ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้นำชาวพุทธ 87 ประเทศ ประกาศปฏิญญากรุงเทพ วิสาขบูชาโลก ปี 56 ยกย่อง สมเด็จพระสังฆราช นักพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ จัดพิธีเจริญพุทธมนต์ ถวายในหลวง-ราชินี 23 พ.ค. ด้าน เลขาฯยูเอ็นส่งสาส์น ระบุ ทิ้งความรุนแรง โอบอุ้มสันติภาพ
วานนี้ (22 พ.ค.) ที่ศูนย์ประชาสหประชาชาติ ในการประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก : มุมมองพระพุทธศาสนา” เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2556 ในช่วงเช้า ผู้นำชาวพุทธทั้ง 87 ประเทศร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อสันติภาพโลก จากนั้นมีการอ่านสาส์นจากบุคคลสำคัญของโลก เช่น นายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ส่งสาส์นวิสาขบูชาโลกความตอนหนึ่งว่า วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลโลกเป็นการเฉลิมฉลองสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เป็นโอกาสที่จะสำรวจตรวจสอบดูว่าคำสอนต่างๆ ทางพุทธจะกระตุ้นเตือนเราได้อย่างไรในการสนองตอบต่อความท้าทายต่างๆ ที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ ซึ่งพระพุทธศาสนาได้สอนให้สละความรุนแรงทิ้งและโอบอุ้มสันติภาพ เน้นปกครองกันในระบอบประชาธิปไตย การเคารพในศักดิ์ศรีของชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับสหประชาชาติที่ต้องการจิตวิญญาณปลอดความรุนแรงที่จะช่วยจุดประกายสันติภาพและหยุดยั้งความขัดแย้ง ด้วยความหวังอย่างจริงใจว่าเราทั้งหมดจะร่วมสร้างพลังแห่งจิตวิญญาณอุดมคติในการสร้างความแข็งแกร่งเพื่อปรับปรุงแก้ไขโลกของเราให้ดีขึ้น
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ และอ่านสาส์นว่า ปัจจุบันแต่ละประเทศประกาศตนว่าเป็นสังคมที่ได้รับการพัฒนา มีความเจริญทางวัตถุแข่งขันกันด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่เต็มไปด้วยปัญหาสังคม คุณภาพของคนที่นิยมวัดกันด้วยระดับการศึกษา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่มีการศึกษาดีมากมายเป็นผู้สร้างปัญหาให้กับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น การโกหก หลอกลวง ล่อลวง ใช้คำด่าทอ คำส่อเสียดให้เกิดความแตกแยก ซึ่งนับวันจะมีปัญหามากขึ้น เป็นอันตรายต่อสังคมโลก หากทุกคนมีความรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชาวโลกได้ประโยชน์จากพุทธธรรมคือการเผยแผ่ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล
ด้านพระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมจร. อ่านประกาศปฏิญญากรุงเทพ เนื่องในวันวิสาขบูชา จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
1. ยกย่องสมเด็จพระสังฆราช แห่งประเทศไทย ในวาระฉลองพระชันษา 100 ปี ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาในการพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านการศึกษาสติปัญญาและสุขภาพอนามัย
2. การศึกษาที่มีผลต่อคนทั้งโลกในศตวรรษที่ 21 ต้องเน้นบูรณาการทางปัญญา และเชื่อมโยงระหว่างวิชาในโรงเรียนและการยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ศีลธรรมและความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เพื่อให้ตระหนักในผลสัมฤทธิ์การศึกษาขั้นพื้นฐานสากลและขั้นสูงกว่านั้น
3.กระตุ้นผู้นำชาวพุทธให้สร้างความเข้มแข็งในภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา พร้อมทั้งการพัฒนาสังคมและการพัฒนามนุษยธรรมเพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืน
4.เพิ่มความเข้มแข็งตามแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเรื่องการไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และมุ่งมั่นที่จะรักษาไว้ซึ่งความสามัคคี วัฒนธรรมและศาสนา และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.การพบปะในวันวิสาขบูชานี้กระตุ้นชาวพุทธเพื่อเสริมสร้างสันติภาพโลก โดยเฉพาะการเผยแผ่พระปัญญาของพระพุทธเจ้าเชื่อมเข้ากับคนทั้งโลก ให้เป็นเหมือนครอบครัวเดียวกันพร้อมทั้งรับผิดชอบผลการกระทำร่วมกัน
6.กระตุ้นองค์กรทั้งชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธให้พากเพียรต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เน้นความต้องการที่มีสมดุลภาพด้านการพัฒนาเข้ากับการรักษาธรรมชาติ
7. การส่งเสริมข่าวสารของมนุษยชาติ ผ่านการกระตุ้นเฉพาะตัวบุคคลและองค์กร รวมถึงเพื่อการพัฒนาทัศนคติด้านการเป็นพลเมืองโลก
8.ส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักจริยธรรม ในหลายๆ ด้านเช่น ด้านการพัฒนาสุขภาพ การศึกษา การบริหารจัดการและสังคม
9.พยายามอย่างสุดกำลังให้บรรลุวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่เรียกร้องให้สร้างความเป็นเอกภาพภายในความแตกต่างของสังคมพุทธที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิสาขบูชานานาชาติ
ทั้งนี้ ในวันที่ 23 พ.ค.เวลา 09.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยคณะสงฆ์ คณะสงฆ์นานาชาติ และชาวพุทธทั่วโลก ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวาระฉลองพระชันษา 100 ปี ด้วย
วานนี้ (22 พ.ค.) ที่ศูนย์ประชาสหประชาชาติ ในการประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก : มุมมองพระพุทธศาสนา” เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2556 ในช่วงเช้า ผู้นำชาวพุทธทั้ง 87 ประเทศร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อสันติภาพโลก จากนั้นมีการอ่านสาส์นจากบุคคลสำคัญของโลก เช่น นายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ส่งสาส์นวิสาขบูชาโลกความตอนหนึ่งว่า วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลโลกเป็นการเฉลิมฉลองสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เป็นโอกาสที่จะสำรวจตรวจสอบดูว่าคำสอนต่างๆ ทางพุทธจะกระตุ้นเตือนเราได้อย่างไรในการสนองตอบต่อความท้าทายต่างๆ ที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ ซึ่งพระพุทธศาสนาได้สอนให้สละความรุนแรงทิ้งและโอบอุ้มสันติภาพ เน้นปกครองกันในระบอบประชาธิปไตย การเคารพในศักดิ์ศรีของชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับสหประชาชาติที่ต้องการจิตวิญญาณปลอดความรุนแรงที่จะช่วยจุดประกายสันติภาพและหยุดยั้งความขัดแย้ง ด้วยความหวังอย่างจริงใจว่าเราทั้งหมดจะร่วมสร้างพลังแห่งจิตวิญญาณอุดมคติในการสร้างความแข็งแกร่งเพื่อปรับปรุงแก้ไขโลกของเราให้ดีขึ้น
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ และอ่านสาส์นว่า ปัจจุบันแต่ละประเทศประกาศตนว่าเป็นสังคมที่ได้รับการพัฒนา มีความเจริญทางวัตถุแข่งขันกันด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่เต็มไปด้วยปัญหาสังคม คุณภาพของคนที่นิยมวัดกันด้วยระดับการศึกษา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่มีการศึกษาดีมากมายเป็นผู้สร้างปัญหาให้กับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น การโกหก หลอกลวง ล่อลวง ใช้คำด่าทอ คำส่อเสียดให้เกิดความแตกแยก ซึ่งนับวันจะมีปัญหามากขึ้น เป็นอันตรายต่อสังคมโลก หากทุกคนมีความรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชาวโลกได้ประโยชน์จากพุทธธรรมคือการเผยแผ่ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล
ด้านพระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมจร. อ่านประกาศปฏิญญากรุงเทพ เนื่องในวันวิสาขบูชา จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
1. ยกย่องสมเด็จพระสังฆราช แห่งประเทศไทย ในวาระฉลองพระชันษา 100 ปี ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาในการพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านการศึกษาสติปัญญาและสุขภาพอนามัย
2. การศึกษาที่มีผลต่อคนทั้งโลกในศตวรรษที่ 21 ต้องเน้นบูรณาการทางปัญญา และเชื่อมโยงระหว่างวิชาในโรงเรียนและการยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ศีลธรรมและความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เพื่อให้ตระหนักในผลสัมฤทธิ์การศึกษาขั้นพื้นฐานสากลและขั้นสูงกว่านั้น
3.กระตุ้นผู้นำชาวพุทธให้สร้างความเข้มแข็งในภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา พร้อมทั้งการพัฒนาสังคมและการพัฒนามนุษยธรรมเพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืน
4.เพิ่มความเข้มแข็งตามแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเรื่องการไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และมุ่งมั่นที่จะรักษาไว้ซึ่งความสามัคคี วัฒนธรรมและศาสนา และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.การพบปะในวันวิสาขบูชานี้กระตุ้นชาวพุทธเพื่อเสริมสร้างสันติภาพโลก โดยเฉพาะการเผยแผ่พระปัญญาของพระพุทธเจ้าเชื่อมเข้ากับคนทั้งโลก ให้เป็นเหมือนครอบครัวเดียวกันพร้อมทั้งรับผิดชอบผลการกระทำร่วมกัน
6.กระตุ้นองค์กรทั้งชาวพุทธและไม่ใช่ชาวพุทธให้พากเพียรต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เน้นความต้องการที่มีสมดุลภาพด้านการพัฒนาเข้ากับการรักษาธรรมชาติ
7. การส่งเสริมข่าวสารของมนุษยชาติ ผ่านการกระตุ้นเฉพาะตัวบุคคลและองค์กร รวมถึงเพื่อการพัฒนาทัศนคติด้านการเป็นพลเมืองโลก
8.ส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักจริยธรรม ในหลายๆ ด้านเช่น ด้านการพัฒนาสุขภาพ การศึกษา การบริหารจัดการและสังคม
9.พยายามอย่างสุดกำลังให้บรรลุวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่เรียกร้องให้สร้างความเป็นเอกภาพภายในความแตกต่างของสังคมพุทธที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิสาขบูชานานาชาติ
ทั้งนี้ ในวันที่ 23 พ.ค.เวลา 09.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยคณะสงฆ์ คณะสงฆ์นานาชาติ และชาวพุทธทั่วโลก ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวาระฉลองพระชันษา 100 ปี ด้วย