ASTVผู้จัดการรายวัน - ต่างชาติแห่ซื้อบีทีเอสโกรท (BTSGIF) 3 หมื่นล้าน ฉุดบาทแข็งค่าหลุด 29 บาทต่อดอลลาร์ ผู้ว่าแบงก์ชาติยอมรับบาทแข็งค่าเร็วเกินไป แต่ยังไม่ใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ห่วงเงินลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาพัฒนาประเทศจะหยุดชะงัก เตือนรัฐบาลกู้เงิน 2 ล้านล้าน ต้องสร้างความคุ้มค่าและโปร่งใส
จากกรณีค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าต่ำกว่า 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.มีความเป็นห่วงต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเร็วเกินไป โดยเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนต่างชาตินำเงินใหม่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งต่างชาติได้รับการจัดสรรครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และบางส่วนนักลงทุนต่างชาติก็มีการขายหุ้นมาซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวแทน ซึ่งเห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นขาลง
นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่มากกว่าธปท.คาดการณ์ไว้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายสินทรัพย์สกุลเงินเยนออกมาลงทุนในสกุลเงินอื่น รวมไปถึงปัจจัยที่มีแรงซื้อเงินดอลลาร์เบาบาง เพราะใกล้ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ แต่มีปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศค่อนข้างมาก จึงส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1.4% และเงินบาทเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่า 4% ในช่วงวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.เทียบกับช่วงเช้าเปิดตลาดเมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
“ปกติธุรกรรมขายเงินดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยอยู่ที่ 200 ล้านเหรียญต่อวัน แต่เมื่อเช้าวันที่ 9 เม.ย.อยู่ที่ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ขณะที่ขาซื้อเบาบางกว่าปกติ เพราะเป็นวันหยุดยาว ซึ่งในความเป็นจริงจังหวะนี้ภาคเอกชนควรมีการซื้อไว้ไปลงทุนต่างประเทศหรือซื้อเครื่องจักร ขณะที่หน่วยงานรัฐก็มีหลายโครงการที่ลงทุนในต่างประเทศหรือเป็นช่วงเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่า ธปท.ไม่จำเป็นที่ธปท.ต้องเข้าไปแทรกแซงด้วยการซื้อเงินดอลลาร์เสมอไป แต่ธปท.จะมีชุดของเครื่องมือเป็นชั้นๆ ไว้ดูแลอยู่แล้ว โดยชุดแรกจะปล่อยให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มียืดหยุ่นปรับตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมาส่วนนี้ทำงานได้เต็มศักยภาพ ชุดที่สองความพยายามรักษาสมดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุน ชุดที่สามการแทรกแซงตลาด ซึ่งธปท.จะทำเฉพาะที่เงินบาทเคลื่อนไหวผิดพื้นฐานเศรษฐกิจ และชุดสุดท้าย คือ การกำกับดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตอนนี้เป็นการดูแลเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
“การใช้มาตรการควบคุมเงินทุนเหมือนในบางประเทศจะต้องคิดให้รอบคอบอย่างประเทศบราซิลที่มีการเก็บภาษีเงินนำเข้าก็สร้างผลข้างเคียง ทำให้เงินลงทุนต่างประเทศหยุดชะงัก ซึ่งก็ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจมากนัก ดังนั้น ตอนนี้เราอยากจะใช้มาตรการที่เป็นธรรมชาติไปก่อน”
สำหรับกรณีที่รัฐบาลจะออกพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทและมีการระดมทุนมองว่าตามแผนของรัฐบาลจะกู้เงินดังกล่าวในกรอบเวลา 7 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ห่างไกลระดับการลงทุนที่อยากเห็นในระบบเศรษฐกิจของธปท. และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสภาพคล่องในระบบ อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินมากเกินไป อีกทั้งหากมีการบริหารจัดการที่ดีก็ไม่กระทบดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ตาม การกลั่นกรองโครงการต่างๆ ต้องดูความคุ้มค่า ซึ่งจะนำผลประโยชน์กลับมาชำระคืนหนี้ได้ ขณะเดียวกันความโปร่งใสช่วยให้การใช้จ่ายเงินไม่ตกหล่น ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง.
จากกรณีค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าต่ำกว่า 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.มีความเป็นห่วงต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเร็วเกินไป โดยเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนต่างชาตินำเงินใหม่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งต่างชาติได้รับการจัดสรรครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และบางส่วนนักลงทุนต่างชาติก็มีการขายหุ้นมาซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวแทน ซึ่งเห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นขาลง
นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่มากกว่าธปท.คาดการณ์ไว้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายสินทรัพย์สกุลเงินเยนออกมาลงทุนในสกุลเงินอื่น รวมไปถึงปัจจัยที่มีแรงซื้อเงินดอลลาร์เบาบาง เพราะใกล้ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ แต่มีปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศค่อนข้างมาก จึงส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1.4% และเงินบาทเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่า 4% ในช่วงวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.เทียบกับช่วงเช้าเปิดตลาดเมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
“ปกติธุรกรรมขายเงินดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยอยู่ที่ 200 ล้านเหรียญต่อวัน แต่เมื่อเช้าวันที่ 9 เม.ย.อยู่ที่ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ขณะที่ขาซื้อเบาบางกว่าปกติ เพราะเป็นวันหยุดยาว ซึ่งในความเป็นจริงจังหวะนี้ภาคเอกชนควรมีการซื้อไว้ไปลงทุนต่างประเทศหรือซื้อเครื่องจักร ขณะที่หน่วยงานรัฐก็มีหลายโครงการที่ลงทุนในต่างประเทศหรือเป็นช่วงเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่า ธปท.ไม่จำเป็นที่ธปท.ต้องเข้าไปแทรกแซงด้วยการซื้อเงินดอลลาร์เสมอไป แต่ธปท.จะมีชุดของเครื่องมือเป็นชั้นๆ ไว้ดูแลอยู่แล้ว โดยชุดแรกจะปล่อยให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มียืดหยุ่นปรับตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมาส่วนนี้ทำงานได้เต็มศักยภาพ ชุดที่สองความพยายามรักษาสมดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุน ชุดที่สามการแทรกแซงตลาด ซึ่งธปท.จะทำเฉพาะที่เงินบาทเคลื่อนไหวผิดพื้นฐานเศรษฐกิจ และชุดสุดท้าย คือ การกำกับดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตอนนี้เป็นการดูแลเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
“การใช้มาตรการควบคุมเงินทุนเหมือนในบางประเทศจะต้องคิดให้รอบคอบอย่างประเทศบราซิลที่มีการเก็บภาษีเงินนำเข้าก็สร้างผลข้างเคียง ทำให้เงินลงทุนต่างประเทศหยุดชะงัก ซึ่งก็ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจมากนัก ดังนั้น ตอนนี้เราอยากจะใช้มาตรการที่เป็นธรรมชาติไปก่อน”
สำหรับกรณีที่รัฐบาลจะออกพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทและมีการระดมทุนมองว่าตามแผนของรัฐบาลจะกู้เงินดังกล่าวในกรอบเวลา 7 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ห่างไกลระดับการลงทุนที่อยากเห็นในระบบเศรษฐกิจของธปท. และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสภาพคล่องในระบบ อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินมากเกินไป อีกทั้งหากมีการบริหารจัดการที่ดีก็ไม่กระทบดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ตาม การกลั่นกรองโครงการต่างๆ ต้องดูความคุ้มค่า ซึ่งจะนำผลประโยชน์กลับมาชำระคืนหนี้ได้ ขณะเดียวกันความโปร่งใสช่วยให้การใช้จ่ายเงินไม่ตกหล่น ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง.