นิยายอมตะที่มีผู้นำมาสร้างเป็นละครและภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนก็คือเรื่อง “คู่กรรม” ซึ่งจัดว่าเป็นโศกนาฏกรรมเพราะพระเอกตายตอนจบ และนางเอกก็ได้รู้ซึ้งถึงใจตนเองว่า เธอก็รักเขาเหมือนกัน
เสน่ห์ของเรื่องอยู่ที่การฉายความรู้สึกที่ขัดแย้งกันของอังศุมาลิน ตัวเอกของเรื่องที่มีคนรักอยู่แล้ว แต่ก็มาพบกับโกโบริคนต่างชาติที่เป็นชนชาติศัตรูของไทย ความดีและความอดทนของโกโบริ ทำให้อังศุมาลินยิ่งว้าวุ่นใจขึ้นไปอีก
ทมยันตีเป็นนักเขียนที่มีสำนวนโวหารที่ลึกซึ้งกินใจ และเข้าใจผูกเรื่อง คำพูดของตัวละครเอกจึงเป็นสิ่งที่สามารถสะกดใจผู้ดูได้ดี
คู่กรรมเป็นละครมาหลายครั้ง แต่ครั้งหลังนี้ ถกลเกียรติ วีวรรณ เป็นผู้อำนวยการสร้าง จึงมีความพิถีพิถันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องภาษาญี่ปุ่นที่ต้องมีคนญี่ปุ่นมาแนะนำโดยตรงในเรื่องนี้ ถกลเกียรติให้น้ำหนักเสรีไทยมากกว่าผู้สร้างคนอื่นๆ มีการกล่าวถึง “เข้ม” หรือดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้วย ทำให้ละครเรื่องนี้มีเสน่ห์มากขึ้นในสายตาของศิษย์อาจารย์ป๋วย
เนื่องจากละครเรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้สึก และอารมณ์ผู้แสดงจึงต้องอาศัยการแสดงออกทางสายตา ซึ่งผู้แสดงเป็นอังศุมาลินคือ หนึ่งธิดา โสภณ สามารถแสดงได้ดีมาก สายตาของเธอแสดงออกซึ่งความรู้สึกได้ดียิ่ง
ทำไมละครเรื่องนี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน อย่างแรกก็คือ การเผชิญหน้าระหว่างคนรักต่างเชื้อชาติ โดยเฉพาะชาติที่เป็นศัตรูผู้รุกราน แต่ทมยันตีก็ทำให้โกโบริเป็นตัวแทนของคนญี่ปุ่นที่เสียสละเพื่อชาติ และพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นคนที่มีความรักอันยิ่งใหญ่ สำหรับอังศุมาลินแล้วก็มีคนรักอยู่ก่อน และมาพบกับโกโบริอีก ทำให้เกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่
ฉากของเรื่องทำได้ดี บ้านริมคลองบางกอกน้อย ที่สมัยก่อนคนยังอาบน้ำท่าอยู่ และความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยสงครามทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนยุคนั้น รวมทั้งผมซึ่งก็เกิดสมัยสงครามด้วย เมื่อเทียบกับละครบางเรื่องแล้ว คู่กรรมสร้างได้ดีกว่ามาก บางเรื่องเช่น “บ่วงบาป” ไม่ค่อยสมจริงเท่าไร ตรงที่เนื้อเรื่องเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 ยังมีทาสอยู่ และต่อมาอีก 15 ปี เข้าใจว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 สภาพบ้านเรือนก็เปลี่ยนไปมาก
พูดถึงละครแล้ว บางเรื่องก็ทำให้เรื่องเดิมเขาเสียไปหมด ตัวอย่างที่ดีก็คือเรื่อง “แววมยุรา” ซึ่งมีการแต่งเติมเสริมเรื่องจนเลอะเทอะ และมีการเสนอภาพของ “แวว มยุรา” ต่างไปจากบุคลิกภาพในเรื่องของพนมเทียน ผมว่ามีส่วนทำให้ผู้แสดงเป็น แวว มยุรา เสียรังวัดไปแยะ
สังเกตว่าละครทีวีมักมีเรื่องที่เป็นแนวเดียวกัน มีตัวร้าย มีแม่ผัว มีคนใช้ เปิดดูช่องไหนก็เป็นทำนองนี้หมด จะหาละครดีๆ ดูยาก อย่างคู่กรรมเป็นกรณียกเว้น เพราะบทละครไม่ได้มีการแก้ไขไปจากเดิม ยังคงรักษาอรรถรสไว้ได้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชมเชย
ส่วนละครที่โฆษณาฟอร์มใหญ่อย่าง “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ” ดูแล้วก็ผิดหวัง เพราะไม่มีอะไรพิเศษไปจากเรื่องอื่นๆ แม้ว่าละครเรื่องนี้ยังไม่จบ แต่ท่อนแรกก็น่าเบื่อ โดยเฉพาะฉากหลงป่า จะมีดีก็ตรงที่นายอะไรฝันว่ากินซาลาเปาแล้วเอามือไปจับนมสาว เป็นเรื่องที่ขบขันมาก
เท่าที่เล่ามานี้ แสดงว่าผมก็ดูละครกับเขาเหมือนกัน อยู่ว่างๆ นอกจากหนังและกีฬากอล์ฟแล้ว ก็มีละครนี่แหละดูแล้วก็เพลินดี ผมใช้วิธีดูหลายๆ เรื่อง เวลามีโฆษณาผมก็เปลี่ยนไปดูช่องอื่น เรียกว่า ดูละครทีละ 3-4 เรื่อง บางทีก็งงไปหมด
เวลานี้เรามีทางเลือกแยะ ทีวีมีเป็นร้อยช่อง ช่องที่มีเรื่องสัตว์ เรื่องหมาก็เป็นรายการที่ดี สารคดีต่างๆ ที่ยังดีมีอยู่แยะโดยเฉพาะช่อง History บางทีที่มีเพลงบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราเพราะๆ เช่นกัน
สำหรับคนที่ตาเริ่มอ่านหนังสือยากขึ้นทุกวันอย่างผม ทำให้ต้องพึ่งทีวีมากขึ้น สมัยผมหนุ่มๆ เกือบจะไม่ได้ดูทีวีเลยอ่านแต่หนังสือ เมื่อเกษียณอายุ 60 แล้วจึงเริ่มมาดูทีวี แต่ก็ใช้วิธีดูแบบเลือกสรรเหมือนกัน ยังดีที่มีหลายช่องไม่เหมือนกับสมัยผมยังเด็ก ซึ่งมีแต่ช่อง 9 เท่านั้น
ขอขอบคุณคนทำละครดีๆ มาให้เราดู และขอบคุณนักแสดงดีๆ ที่ทำความบันเทิงให้เรา
เสน่ห์ของเรื่องอยู่ที่การฉายความรู้สึกที่ขัดแย้งกันของอังศุมาลิน ตัวเอกของเรื่องที่มีคนรักอยู่แล้ว แต่ก็มาพบกับโกโบริคนต่างชาติที่เป็นชนชาติศัตรูของไทย ความดีและความอดทนของโกโบริ ทำให้อังศุมาลินยิ่งว้าวุ่นใจขึ้นไปอีก
ทมยันตีเป็นนักเขียนที่มีสำนวนโวหารที่ลึกซึ้งกินใจ และเข้าใจผูกเรื่อง คำพูดของตัวละครเอกจึงเป็นสิ่งที่สามารถสะกดใจผู้ดูได้ดี
คู่กรรมเป็นละครมาหลายครั้ง แต่ครั้งหลังนี้ ถกลเกียรติ วีวรรณ เป็นผู้อำนวยการสร้าง จึงมีความพิถีพิถันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องภาษาญี่ปุ่นที่ต้องมีคนญี่ปุ่นมาแนะนำโดยตรงในเรื่องนี้ ถกลเกียรติให้น้ำหนักเสรีไทยมากกว่าผู้สร้างคนอื่นๆ มีการกล่าวถึง “เข้ม” หรือดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้วย ทำให้ละครเรื่องนี้มีเสน่ห์มากขึ้นในสายตาของศิษย์อาจารย์ป๋วย
เนื่องจากละครเรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้สึก และอารมณ์ผู้แสดงจึงต้องอาศัยการแสดงออกทางสายตา ซึ่งผู้แสดงเป็นอังศุมาลินคือ หนึ่งธิดา โสภณ สามารถแสดงได้ดีมาก สายตาของเธอแสดงออกซึ่งความรู้สึกได้ดียิ่ง
ทำไมละครเรื่องนี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน อย่างแรกก็คือ การเผชิญหน้าระหว่างคนรักต่างเชื้อชาติ โดยเฉพาะชาติที่เป็นศัตรูผู้รุกราน แต่ทมยันตีก็ทำให้โกโบริเป็นตัวแทนของคนญี่ปุ่นที่เสียสละเพื่อชาติ และพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นคนที่มีความรักอันยิ่งใหญ่ สำหรับอังศุมาลินแล้วก็มีคนรักอยู่ก่อน และมาพบกับโกโบริอีก ทำให้เกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่
ฉากของเรื่องทำได้ดี บ้านริมคลองบางกอกน้อย ที่สมัยก่อนคนยังอาบน้ำท่าอยู่ และความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยสงครามทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนยุคนั้น รวมทั้งผมซึ่งก็เกิดสมัยสงครามด้วย เมื่อเทียบกับละครบางเรื่องแล้ว คู่กรรมสร้างได้ดีกว่ามาก บางเรื่องเช่น “บ่วงบาป” ไม่ค่อยสมจริงเท่าไร ตรงที่เนื้อเรื่องเกิดสมัยรัชกาลที่ 5 ยังมีทาสอยู่ และต่อมาอีก 15 ปี เข้าใจว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 สภาพบ้านเรือนก็เปลี่ยนไปมาก
พูดถึงละครแล้ว บางเรื่องก็ทำให้เรื่องเดิมเขาเสียไปหมด ตัวอย่างที่ดีก็คือเรื่อง “แววมยุรา” ซึ่งมีการแต่งเติมเสริมเรื่องจนเลอะเทอะ และมีการเสนอภาพของ “แวว มยุรา” ต่างไปจากบุคลิกภาพในเรื่องของพนมเทียน ผมว่ามีส่วนทำให้ผู้แสดงเป็น แวว มยุรา เสียรังวัดไปแยะ
สังเกตว่าละครทีวีมักมีเรื่องที่เป็นแนวเดียวกัน มีตัวร้าย มีแม่ผัว มีคนใช้ เปิดดูช่องไหนก็เป็นทำนองนี้หมด จะหาละครดีๆ ดูยาก อย่างคู่กรรมเป็นกรณียกเว้น เพราะบทละครไม่ได้มีการแก้ไขไปจากเดิม ยังคงรักษาอรรถรสไว้ได้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชมเชย
ส่วนละครที่โฆษณาฟอร์มใหญ่อย่าง “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ” ดูแล้วก็ผิดหวัง เพราะไม่มีอะไรพิเศษไปจากเรื่องอื่นๆ แม้ว่าละครเรื่องนี้ยังไม่จบ แต่ท่อนแรกก็น่าเบื่อ โดยเฉพาะฉากหลงป่า จะมีดีก็ตรงที่นายอะไรฝันว่ากินซาลาเปาแล้วเอามือไปจับนมสาว เป็นเรื่องที่ขบขันมาก
เท่าที่เล่ามานี้ แสดงว่าผมก็ดูละครกับเขาเหมือนกัน อยู่ว่างๆ นอกจากหนังและกีฬากอล์ฟแล้ว ก็มีละครนี่แหละดูแล้วก็เพลินดี ผมใช้วิธีดูหลายๆ เรื่อง เวลามีโฆษณาผมก็เปลี่ยนไปดูช่องอื่น เรียกว่า ดูละครทีละ 3-4 เรื่อง บางทีก็งงไปหมด
เวลานี้เรามีทางเลือกแยะ ทีวีมีเป็นร้อยช่อง ช่องที่มีเรื่องสัตว์ เรื่องหมาก็เป็นรายการที่ดี สารคดีต่างๆ ที่ยังดีมีอยู่แยะโดยเฉพาะช่อง History บางทีที่มีเพลงบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราเพราะๆ เช่นกัน
สำหรับคนที่ตาเริ่มอ่านหนังสือยากขึ้นทุกวันอย่างผม ทำให้ต้องพึ่งทีวีมากขึ้น สมัยผมหนุ่มๆ เกือบจะไม่ได้ดูทีวีเลยอ่านแต่หนังสือ เมื่อเกษียณอายุ 60 แล้วจึงเริ่มมาดูทีวี แต่ก็ใช้วิธีดูแบบเลือกสรรเหมือนกัน ยังดีที่มีหลายช่องไม่เหมือนกับสมัยผมยังเด็ก ซึ่งมีแต่ช่อง 9 เท่านั้น
ขอขอบคุณคนทำละครดีๆ มาให้เราดู และขอบคุณนักแสดงดีๆ ที่ทำความบันเทิงให้เรา