ASTVผู้จัดการรายวัน - จับตาวันนี้มติที่ประชุม ส.ส.เพื่อไทย จะดัน ร่าง กม.นิรโทษ ขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนในการประชุมฯ "วรชัย" พลิ้วต้องคุยกันให้ตกผลึกก่อน "ปู" อ้างอยากเห็นความปรองดอง ด้านโฆษก ปชป.จี้นายกฯ ต้องรับผิดชอบ "เรืองไกร" จองเวรตุลาการศาล รธน. ร้องรัฐสภาวินิจฉัยศาล รธน. ผิด ม.157 กับ ม.112
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการนัดประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาการกำหนดวันแปรญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ในวันที่ 18 เม.ย.นี้ ว่า เชื่อว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดการโต้แย้ง จนกลายเป็นปัญหา เพราะกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เหลือเพียงการกำหนดวันแปรญัตติ ตามที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการเสนอญัตติให้ใช้เวลา 60 วัน เพื่อแปรญัตติเท่านั้น
แต่ในกรณีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายของพรรค ระบุว่า กระบวนการอภิปรายยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังไม่มีการลงมติให้ปิดการอภิปรายตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ข้อที่ 47 (2) นั้น หากพิจารณาในวิธีปฏิบัติของการปิดอภิปราย เมื่อประธานในที่ประชุมถามว่า ใครจะเห็นเป็นอื่นตามที่มีผู้เสนอปิดการอภิปรายหรือไม่ หากไม่มีผู้เห็นเป็นอื่น ก็ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปิดอภิปราย ซึ่งในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ตนก็ได้ถามสมาชิกรัฐสภาในประเด็นการปิดอภิปรายแล้ว และไม่มีผู้อื่นเห็นขัดแย้ง จึงถือว่ากระบวนการการปิดอภิปรายนั้นถูกต้องแล้ว
** จับตาเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ
นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมหารือในช่วงการประชุม เพื่อขอให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติมในวันที่ 19 เม.ย. เพื่อให้สามารถพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... (พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ) หลังจากที่จะเตรียมได้ใช้สิทธิ์ ส.ส.ขอเลื่อนระเบียบวาระเรื่องดังกล่าว มาเป็นเรื่องที่พิจารณาก่อน ในการประชุมสภาฯวันที่ 18 เม.ย.นี้ ว่า ตนยังไม่ทราบข้อมูล ทั้งนี้ในหลักการตนต้องรับฟังข้อมูล รวมถึงเหตุผลของส.ส.พรรคเพื่อไทย ก่อนนำมาพิจารณา
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความพยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้เลื่อนการพิจารณาของสภาฯในวันที่ 18 เม.ย.นี้ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงความเห็นของส.ส.ในพรรค ที่ต้องการให้มีการเดินหน้า แต่ในวงของ "ผู้ใหญ่" ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ว่าจะตกผลึกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ก็มีทั้งความเห็นให้เลื่อนขึ้นมา และให้พิจารณาให้จบในสมัยประชุมนี้ทันที กับอีกแนวทางคือ ให้เลื่อนขึ้นมาบรรจุในระเบียบวาระ และไปพิจารณาในสมัยประชุมหน้า ซึ่งตนเห็นว่า ควรจะเสนอและพิจารณาให้จบ แต่จะเป็นสมัยประชุมใดก็ต้องดูจังหวะ และช่วงเวลาให้ดี เพราะถ้าไปเลื่อนขึ้นมาบรรจุในวาระ แล้วค้างเอาไว้ ก็จะมีปัญหาถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองและวิพากษ์วิจารณ์กันอีก เนื่องจากไม่ได้มีการพูดคุยกันทุกฝ่าย
**รอมติพรรคชี้ขาดวันนี้
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย จะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส. ขอเลื่อน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน ว่า ในการประชุมส.ส.พรรคในวันนี้ ( 17 เม.ย.) คงจะมีการพูดคุยกัน และ 42 ส.ส. ที่ผลักดันเรื่องนี้ ก็คงจะมาชี้แจงในที่ประชุม เพื่อขอเสียงสนับสนุน ซึ่งต้องรอดูว่ามติพรรคจะออกมาอย่างไร และเมื่อมติพรรคออกมาอย่างไร ทุกคนก็ต้องเคารพ
**"ปู"อยากเห็นความปรองดอง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์การเมืองอาจร้อนแรงเพิ่มขึ้น จากพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ว่า ในหลายหัวข้ออาจทำให้บรรยากาศเข้มข้นขึ้นมาแต่เชื่อว่าจะไม่นำไปสู่ความรุนแรง แต่เราต้องใช้เวทีอย่างถูกต้องในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เมื่อถามว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ควรให้ส.ส.พรรคเพื่อไทย ชะลอไว้ก่อนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ต่างๆนั้นเป็นส่วนของสภา ในส่วนของพรรค คงต้องหารือกับสมาชิกพรรคก่อน ส่วนตัวนั้นเราต้องให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในการแสดงออกหรือข้อเสนอต่างๆ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสภาว่าจะรับเรื่องและมีการหารือกันอย่างไรหรือมีความคิดเห็นเป็นอื่นหรือไม่ ส่วนรัฐบาลยังยืนยันว่า เราอยากเห็นขบวนการของประเทศเดินหน้ากระบวนการปรองดอง รัฐบาลทำในเรื่องการเสวนา ถือว่าภารกิจของแต่ละคนมีหน้าที่ต่างคนต่างทำ แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเห็นประเทศมีความปรองดอง ก้าวไปข้างหน้าและหาทางออกร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านพยายามโยงว่า หากเกิดปัญหาขึ้นหลังมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา นายกฯต้องรับผิดชอบ นายกฯ กล่าวว่า ขอบอกอีกครั้งว่า อำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างคนต่างมีภารกิจ ตนในฐานะฝ่ายบริหารในตำแหน่งนายกฯก็มีหน้าที่ดูแลเรื่องการบริหาร แต่ในส่วนของนิติบัญญัติ เป็นเรื่องของสภา ตนเป็นเพียงสมาชิกสภาคนหนึ่งเท่านั้น ก็มีสิทธิ์เพียง 1 เสียงในฐานะส.ส.
**จี้นายกฯรับผิดชอบหากเกิดเหตุวุ่นวาย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามของส.ส.เพื่อไทย ที่จะให้เลื่อนวาระการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณา ในวันที่ 18 เม.ย.นี้ว่า ไม่แปลกใจ แต่สิ่งที่แปลกไปในครั้งนี้คือ การที่ นายวรชัย เหมะ ประกาศชัดว่า ได้ไฟเขียวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าให้เดินหน้าได้ ซึ่ง ตนเห็นว่า การนิรโทษกรรมแบบเหมารวม จะนำไปสู่ความขัดแย้งใหม่
" การที่นายวรชัย ยืนยันเช่นนี้ จะมาอ้างว่าเป็นหน้าที่ของสภา เป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ไม่ได้ ดังนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องรับผิดชอบ เลิกตีสองหน้า ลอยตัวเหนือปัญหาต่อไปไม่ได้ และพวกผมก็จะถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็จะต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา" นายชวนนท์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ยังเหมือนเดิม คือ จะไม่นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง จะนิรโทษกรรมแต่ผู้ที่ความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.เท่านั้น ไม่รวมกับผู้ที่มีความผิดทางอาญา มีความผิดเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน และมีความผิดกฎหมายหมิ่น ตามมาตรา 112
**เรืองไกรยื่นสอบ 9 ตุลาการศาลรธน.
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ได้ส่งเรื่องต่อประธานรัฐสภา ขอให้ตรวจสอบคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 คน ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 เม.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกข่าว ที่ 7/2556 แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยการร่วมประชุมพิจารณารับคำร้องที่มีลักษณะก้าวล่วงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เกินกว่าที่กฎหมายและรัฐธรรมนูญกำหนด เสมือนเป็นการตีความรัฐธรรมนูญ หรือบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเองโดยพลการ เป็นการสร้างอำนาจโดยวิถีทางที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ส่อไปในทางแสดงตนเหนือรัฐธรรมนูญ โดยปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
นอกจากนี้ บุคคลชาวไทยที่จงรักภักดี ย่อมต้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่อต้านโดยสันติวิธี ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ได้ และสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้ด้วย กลุ่มบุคคลที่รักชาติเทิดทูนสถาบันฯ เมื่อทราบเรื่องนี้แล้ว หากไม่ช่วยกันปกป้องสถาบันฯ ก็เท่ากับสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดต่อเบื้องสูงต่อไป ไม่สมควรที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นผู้จงรักภักดีได้เลย
" การมีคำวินิจฉัยหรือมีคำสั่งแต่ละครั้ง ถ้ามีนายชัช ชลวร หรือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ รวมอยู่ด้วย เพราะทั้ง 2 เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ย่อมถือว่ามีการหมิ่นสถาบันฯเป็นครั้งๆ ไป เป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระกันตามประมวลกฎหมายอาญา จึงควรต้องพิจารณาเป็นรายกระทงความผิด อีกทั้งควรพิจารณาด้วยว่า การกระทำความผิดดังกล่าว เกิดจากการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายเสียเอง เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้อภัยได้"
นายเรืองไกร กล่าวว่า ขอให้ประธานรัฐสภาทำการตรวจสอบ โดยการเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้พิจารณาเป็นญัตติเร่งด่วนต่อไป หากที่ประชุมรัฐสภาโดยเสียงข้างมากมีมติว่า การกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ขอให้ประธานรัฐสภา สั่งการให้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อไป
โดยเฉพาะในเรื่องการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ซึ่งทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ที่มีชื่อ นายชัช ลงลายมือชื่อเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในองค์คณะอยู่ด้วย จะเข้าลักษณะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มาตรา 157 ประกอบมาตรา 112 หรือ ไม่ และการได้มาซึ่งตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ของนายวสันต์ ย่อมมีผลให้ความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตกเป็นโมฆะด้วยหรือไม่ และถ้าหากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่โดยไม่ชอบ การรับคำสั่งใด ๆ จากคณะตุลาการชุดนี้ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดด้วยหรือไม่.
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการนัดประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาการกำหนดวันแปรญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ในวันที่ 18 เม.ย.นี้ ว่า เชื่อว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดการโต้แย้ง จนกลายเป็นปัญหา เพราะกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เหลือเพียงการกำหนดวันแปรญัตติ ตามที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการเสนอญัตติให้ใช้เวลา 60 วัน เพื่อแปรญัตติเท่านั้น
แต่ในกรณีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายของพรรค ระบุว่า กระบวนการอภิปรายยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังไม่มีการลงมติให้ปิดการอภิปรายตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ข้อที่ 47 (2) นั้น หากพิจารณาในวิธีปฏิบัติของการปิดอภิปราย เมื่อประธานในที่ประชุมถามว่า ใครจะเห็นเป็นอื่นตามที่มีผู้เสนอปิดการอภิปรายหรือไม่ หากไม่มีผู้เห็นเป็นอื่น ก็ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปิดอภิปราย ซึ่งในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ตนก็ได้ถามสมาชิกรัฐสภาในประเด็นการปิดอภิปรายแล้ว และไม่มีผู้อื่นเห็นขัดแย้ง จึงถือว่ากระบวนการการปิดอภิปรายนั้นถูกต้องแล้ว
** จับตาเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ
นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมหารือในช่วงการประชุม เพื่อขอให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติมในวันที่ 19 เม.ย. เพื่อให้สามารถพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... (พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ) หลังจากที่จะเตรียมได้ใช้สิทธิ์ ส.ส.ขอเลื่อนระเบียบวาระเรื่องดังกล่าว มาเป็นเรื่องที่พิจารณาก่อน ในการประชุมสภาฯวันที่ 18 เม.ย.นี้ ว่า ตนยังไม่ทราบข้อมูล ทั้งนี้ในหลักการตนต้องรับฟังข้อมูล รวมถึงเหตุผลของส.ส.พรรคเพื่อไทย ก่อนนำมาพิจารณา
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความพยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้เลื่อนการพิจารณาของสภาฯในวันที่ 18 เม.ย.นี้ว่า เรื่องนี้เป็นเพียงความเห็นของส.ส.ในพรรค ที่ต้องการให้มีการเดินหน้า แต่ในวงของ "ผู้ใหญ่" ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ว่าจะตกผลึกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ก็มีทั้งความเห็นให้เลื่อนขึ้นมา และให้พิจารณาให้จบในสมัยประชุมนี้ทันที กับอีกแนวทางคือ ให้เลื่อนขึ้นมาบรรจุในระเบียบวาระ และไปพิจารณาในสมัยประชุมหน้า ซึ่งตนเห็นว่า ควรจะเสนอและพิจารณาให้จบ แต่จะเป็นสมัยประชุมใดก็ต้องดูจังหวะ และช่วงเวลาให้ดี เพราะถ้าไปเลื่อนขึ้นมาบรรจุในวาระ แล้วค้างเอาไว้ ก็จะมีปัญหาถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองและวิพากษ์วิจารณ์กันอีก เนื่องจากไม่ได้มีการพูดคุยกันทุกฝ่าย
**รอมติพรรคชี้ขาดวันนี้
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย จะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส. ขอเลื่อน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน ว่า ในการประชุมส.ส.พรรคในวันนี้ ( 17 เม.ย.) คงจะมีการพูดคุยกัน และ 42 ส.ส. ที่ผลักดันเรื่องนี้ ก็คงจะมาชี้แจงในที่ประชุม เพื่อขอเสียงสนับสนุน ซึ่งต้องรอดูว่ามติพรรคจะออกมาอย่างไร และเมื่อมติพรรคออกมาอย่างไร ทุกคนก็ต้องเคารพ
**"ปู"อยากเห็นความปรองดอง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์การเมืองอาจร้อนแรงเพิ่มขึ้น จากพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ว่า ในหลายหัวข้ออาจทำให้บรรยากาศเข้มข้นขึ้นมาแต่เชื่อว่าจะไม่นำไปสู่ความรุนแรง แต่เราต้องใช้เวทีอย่างถูกต้องในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เมื่อถามว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ควรให้ส.ส.พรรคเพื่อไทย ชะลอไว้ก่อนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ต่างๆนั้นเป็นส่วนของสภา ในส่วนของพรรค คงต้องหารือกับสมาชิกพรรคก่อน ส่วนตัวนั้นเราต้องให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในการแสดงออกหรือข้อเสนอต่างๆ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสภาว่าจะรับเรื่องและมีการหารือกันอย่างไรหรือมีความคิดเห็นเป็นอื่นหรือไม่ ส่วนรัฐบาลยังยืนยันว่า เราอยากเห็นขบวนการของประเทศเดินหน้ากระบวนการปรองดอง รัฐบาลทำในเรื่องการเสวนา ถือว่าภารกิจของแต่ละคนมีหน้าที่ต่างคนต่างทำ แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเห็นประเทศมีความปรองดอง ก้าวไปข้างหน้าและหาทางออกร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายค้านพยายามโยงว่า หากเกิดปัญหาขึ้นหลังมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา นายกฯต้องรับผิดชอบ นายกฯ กล่าวว่า ขอบอกอีกครั้งว่า อำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างคนต่างมีภารกิจ ตนในฐานะฝ่ายบริหารในตำแหน่งนายกฯก็มีหน้าที่ดูแลเรื่องการบริหาร แต่ในส่วนของนิติบัญญัติ เป็นเรื่องของสภา ตนเป็นเพียงสมาชิกสภาคนหนึ่งเท่านั้น ก็มีสิทธิ์เพียง 1 เสียงในฐานะส.ส.
**จี้นายกฯรับผิดชอบหากเกิดเหตุวุ่นวาย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามของส.ส.เพื่อไทย ที่จะให้เลื่อนวาระการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณา ในวันที่ 18 เม.ย.นี้ว่า ไม่แปลกใจ แต่สิ่งที่แปลกไปในครั้งนี้คือ การที่ นายวรชัย เหมะ ประกาศชัดว่า ได้ไฟเขียวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าให้เดินหน้าได้ ซึ่ง ตนเห็นว่า การนิรโทษกรรมแบบเหมารวม จะนำไปสู่ความขัดแย้งใหม่
" การที่นายวรชัย ยืนยันเช่นนี้ จะมาอ้างว่าเป็นหน้าที่ของสภา เป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ไม่ได้ ดังนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องรับผิดชอบ เลิกตีสองหน้า ลอยตัวเหนือปัญหาต่อไปไม่ได้ และพวกผมก็จะถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็จะต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา" นายชวนนท์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ยังเหมือนเดิม คือ จะไม่นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง จะนิรโทษกรรมแต่ผู้ที่ความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.เท่านั้น ไม่รวมกับผู้ที่มีความผิดทางอาญา มีความผิดเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน และมีความผิดกฎหมายหมิ่น ตามมาตรา 112
**เรืองไกรยื่นสอบ 9 ตุลาการศาลรธน.
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ได้ส่งเรื่องต่อประธานรัฐสภา ขอให้ตรวจสอบคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 คน ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 เม.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกข่าว ที่ 7/2556 แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยการร่วมประชุมพิจารณารับคำร้องที่มีลักษณะก้าวล่วงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เกินกว่าที่กฎหมายและรัฐธรรมนูญกำหนด เสมือนเป็นการตีความรัฐธรรมนูญ หรือบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเองโดยพลการ เป็นการสร้างอำนาจโดยวิถีทางที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ส่อไปในทางแสดงตนเหนือรัฐธรรมนูญ โดยปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
นอกจากนี้ บุคคลชาวไทยที่จงรักภักดี ย่อมต้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่อต้านโดยสันติวิธี ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ได้ และสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้ด้วย กลุ่มบุคคลที่รักชาติเทิดทูนสถาบันฯ เมื่อทราบเรื่องนี้แล้ว หากไม่ช่วยกันปกป้องสถาบันฯ ก็เท่ากับสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดต่อเบื้องสูงต่อไป ไม่สมควรที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นผู้จงรักภักดีได้เลย
" การมีคำวินิจฉัยหรือมีคำสั่งแต่ละครั้ง ถ้ามีนายชัช ชลวร หรือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ รวมอยู่ด้วย เพราะทั้ง 2 เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ย่อมถือว่ามีการหมิ่นสถาบันฯเป็นครั้งๆ ไป เป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระกันตามประมวลกฎหมายอาญา จึงควรต้องพิจารณาเป็นรายกระทงความผิด อีกทั้งควรพิจารณาด้วยว่า การกระทำความผิดดังกล่าว เกิดจากการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายเสียเอง เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้อภัยได้"
นายเรืองไกร กล่าวว่า ขอให้ประธานรัฐสภาทำการตรวจสอบ โดยการเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้พิจารณาเป็นญัตติเร่งด่วนต่อไป หากที่ประชุมรัฐสภาโดยเสียงข้างมากมีมติว่า การกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ขอให้ประธานรัฐสภา สั่งการให้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อไป
โดยเฉพาะในเรื่องการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ซึ่งทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ที่มีชื่อ นายชัช ลงลายมือชื่อเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในองค์คณะอยู่ด้วย จะเข้าลักษณะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มาตรา 157 ประกอบมาตรา 112 หรือ ไม่ และการได้มาซึ่งตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ของนายวสันต์ ย่อมมีผลให้ความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตกเป็นโมฆะด้วยหรือไม่ และถ้าหากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่โดยไม่ชอบ การรับคำสั่งใด ๆ จากคณะตุลาการชุดนี้ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดด้วยหรือไม่.