ASTVผู้จัดการรายวัน - “นายก”ห่วงเงินบาทแข็งตัว สั่ง “โต้ง” หารือธปท. แก้ปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ขอทุกฝ่ายร่วมือกัน เชื่อจะผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โยนถาม “คลัง” เปลี่ยนตัวผู้ว่าฯแบงก์ชาติ "โพลล์" จี้รัฐ-แบงก์ชาติ คุมเงินไหลเข้าสกัดบาทแข็ง ชี้อัตราเหมาะสมควรอยู่ 30.48 บาท/เหรียญสหรัฐ หากแข็งแตะ 27 บาท ต้องขาดทุนเพิ่ม จนต้องปลดคนงานถึงขั้นปิดกิจการ ขณะที่ค่าแรง 300 ไม่พอกิน ลูกจ้างยังมีหนี้เพิ่ม เหตุสินค้าแพง หันกู้เงินนอกระบบมากขึ้น ด้านคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มธ. แนะกนง.หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย0.25% ลดการคาดการณ์เงินบาทแข็งได้ ระบุรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท ต้องเคารพกติกาไม่ให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงเกินระดับวิกฤตที่ 60% ชี้วิธีที่ดีที่สุดออกบอนด์ขายให้ประชาชนทั่วไป
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเงินบาทที่แข็งค่า ว่า ได้ยำต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีที่ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องลงไปช่วยเหลือดูแลผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งให้ประสานงานนโยบายทางด้านการเงินการคลังให้เร็วที่สุด ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทว่าอาจจะแตะที่ระดับ 27 บาทต่อดอลล์ร่านั่้นยังมีอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าการทำงานร่วมกัยของทุกหน่วยงานอย่างเต็มที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันก็ได้สั่งยำให้ทุกๆหน่วยงานช่วยกันดูแลแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ เชื่อว่าคงจะมีการเรียกประชุมเป็นระยะ
อย่างไรก็ตาม การจะเข้าไปแทรกแซงกรณีค่าเงินบาทแข็งค่าหรือไม่นั้น ต้องสอบถามทางด้านของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพราะภาครัฐมีหน้าที่ดูในเรื่องของนโยบาย ส่วนนโยบายการดูแลดอกเบี้ย นั้นจะให้กระทรวงการคลังไปหารืออีกครั้งหนึ่ง สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า นายกิติรัตน์ รมว.คลังไม่พอใจผู้ว่าธปท.นั้นไม่สามารถให้ความเห็นได้เพราะต้องถามรวม.คลังเอง
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท จากกลุ่มผู้ประกอบการ 600 รายทั่วประเทศ ว่า ผู้ประกอบการ 45.6% ระบุค่าเงินบาทในปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ไม่เหมาะสม คือแข็งค่าจนเกินไป และหากแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้จะรับผลกระทบไม่ได้ ขณะที่อีก 38% ระบุว่าเหมาะสมปานกลาง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ 73.7% ระบุว่า เงินบาทที่แข็งค่า กระทบต่อการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปานกลางจนถึงมาก เพราะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง กำไรลดลง ยอดส่งออกสินค้าลดลง สภาพคล่องของธุรกิจลดลง และคำสั่งซื้อลดลง โดยเห็นว่าเงินบาทระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเลยควรอยู่ที่ 31.29 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่ระดับที่เหมาะสมที่สุดคือ 30.48 บาท/เหรียญสหรัฐ ส่วนระดับที่ธุรกิจทานทนได้อยู่ที่ 29.18 บาท/เหรียญสหรัฐ ขณะที่ในช่วงต้นปีที่มีการวางแผนดำเนินธุรกิจ ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.17 บาท/เหรียญสหรัฐ และคิดขณะนั้นว่าเงินบาทน่าจะแข็งสุดที่ 29.54 บาท/เหรียญสหรัฐเท่านั้น
“ผู้ประกอบการ 81% ระบุหากค่าเงินอยู่ในช่วง 29-29.90 บาท/เหรียญสหรัฐ ยังสามารถแบกรับได้ แต่มี 14.3% ระบุจะขาดทุนมากขึ้น หากเงินบาทอยู่ในช่วง 28-28.90 บาท/เหรียญสหรัฐ มีเพียง 47.6% เท่านั้นที่แบกรับได้ ส่วน 36.4% ระบุขาดทุนมากขึ้น และอีก 9.3% ระบุจำเป็นต้องปรับลดคนงาน แต่หากแข็งค่าอยู่ที่ 27-27.90 บาท/เหรียญสหรัฐ มีผู้ประกอบการเพียง 30.2% ที่แบกรับได้ แต่อีก 44.6% ระบุขาดทุนมากขึ้น ส่วนอีก
12% ระบุจะปลดคนงาน และมี 9.8% จำเป็นต้องปิดกิจการ”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบการเสนอแนะในผลสำรวจ ต้องการให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนมาก และแข็งค่าเร็วเกินไป ควรทำให้อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 29-30 บาท/เหรียญสหรัฐ รวมถึงให้ ธปท.ควบคุมปริมาณเงินไม่ให้ไหลเข้ามากเกินไป ซึ่งการควบคุมสามารถทำได้ แต่ไม่จำเป็นว่าเงินที่เข้ามา 100 บาท ต้องกันสำรองไว้ 30 บาท อาจจะลดลงมาต่ำกว่านั้น เช่น 20หรือ 10 บาท ซึ่ง ธปท.ควรดูว่าทำอย่างไรจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุน
จี้ธปท.ลดดอกเบี้ยกดบาทอ่อน
นายภาณุพงศ์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ควรมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากระดับปัจจุบัน 2.75%ต่อปี เพื่อเป็นการทดสอบตลาดในเบื้องต้นก่อน โดยมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ โดยเฉพาะการคาดการณ์ว่าเงินบาทแข็งค่าด้วย ซึ่งเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเปลี่ยนความคิดคนได้ พร้อมกันนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ห่างออกไป ซึ่งรวมอัตราเงินเฟ้อด้วยจะช่วยลดปริมาณเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นได้ระดับหนึ่ง
“นโยบายการเงินเป็นเรื่องที่ยากลำบาก บางที่ทิศทางถูก แต่ขนาดไม่ถูกก็เป็นไปได้อาจจะน้อยไป ช้าไป แรงไป เร่งมากเกินไป ซึ่งก็ย่อมมีผลเสียได้ หรือเดี๋ยวลดเดี๋ยวขึ้นก็มีผลเสียเช่นกัน ฉะนั้น ควรมีการลดอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป และหากเงินบาทแข็งค่ามากๆ เห็นว่าควรมีการประชุมบอร์ดกนง.นัดพิเศษ ซึ่งอาจจะลดดอกเบี้ย 0.25%ไปก่อนกำหนดการประชุมตามปกติ หากสถานการณ์เงินบาทไหลไปมาก เช่น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงเห็นว่าเรื่องนี้ทางบอร์ดกนง.ก็เข้าใจสถานการณ์ที่ดีอยู่แล้ว”
ต่อข้อซักถามที่ว่า หลายประเทศปั๊มเงินออกมาช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง ขณะที่ไทยเงินบาทแข็งค่า ซึ่งช่วยทดแทนได้ระดับหนึ่งนั้น นายภาณุพงศ์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยก็เหมือนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่มีการชะลอตัวจากภาคการส่งออก ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็ควรผสมผสานเครื่องมือดูแลเสถียรภาพการเงินควบคู่ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าเร็วไปเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก และไม่อยากพูดถึงการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ซึ่งมีบทเรียนในอดีตอันเจ็บปวด แม้เงินที่ไหลเข้าอาจเป็นเงินเย็นมากขึ้น เงินร้อนน้อยลง แต่สุดท้ายแล้วไม่ได้ชะลอการไหลเข้าเงินทุนมากนัก จึงไม่คุ้มค่าการกับดำเนินการเช่นนั้น ส่วนประเด็นที่เงินบาทแข็งค่า แต่ราคาน้ำมันไม่ได้ลดลงตามต้นทุนดังกล่าวเห็นว่าเมื่อปล่อยให้เงินบาทขึ้นๆ ลงๆ ทางรัฐก็ไม่ควรแทรกแซงราคา เพื่อให้ประชาชนควรอย่างยิ่งได้รับผลพ่วงที่ดีจากเงินบาทแข็งค่าด้วย
แนะ2ล้านล.ออกบอนด์ขายประชาชน
นายภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในลักษณะนี้ค่อนข้างน้อย ในความเป็นจริงไม่ควรต่ำกว่า 25%ของงบประมาณทั้งหมด แต่ไทยมีสัดส่วนต่ำกว่า 15% อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรบริหารโครงการที่ดีและเคารพกติกาไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเกินระดับวิกฤติ 60% ขณะเดียวกันภาครัฐควรมีการกู้ยืมเงินในประเทศจากการขายพันธบัตรให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะผลประโยชน์และภาระหนี้จะได้รับแก่คนรุ่นหลังพร้อมๆ กัน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเงินบาทที่แข็งค่า ว่า ได้ยำต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีที่ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องลงไปช่วยเหลือดูแลผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งให้ประสานงานนโยบายทางด้านการเงินการคลังให้เร็วที่สุด ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทว่าอาจจะแตะที่ระดับ 27 บาทต่อดอลล์ร่านั่้นยังมีอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าการทำงานร่วมกัยของทุกหน่วยงานอย่างเต็มที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันก็ได้สั่งยำให้ทุกๆหน่วยงานช่วยกันดูแลแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ เชื่อว่าคงจะมีการเรียกประชุมเป็นระยะ
อย่างไรก็ตาม การจะเข้าไปแทรกแซงกรณีค่าเงินบาทแข็งค่าหรือไม่นั้น ต้องสอบถามทางด้านของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพราะภาครัฐมีหน้าที่ดูในเรื่องของนโยบาย ส่วนนโยบายการดูแลดอกเบี้ย นั้นจะให้กระทรวงการคลังไปหารืออีกครั้งหนึ่ง สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า นายกิติรัตน์ รมว.คลังไม่พอใจผู้ว่าธปท.นั้นไม่สามารถให้ความเห็นได้เพราะต้องถามรวม.คลังเอง
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท จากกลุ่มผู้ประกอบการ 600 รายทั่วประเทศ ว่า ผู้ประกอบการ 45.6% ระบุค่าเงินบาทในปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ไม่เหมาะสม คือแข็งค่าจนเกินไป และหากแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้จะรับผลกระทบไม่ได้ ขณะที่อีก 38% ระบุว่าเหมาะสมปานกลาง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ 73.7% ระบุว่า เงินบาทที่แข็งค่า กระทบต่อการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปานกลางจนถึงมาก เพราะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง กำไรลดลง ยอดส่งออกสินค้าลดลง สภาพคล่องของธุรกิจลดลง และคำสั่งซื้อลดลง โดยเห็นว่าเงินบาทระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเลยควรอยู่ที่ 31.29 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่ระดับที่เหมาะสมที่สุดคือ 30.48 บาท/เหรียญสหรัฐ ส่วนระดับที่ธุรกิจทานทนได้อยู่ที่ 29.18 บาท/เหรียญสหรัฐ ขณะที่ในช่วงต้นปีที่มีการวางแผนดำเนินธุรกิจ ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.17 บาท/เหรียญสหรัฐ และคิดขณะนั้นว่าเงินบาทน่าจะแข็งสุดที่ 29.54 บาท/เหรียญสหรัฐเท่านั้น
“ผู้ประกอบการ 81% ระบุหากค่าเงินอยู่ในช่วง 29-29.90 บาท/เหรียญสหรัฐ ยังสามารถแบกรับได้ แต่มี 14.3% ระบุจะขาดทุนมากขึ้น หากเงินบาทอยู่ในช่วง 28-28.90 บาท/เหรียญสหรัฐ มีเพียง 47.6% เท่านั้นที่แบกรับได้ ส่วน 36.4% ระบุขาดทุนมากขึ้น และอีก 9.3% ระบุจำเป็นต้องปรับลดคนงาน แต่หากแข็งค่าอยู่ที่ 27-27.90 บาท/เหรียญสหรัฐ มีผู้ประกอบการเพียง 30.2% ที่แบกรับได้ แต่อีก 44.6% ระบุขาดทุนมากขึ้น ส่วนอีก
12% ระบุจะปลดคนงาน และมี 9.8% จำเป็นต้องปิดกิจการ”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบการเสนอแนะในผลสำรวจ ต้องการให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนมาก และแข็งค่าเร็วเกินไป ควรทำให้อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 29-30 บาท/เหรียญสหรัฐ รวมถึงให้ ธปท.ควบคุมปริมาณเงินไม่ให้ไหลเข้ามากเกินไป ซึ่งการควบคุมสามารถทำได้ แต่ไม่จำเป็นว่าเงินที่เข้ามา 100 บาท ต้องกันสำรองไว้ 30 บาท อาจจะลดลงมาต่ำกว่านั้น เช่น 20หรือ 10 บาท ซึ่ง ธปท.ควรดูว่าทำอย่างไรจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุน
จี้ธปท.ลดดอกเบี้ยกดบาทอ่อน
นายภาณุพงศ์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ควรมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากระดับปัจจุบัน 2.75%ต่อปี เพื่อเป็นการทดสอบตลาดในเบื้องต้นก่อน โดยมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ โดยเฉพาะการคาดการณ์ว่าเงินบาทแข็งค่าด้วย ซึ่งเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเปลี่ยนความคิดคนได้ พร้อมกันนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ห่างออกไป ซึ่งรวมอัตราเงินเฟ้อด้วยจะช่วยลดปริมาณเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นได้ระดับหนึ่ง
“นโยบายการเงินเป็นเรื่องที่ยากลำบาก บางที่ทิศทางถูก แต่ขนาดไม่ถูกก็เป็นไปได้อาจจะน้อยไป ช้าไป แรงไป เร่งมากเกินไป ซึ่งก็ย่อมมีผลเสียได้ หรือเดี๋ยวลดเดี๋ยวขึ้นก็มีผลเสียเช่นกัน ฉะนั้น ควรมีการลดอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป และหากเงินบาทแข็งค่ามากๆ เห็นว่าควรมีการประชุมบอร์ดกนง.นัดพิเศษ ซึ่งอาจจะลดดอกเบี้ย 0.25%ไปก่อนกำหนดการประชุมตามปกติ หากสถานการณ์เงินบาทไหลไปมาก เช่น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงเห็นว่าเรื่องนี้ทางบอร์ดกนง.ก็เข้าใจสถานการณ์ที่ดีอยู่แล้ว”
ต่อข้อซักถามที่ว่า หลายประเทศปั๊มเงินออกมาช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง ขณะที่ไทยเงินบาทแข็งค่า ซึ่งช่วยทดแทนได้ระดับหนึ่งนั้น นายภาณุพงศ์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยก็เหมือนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่มีการชะลอตัวจากภาคการส่งออก ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็ควรผสมผสานเครื่องมือดูแลเสถียรภาพการเงินควบคู่ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าเร็วไปเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก และไม่อยากพูดถึงการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ซึ่งมีบทเรียนในอดีตอันเจ็บปวด แม้เงินที่ไหลเข้าอาจเป็นเงินเย็นมากขึ้น เงินร้อนน้อยลง แต่สุดท้ายแล้วไม่ได้ชะลอการไหลเข้าเงินทุนมากนัก จึงไม่คุ้มค่าการกับดำเนินการเช่นนั้น ส่วนประเด็นที่เงินบาทแข็งค่า แต่ราคาน้ำมันไม่ได้ลดลงตามต้นทุนดังกล่าวเห็นว่าเมื่อปล่อยให้เงินบาทขึ้นๆ ลงๆ ทางรัฐก็ไม่ควรแทรกแซงราคา เพื่อให้ประชาชนควรอย่างยิ่งได้รับผลพ่วงที่ดีจากเงินบาทแข็งค่าด้วย
แนะ2ล้านล.ออกบอนด์ขายประชาชน
นายภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในลักษณะนี้ค่อนข้างน้อย ในความเป็นจริงไม่ควรต่ำกว่า 25%ของงบประมาณทั้งหมด แต่ไทยมีสัดส่วนต่ำกว่า 15% อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรบริหารโครงการที่ดีและเคารพกติกาไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเกินระดับวิกฤติ 60% ขณะเดียวกันภาครัฐควรมีการกู้ยืมเงินในประเทศจากการขายพันธบัตรให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะผลประโยชน์และภาระหนี้จะได้รับแก่คนรุ่นหลังพร้อมๆ กัน