที่ต้องผ่านกระประชุม) หลังเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ รัฐบาลได้แต่งตั้งให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้มีอำนาจตามลำพัง
โดยสรุป ปัญหากิจการไฟฟ้าไทยทั้งประเทศ (ไม่เฉพาะแต่ภาคใต้) เป็นระบบที่รวมศูนย์ทั้งเชื้อเพลิง (ที่ผู้เขียนนโยบายกับพ่อค้าได้วางแผนร่วมกัน) และนโยบายที่ผูกขาดโดยคนหยิบมือเดียว ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมศูนย์อำนาจสั่งการ ไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
แท้ที่จริงแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยน่าจะชี้วัดกันด้วยนโยบายพลังงาน เราสนใจความเท่าเทียมกันของปัจเจก โดยใช้กติกาการเลือกตั้งแบบ one man, one vote แต่เราไม่สนใจการจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ธรรมชาติได้ออกแบบให้กระจายตัวเท่าๆ กัน
พลังงานแสงอาทิตย์ส่องถึงหัวคนทุกคนเท่ากัน แต่ดันมีผู้มีอิทธิพลมาออกแบบนโยบายพลังงานว่า “ห้ามใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ให้ใช้ถ่านหินเท่านั้น”
ตรงนี้แหละที่เป็นอุปสรรคสำคัญมากที่สุดของระบอบประชาธิปไตย ถึงเวลาต้อง “ดับ” ระบบพลังงานของประเทศกันได้แล้วครับ
เหตุการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ดับในครั้งนี้ ผมอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ โดยใช้หลักการความรับผิดชอบ (Principles of Accountability) ซึ่งประกอบด้วย 4 หลักการที่อารยะประเทศเขานิยมปฏิบัติกัน คือ
หนึ่ง มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ไม่มีประเด็นซ่อนเร้น ไม่ดรามาเหมือนกรณี 5 เมษายน ที่ประชาชนจับได้ในภายหลังว่าเป็นการแสดง
สอง การมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำแผน การป้องกันผลกระทบจากโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สาม มีการแสวงหาเสียงสะท้อนป้อนกลับในเชิงรุก (Proactively seeking feedback) ชุมชนสามารถสะท้อนความคิดเห็นในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ เสียงสะท้อนจากชุมชนถูกนำไปปฏิบัติและถูกแจ้งให้ผู้ร้องทราบ ชาวแม่เมาะที่ได้รับผลกระทบมานานหลายสิบปี ร้องเรียนก็แล้วแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ในที่สุดก็ต้องฟ้องศาล ครั้นชนะคดีแล้ว แต่ กฟผ.ก็อุทธรณ์ คงต้องรออีกนานหลายปี
สี่ มีการติดตาม ประเมินผล และการเรียนรู้ กรณีไฟฟ้าภาคใต้ดับคราวนี้ ยังไม่ทันที่จะได้ตรวจสอบข้อเท็จให้ชัดเจน รัฐมนตรีก็ประกาศว่าโรงไฟฟ้าไม่พอและจะสร้างโรงฟ้าถ่านหินทันที
ย้อนไปกรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ตกลงประเทศไทยเราได้เรียนรู้และได้ประเมินแล้วหรือยังว่า สาเหตุน้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นเพราะอะไร (รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ ได้ยอมรับในสภาฯ ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็บน้ำในเขื่อนมากเกินไป) เราได้ข้อสรุปแล้วหรือยังว่า บิ๊กแบ็กที่ซื้อมาในราคา 2 พันบาทต่อถุง จำนวน 1 ล้านถุงนั้น ทำไมจึง “เอาไม่อยู่” แต่รัฐบาลก็พยายามดื้อรั้นลงทุนเพิ่มอีก 3.5 แสนล้านบาทท่ามกลางเสียคัดค้านและห่วงใยของหลายฝ่าย
มันน่าอนาถจริงหนอประเทศไทยเรา!
คำว่า “ดับ” ในภาษาปักษ์ใต้ไม่ได้มีความเดียวตามที่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เข้าใจกัน คือทำให้ “ไฟ” ที่กำลังติดอยู่ต้องดับลง หรือ “ดับทุกข์” แต่ยังมีความหมายถึง การจัดระเบียบ การจัดสิ่งของให้เข้าที่เข้าทาง รวมถึงการทำความสะอาด ปัดกวาดด้วย โดยไม่จำกัดอยู่แค่ภายในบ้านของตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงการจัดระเบียบของบ้านเมืองที่เป็นเรื่องของสาธารณะด้วย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง “โครงการดับบ้านดับเมือง” ได้นำคณะออกทัศนศึกษาในภาคอีสาน ปรากฏว่าด้วยความที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “ดับ” ทางโรงแรมหนึ่งได้กรุณาขึ้นป้ายต้อนรับว่า “ยินดีต้อนรับคณะคับบ้านคับเมือง” หัวหน้าคณะฯ จึงต้องรีบไปขอร้องให้ทางโรงแรมรีบเอาป้ายนั้นลงทันที เพราะเกรงว่าเดี๋ยวพี่จิ๊กโก๋บางคนจะมาขอดูตัว “ใครวะใหญ่คับบ้านคับเมือง” นี่เป็นการยืนยันว่าพี่น้องภาคอื่นไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “ดับ” ในภาษาปักษ์ใต้จริงๆ
บทความนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบกิจการไฟฟ้ารวมถึงนโยบายไฟฟ้าที่ควรจะเป็นของประเทศไทย ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟใต้ หรือความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้แต่อย่างใด แต่หลังจากเหตุการณ์ไฟดับ ผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ใช้ยุทธวิถีระเบิดเสาไฟฟ้าแทน (ฮาไม่ออก)
เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม ผมจึงขอเขียนเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
ข้อ 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าดับ
ไม่นานหลังจากเกิดไฟฟ้าดับ ผู้รับผิดชอบทั้งระดับรัฐมนตรีพลังงานและผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้ออกมาให้ข่าวที่ไม่ค่อยจะตรงกัน บางท่านบอกว่าระบบสายส่งล่มในช่วงจอมบึง-บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่ได้บอกว่าล่มเพราะอะไร บางท่านบอกว่าล่มเพราะฟ้าผ่า บางท่านว่าล่มขณะกำลังซ่อม ทำให้เราสับสนคิดไปว่า เกิดฟ้าผ่าขณะกำลังซ่อม หรืออะไรกันแน่
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหรือฟ้าผ่า ถ้าเป็นการซ่อมจริงทำไมไม่มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าว่าหากเกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุขึ้น ให้โรงไฟฟ้าที่สามารถเดินเครื่องได้สะดวก เช่น เขื่อนรัชประภา บางลาง หรือโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ใช้น้ำมันเตา เป็นต้น
หากเป็นเรื่องฟ้าผ่าจริงก็ยิ่งเป็นเรื่องน่าเสียใจมากขึ้นไปอีก เพราะเราน่าจะมีระบบสายล่อฟ้าทั้งระบบ ไม่ว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนก็ตาม หรือเราจะให้ “ฟ้า” มากำหนดเรา
ข้อที่ 2 เรื่องกำลังการผลิตในภาคใต้ไม่พอ
บางท่านให้ข่าวว่า ภาคใต้มีโรงไฟฟ้าของตนเองไม่พอกับความต้องการใช้ บางรายก็ว่ามีโรงไฟฟ้า 600 เมกะวัตต์มั่ง 1,300 เมกะวัตต์มั่ง แต่ความต้องการใช้อยู่ที่ 2,400 เมกะวัตต์ 2,500 เมกะวัตต์ ข้อมูลดังกล่าวมีบางส่วนที่สำคัญไม่เป็นความจริงครับ
หลังเหตุการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงรัฐมนตรีพลังงานก็ฉวยโอกาสเรียกร้องให้สังคมสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 วัน ท่านรัฐมนตรีคนเดิมได้ออกมาตัดพ้อว่า ถ้าคนภาคใต้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ้าเกิดไฟฟ้าไม่พอก็ให้รับผิดชอบกันเองก็แล้วกัน
จากข้อมูลที่ กฟผ. รายงานต่อสาธารณะว่า ในปี 2554 ในพื้นที่ภาคใต้มีกำลังผลิตอยู่ที่ 2,429 เมกะวัตต์ซึ่งมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดซึ่งอยู่ที่ 2,200 เมกะวัตต์
กำลังการผลิตดังกล่าว ยังไม่ได้รวมความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ซึ่งได้ลงทุนไป 6 พันล้านบาทเปิดดำเนินการในปี 2545 (หลังวันที่ตำรวจสลายการชุมชนของชาวบ้าน 1 วัน) และยังไม่รวมระบบสายส่ง 500 กิโลโวลต์ (ที่ล่ม) ซึ่งได้ลงทุนไปประมาณ 5 หมื่นล้านบาทโดยมีกำลังการผลิตถึง 600 เมกะวัตต์
เมื่อรวมทั้งหมดภาคใต้จึงมีกำลังการผลิตถึงกว่า 3,300 เมกะวัตต์ แต่มีความจำเป็นต้องใช้แค่ 2,200 เมกะวัตต์เท่านั้น การอ้างว่าได้มีการหยุดซ่อมหลายโรงพร้อมกัน ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบชัดเจนขึ้น
คุณมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญพลังงานกล่าวว่า ในช่วงที่เกิดเหตุว่า ประเทศมาเลเซียได้ส่งไฟฟ้ามาให้แค่ 200 เมกะวัตต์ ในราคาหน่วยละ 14 บาท
ความจริงโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นการแลกไฟฟ้า(Exchange) ไม่ใช่การซื้อขาย ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีปัญหา อีกประเทศหนึ่งก็จะส่งไฟฟ้ามา สิ้นปีแล้วค่อยมาหักลบกลบหนี้กันเฉพาะในส่วนที่ต่างกัน
ผมเคยเข้าไปค้นข้อมูลในเว็บไซต์ดูเมื่อ 10 ปีก่อนพบว่า ในปีนั้นประเทศไทยมียอดรวมที่ส่งให้มาเลเซียใช้มากกว่า แล้วจ่ายเงินกันในราคาหน่วยละประมาณ 2-3 บาทเท่านั้นเอง
ข้อมูลเรื่องค่าไฟฟ้าที่มาเลเซียส่งมาในราคาหน่วยละ 14 บาทนี้ สอดคล้องกับผู้บริหาร กฟผ. ระดับผู้ช่วยผู้ว่าการในภาคอีสานท่านหนึ่งเคยพูดที่ภาคอีสานหลังกรณี ดรามา 5 เมษายน 2556 (กรณีก๊าซจากพม่าหยุดซ่อม)
หมายเหตุ ผมได้ตรวจสอบจากรายงานไฟฟ้าของประเทศไทย 2554 หน้า 12 โดยกระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2554 ไทยส่งไฟฟ้าไปให้ 3 ประเทศคือ ลาว พม่า กัมพูชาและมาเลเซีย เฉลี่ยราคาหน่วยละ 3.22 เท่านั้น ทำไมมันห่างจาก 14 บาทมากเหลือเกิน ผมจึงขอสรุปในเบื้องต้นว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นเท็จแน่นอน
ในวันนั้น นักพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วยได้กระซิบถามผมในเวลาต่อมาว่า “ทำไมค่าไฟฟ้าจากมาเลเซียจึงแพงจัง”
ผมว่าข้อมูลที่ว่า “ค่าไฟฟ้าที่มาเลเซียส่งมาช่วยหน่วยละ 14 บาท” เป็นข้อมูลที่ต้องตรวจสอบและตั้งคำถามว่าเป็นจริงหรือไม่ นี่เป็นความร่วมมือระหว่างมิตรประเทศเพื่อนบ้านหรือเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมกันแน่ ถ้าจริงเขาใช้เชื้อเพลิงอะไร เบื้องหลังในการให้ข้อมูลที่น่าสงสัยเช่นนี้ ก็เพื่อบีบบังคับให้สังคมทั่วประเทศมาบีบให้คนภาคใต้ต้องยอมให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใช่หรือไม่
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ คือ ทำไมโครงการความร่วมมือที่ “แลกเปลี่ยน” จึงได้กลายมาเป็นการซื้อขายในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริงถึง 3-4 เท่าตัว สัญญาเดิมได้ถูกแก้ไขไปในสมัยใด
ข้อที่ 3 จะ “ดับ” ไฟฟ้าในภาคใต้อย่างไร
สมมติว่าโรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริง (สมมตินะครับสมมติ) แล้วทำไมจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยเล่า โรงไฟฟ้าชนิดอื่นไม่มีแล้วเหรอ!
คำตอบมี 2 ข้อ คือหนึ่งเพราะนโยบายพลังงานของไทยเราเขียนโดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานฟอสซิล ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและนิวเคลียร์ เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวหากันลอยๆ แต่มีหลักฐานครับ บริษัทเหมืองบ้านปู รวมทั้งบริษัท ปตท.จำกัด ได้ลงทุนเหมืองถ่านหินไว้ในต่างประเทศ จึงไม่แปลกอะไรที่ไฟฟ้าดับยังไม่ทันจะติดเลย กระแสเรียกหาถ่านหินก็กระจายไปทั่วประเทศแล้ว
คำตอบที่ 2 คือ โรงไฟฟ้าชนิดอื่นก็มีเยอะแยะ เช่น น้ำเสียจากโรงหีบปาล์มน้ำมัน ทะลายปาล์ม เป็นต้น นพ.วรรณรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีพลังงาน (สายคุณสุวัฒน์) เคยให้สัมภาษณ์ว่า ของเสียจากปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่เพียงอย่างเดียวสามารถผลิตไฟฟ้าได้เกินความต้องการของจังหวัดเสียด้วยซ้ำ
โรงงานน้ำมันปาล์มแห่งหนึ่งมีโรงไฟฟ้าขนาด 0.4 เมกะวัตต์โดยใช้น้ำเสียจากการผลิต สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ปีละ 20 ล้านบาท (ป้อนครอบครัวที่เสียค่าไฟฟ้าเดือนละ 500 บาทได้ถึง 3.3 พันครอบครัว) เจ้าของโรงไฟฟ้าสามารถได้ทุนคืนภายใน 4 ปี แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ที่คนใหญ่คนโตเชียร์กันอยู่นั้นต้องใช้เวลานานกี่สิบปีจึงจะได้ทุนคืน
นักอุตสาหกรรมท่านหนึ่ง (ในสภาอุตสาหกรรม) ได้เล่าให้ฟังในที่ประชุมแห่งหนึ่งว่า โรงไฟฟ้าจากแสงแดดก็สามารถได้ทุนคืนในเวลาประมาณ 4 ปี (เพราะได้ค่าเพิ่มราคาในอัตราสูง)
หลักการของพลังงานหรือของโรงไฟฟ้าก็เป็นไปตามทฤษฎีของพลังงาน คือ “สสารและพลังงานไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ แต่เปลี่ยนรูปกันไปมาระหว่างกัน” ดังนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะทำให้เกิดการสูญเสียเชื้อเพลิงที่ต้องขนส่งมาไกล และต้องสูญเสีย (Loss) ในการกระจายไฟฟ้าผ่านสายส่งในรูปของความร้อนด้วย
ด้วยหลักการดังกล่าว (ซึ่งใครๆ ก็ทราบ) จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจึงจะดีและมั่นคง ด้วยเหตุดังกล่าว ประเทศสาธารณรัฐเยอรมนีจึงได้สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากการเกษตร และของเสียกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศจำนวนมากกว่า 1 หมื่นโรง โดยมีขนาดเพียง 0.5 ถึง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น ไม่ใช่ 800 เมกะวัตต์ดังกรณีถ่านหินในบ้านเรา และไม่ใช่ 9.9 เมกะวัตต์ดังกรณีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่นักลงทุนไทยพยายามเลี่ยงกฎหมายด้านผลกระทบกันอยู่
เยอรมนีเป็นประเทศที่มีแสงแดดน้อยกว่าไทยมาก แต่เขาสามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้เป็นจำนวนมาก หากยกไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างเดียวที่เยอรมนีผลิตมาใช้ในประเทศไทยจะสามารถป้อนความต้องการได้ถึง 18% ของที่คนไทยใช้
หากยกไฟฟ้าที่เยอรมนีผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด คือ แสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล จะสามารถป้อนประเทศไทยได้ถึง 80%
คำถามคือทำไมคนไทยไม่ทำ
นักธุรกิจโรงหีบปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยเล่าให้อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟังว่า เขาเตรียมตัวจะผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียที่เคยปล่อยไปกระทบการทำมาหากินของชาวบ้าน แต่การไฟฟ้าไม่รับซื้อโดยอ้างว่า “โควตาเต็มแล้ว”
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคใน กทม. ได้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไปกว่า 1 ล้านบาท แต่การไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อ
ปัญหาที่คนปักษ์ใต้เรียกปัญหาในลักษณะนี้ว่า “ปัญหาเบลอๆ พรรค์นี้” นั้นทางประเทศเยอรมนีได้แก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จนานแล้ว โดยการตราเป็นกฎหมายว่า “ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้สามารถขายไฟฟ้าได้ก่อน โดยไม่จำกัดจำนวน ไม่มีโควตา”
แต่ประเทศไทยกลับสงวนโควตาไว้ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินก่อน
ข้อที่ 4 ปัญหานโยบายไฟฟ้าที่ทุกจังหวัดเป็นง่อย
ถ้าอ้างว่าไฟฟ้าดับเพราะโรงไฟฟ้าไม่พอ ลองมาพิจารณากรณีจังหวัดสงขลาที่มีโรงไฟฟ้าขนาด 715 เมกะวัตต์และความร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ ในขณะที่คนสงขลาทั้งจังหวัดใช้ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 400 เมกะวัตต์ แต่ทำไมไฟฟ้าจึงดับทั้งจังหวัดทั้งๆ ที่มีไฟฟ้าถึง 1 พันเมกะวัตต์
คำตอบก็คือ ในทางกายภาพได้ถูกออกแบบให้นำไฟฟ้าไปป้อนจังหวัดอื่นข้างเคียงด้วย เช่นพัทลุง เป็นต้น พอเกิดปัญหาผมเข้าใจว่า ก็คล้ายๆ กับเลือดไหลออกจากร่างกายจึงพากันดับหมด ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยโดยคุณมนูญ ศิริวรรณก็คือ เจ้าหน้าที่ไม่กล้าหรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจห้ามเลือด ต้องรอคำสั่งการจากผู้มีอำนาจซึ่งอยู่ในรูปของกรรมการ (ที่ต้องผ่านกระประชุม) หลังเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ รัฐบาลได้แต่งตั้งให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้มีอำนาจตามลำพัง
โดยสรุป ปัญหากิจการไฟฟ้าไทยทั้งประเทศ (ไม่เฉพาะแต่ภาคใต้) เป็นระบบที่รวมศูนย์ทั้งเชื้อเพลิง (ที่ผู้เขียนนโยบายกับพ่อค้าได้วางแผนร่วมกัน) และนโยบายที่ผูกขาดโดยคนหยิบมือเดียว ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมศูนย์อำนาจสั่งการ ไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
แท้ที่จริงแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยน่าจะชี้วัดกันด้วยนโยบายพลังงาน เราสนใจความเท่าเทียมกันของปัจเจก โดยใช้กติกาการเลือกตั้งแบบ one man, one vote แต่เราไม่สนใจการจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ธรรมชาติได้ออกแบบให้กระจายตัวเท่าๆ กัน
พลังงานแสงอาทิตย์ส่องถึงหัวคนทุกคนเท่ากัน แต่ดันมีผู้มีอิทธิพลมาออกแบบนโยบายพลังงานว่า “ห้ามใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ให้ใช้ถ่านหินเท่านั้น”
ตรงนี้แหละที่เป็นอุปสรรคสำคัญมากที่สุดของระบอบประชาธิปไตย ถึงเวลาต้อง “ดับ” ระบบพลังงานของประเทศกันได้แล้วครับ
เหตุการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ดับในครั้งนี้ ผมอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ โดยใช้หลักการความรับผิดชอบ (Principles of Accountability) ซึ่งประกอบด้วย 4 หลักการที่อารยะประเทศเขานิยมปฏิบัติกัน คือ
หนึ่ง มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ไม่มีประเด็นซ่อนเร้น ไม่ดรามาเหมือนกรณี 5 เมษายน ที่ประชาชนจับได้ในภายหลังว่าเป็นการแสดง
สอง การมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำแผน การป้องกันผลกระทบจากโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สาม มีการแสวงหาเสียงสะท้อนป้อนกลับในเชิงรุก (Proactively seeking feedback) ชุมชนสามารถสะท้อนความคิดเห็นในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ เสียงสะท้อนจากชุมชนถูกนำไปปฏิบัติและถูกแจ้งให้ผู้ร้องทราบ ชาวแม่เมาะที่ได้รับผลกระทบมานานหลายสิบปี ร้องเรียนก็แล้วแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ในที่สุดก็ต้องฟ้องศาล ครั้นชนะคดีแล้ว แต่ กฟผ.ก็อุทธรณ์ คงต้องรออีกนานหลายปี
สี่ มีการติดตาม ประเมินผล และการเรียนรู้ กรณีไฟฟ้าภาคใต้ดับคราวนี้ ยังไม่ทันที่จะได้ตรวจสอบข้อเท็จให้ชัดเจน รัฐมนตรีก็ประกาศว่าโรงไฟฟ้าไม่พอและจะสร้างโรงฟ้าถ่านหินทันที
ย้อนไปกรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ตกลงประเทศไทยเราได้เรียนรู้และได้ประเมินแล้วหรือยังว่า สาเหตุน้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นเพราะอะไร (รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ ได้ยอมรับในสภาฯ ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็บน้ำในเขื่อนมากเกินไป) เราได้ข้อสรุปแล้วหรือยังว่า บิ๊กแบ็กที่ซื้อมาในราคา 2 พันบาทต่อถุง จำนวน 1 ล้านถุงนั้น ทำไมจึง “เอาไม่อยู่” แต่รัฐบาลก็พยายามดื้อรั้นลงทุนเพิ่มอีก 3.5 แสนล้านบาทท่ามกลางเสียคัดค้านและห่วงใยของหลายฝ่าย
มันน่าอนาถจริงหนอประเทศไทยเรา!