ASTVผู้จัดการรายวัน- วิกฤตแก้รธน.ลาม! กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมกดดัน 9 ตุลาการศาลรธน.ขู่ไม่ลาออกจะปิดล้อมศาลฯแน่นอน ด้านกลุ่มแนวร่วมกอบกู้วิกฤตชาติ ร้องศาลรธน. ให้ยุบพรรคร่วมรัฐบาล ดำเนินคดีอาญากับ ประธานสภา ส.ส.-ส.ว. ที่ร่วมกันแก้ไข ม.190 "มาร์ค" อัดรัฐบาลวางแผนรวบอำนาจ ทำลายระบบตรวจสอบ มีพฤติกรรมไม่ต่างฮิตเลอร์
วานนี้ ( 23 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญว่า ตลอดทั้งวันซึ่งเป็นวันที่สอง กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็กบ้านดอน ผู้อำนวยสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 2 โดยมีการตั้งเต็นท์และเวทีถาวร แกนนำสลับสับเปลี่ยนขึ้นปราศรัยกล่าวโจมตีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล อย่างเผ็ดร้อน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจจากนครบาล ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งกองร้อยปราบจราจลจำนวน 1 กองร้อย เฝ้าระวังและดูแลความ ปลอดภัย ซึ่งการชุมนุมยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีเหตุรุนแรง
ต่อมาเวลา 16.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ออกแถลงการณ์ในนามกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 13 สถานี และยื่นข้อเรียกร้องผ่าน นางอรรถพร เลาหสุรโยธิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ทบทวนบทบาทและยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที พร้อมให้แถลงการณ์ขอโทษประชาชนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันต้องมีจัดการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ เข้ามาทำหน้าที่แทน โดยให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยังไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องภายในเวลา 20.00น. วันเดียวกันนี้ ในวันนี้ ( 24 เม.ย.) ก็จะมีการยกระดับ ปิดล้อมที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านนายกมล โสตถิโภคา โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะตุลาการฯยังไม่มีการนัดประชุม เพื่อพิจารณาคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ที่ขอให้สั่งระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 และยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกรัฐสภาสังกัดอยู่ แม้คำร้องดังกล่าว จะมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินให้สั่งรัฐสภาระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนก็ตาม
ส่วนกรณี ส.ส.เพื่อไทย และ ส.ว. รวม 312 คน ที่ลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะยื่นหนังสือไม่ยอมรับอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ นายกมล เชื่อว่า เรื่องนี้ทางตุลาการคงรอดูหนังสือเปิดผนึกดังกล่าวก่อน ว่ามีความต้องการ และวัตถุประสงค์อย่างไร แล้วจึงจะมาพิจารณาใน ภายหลัง
อย่างไรก็ตามโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ไม่กังวลกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหน้าศาลฯ เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความเรียบร้อย ส่วนการที่ผู้ชุมนุมขู่จะปิดศาลในวันนี้ หากศาลไม่ทำตามข้อเรียกร้องนั้น ตนมองว่าเป็นเพียงการแสดงในเชิงสัญลักษณ์ที่ต่างคนต่างแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตุลาการได้มีการพุดคุยกันถึงกรณีที่ ส.ส.เพื่อไทย และ ส.ว.จะยื่นแถลงการณ์ไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ทางศาลรัฐธรรมนูญคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะที่ ส.ส. และส.ว.ไม่รับอำนาจศาลและจะไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในดคีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น น่าจะไม่เป็นผลดีกับผู้ถูกร้องมากกว่า โดยได้มีการยกกรณีที่มีการฟ้องคดีในศาลแพ่ง แล้วจำเลยไม่โต้แย้ง ว่าศาลก็ยังเดินหน้าพิจารณาคดี เพราะมีกฎหมายบัญญัติรองรับไว้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องออกมาชี้แจงถึงเหตุผลว่า ทำไมศาลจึงพิจารณาโดยไม่มีคำชี้แจงของอีกฝ่าย
ทั้งนี้ในการพูดคุย มีความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 อำนาจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การที่ ส.ส.และ ส.ว.จะไม่รับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่รู้ว่าเป็นการอ้างบทบัญญัติข้อใดในรัฐธรรมนูญ เพราะหากที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกไป รัฐธรรมนูญก็บัญญัติให้มีผลผูกพันธ์ทุกองค์ ซึ่งรวมถึงรัฐสภาต้องปฎิบัติตาม
***ศาลรธน.ให้ยุบพรรคร่วมรัฐบาล
วานนี้ (23 เม.ย.) นายบวร ยสินทร และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมกอบกู้วิกฤตชาติ ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 315 คน ร่วมกันกระทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ด้วยการตัดข้อความว่า
“คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญา” และข้อความว่า “เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อน” ออกจากบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เดิม ว่า เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ,27, 28 ,29, 87 ,122 ประกอบมาตรา 68 เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 315 คน ล้มเลิกการกระทำ และยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว และสั่งยุบพรรคที่บุคคลทั้งหมดสังกัด พร้อมให้ดำเนินคดีอาญาด้วย
นายบวร กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยตัดถ้อยคำดังกล่าวออกนั้น ส่อเจตนาไม่บริสุทธิ์ มีเจตนาปิดบังอำพรางเรื่องที่จะมีผลกระทบกับประชาชนอย่างฉ้อฉล เป็นการเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหาร ตัดทอนอำนาจตรวจสอบของรัฐสภา และไม่ส่งเสริมหลักฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 87 จึงเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ด้วย
***รมต.รุมจวกองค์กรอิสระกลางครม.
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.วันนี้(23เม.ย.) ได้มีการประชุมพิจารณาระเบียบวาระ เรื่องพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2557 ที่สำนักงบประมาณ ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณให้ครม.เห็นชอบ วงเงิน 2,525,000 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นงบขาดดุล 250,000 ล้านบาท โดยปรากฏว่า ในที่ประชุมครม. มีรัฐมนตรีแสดงความคิดเห็น เรื่องการเสนองบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างหนักว่า มีการเสนอของบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2556 เกินไปซึ่งไม่เหมาะสม โดย 3 องค์กรอิสระที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญ
**นักวิชาการแดงหนุนเดินหน้าแก้รธน.
ในวันเดียวกันนี้ นายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ นำตัวแทนประชาชน 4 คน เข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นถึงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสนับสนุนสมาชิกรัฐสภา ที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในขณะนี้ ถือว่าถูกต้องแล้ว โดยยืนยันว่ารัฐสภามีอำนาจในแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย
นายวรพล กล่าวว่า ตามที่ขณะนี้ กำลังมีการดำเนินการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา อยู่ ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่า สมาชิกรัฐสภามีอำนาจโดยชอบที่จะดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ และที่ได้ทำมาแล้วไม่ว่าจะเป็น 3 ร่างนี้ หรือก่อนหน้านี้นั้น เห็นว่า เป็นสิ่งที่ทำได้โดยชอบ โดยสมาชิกรัฐสภา ซึ่งมีอำนาจนิติบัญญติ ขณะเดียวกันเห็นว่าบทบาทของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน มีหลายประเด็นที่ล่อแหลมต่อการกระทำผิดกฎหมาย และผิดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง
**"มาร์ค"แฉแผนรวบอำนาจของรัฐบาล
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ว่า ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชาชน หรือพรรคไทยรักไทย มีแนวความคิดรวบอำนาจ ขัดขวางกระบวนการของการตรวจสอบ ทั้งจากองค์กรอิสระ และศาลยุติธรรม เพราะไม่เชื่อในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล การแบ่งอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย พยายามสร้างกระแสว่า การแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น รัฐบาลนี้พยายามสร้างกระแสกับผู้สนับสนุนตนเองตลอดเวลาว่า ดุลอำนาจมันผิด เพราะว่าคนมาจากการเลือกตั้ง ต้องทำอะไรได้ตามใจชอบ เขาใช้กลยุทธ์นี้ในการที่จะสร้างแรงกดดันอยู่ตลอดเวลา แล้วเป้าหมายปลายทางโดยเฉพาะเรื่องการรื้อรัฐธรรมนูญนั้นก็คือ หาทางที่จะขจัดศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ออกไปก่อน และพยายามเปลี่ยนระบบของเรา ซึ่งใช้ผู้พิพากษาตามวิชาชีพ มาเป็นลักษณะของการให้สภาเป็นผู้เห็นชอบ การดำรงตำแหน่ง แต่งตั้งบุคคลในฝ่ายตุลาการ ซึ่งจะเป็นจุดหักเหสำคัญในการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารมากขึ้น เป็นการรวบอำนาจอยู่ในมือของคนที่ชนะการเลือกตั้ง โดยที่ไม่ต้องมีกลไกในการที่จะมาถ่วงดุลตรวจสอบ
** ชี้พฤติกรรมพท.ไม่ต่าง"ฮิตเลอร์"
ส่วนที่ ส.ส. และ ส.ว. 312 คน เข้าชื่อ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นความพยายามที่จะดิสเครดิตศาล ซึ่งหากประชาชนจะลุกขึ้นมา ไม่ยอมรับอำนาจของฝ่ายบริหารบ้าง ก็จะวุ่นวายกันไปหมด ตนคิดว่ารัฐบาลควรปรามผู้สนับสนุนของตัวเองได้แล้ว ไม่อย่างนั้น แล้วก็นำพาบ้านเมืองสู่ความขัดแย้งมากขึ้น อย่างเหตุการณ์คนเสื้อแดงบุกเวทีผ่าความจริงฯที่ จ.ศรีสะเกษ ก็ชัดว่าประชาธิปไตยของเขาก็คือ ตัวเองพูดได้ คนอื่นพูดไม่ได้ ซึ่งมันไม่ใช่ หลายคนก็มักจะบอกว่า ทำไมไปพูดถึงฮิตเลอร์ ตนคิดว่าลักษณะของฮิตเลอร์ ก็เริ่มต้นจากการมาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ใช้อำนาจที่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพิ่มอำนาจของตัวเองไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถมีฝ่ายใดมาตรวจสอบทัดทานได้ในสังคม
ส่วนการหยุดยั้งการกระทำของ 312 ส.ส.-ส.ว. และคนเสื้อแดงนั้น ก็อยู่ที่สังคมต้องช่วยกันปกป้องความถูกต้อง ปกป้องสถาบันในกระบวนการยุติธรรม และขอเป็นกำลังใจให้องค์กรอิสระ และศาลให้หนักแน่น อย่าหวั่นไหว
**312 ส.ส.-ส.ว.ยื่นงัดข้อศาลรธน.
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า อย่างช้าต้นสัปดาห์หน้า จะยื่นหนังสือเปิดผนึกอย่างเป็นทางการต่อศาลรัฐธรรมนูญในนามส.ส.และ ส.ว. 312 คน เพื่อแสดงจุดยืนปฏิเสธอำนาจศาลที่ก้าวล่วงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา291 ให้อำนาจรัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญได้ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญเคยแนะนำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา
เมื่อถามว่า เป็นการปฏิเสธอำนาจศาลเร็วเกินไปหรือไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญมีความผิด นายสามารถ กล่าวว่า แค่ศาลรับคำร้อง สมาชิกรัฐสภาก็มีความไม่มั่นใจแล้ว เราเป็นห่วงว่าจะมีการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ หากไม่ทำอะไรเลย ก็เหมือนยอมรับให้ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ จึงต้องทำอะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง
วานนี้ ( 23 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญว่า ตลอดทั้งวันซึ่งเป็นวันที่สอง กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็กบ้านดอน ผู้อำนวยสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 2 โดยมีการตั้งเต็นท์และเวทีถาวร แกนนำสลับสับเปลี่ยนขึ้นปราศรัยกล่าวโจมตีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล อย่างเผ็ดร้อน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจจากนครบาล ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งกองร้อยปราบจราจลจำนวน 1 กองร้อย เฝ้าระวังและดูแลความ ปลอดภัย ซึ่งการชุมนุมยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีเหตุรุนแรง
ต่อมาเวลา 16.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ออกแถลงการณ์ในนามกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 13 สถานี และยื่นข้อเรียกร้องผ่าน นางอรรถพร เลาหสุรโยธิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ทบทวนบทบาทและยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที พร้อมให้แถลงการณ์ขอโทษประชาชนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันต้องมีจัดการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ เข้ามาทำหน้าที่แทน โดยให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยังไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องภายในเวลา 20.00น. วันเดียวกันนี้ ในวันนี้ ( 24 เม.ย.) ก็จะมีการยกระดับ ปิดล้อมที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านนายกมล โสตถิโภคา โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะตุลาการฯยังไม่มีการนัดประชุม เพื่อพิจารณาคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ที่ขอให้สั่งระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 และยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกรัฐสภาสังกัดอยู่ แม้คำร้องดังกล่าว จะมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินให้สั่งรัฐสภาระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนก็ตาม
ส่วนกรณี ส.ส.เพื่อไทย และ ส.ว. รวม 312 คน ที่ลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะยื่นหนังสือไม่ยอมรับอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ นายกมล เชื่อว่า เรื่องนี้ทางตุลาการคงรอดูหนังสือเปิดผนึกดังกล่าวก่อน ว่ามีความต้องการ และวัตถุประสงค์อย่างไร แล้วจึงจะมาพิจารณาใน ภายหลัง
อย่างไรก็ตามโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ไม่กังวลกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหน้าศาลฯ เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความเรียบร้อย ส่วนการที่ผู้ชุมนุมขู่จะปิดศาลในวันนี้ หากศาลไม่ทำตามข้อเรียกร้องนั้น ตนมองว่าเป็นเพียงการแสดงในเชิงสัญลักษณ์ที่ต่างคนต่างแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตุลาการได้มีการพุดคุยกันถึงกรณีที่ ส.ส.เพื่อไทย และ ส.ว.จะยื่นแถลงการณ์ไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ทางศาลรัฐธรรมนูญคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะที่ ส.ส. และส.ว.ไม่รับอำนาจศาลและจะไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในดคีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น น่าจะไม่เป็นผลดีกับผู้ถูกร้องมากกว่า โดยได้มีการยกกรณีที่มีการฟ้องคดีในศาลแพ่ง แล้วจำเลยไม่โต้แย้ง ว่าศาลก็ยังเดินหน้าพิจารณาคดี เพราะมีกฎหมายบัญญัติรองรับไว้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องออกมาชี้แจงถึงเหตุผลว่า ทำไมศาลจึงพิจารณาโดยไม่มีคำชี้แจงของอีกฝ่าย
ทั้งนี้ในการพูดคุย มีความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 อำนาจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การที่ ส.ส.และ ส.ว.จะไม่รับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่รู้ว่าเป็นการอ้างบทบัญญัติข้อใดในรัฐธรรมนูญ เพราะหากที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกไป รัฐธรรมนูญก็บัญญัติให้มีผลผูกพันธ์ทุกองค์ ซึ่งรวมถึงรัฐสภาต้องปฎิบัติตาม
***ศาลรธน.ให้ยุบพรรคร่วมรัฐบาล
วานนี้ (23 เม.ย.) นายบวร ยสินทร และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมกอบกู้วิกฤตชาติ ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 315 คน ร่วมกันกระทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ด้วยการตัดข้อความว่า
“คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญา” และข้อความว่า “เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อน” ออกจากบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เดิม ว่า เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ,27, 28 ,29, 87 ,122 ประกอบมาตรา 68 เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 315 คน ล้มเลิกการกระทำ และยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว และสั่งยุบพรรคที่บุคคลทั้งหมดสังกัด พร้อมให้ดำเนินคดีอาญาด้วย
นายบวร กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยตัดถ้อยคำดังกล่าวออกนั้น ส่อเจตนาไม่บริสุทธิ์ มีเจตนาปิดบังอำพรางเรื่องที่จะมีผลกระทบกับประชาชนอย่างฉ้อฉล เป็นการเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหาร ตัดทอนอำนาจตรวจสอบของรัฐสภา และไม่ส่งเสริมหลักฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 87 จึงเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ด้วย
***รมต.รุมจวกองค์กรอิสระกลางครม.
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.วันนี้(23เม.ย.) ได้มีการประชุมพิจารณาระเบียบวาระ เรื่องพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2557 ที่สำนักงบประมาณ ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณให้ครม.เห็นชอบ วงเงิน 2,525,000 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นงบขาดดุล 250,000 ล้านบาท โดยปรากฏว่า ในที่ประชุมครม. มีรัฐมนตรีแสดงความคิดเห็น เรื่องการเสนองบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างหนักว่า มีการเสนอของบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2556 เกินไปซึ่งไม่เหมาะสม โดย 3 องค์กรอิสระที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญ
**นักวิชาการแดงหนุนเดินหน้าแก้รธน.
ในวันเดียวกันนี้ นายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ นำตัวแทนประชาชน 4 คน เข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นถึงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสนับสนุนสมาชิกรัฐสภา ที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในขณะนี้ ถือว่าถูกต้องแล้ว โดยยืนยันว่ารัฐสภามีอำนาจในแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย
นายวรพล กล่าวว่า ตามที่ขณะนี้ กำลังมีการดำเนินการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา อยู่ ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่า สมาชิกรัฐสภามีอำนาจโดยชอบที่จะดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ และที่ได้ทำมาแล้วไม่ว่าจะเป็น 3 ร่างนี้ หรือก่อนหน้านี้นั้น เห็นว่า เป็นสิ่งที่ทำได้โดยชอบ โดยสมาชิกรัฐสภา ซึ่งมีอำนาจนิติบัญญติ ขณะเดียวกันเห็นว่าบทบาทของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน มีหลายประเด็นที่ล่อแหลมต่อการกระทำผิดกฎหมาย และผิดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง
**"มาร์ค"แฉแผนรวบอำนาจของรัฐบาล
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ว่า ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชาชน หรือพรรคไทยรักไทย มีแนวความคิดรวบอำนาจ ขัดขวางกระบวนการของการตรวจสอบ ทั้งจากองค์กรอิสระ และศาลยุติธรรม เพราะไม่เชื่อในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล การแบ่งอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย พยายามสร้างกระแสว่า การแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น รัฐบาลนี้พยายามสร้างกระแสกับผู้สนับสนุนตนเองตลอดเวลาว่า ดุลอำนาจมันผิด เพราะว่าคนมาจากการเลือกตั้ง ต้องทำอะไรได้ตามใจชอบ เขาใช้กลยุทธ์นี้ในการที่จะสร้างแรงกดดันอยู่ตลอดเวลา แล้วเป้าหมายปลายทางโดยเฉพาะเรื่องการรื้อรัฐธรรมนูญนั้นก็คือ หาทางที่จะขจัดศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ออกไปก่อน และพยายามเปลี่ยนระบบของเรา ซึ่งใช้ผู้พิพากษาตามวิชาชีพ มาเป็นลักษณะของการให้สภาเป็นผู้เห็นชอบ การดำรงตำแหน่ง แต่งตั้งบุคคลในฝ่ายตุลาการ ซึ่งจะเป็นจุดหักเหสำคัญในการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารมากขึ้น เป็นการรวบอำนาจอยู่ในมือของคนที่ชนะการเลือกตั้ง โดยที่ไม่ต้องมีกลไกในการที่จะมาถ่วงดุลตรวจสอบ
** ชี้พฤติกรรมพท.ไม่ต่าง"ฮิตเลอร์"
ส่วนที่ ส.ส. และ ส.ว. 312 คน เข้าชื่อ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นความพยายามที่จะดิสเครดิตศาล ซึ่งหากประชาชนจะลุกขึ้นมา ไม่ยอมรับอำนาจของฝ่ายบริหารบ้าง ก็จะวุ่นวายกันไปหมด ตนคิดว่ารัฐบาลควรปรามผู้สนับสนุนของตัวเองได้แล้ว ไม่อย่างนั้น แล้วก็นำพาบ้านเมืองสู่ความขัดแย้งมากขึ้น อย่างเหตุการณ์คนเสื้อแดงบุกเวทีผ่าความจริงฯที่ จ.ศรีสะเกษ ก็ชัดว่าประชาธิปไตยของเขาก็คือ ตัวเองพูดได้ คนอื่นพูดไม่ได้ ซึ่งมันไม่ใช่ หลายคนก็มักจะบอกว่า ทำไมไปพูดถึงฮิตเลอร์ ตนคิดว่าลักษณะของฮิตเลอร์ ก็เริ่มต้นจากการมาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ใช้อำนาจที่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพิ่มอำนาจของตัวเองไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถมีฝ่ายใดมาตรวจสอบทัดทานได้ในสังคม
ส่วนการหยุดยั้งการกระทำของ 312 ส.ส.-ส.ว. และคนเสื้อแดงนั้น ก็อยู่ที่สังคมต้องช่วยกันปกป้องความถูกต้อง ปกป้องสถาบันในกระบวนการยุติธรรม และขอเป็นกำลังใจให้องค์กรอิสระ และศาลให้หนักแน่น อย่าหวั่นไหว
**312 ส.ส.-ส.ว.ยื่นงัดข้อศาลรธน.
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า อย่างช้าต้นสัปดาห์หน้า จะยื่นหนังสือเปิดผนึกอย่างเป็นทางการต่อศาลรัฐธรรมนูญในนามส.ส.และ ส.ว. 312 คน เพื่อแสดงจุดยืนปฏิเสธอำนาจศาลที่ก้าวล่วงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา291 ให้อำนาจรัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญได้ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญเคยแนะนำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา
เมื่อถามว่า เป็นการปฏิเสธอำนาจศาลเร็วเกินไปหรือไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญมีความผิด นายสามารถ กล่าวว่า แค่ศาลรับคำร้อง สมาชิกรัฐสภาก็มีความไม่มั่นใจแล้ว เราเป็นห่วงว่าจะมีการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ หากไม่ทำอะไรเลย ก็เหมือนยอมรับให้ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ จึงต้องทำอะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง