วานนี้่ (1 พ.ค.) ที่ท้องสนามหลวง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2556 พร้อมกล่าวเปิดงานต่อผู้ใช้แรงงาน ว่า แรงงานทุกคนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมายาวนาน ซึ่งในปี 2554-2555 เศรษฐกิจซบเซาจากปัญหาอุทกภัย แต่ขณะนี้เศรษฐกิจดีขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นปียังมีความเสี่ยงเรื่องการเลิกจ้าง ซึ่งเป็นผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่รัฐบาลได้มีนโยบายบรรเทา เช่น มาตราการด้านภาษี การปรับลดเบี้ยประกันสังคมขณะที่ปัญหาด้านสุขภาพแรงงาน รัฐบาลได้บูรณาการ 3 กองทุน เข้ารวมกันเพื่อความสะดวกในการรักษาพยาบาล ส่วนปัญหาแรงงานนอกระบบ จะมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งนี้แรงงานที่อยู่ต่างประเทศ รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือในการคุ้มครองสิทธิ การทำสินเชื่อ และขอความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แรงงานไทยเป็นที่ต้องการทุกประเทศ เพราะมีความรับผิดชอบ มีวินัย ฝีมือดี อย่างชุดที่ดิฉันใส่มา ก็มาจากผ้าขาวม้าที่พี่น้องประชาชนให้มาในช่วงลงพื้นที่ มาตัดเย็บรวมกับผ้าไหมโดยฝีมือคนไทย ดังนั้นเราต้องนำจุดนี้มาสร้างเป็นจุดแข็งไปสู่แรงงานที่มีฝีมือในอนาคต ซึ่งหมายถึงคุณภาพและรายได้ของผู้ใช้แรงงานจะโตขึ้นตามไปด้วย
รัฐบาลจะมีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้แรงงานทุกคน ทั้งแรงงานในและนอกระบบ เพื่อที่ภาครัฐจะได้ร่วมกันบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เป็นข้อมูลในการตอบโจทย์ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้าเราจำเป็นต้องใช้แรงงานมีฝีมือจากทั่วประเทศอีกมาก เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ 2 ล้านล้าน โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ภารกิจนี้ขอให้ รมว.แรงงานไปดูแลผู้ใช้แรงงานต่อไป รัฐบาลอยากเห็นความสุขของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด เพราะความสุขของท่านคือความสุขของประเทศ
พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดโดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ก่อนจะกดปุ่มปิดงานวันแรงงานอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ในช่วงเช้า สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้ออกอากาศ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ โดยระบุว่า ในนามของรัฐบาลขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกสาขาอาชีพ และครอบครัว และขอขอบคุณพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาโดยตลอดมา ณ โอกาสนี้ด้วย
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย โดยรัฐบาลต้องการเห็นผู้ใช้แรงงานทุกประเภทได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีการพัฒนาศักยภาพ และทักษะที่หลากหลาย เพื่อให้รายได้นั้นเพิ่มพูน โดยนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลที่ประกาศใช้ทั้งประเทศมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นขั้นพื้นฐานที่จะต้องเติบโตต่อไป
ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องการเห็นการทำงานที่ปลอดจากสภาพที่เลวร้าย หรือเสี่ยงอันตราย ประเทศไทยต้องปราศจากการค้ามนุษย์ การเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก หรือการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย ทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมาย ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม และได้ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลจึงต้องยกระดับคุณภาพแรงงานให้มีทักษะสูงขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้แรงงานฝีมือทั้งระบบ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ และเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงเชื่อว่า ความสามารถของแรงงานไทยไม่แพ้ชาติอื่น ความอดทน มุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร พัฒนาตนเองจะทำให้เราก้าวไปด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ใหม่สำหรับคนไทยทุกคน
ในโอกาสนี้ตนและรัฐบาลขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทุกท่านเคารพนับถือ อีกทั้งพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดดลบันดาลให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานและพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่านจงประสบแต่สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล เป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองตลอดไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้นำองค์กรแรงงานและตัวแทนแรงงานจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ 9 รูป ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ จากนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ได้ตั้งขบวนเดินไปยังท้องสนามหลวง เพื่อร่วมงานวันแรงงานแห่งชาติ
ทั้งนี้ นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย ได้เสนอข้อเรียกร้องตามที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดนแร่งด่วน มีจำนวน 11 ข้อ ต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ 1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 2. ออกกฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างที่ตกงานเพราะโรงงานผิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย 3. ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างเอกชน และเงินตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ 4. ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 ให้มีการมาตรฐาน เดียวกับข้าราชการพลเรือน
5. ผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุติการแปรรูปหรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ 6. ให้รัฐบาลเร่งตรา พ.ร.ฎ.สถาบันความปลอดภัยฯ 7. ปฏิรูประบบประกันสังคมและเพิ่มสิทธิประโยชน์ รวมทั้งยกระดับสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ 8. จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในโรงงาน โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 9. แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อ ตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตร และคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน และให้ ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง และมาตรา 118 ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่าจากเดิมที่บัญญัติไว้ 10. ออก พ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และ 11. ตั้งคณะทำงานติดตาม และประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ. 2556
**จี้สภาฯทบทวนมติล้มกม.ประกันสังคม
เมื่อเวลา 13.15 น. วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ผู้แทนผู้เสนอชื่อ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับน.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายแรงงานกว่า 200 คน เข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน เพื่อคัดค้านกรณีสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คนเป็นผู้เสนอ หรือฉบับ น.ส.วิไลวรรณ ทำให้ร่างฉบับประชาชนมีอันตกไป ตนและประชาชนที่เข้าชื่อเห็นว่ากระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาฯดังกล่าว ไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 ที่รับรองสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ในการเสนอกฎหมาย โดยให้ผู้แทนประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการฯทั้งหมด ถือว่าสภาฯชุดนี้ไม่สนองตอบความต้องการของประชาชนผู้เสนอกฎหมาย ในการปฏิรูประบบบริหารกองทุนประกันสังคม จึงขอให้ประธานสภาฯดำเนินการเพื่อให้สภาฯมีมาตรการที่เป็นหลักประกันต่อการพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
** "มาร์ค"ชี้ค่าแรง 300 ทำค่าครองชีพพุ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชลแนล เนื่องในวันแรงงานว่า ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน ขอให้ได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แล้วก็เป็นกำลังใจให้ฝ่าฝันปัญหา อุปสรรคต่างๆ และอยากให้รัฐบาลใส่ใจ โดยเฉพาะการที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้หญิง เรื่องศูนย์เด็กเล็ก เรื่องการมีสถานดูแลเด็กในที่ทำงาน เป็นประเด็นใหญ่ ที่อยากให้รัฐบาลผลักดัน และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่กรุงเทพโพลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงาน 45.9 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม แม้จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทแล้วนั้น ตนคิดว่า เป็นเพราะค่าครองชีพกระโดดขึ้นไป ดังนั้นแนวทางที่ดีควรมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า นายจ้างไม่สามารถปรับตัวกับค่าแรง 300 บาทได้ จึงต้องนำสวัสดิการต่างๆ มาคิดรวม เพื่อที่จะควบคุมต้นทุนของตัวเอง ดังนั้นการแก้ปัญหาต่างๆ จะต้องรับฟังจากทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
** TDRIห่วงเปิด AECแรงงานโดนแย่งอาชีพ
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ในปี 2558 ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น สิ่งที่ห่วงอยู่ตอนนี้ คือแรงงานในภาคบริการ โดยเฉพาะ 32 อาชีพ ที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท เนื่องจากมีอาชีพหลายอย่างที่มีข้อตกลงกันในกลุ่มอาเซียน ที่ใช้คนมาตรฐานไม่สูงมาก ทำให้ธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทย สามารถนำแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาได้ ซึ่งเป็นการเข้ามาแย่งงานคนไทยทางอ้อมและกันได้ยาก ภาคบริการ เป็นตลาดแรงงานที่รองรับแรงงานคุณสมบัติหลากหลายทุกวุฒิการศึกษา หากมองให้เป็นโอกาส ควรให้ภาคบริการช่วยดูดซับแรงงานปริญญาตรี ที่มีการผลิตล้นเกินความต้องการอยู่มาก และว่างงานสะสมทุกปีนั้นได้
ส่วนการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียนนั้น เห็นว่า จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานให้ชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถกันคนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้ ดังนั้น ยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ได้แรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนและคุณภาพตามมาตรฐานแรงงานไทย ไม่เข้ามาแย่งแรงงานไทย โดยกำหนดให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม
ขณะที่ ยุทธศาสตร์แรงงานไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็ยังคงต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณ ซึ่งต้องมียุทธศาสตร์ ทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำได้ 2 ทาง คือ 1.เมื่อธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาแรงงาน จึงต้องทำให้มีคนออกมาทำงานเร็วขึ้น โดยให้คนออกมาสู่ตลาดแรงงานเมื่อถึงวัยทำงาน โดยได้รับค่าตอบแทนที่ดีและไม่ต้องเรียนมากปีเกินไป หรือสามารถให้เขาออกมาประกอบอาชีพได้หลังจากจบมัธยมปลาย (สายอาชีพ/สายสามัญ) และนำหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ คือ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่ทางนี้ตรงข้ามกับค่านิยมของผู้ปกครองไทย 2.การนำเข้าวัยทำงานมาเติมในส่วนที่ขาด โดยต้องมีกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง และมีกระบวนการในการล้างคนเก่าที่ผิดกฎหมายให้หมดไป แล้วนำคนที่ถูกต้องเข้าทำงาน โดยมีจำนวนหรือโควตาที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม สำหรับยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพแรงงาน มีความจำเป็นและต้องเร่งทำมากกว่าเดิม ต้องทำให้แรงงานมีทักษะทำงานได้มากกว่าเดิมและมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการและภาครัฐต้องร่วมมือกัน หรือการจูงใจด้วยมาตรการทางภาษี เป็นต้น แรงงานทุกคนเมื่อเข้ามาสู่ระบบ ควรได้รับการดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต ซึ่งแรงงานทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แรงงานไทยเป็นที่ต้องการทุกประเทศ เพราะมีความรับผิดชอบ มีวินัย ฝีมือดี อย่างชุดที่ดิฉันใส่มา ก็มาจากผ้าขาวม้าที่พี่น้องประชาชนให้มาในช่วงลงพื้นที่ มาตัดเย็บรวมกับผ้าไหมโดยฝีมือคนไทย ดังนั้นเราต้องนำจุดนี้มาสร้างเป็นจุดแข็งไปสู่แรงงานที่มีฝีมือในอนาคต ซึ่งหมายถึงคุณภาพและรายได้ของผู้ใช้แรงงานจะโตขึ้นตามไปด้วย
รัฐบาลจะมีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้แรงงานทุกคน ทั้งแรงงานในและนอกระบบ เพื่อที่ภาครัฐจะได้ร่วมกันบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เป็นข้อมูลในการตอบโจทย์ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้าเราจำเป็นต้องใช้แรงงานมีฝีมือจากทั่วประเทศอีกมาก เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ 2 ล้านล้าน โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ภารกิจนี้ขอให้ รมว.แรงงานไปดูแลผู้ใช้แรงงานต่อไป รัฐบาลอยากเห็นความสุขของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด เพราะความสุขของท่านคือความสุขของประเทศ
พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดโดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ก่อนจะกดปุ่มปิดงานวันแรงงานอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ในช่วงเช้า สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้ออกอากาศ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ โดยระบุว่า ในนามของรัฐบาลขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกสาขาอาชีพ และครอบครัว และขอขอบคุณพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาโดยตลอดมา ณ โอกาสนี้ด้วย
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย โดยรัฐบาลต้องการเห็นผู้ใช้แรงงานทุกประเภทได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีการพัฒนาศักยภาพ และทักษะที่หลากหลาย เพื่อให้รายได้นั้นเพิ่มพูน โดยนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลที่ประกาศใช้ทั้งประเทศมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นขั้นพื้นฐานที่จะต้องเติบโตต่อไป
ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องการเห็นการทำงานที่ปลอดจากสภาพที่เลวร้าย หรือเสี่ยงอันตราย ประเทศไทยต้องปราศจากการค้ามนุษย์ การเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก หรือการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย ทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมาย ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม และได้ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลจึงต้องยกระดับคุณภาพแรงงานให้มีทักษะสูงขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้แรงงานฝีมือทั้งระบบ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ และเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงเชื่อว่า ความสามารถของแรงงานไทยไม่แพ้ชาติอื่น ความอดทน มุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร พัฒนาตนเองจะทำให้เราก้าวไปด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ใหม่สำหรับคนไทยทุกคน
ในโอกาสนี้ตนและรัฐบาลขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทุกท่านเคารพนับถือ อีกทั้งพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดดลบันดาลให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานและพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่านจงประสบแต่สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล เป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองตลอดไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้นำองค์กรแรงงานและตัวแทนแรงงานจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ 9 รูป ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ จากนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ได้ตั้งขบวนเดินไปยังท้องสนามหลวง เพื่อร่วมงานวันแรงงานแห่งชาติ
ทั้งนี้ นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย ได้เสนอข้อเรียกร้องตามที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดนแร่งด่วน มีจำนวน 11 ข้อ ต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ 1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 2. ออกกฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างที่ตกงานเพราะโรงงานผิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย 3. ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างเอกชน และเงินตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ 4. ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 ให้มีการมาตรฐาน เดียวกับข้าราชการพลเรือน
5. ผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุติการแปรรูปหรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ 6. ให้รัฐบาลเร่งตรา พ.ร.ฎ.สถาบันความปลอดภัยฯ 7. ปฏิรูประบบประกันสังคมและเพิ่มสิทธิประโยชน์ รวมทั้งยกระดับสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ 8. จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในโรงงาน โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 9. แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อ ตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตร และคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน และให้ ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง และมาตรา 118 ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่าจากเดิมที่บัญญัติไว้ 10. ออก พ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และ 11. ตั้งคณะทำงานติดตาม และประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ. 2556
**จี้สภาฯทบทวนมติล้มกม.ประกันสังคม
เมื่อเวลา 13.15 น. วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ผู้แทนผู้เสนอชื่อ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับน.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายแรงงานกว่า 200 คน เข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน เพื่อคัดค้านกรณีสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คนเป็นผู้เสนอ หรือฉบับ น.ส.วิไลวรรณ ทำให้ร่างฉบับประชาชนมีอันตกไป ตนและประชาชนที่เข้าชื่อเห็นว่ากระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาฯดังกล่าว ไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 ที่รับรองสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ในการเสนอกฎหมาย โดยให้ผู้แทนประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการฯทั้งหมด ถือว่าสภาฯชุดนี้ไม่สนองตอบความต้องการของประชาชนผู้เสนอกฎหมาย ในการปฏิรูประบบบริหารกองทุนประกันสังคม จึงขอให้ประธานสภาฯดำเนินการเพื่อให้สภาฯมีมาตรการที่เป็นหลักประกันต่อการพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
** "มาร์ค"ชี้ค่าแรง 300 ทำค่าครองชีพพุ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชลแนล เนื่องในวันแรงงานว่า ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน ขอให้ได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แล้วก็เป็นกำลังใจให้ฝ่าฝันปัญหา อุปสรรคต่างๆ และอยากให้รัฐบาลใส่ใจ โดยเฉพาะการที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้หญิง เรื่องศูนย์เด็กเล็ก เรื่องการมีสถานดูแลเด็กในที่ทำงาน เป็นประเด็นใหญ่ ที่อยากให้รัฐบาลผลักดัน และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่กรุงเทพโพลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงาน 45.9 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม แม้จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทแล้วนั้น ตนคิดว่า เป็นเพราะค่าครองชีพกระโดดขึ้นไป ดังนั้นแนวทางที่ดีควรมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า นายจ้างไม่สามารถปรับตัวกับค่าแรง 300 บาทได้ จึงต้องนำสวัสดิการต่างๆ มาคิดรวม เพื่อที่จะควบคุมต้นทุนของตัวเอง ดังนั้นการแก้ปัญหาต่างๆ จะต้องรับฟังจากทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
** TDRIห่วงเปิด AECแรงงานโดนแย่งอาชีพ
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ในปี 2558 ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น สิ่งที่ห่วงอยู่ตอนนี้ คือแรงงานในภาคบริการ โดยเฉพาะ 32 อาชีพ ที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท เนื่องจากมีอาชีพหลายอย่างที่มีข้อตกลงกันในกลุ่มอาเซียน ที่ใช้คนมาตรฐานไม่สูงมาก ทำให้ธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทย สามารถนำแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาได้ ซึ่งเป็นการเข้ามาแย่งงานคนไทยทางอ้อมและกันได้ยาก ภาคบริการ เป็นตลาดแรงงานที่รองรับแรงงานคุณสมบัติหลากหลายทุกวุฒิการศึกษา หากมองให้เป็นโอกาส ควรให้ภาคบริการช่วยดูดซับแรงงานปริญญาตรี ที่มีการผลิตล้นเกินความต้องการอยู่มาก และว่างงานสะสมทุกปีนั้นได้
ส่วนการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียนนั้น เห็นว่า จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานให้ชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถกันคนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้ ดังนั้น ยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ได้แรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนและคุณภาพตามมาตรฐานแรงงานไทย ไม่เข้ามาแย่งแรงงานไทย โดยกำหนดให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม
ขณะที่ ยุทธศาสตร์แรงงานไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็ยังคงต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณ ซึ่งต้องมียุทธศาสตร์ ทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำได้ 2 ทาง คือ 1.เมื่อธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาแรงงาน จึงต้องทำให้มีคนออกมาทำงานเร็วขึ้น โดยให้คนออกมาสู่ตลาดแรงงานเมื่อถึงวัยทำงาน โดยได้รับค่าตอบแทนที่ดีและไม่ต้องเรียนมากปีเกินไป หรือสามารถให้เขาออกมาประกอบอาชีพได้หลังจากจบมัธยมปลาย (สายอาชีพ/สายสามัญ) และนำหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ คือ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่ทางนี้ตรงข้ามกับค่านิยมของผู้ปกครองไทย 2.การนำเข้าวัยทำงานมาเติมในส่วนที่ขาด โดยต้องมีกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง และมีกระบวนการในการล้างคนเก่าที่ผิดกฎหมายให้หมดไป แล้วนำคนที่ถูกต้องเข้าทำงาน โดยมีจำนวนหรือโควตาที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม สำหรับยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพแรงงาน มีความจำเป็นและต้องเร่งทำมากกว่าเดิม ต้องทำให้แรงงานมีทักษะทำงานได้มากกว่าเดิมและมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการและภาครัฐต้องร่วมมือกัน หรือการจูงใจด้วยมาตรการทางภาษี เป็นต้น แรงงานทุกคนเมื่อเข้ามาสู่ระบบ ควรได้รับการดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต ซึ่งแรงงานทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง