กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 3 ต่อ 2 รับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหาที่ขอให้ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 รวมทั้งขอให้ถอดถอน ส.ส., ส.ว.จำนวน 312 คนที่ร่วมลงชื่อและยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเตรียมส่งคำร้องเพื่อให้ ส.ส., ส.ว.จำนวนดังกล่าวชี้แจงกลับมานั้น
ต่อมาที่พรรคเพื่อไทยนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทยแถลงถึงกรณีนี้ว่าไม่น่าเป็นห่วง ส.ส.เพื่อไทยทุกคนชินกับสถานการณ์นี้หมดแล้ว ซึ่งทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยเตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงพร้อมแล้วประเด็นหลักๆ คือการแก้ไขมาตรา 68 ให้ประชาชนยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุดไม่ใช่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่เป็นการทำกฎหมายให้ชัดเจน ไม่ต้องไปตีความอีก มั่นใจว่าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เพราะทำตรงไปตรงมา ไม่มีเจตนาซ่อนเร้น
นายอนุสรณ์กล่าวด้วยว่าส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับโดยอ้างว่ายังไม่มีการลงมติเรื่องเวลาแปรญัตติ 15 วัน ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย คาดไว้อยู่แล้ว ยืนยันว่าคำวินิจฉัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภาที่ให้แปรญัตติ 15 วันถูกต้องแล้ว หากฝ่ายค้านจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญอีกก็ทำได้เลยแต่กรรมาธิการต้องเดินหน้าทำหน้าที่ต่อไป
นายอนุสรณ์กล่าวว่าส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์มีอายุครบ 67 ปีก็ขอแสดงความยินดี ขอให้ประสบความสำเร็จการทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไปพรรคประชาธิปัตย์โชคดีกว่าพรรคอื่น ไม่ต้องลุ้นว่าจะถูกยุบพรรคเพราะเป็นพรรคมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่หัวใจคือประชาชนไม่มีเส้นต้องเอาหลังพิงประชาชน
นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกำลังรอคำร้องอย่างละเอียดของนายสมชาย แสวงการจากศาลรัฐธรรมนูญ แต่เบื้องต้นพรรคได้เตรียมข้อกฎหมายต่างๆ ไว้ต่อสู้คดีเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่าการยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นการทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขรายมาตรา อย่างไรก็ตามเท่าที่พูดคุยกันมี ส.ส.และส.ว.บางส่วนไม่อยากเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดี เพราะไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราชพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะกรรมาธิการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาวุฒิสภากล่าวถึงกรณีนายนิคม ไวยรัชพานิชประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาออกมาแก้ต่างให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภา กรณีองค์ประชุมไม่ครบจะไม่มีการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเพราะเสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณว่า นายนิคมอยู่ในฐานะประธานวุฒิสภาควรวางตัวเป็นกลางไม่ควรปกป้องฝ่ายรัฐบาลอย่างออกหน้าออกตาเกินความพอดี หากจำเป็นและถูกต้องนั้นการประชุมร่วมรัฐสภาก็ไม่ควรคำนึงถึงการสิ้นเปลือง เนื่องจากหลายครั้งที่มีการนัดประชุมร่วมรัฐสภาแล้วมีวาระการประชุมที่ไร้สาระทำเพื่อประโยชน์ตนเอง เหตุใดไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าและสิ้นเปลืองบ้าง ทั้งนี้เรื่องน่ายินดีหากจะไม่มีการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาจริงเพราะจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าใครถูกใครผิดระหว่างข้อวินิจฉัยของนายสมศักดิ์กับความเห็นของฝ่ายค้าน
นายเทพไทกล่าวต่อว่า หากดูปฏิทินการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติที่มีพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมในวันที่ 20 เม.ย.นี้ แต่ประธานสภาฯ มีคำสั่งงดประชุมสภาฯ ในวันที่ 10-11 เม.ย.และวันที่ 17-18 เม.ย..ซึ่งหากเป็นจริงแสดงว่าสมัยประชุมนี้ก็จะไม่มีการประชุมสภาฯ แล้วและระยะเวลาการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของประธานรัฐสภาภายใน 15 วันจะครบกำหนดในวันที่ 18 เม.ย. ดังนั้น จะให้เวลาประธานรัฐสภากลับตัวกลับใจจนถึงวันที่ 18 เม.ย.และถ้าหลังวันที่ 18 เม.ย.ยังยืนยันความเห็นเดิม ฝ่ายกฎหมายของพรรคก็จะดำเนินการยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์เพราะถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กล่าวว่าตนทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหน ยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดขอให้ไปดูข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 96 จะเห็นว่าตนทำถูกต้องเพราะข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้การแปรญัตติเรื่องรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน หากเป็นกฎหมายทั่วไปก็แปรญัตติ 7 วัน ยกเว้นที่ประชุมรัฐสภามีความเห็นเป็นอย่างอื่น กรณีนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้แปรญัตติรัฐธรรมนูญ 60 วันจึงต้องเสนอญัตติต่อที่ประชุมรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบก่อน แต่ก่อนลงมติก็ต้องตรวจสอบองค์ประชุม เมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ประชุมต่อไม่ได้ ก็ต้องสั่งปิดประชุม จึงต้องไปใช้การแปรญัตติตามเดิมคือ 15 วัน ยืนยันว่าไม่ใช่การเร่งรีบรวบรัดตามที่กล่าวหาแน่นอน ทำทุกอย่างตามขั้นตอน
นายสมศักดิ์กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้แปรญัตติ 60 วันก็ทำได้ โดยให้ไปหารือกับวิปรัฐบาล วุฒิสภา เพื่อเรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งจากนั้นจึงเสนอการแปรญัตติ 60 วันเข้ามาอีกครั้ง
ต่อมาที่พรรคเพื่อไทยนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทยแถลงถึงกรณีนี้ว่าไม่น่าเป็นห่วง ส.ส.เพื่อไทยทุกคนชินกับสถานการณ์นี้หมดแล้ว ซึ่งทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยเตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงพร้อมแล้วประเด็นหลักๆ คือการแก้ไขมาตรา 68 ให้ประชาชนยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุดไม่ใช่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่เป็นการทำกฎหมายให้ชัดเจน ไม่ต้องไปตีความอีก มั่นใจว่าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เพราะทำตรงไปตรงมา ไม่มีเจตนาซ่อนเร้น
นายอนุสรณ์กล่าวด้วยว่าส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับโดยอ้างว่ายังไม่มีการลงมติเรื่องเวลาแปรญัตติ 15 วัน ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย คาดไว้อยู่แล้ว ยืนยันว่าคำวินิจฉัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภาที่ให้แปรญัตติ 15 วันถูกต้องแล้ว หากฝ่ายค้านจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญอีกก็ทำได้เลยแต่กรรมาธิการต้องเดินหน้าทำหน้าที่ต่อไป
นายอนุสรณ์กล่าวว่าส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์มีอายุครบ 67 ปีก็ขอแสดงความยินดี ขอให้ประสบความสำเร็จการทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไปพรรคประชาธิปัตย์โชคดีกว่าพรรคอื่น ไม่ต้องลุ้นว่าจะถูกยุบพรรคเพราะเป็นพรรคมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่หัวใจคือประชาชนไม่มีเส้นต้องเอาหลังพิงประชาชน
นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกำลังรอคำร้องอย่างละเอียดของนายสมชาย แสวงการจากศาลรัฐธรรมนูญ แต่เบื้องต้นพรรคได้เตรียมข้อกฎหมายต่างๆ ไว้ต่อสู้คดีเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่าการยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นการทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขรายมาตรา อย่างไรก็ตามเท่าที่พูดคุยกันมี ส.ส.และส.ว.บางส่วนไม่อยากเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดี เพราะไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราชพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะกรรมาธิการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาวุฒิสภากล่าวถึงกรณีนายนิคม ไวยรัชพานิชประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาออกมาแก้ต่างให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภา กรณีองค์ประชุมไม่ครบจะไม่มีการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเพราะเสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณว่า นายนิคมอยู่ในฐานะประธานวุฒิสภาควรวางตัวเป็นกลางไม่ควรปกป้องฝ่ายรัฐบาลอย่างออกหน้าออกตาเกินความพอดี หากจำเป็นและถูกต้องนั้นการประชุมร่วมรัฐสภาก็ไม่ควรคำนึงถึงการสิ้นเปลือง เนื่องจากหลายครั้งที่มีการนัดประชุมร่วมรัฐสภาแล้วมีวาระการประชุมที่ไร้สาระทำเพื่อประโยชน์ตนเอง เหตุใดไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าและสิ้นเปลืองบ้าง ทั้งนี้เรื่องน่ายินดีหากจะไม่มีการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาจริงเพราะจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าใครถูกใครผิดระหว่างข้อวินิจฉัยของนายสมศักดิ์กับความเห็นของฝ่ายค้าน
นายเทพไทกล่าวต่อว่า หากดูปฏิทินการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติที่มีพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมในวันที่ 20 เม.ย.นี้ แต่ประธานสภาฯ มีคำสั่งงดประชุมสภาฯ ในวันที่ 10-11 เม.ย.และวันที่ 17-18 เม.ย..ซึ่งหากเป็นจริงแสดงว่าสมัยประชุมนี้ก็จะไม่มีการประชุมสภาฯ แล้วและระยะเวลาการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของประธานรัฐสภาภายใน 15 วันจะครบกำหนดในวันที่ 18 เม.ย. ดังนั้น จะให้เวลาประธานรัฐสภากลับตัวกลับใจจนถึงวันที่ 18 เม.ย.และถ้าหลังวันที่ 18 เม.ย.ยังยืนยันความเห็นเดิม ฝ่ายกฎหมายของพรรคก็จะดำเนินการยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์เพราะถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กล่าวว่าตนทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหน ยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดขอให้ไปดูข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 96 จะเห็นว่าตนทำถูกต้องเพราะข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้การแปรญัตติเรื่องรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน หากเป็นกฎหมายทั่วไปก็แปรญัตติ 7 วัน ยกเว้นที่ประชุมรัฐสภามีความเห็นเป็นอย่างอื่น กรณีนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้แปรญัตติรัฐธรรมนูญ 60 วันจึงต้องเสนอญัตติต่อที่ประชุมรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบก่อน แต่ก่อนลงมติก็ต้องตรวจสอบองค์ประชุม เมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ประชุมต่อไม่ได้ ก็ต้องสั่งปิดประชุม จึงต้องไปใช้การแปรญัตติตามเดิมคือ 15 วัน ยืนยันว่าไม่ใช่การเร่งรีบรวบรัดตามที่กล่าวหาแน่นอน ทำทุกอย่างตามขั้นตอน
นายสมศักดิ์กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้แปรญัตติ 60 วันก็ทำได้ โดยให้ไปหารือกับวิปรัฐบาล วุฒิสภา เพื่อเรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งจากนั้นจึงเสนอการแปรญัตติ 60 วันเข้ามาอีกครั้ง