เมื่อเวลา 10.45 น. วานนี้ (24 เม.ย.) ที่รัฐสภา ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นำโดย นายถาวร เสนเนียม และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นคำร้องพร้อมรายชื่อส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 128 คน ต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 รักษาราชการแทนประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภาถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ออกจากตำแหน่ง ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270
เนื่องจากพฤติการณ์ผู้ถูกร้อง จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน และขัดต่อหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 137 วรรคสอง ประกอบมาตรา125 , 126 ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อ 16, 17, 52, 59 วรรคสอง และ 96 ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา และส.ส.อันทรงเกียรติ อีกต่อไป
นายถาวร กล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่ นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยนายสมศักดิ์ จงใจปิดการอภิปรายทั้งๆ ที่ยังมีผู้เสนอตัวขออภิปรายจำนวนมาก โดยเหลือเวลาอภิปรายกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 137 ,125 ,126 ประกอบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 47 และ 59 วรรคสอง
นอกจากนี้ในการลงมติเพื่อกำหนดกรอบเวลาการแปรญัตติซึ่งรัฐบาลเสนอ 15 วันตามข้อบังคับ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอญัตติเป็นเวลา 60 วัน แต่ก่อนการลงมติองค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งนายสมศักดิ์ จะต้องสั่งปิดการประชุม หรือเลื่อนการประชุมออกไปก่อน แต่นายสมศักดิ์ กลับวินิจฉัยเองว่า การแปรญัตติเป็นไปตามข้อบังการประชุมรัฐสภา คือ 15 วัน
นายถาวร กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของสมศักดิ์ ถือเป็นกระทำผิดที่ซ้ำซาก และต่อเนื่องโดยเมื่อครั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งพรรคเพื่อไทยเสนอ โดยเป็นพ.ร.บ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องรับรองก่อน แต่นายสมศักดิ์ รีบบรรจุร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภา โดยนายกรัฐมนตรียังไม่ให้การรับรอง แต่เพราะเป็นในฐานะประมุขฝ่ายนิบัญญัติ หากจะปล่อยให้นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ จะมีแต่ความเสื่อมเสีย เพราะประธานจะต้องมีความเป็นกลาง รักษาทั้งหลักนิติธรรม และนิติรัฐ ซึ่งกรณีดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ต่อป.ป.ช. เมื่อ 31 พ.ค. 55
นายถาวร กล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องไปยัง ป.ป.ช. ได้เร่งดำเนินการตามคำร้องที่ได้ยื่นไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 55 จนขณะนี้ป.ป.ช. ก็ยังไม่ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวน เพราะตนในฐานะผู้ร้อง ยังไม่เคยไปให้ข้อมูลใดๆ หรือหากคำร้องของตนไม่มีมูล ตกไปทางป.ป.ช.ก็ยังไม่ได้แจ้งหนังสือกลับมาแต่อย่างใด การทำหน้าที่ของป.ป.ช. บ่งบอกถึงประสิทธิภาพ และละเลยการทำหน้าที่ ดังนั้นคำร้องในวันนี้ตนหวังว่า ป.ป.ช. จะดำเนินการไม่ล่าช้า น่าจะเสร็จภายใน 3 เดือน
นอกจากนี้นายถาวร ยังกล่าวถึงกรณี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่า ไม่ติดใจในประเด็นที่จะมีการปิดอภิปรายในวันดังกล่าว ว่า ความเห็นของประธานวิปฝ่ายค้าน ถือว่าเป็นผู้บริหารการประสานการประชุม ก็ถือว่าถูกต้องระดับหนึ่ง แต่การอภิปรายจะต้องมีความสมบูรณ์ โดยสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ต้องเสนอความเห็นที่หลากหลาย และสมบูรณ์ แต่ประธานกลับทำผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีข้อบังคับเฉพาะ ไม่เหมือนการพิจารณากฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะข้อบังคับที่ 59 คือ เจตนาอยากฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่ใช่เสียงข้างมาก หรือ ประธานรัฐสภา
เมื่อถามย้ำว่า หากนายสมศักดิ์ นำประเด็นดังกล่าวมาโต้แย้ง นายถาวร กล่าวว่า ทันทีที่มีผู้ลงชื่อถอดถอนนายสมศักดิ์ การดำเนินการก็ต้องเกิดขึ้นแล้ว กระบวนการก็ต้องเดินไป โดย ป.ป.ช. ก็ต้องทำหน้าที่พิจารณาไต่สวน ส่วนส.ว. หากมีมูล ก็ต้องดำเนินการถอดถอน การยื่นถอดถอนครั้งนี้อยากให้ประชาชนเห็นว่า ประธานทำผิดซ้ำซาก แม้จะต้องรอคอยก็ถือเป็นการทำหน้าที่ของส.ส. ทั้งนี้ได้ยื่นฟ้องใน 2 ประเด็น หากสามารถลงโทษได้ใน 1 ประเด็น ก็พอใจแล้ว
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า วุฒิสภาคงใช้ระยะเวลาดำเนินการภายใน 15 วัน ซึ่งถือว่าไม่ล่าช้า โดยจะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตรวจลายมือชื่อ ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ก่อนที่จะส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. เพื่อพิจารณาไต่ส่วนต่อไป หากมีมูล ป.ป.ช. ก็จะส่งเรื่องกลับมาให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอน
**ใบสั่งจากใครให้ปกป้องรธน.50
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง การยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ครั้งนี้ว่า เป็นแค่เกมการเมืองแบบใหม่ แต่ยังอยู่ในวังวนเดิมๆ คือ ขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นพฤติกรรมซํ้าซาก ทั้งๆ ที่นายสมศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และข้อบังคับการประชุม ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และประนีประนอมมาโดยตลอด พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเล่นไม่เลิก ถ้ามีช่องก็ขัดขวาง ตนอยากถามว่า มีใบสั่งจากใครหรือไม่ ที่ให้ออกมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญปี 50
ดังนั้น ขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ เลิกกดดันการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์ แม้ว่าการยื่นถอดถอนนั้น จะเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ก็ควรให้ความเคารพต่อประมุขฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำตามหน้าที่ด้วย แม้ว่าจะอยู่ต่างพรรคกัน ก็ควรให้ความเคารพ ไม่ใช่ว่า ถ้าไม่ใช่พวกเดียวกันแล้วก็ไม่เคารพ
นายพร้อมพงศ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ประชาชนคอยจับตาดูอยู่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ค้านเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือแค่เล่นเกมการเมือง ทั้งนี้ ในช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ นั้น พรรคเพื่อไทยจะเดินสาย เปิดเวทีชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ทั้ง เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 3 ร่าง เรื่องเสนอ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อมาพัฒนาประะเทศ นอกจากนี้ จะชี้แจงถึง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนทุกสีเสื้อที่ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง
เนื่องจากพฤติการณ์ผู้ถูกร้อง จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน และขัดต่อหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 137 วรรคสอง ประกอบมาตรา125 , 126 ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อ 16, 17, 52, 59 วรรคสอง และ 96 ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา และส.ส.อันทรงเกียรติ อีกต่อไป
นายถาวร กล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่ นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยนายสมศักดิ์ จงใจปิดการอภิปรายทั้งๆ ที่ยังมีผู้เสนอตัวขออภิปรายจำนวนมาก โดยเหลือเวลาอภิปรายกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 137 ,125 ,126 ประกอบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 47 และ 59 วรรคสอง
นอกจากนี้ในการลงมติเพื่อกำหนดกรอบเวลาการแปรญัตติซึ่งรัฐบาลเสนอ 15 วันตามข้อบังคับ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอญัตติเป็นเวลา 60 วัน แต่ก่อนการลงมติองค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งนายสมศักดิ์ จะต้องสั่งปิดการประชุม หรือเลื่อนการประชุมออกไปก่อน แต่นายสมศักดิ์ กลับวินิจฉัยเองว่า การแปรญัตติเป็นไปตามข้อบังการประชุมรัฐสภา คือ 15 วัน
นายถาวร กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของสมศักดิ์ ถือเป็นกระทำผิดที่ซ้ำซาก และต่อเนื่องโดยเมื่อครั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งพรรคเพื่อไทยเสนอ โดยเป็นพ.ร.บ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องรับรองก่อน แต่นายสมศักดิ์ รีบบรรจุร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภา โดยนายกรัฐมนตรียังไม่ให้การรับรอง แต่เพราะเป็นในฐานะประมุขฝ่ายนิบัญญัติ หากจะปล่อยให้นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ จะมีแต่ความเสื่อมเสีย เพราะประธานจะต้องมีความเป็นกลาง รักษาทั้งหลักนิติธรรม และนิติรัฐ ซึ่งกรณีดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ต่อป.ป.ช. เมื่อ 31 พ.ค. 55
นายถาวร กล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องไปยัง ป.ป.ช. ได้เร่งดำเนินการตามคำร้องที่ได้ยื่นไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 55 จนขณะนี้ป.ป.ช. ก็ยังไม่ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวน เพราะตนในฐานะผู้ร้อง ยังไม่เคยไปให้ข้อมูลใดๆ หรือหากคำร้องของตนไม่มีมูล ตกไปทางป.ป.ช.ก็ยังไม่ได้แจ้งหนังสือกลับมาแต่อย่างใด การทำหน้าที่ของป.ป.ช. บ่งบอกถึงประสิทธิภาพ และละเลยการทำหน้าที่ ดังนั้นคำร้องในวันนี้ตนหวังว่า ป.ป.ช. จะดำเนินการไม่ล่าช้า น่าจะเสร็จภายใน 3 เดือน
นอกจากนี้นายถาวร ยังกล่าวถึงกรณี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่า ไม่ติดใจในประเด็นที่จะมีการปิดอภิปรายในวันดังกล่าว ว่า ความเห็นของประธานวิปฝ่ายค้าน ถือว่าเป็นผู้บริหารการประสานการประชุม ก็ถือว่าถูกต้องระดับหนึ่ง แต่การอภิปรายจะต้องมีความสมบูรณ์ โดยสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ต้องเสนอความเห็นที่หลากหลาย และสมบูรณ์ แต่ประธานกลับทำผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีข้อบังคับเฉพาะ ไม่เหมือนการพิจารณากฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะข้อบังคับที่ 59 คือ เจตนาอยากฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่ใช่เสียงข้างมาก หรือ ประธานรัฐสภา
เมื่อถามย้ำว่า หากนายสมศักดิ์ นำประเด็นดังกล่าวมาโต้แย้ง นายถาวร กล่าวว่า ทันทีที่มีผู้ลงชื่อถอดถอนนายสมศักดิ์ การดำเนินการก็ต้องเกิดขึ้นแล้ว กระบวนการก็ต้องเดินไป โดย ป.ป.ช. ก็ต้องทำหน้าที่พิจารณาไต่สวน ส่วนส.ว. หากมีมูล ก็ต้องดำเนินการถอดถอน การยื่นถอดถอนครั้งนี้อยากให้ประชาชนเห็นว่า ประธานทำผิดซ้ำซาก แม้จะต้องรอคอยก็ถือเป็นการทำหน้าที่ของส.ส. ทั้งนี้ได้ยื่นฟ้องใน 2 ประเด็น หากสามารถลงโทษได้ใน 1 ประเด็น ก็พอใจแล้ว
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า วุฒิสภาคงใช้ระยะเวลาดำเนินการภายใน 15 วัน ซึ่งถือว่าไม่ล่าช้า โดยจะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตรวจลายมือชื่อ ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ก่อนที่จะส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. เพื่อพิจารณาไต่ส่วนต่อไป หากมีมูล ป.ป.ช. ก็จะส่งเรื่องกลับมาให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอน
**ใบสั่งจากใครให้ปกป้องรธน.50
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง การยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ ครั้งนี้ว่า เป็นแค่เกมการเมืองแบบใหม่ แต่ยังอยู่ในวังวนเดิมๆ คือ ขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นพฤติกรรมซํ้าซาก ทั้งๆ ที่นายสมศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และข้อบังคับการประชุม ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และประนีประนอมมาโดยตลอด พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเล่นไม่เลิก ถ้ามีช่องก็ขัดขวาง ตนอยากถามว่า มีใบสั่งจากใครหรือไม่ ที่ให้ออกมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญปี 50
ดังนั้น ขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ เลิกกดดันการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์ แม้ว่าการยื่นถอดถอนนั้น จะเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ก็ควรให้ความเคารพต่อประมุขฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำตามหน้าที่ด้วย แม้ว่าจะอยู่ต่างพรรคกัน ก็ควรให้ความเคารพ ไม่ใช่ว่า ถ้าไม่ใช่พวกเดียวกันแล้วก็ไม่เคารพ
นายพร้อมพงศ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ประชาชนคอยจับตาดูอยู่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ค้านเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือแค่เล่นเกมการเมือง ทั้งนี้ ในช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ นั้น พรรคเพื่อไทยจะเดินสาย เปิดเวทีชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ทั้ง เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 3 ร่าง เรื่องเสนอ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อมาพัฒนาประะเทศ นอกจากนี้ จะชี้แจงถึง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนทุกสีเสื้อที่ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง