แก๊งแดงขับไล่ตุลาการศาล รธน.ชูสโลแกน "8 พฤษภา มาเป็นแสน" พุ่งเป้ากดดัน "จรัญ ภักดีธนากุล" คนแรก อ้างร่วมเขียนรธน.มาตรา 309 ทำให้ "สมัคร" ติดบ่วงถึงตรอมใจตาย พร้อมเดินสายรณรงค์ยกเลิก มาตรา 309 "มาร์ค" แนะกลับมาแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชน เลิกคุกคามฝ่ายเห็นต่าง หวั่นนำสังคมสู่การเผชิญหน้า ไม่สน"แม้ว"ขู่ยุบสภา เย้ยเลือกตั้งชนะกี่ครั้งก็เปลี่ยนคำพิพากษาไม่ได้
เมื่อวานนี้ (5 พ.ค.) กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ที่บริเวณลานเสาธงหน้าศูนย์ราชการฯ 1 อาคารศาลรัฐธรรมนูญ ถ.แจ้งวัฒนะ ต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน ประธาน กวป. พร้อมด้วย นายชาญ ไชยะ หรือ หนุ่ม โคราช รองประธาน กวป. และ นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษก กวป. แถลงประกาศยกระดับการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาออกทั้งคณะ โดยเริ่มจากนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคนแรก เนื่องจากนายจรัญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีที่มาไม่ชอบ เป็นบุคคลที่ร่วมกับคณะปฏิวัติ เขียนรัฐธรรมนูญ ม. 309 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้คมช. และพวกพ้อง และที่สำคัญ คือเป็นผู้หนึ่งที่วินิจฉัยคดี ชิมไปบ่นไป ผิดพลาด จนเป็นเหตุให้ นายสมัคร สุนทรเวช ตรอมใจจนเสียชีวิต ถือเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้กับศาลรัฐธรรมนูญ และสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ดังนั้นในอีก 3 วันนี้ ก่อนจะถึงวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งกวป. จะยกระดับการชุมนุม ภายใต้สโลแกน "8 พฤษภา มาเป็นแสน ขับไล่ตุลาการ ยกเลิก ม.309 " ขอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ร่วมกันบอยคอต ไม่ให้นายจรัญ ร่วมอยู่ในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้รายชื่อที่จะถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กำลังจะได้ครบ 1 แสนรายชื่อแล้ว
** รณรงค์ยกเลิก มาตรา 309
นายพงษ์พิสิษฐ์ กล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวของ กวป.หลังจากนี้ จะมีการรณรงค์เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศร่วมกันใส่เสื้อขาว พิมพ์ข้อความ “ยกเลิก ม. 309 ”ซึ่งทางกวป. จะมีการเดินสายรณรงค์ในต่างจังหวัดอีก 20 จุด เพื่อระดมรายชื่อประชาชนทั่วประเทศ ที่เห็นด้วยกับการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ทั้งคณะ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ม.309 ให้ครบ 1 ล้านรายชื่อ พร้อมจะมีการไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในความผิดอาญา มาตรา 157 ในจังหวัดต่างๆ อีกด้วย
**"มาร์ค" จี้หยุดสร้างเงื่อนไขเผชิญหน้า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสดงความเป็นห่วง กรณีที่มีหลายภาคส่วนเริ่มเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจต่อพฤติกรรมของรัฐบาล ที่ไม่ยอมรับอำนาจศาล รวมถึงการเคลื่อนขบวนภาคประชาชน ของภาคีเครือข่ายประชาชนที่นำโดย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อต่อต้านรัฐบาล โดยมีความกังวลว่ามีหลายฝ่ายที่ต้องการเคลื่อนไหว หน้าที่ของรัฐบาลคือ ทำอย่างไรให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ประเทศชาติสงบ และแก้ปัญหาให้กับประชาชน ตนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลกลับมาให้ความสนใจกับปัญหาของประชาชน ทั้งเรื่องค่าครองชีพ ราคาแก๊ส ที่จะมีการปรับขึ้น พืชผลการเกษตรที่ตกต่ำ ทั้งยางพารา และปาล์ม อยากให้รัฐบาลใส่ใจในเรื่องเหล่านี้มากกว่าที่จะเดินหน้าสร้างบรรยากาศการเผชิญหน้า เพราะหากปัญหาลุกลามบานปลายออกไป ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาอื่นๆ ไม่ได้รับการแก้ไข
นายอภิสิทธิ์ ยังได้วิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลนำสังคมไปสู่การเผชิญหน้าว่า เป็นเพราะได้รับสัญญาณจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ทุกอย่างถูกเร่งเร้าในขณะนี้ จนบรรยากาศการเผชิญหน้าเกิดขึ้นไปทั่ว ทั้งกับศาล ธนาคารแห่งประเทศไทย และกลุ่มมวลชนด้วยกันเอง ซึ่งกลายเป็นสัญญาณแตกหัก ที่ไม่เป็นผลดีกับใครเลย เพราะฉะนั้นอยากให้รัฐบาลทบทวนท่าทีนี้ เพราะหากไม่ทบทวน ก็น่าเป็นห่วงว่าจะนำสังคมไปสู่ความแตกหักในที่สุด เนื่องจากหลายฝ่ายก็ต้องการแสดงออกถึงจุดยืนของตัวเอง
ส่วนกรณีที่นายเจิมศักดิ์ ปินทอง อดีต ส.ว. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และ นายคมสัน โพธิคง อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไปยื่นเรื่องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี สไกป์สั่งการรัฐบาล ว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพการใช้สิทธิของคนอื่น เพราะศาลก็จะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย ถ้าศาลปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ก็มีสิทธิถอดถอน แต่ไม่มีเหตุผลที่จะใช้วิธีข่มขู่ คุกคาม กดดัน จนทำให้เสียบรรยากาศของบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเกิดสภาพที่ควบคุมไม่ได้ เหมือนปี 53 จะเกิดอะไรกับรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ห่วงรัฐบาล แต่ห่วงว่าในสายตาของประชาคมโลกจะมองว่าบ้านเมืองของเรากลายเป็นประเทศที่มีแต่ความวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น ทั้งที่รัฐบาลได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งมีโอกาสเดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อประชาชน ควรใช้โอกาสทำเพื่อประชาชน อย่านำบ้านเมืองกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยมีความขัดแย้งอีก ทั้งนี้ตนไม่แน่ใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีความเข้าใจต่อระบอบประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เพราะจากการไปพูดบิดเบือนที่มองโกเลียนั้น มีความคลาดเคลื่อนหลายอย่าง แต่ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ต้องดูแลให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า สงบ และแก้ปัญหาของประชาชน เพราะในขณะนี้ นักลงทุนมีความกังวลเรื่องการเมืองสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ฝ่ายค้านเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานเต็มที่ หากไม่มายุ่งกับเรื่องการทำลายระบบบ้านเมืองให้เกิดความเสียหาย รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้ผลักดันให้บ้านเมืองให้เกิดความเจริญก้าวหน้า มากกว่า
สำหรับการยกระดับการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 8 พ.ค. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องว่า อย่าทำเลย เพราะมีแต่จะสร้างความกังวล ความไม่มั่นใจ และความเครียดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความมั่นใจว่า จะชนะการเลือกตั้งอีกนั้น ตนไม่กังวลว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร เพราะประชาชนเป็นคนตัดสินเพื่อให้อำนาจเข้ามาบริหารประเทศ แก้ปัญหาให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้ง ก็ไม่มีผลลบล้างสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิด และมีการตัดสินไปแล้วได้ ดังนั้นหากมีความเข้าใจตรงนี้ บ้านเมืองก็จะไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม หากอำนาจกลับไปอยู่ในมือประชาชนอีกครั้ง ก็อยากให้ประชาชนประเมินผลงานของรัฐบาลชุดนี้เกือบสองปีที่ผ่านมา ว่า ทั้งเศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน ดีขึ้นจริงหรือไม่ เพราะจนถึงขณะนี้รัฐบาลก็ยังไม่แถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ต่อสภา แต่จะออกเป็นเอกสารแทน สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่นิยมเวทีที่เป็นประชาธิปไตย ที่สามารถให้คนโต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ แลกเปลี่ยนกันได้
**เรียกร้อง ปชป.หันมาร่วมมือแก้ รธน.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการชุมนุมในวันที่ 8 พ.ค. ของกลุ่มวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ว่า ไม่น่ามีความรุนแรงใดๆ เพราะผู้ชุมนุมก็ได้รับบทเรียนที่ผ่านมา ถ้าการชุมนุมไม่อยู่ในเสรีภาพ ก็ขาดการสนับสนุน ซึ่งการกล่าหวาของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการดำเนินการการเมืองวังวนเดิมๆ การจะประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และจะปฏิรูปพรรค ตนมองว่า น่าจะเป็นแค่ ปาหี่ทางการเมืองมากกว่า ไม่มีอะไรใหม่ เล่นรูปแบบเดิมๆ
ทั้งนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์จะต่อต้านเผด็จการ ยืนอยู่ข้างประชาชน ก็ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ ให้การสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ร่าง ก่อน หลังถูกปล้นจากทำรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 49 จนเกิดรัฐธรรมนูญจากกากเดนเผด็จการ ตนขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ปฏิรูปปากตัวเองก่อน อีกทั้งวิปฝ่ายค้าน มีมติไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะกลับมติวิปฝ่ายค้าน ด้วยการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนจะส่งพวงมาลัยไปมอบด้วยตัวเองที่พรรค
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึง กรณีทางเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ยังไม่มีสมาชิกรัฐสภา 312 คน ยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ แม้เวลาจะผ่านไปวันที่ 5 พ.ค. โดยจะครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ค.56 ว่า เรื่องดังกล่าว ตนในฐานะที่เป็นสมาชิกรัฐสภา ที่เข้าชื่อไม่ส่งคำชี้แจงเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภาอีก 311 คน คงจะไม่ส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เพราะว่าในขณะนี้การแสดงออกของสมาชิกรัฐสภา 312 คน เราแสดงออกแบบอหิงสา เพื่อไม่ให้ใครมาช่วงชิงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญถือว่า สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ถือว่ามีอำนาจในการตรากฎหมาย หรือแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนในลักษณะที่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนโดยประชาชน ใช้อำนาจเสนอกฎหมายผ่านสมาชิกรัฐสภา 312 คน จะทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย เราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ขอให้ประชาชนผู้รักในประชาธิปไตยได้ให้กำลังใจเรื่องการไม่ส่งคำชี้แจงโดยทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้กดดันศาลรัฐธรรมนูญ หรือต้องการเอาชนะ หรือจะไปขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่เป็นความเห็นต่างในทางกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา 312 คน กับการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ตนไม่อยากให้ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมาเสี้ยมว่าเป็นการทำร้ายซึ่งกันและกัน เรื่องดังกล่าวควรให้ทุกฝ่ายมาตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของตนเอง การที่จะมากล่าวหาว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำร้ายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยากให้ฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเกมการเมือง และทำร้ายสมาชิกรัฐสภาด้วยกัน เพราะฉะนั้น การไม่ส่งคำชี้แจงโดยทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 พ.ค. ขอยืนยันว่า ไม่ได้เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นการเห็นต่างทางข้อกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่าคงมีข้อยุติในที่สุด.
เมื่อวานนี้ (5 พ.ค.) กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ที่บริเวณลานเสาธงหน้าศูนย์ราชการฯ 1 อาคารศาลรัฐธรรมนูญ ถ.แจ้งวัฒนะ ต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน ประธาน กวป. พร้อมด้วย นายชาญ ไชยะ หรือ หนุ่ม โคราช รองประธาน กวป. และ นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษก กวป. แถลงประกาศยกระดับการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาออกทั้งคณะ โดยเริ่มจากนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคนแรก เนื่องจากนายจรัญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีที่มาไม่ชอบ เป็นบุคคลที่ร่วมกับคณะปฏิวัติ เขียนรัฐธรรมนูญ ม. 309 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้คมช. และพวกพ้อง และที่สำคัญ คือเป็นผู้หนึ่งที่วินิจฉัยคดี ชิมไปบ่นไป ผิดพลาด จนเป็นเหตุให้ นายสมัคร สุนทรเวช ตรอมใจจนเสียชีวิต ถือเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้กับศาลรัฐธรรมนูญ และสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ดังนั้นในอีก 3 วันนี้ ก่อนจะถึงวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งกวป. จะยกระดับการชุมนุม ภายใต้สโลแกน "8 พฤษภา มาเป็นแสน ขับไล่ตุลาการ ยกเลิก ม.309 " ขอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ร่วมกันบอยคอต ไม่ให้นายจรัญ ร่วมอยู่ในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้รายชื่อที่จะถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กำลังจะได้ครบ 1 แสนรายชื่อแล้ว
** รณรงค์ยกเลิก มาตรา 309
นายพงษ์พิสิษฐ์ กล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวของ กวป.หลังจากนี้ จะมีการรณรงค์เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศร่วมกันใส่เสื้อขาว พิมพ์ข้อความ “ยกเลิก ม. 309 ”ซึ่งทางกวป. จะมีการเดินสายรณรงค์ในต่างจังหวัดอีก 20 จุด เพื่อระดมรายชื่อประชาชนทั่วประเทศ ที่เห็นด้วยกับการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ทั้งคณะ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ม.309 ให้ครบ 1 ล้านรายชื่อ พร้อมจะมีการไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในความผิดอาญา มาตรา 157 ในจังหวัดต่างๆ อีกด้วย
**"มาร์ค" จี้หยุดสร้างเงื่อนไขเผชิญหน้า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสดงความเป็นห่วง กรณีที่มีหลายภาคส่วนเริ่มเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจต่อพฤติกรรมของรัฐบาล ที่ไม่ยอมรับอำนาจศาล รวมถึงการเคลื่อนขบวนภาคประชาชน ของภาคีเครือข่ายประชาชนที่นำโดย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อต่อต้านรัฐบาล โดยมีความกังวลว่ามีหลายฝ่ายที่ต้องการเคลื่อนไหว หน้าที่ของรัฐบาลคือ ทำอย่างไรให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า ประเทศชาติสงบ และแก้ปัญหาให้กับประชาชน ตนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลกลับมาให้ความสนใจกับปัญหาของประชาชน ทั้งเรื่องค่าครองชีพ ราคาแก๊ส ที่จะมีการปรับขึ้น พืชผลการเกษตรที่ตกต่ำ ทั้งยางพารา และปาล์ม อยากให้รัฐบาลใส่ใจในเรื่องเหล่านี้มากกว่าที่จะเดินหน้าสร้างบรรยากาศการเผชิญหน้า เพราะหากปัญหาลุกลามบานปลายออกไป ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาอื่นๆ ไม่ได้รับการแก้ไข
นายอภิสิทธิ์ ยังได้วิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลนำสังคมไปสู่การเผชิญหน้าว่า เป็นเพราะได้รับสัญญาณจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ทุกอย่างถูกเร่งเร้าในขณะนี้ จนบรรยากาศการเผชิญหน้าเกิดขึ้นไปทั่ว ทั้งกับศาล ธนาคารแห่งประเทศไทย และกลุ่มมวลชนด้วยกันเอง ซึ่งกลายเป็นสัญญาณแตกหัก ที่ไม่เป็นผลดีกับใครเลย เพราะฉะนั้นอยากให้รัฐบาลทบทวนท่าทีนี้ เพราะหากไม่ทบทวน ก็น่าเป็นห่วงว่าจะนำสังคมไปสู่ความแตกหักในที่สุด เนื่องจากหลายฝ่ายก็ต้องการแสดงออกถึงจุดยืนของตัวเอง
ส่วนกรณีที่นายเจิมศักดิ์ ปินทอง อดีต ส.ว. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และ นายคมสัน โพธิคง อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไปยื่นเรื่องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี สไกป์สั่งการรัฐบาล ว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพการใช้สิทธิของคนอื่น เพราะศาลก็จะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย ถ้าศาลปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ก็มีสิทธิถอดถอน แต่ไม่มีเหตุผลที่จะใช้วิธีข่มขู่ คุกคาม กดดัน จนทำให้เสียบรรยากาศของบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเกิดสภาพที่ควบคุมไม่ได้ เหมือนปี 53 จะเกิดอะไรกับรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ห่วงรัฐบาล แต่ห่วงว่าในสายตาของประชาคมโลกจะมองว่าบ้านเมืองของเรากลายเป็นประเทศที่มีแต่ความวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น ทั้งที่รัฐบาลได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งมีโอกาสเดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อประชาชน ควรใช้โอกาสทำเพื่อประชาชน อย่านำบ้านเมืองกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยมีความขัดแย้งอีก ทั้งนี้ตนไม่แน่ใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีความเข้าใจต่อระบอบประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เพราะจากการไปพูดบิดเบือนที่มองโกเลียนั้น มีความคลาดเคลื่อนหลายอย่าง แต่ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ต้องดูแลให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า สงบ และแก้ปัญหาของประชาชน เพราะในขณะนี้ นักลงทุนมีความกังวลเรื่องการเมืองสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ฝ่ายค้านเปิดโอกาสให้รัฐบาลทำงานเต็มที่ หากไม่มายุ่งกับเรื่องการทำลายระบบบ้านเมืองให้เกิดความเสียหาย รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้ผลักดันให้บ้านเมืองให้เกิดความเจริญก้าวหน้า มากกว่า
สำหรับการยกระดับการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 8 พ.ค. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องว่า อย่าทำเลย เพราะมีแต่จะสร้างความกังวล ความไม่มั่นใจ และความเครียดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความมั่นใจว่า จะชนะการเลือกตั้งอีกนั้น ตนไม่กังวลว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร เพราะประชาชนเป็นคนตัดสินเพื่อให้อำนาจเข้ามาบริหารประเทศ แก้ปัญหาให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้ง ก็ไม่มีผลลบล้างสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิด และมีการตัดสินไปแล้วได้ ดังนั้นหากมีความเข้าใจตรงนี้ บ้านเมืองก็จะไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม หากอำนาจกลับไปอยู่ในมือประชาชนอีกครั้ง ก็อยากให้ประชาชนประเมินผลงานของรัฐบาลชุดนี้เกือบสองปีที่ผ่านมา ว่า ทั้งเศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน ดีขึ้นจริงหรือไม่ เพราะจนถึงขณะนี้รัฐบาลก็ยังไม่แถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ต่อสภา แต่จะออกเป็นเอกสารแทน สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่นิยมเวทีที่เป็นประชาธิปไตย ที่สามารถให้คนโต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ แลกเปลี่ยนกันได้
**เรียกร้อง ปชป.หันมาร่วมมือแก้ รธน.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการชุมนุมในวันที่ 8 พ.ค. ของกลุ่มวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ว่า ไม่น่ามีความรุนแรงใดๆ เพราะผู้ชุมนุมก็ได้รับบทเรียนที่ผ่านมา ถ้าการชุมนุมไม่อยู่ในเสรีภาพ ก็ขาดการสนับสนุน ซึ่งการกล่าหวาของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการดำเนินการการเมืองวังวนเดิมๆ การจะประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และจะปฏิรูปพรรค ตนมองว่า น่าจะเป็นแค่ ปาหี่ทางการเมืองมากกว่า ไม่มีอะไรใหม่ เล่นรูปแบบเดิมๆ
ทั้งนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์จะต่อต้านเผด็จการ ยืนอยู่ข้างประชาชน ก็ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ ให้การสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ร่าง ก่อน หลังถูกปล้นจากทำรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 49 จนเกิดรัฐธรรมนูญจากกากเดนเผด็จการ ตนขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ปฏิรูปปากตัวเองก่อน อีกทั้งวิปฝ่ายค้าน มีมติไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะกลับมติวิปฝ่ายค้าน ด้วยการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนจะส่งพวงมาลัยไปมอบด้วยตัวเองที่พรรค
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึง กรณีทางเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ยังไม่มีสมาชิกรัฐสภา 312 คน ยื่นคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ แม้เวลาจะผ่านไปวันที่ 5 พ.ค. โดยจะครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ค.56 ว่า เรื่องดังกล่าว ตนในฐานะที่เป็นสมาชิกรัฐสภา ที่เข้าชื่อไม่ส่งคำชี้แจงเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภาอีก 311 คน คงจะไม่ส่งคำชี้แจงไปยังศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เพราะว่าในขณะนี้การแสดงออกของสมาชิกรัฐสภา 312 คน เราแสดงออกแบบอหิงสา เพื่อไม่ให้ใครมาช่วงชิงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญถือว่า สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ถือว่ามีอำนาจในการตรากฎหมาย หรือแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนในลักษณะที่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนโดยประชาชน ใช้อำนาจเสนอกฎหมายผ่านสมาชิกรัฐสภา 312 คน จะทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย เราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ขอให้ประชาชนผู้รักในประชาธิปไตยได้ให้กำลังใจเรื่องการไม่ส่งคำชี้แจงโดยทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้กดดันศาลรัฐธรรมนูญ หรือต้องการเอาชนะ หรือจะไปขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่เป็นความเห็นต่างในทางกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา 312 คน กับการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ตนไม่อยากให้ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมาเสี้ยมว่าเป็นการทำร้ายซึ่งกันและกัน เรื่องดังกล่าวควรให้ทุกฝ่ายมาตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของตนเอง การที่จะมากล่าวหาว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำร้ายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยากให้ฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเกมการเมือง และทำร้ายสมาชิกรัฐสภาด้วยกัน เพราะฉะนั้น การไม่ส่งคำชี้แจงโดยทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 พ.ค. ขอยืนยันว่า ไม่ได้เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นการเห็นต่างทางข้อกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่าคงมีข้อยุติในที่สุด.