xs
xsm
sm
md
lg

“อัมมาร” ผ่าปมร้อน “เม็ดเงินนอก-ดบ.นโยบาย” ก้าวสู่จุดเสี่ยง “แบงก์ชาติ” ห่วงกับดักโครงสร้างการเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“อัมมาร” ชี้ปมเม็ดเงินไหลเข้าปี 1997 และปัจจุบันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เตือนเม็ดเงินร้อนเก็งกำไรกำลังทำประเทศมีความเสี่ยง เพราะตอนนี้กลับส่งเสริมให้เงินไปลงทุนนอก อาจทำให้การบริหารหนี้สาธารณะผิดพลาด และนโยบายสาธารณะผิดเพี้ยนไป แนะรัฐต้องกล้าออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า หวั่นสร้างปัญหาในระยะยาว ด้านแบงก์ชาติยอมรับอัตราดอกเบี้ยใน-ตปท.มีส่วนต่าง 2.5% เป็นต้นเหตุสำคัญ พร้อมแจงปัญหาโครงสร้างการดูแลอัตราดอกเบี้ย และกลไกตลาดในการกำกับธนาคารพาณิชย์

นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนา “ผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้าย และทางเลือกเชิงนโยบาย” โดยระบุว่า เงินทุนที่ไหลเข้ามาประเทศในปี 1997 หรือ 16 ปีก่อนไม่เหมือนกับในขณะนี้ เพราะในขณะนี้ประเทศไทยต้องการเงินทุนเข้ามาลงทุน โดยเป็นความต้องการของไทยเอง แต่เงินทุนไหลเข้าขณะนี้เป็นการหาผลตอบแทนของต่างชาติเอง และเมื่อไหลเข้ามาได้ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยขยับขึ้น ขณะที่นักลงทุนไทยได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นายอัมมารมองว่า หลายฝ่ายกังวลเพียงการปรับขึ้นลงอัตราดอกเบี้ยเท่านั้้น หรือการนำเงินออกไปชำระหนี้ หรือลงทุนทางตรงในต่างประเทศเป็นเพียงออกไปในแถบอาเซียนเท่านั้น จึงมองว่าไม่ถูกประเด็น เพราะจะทำให้การบริหารหนี้สาธารณะ นโยบายสาธารณะผิดเพี้ยนไป เพราะเงินทุนที่กำลังไหลเข้ามาเป็นการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น ทำให้ประเทศกำลังมีความเสี่ยงและจะสร้างปัญหาในระยะยาว ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเงินทุนที่ไหลเข้ามาในช่วงนี้ ด้วยแนวทางต่างๆ เท่าที่สามารถทำได้

นายปิติ ดิษยทัต ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าปัจจัยที่ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ อยู่ในอัตราร้อยละ 0.5 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ทำให้มีส่วนต่างกันถึงร้อยละ 2.5 หากเงินทุนไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรจะได้ผลตอบแทนสูง และหากเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นจะได้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 70.2 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินทุนไหลเข้า จึงผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับสูงขึ้นมาก และค่าเงินบาทแข็งค่าถึงร้อยละ 21.5

สำหรับการใช้นโยบายการเงินของ ธปท.ด้วยการปรับเพิ่ม ลดลงอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายในอนาคตให้กลับมาสู่ปัจจุบันมากขึ้น ดังนั้น ธปท.จะดูให้เหมาะสม โดยไม่ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยสูงหรือต่ำมากจนเกินไป เช่น หากอัตราดอกต่ำจนติดลบ เหมือนกับการเก็บค่าธรรมเนียมเงินฝาก หากเป็นเช่นนั้น ธนาคารพาณิชย์จะไม่มาใช่บริหารกับ ธปท. เพื่อหาระบบอื่นไปใช้กันเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ธนาคารทุกประเทศไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะเป็นธนาคารกลาง แต่ไม่มีใครใช้บริการ จึงต้องดูแลสภาพคล่องของตลาดให้สมดุล
กำลังโหลดความคิดเห็น