เผลอไปเดี๋ยวเดียวปีนี้เป็นปีที่ 39 แล้วของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เมื่อย้อนกลับไปนึกถึงวันนั้นแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการไหลเลื่อนหรือจุดสุดยอดของการสั่งสมความรู้สึกใหม่ทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากการครองอำนาจของขุนทหารนานหลายทศวรรษ
ภายหลังการเริ่มพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ก่อนมีอยู่ 4-5 แห่ง และไม่มีมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดเลย ขอนแก่นเป็นแห่งแรกที่รัฐบาลเปิดมหาวิทยาลัยขึ้น ประเทศนิวซีแลนด์ให้ทุนสร้างตึกคณะเกษตร จำนวนนิสิต นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นหลายหมื่นคน
สิ่งที่กระตุ้นความคิดของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นก็คือ บทบาทของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเรียนอังกฤษผู้ซึ่งเลือกทางเดินอิสระไม่รับราชการ แต่มาทำหนังสือ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” เป็นหนังสือทำนอง Encounter ของอังกฤษ บทความที่ลงพิมพ์ล้วนเป็นข้อเขียนที่มีคุณภาพ และมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและตรงไปตรงมา กล่าวได้ว่าปัญญาชนคนหนุ่มสาวยุคนั้น ไม่มีใครไม่อ่านสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ลักษณะเด่นของสังคมศาสตร์ปริทัศน์ก็คือ อ่านแล้วใจมันร้อนเร่าเพราะแรงอิทธิพลของความคิดเห็นที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนี้เอง
ในขณะที่เด็กหนุ่มเด็กสาวเริ่มมีความคิด มีอุดมคติ แต่การเมืองก็ยังไม่มีการพัฒนา ยังคงมีการรักษาอำนาจของคณะทหารไว้ผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2511 ซึ่งมีการจำกัดอำนาจของพรรคการเมือง ดังนั้น ความคุกรุ่นของสถานการณ์ก็แหลมคมขึ้นเป็นลำดับ
หลัง พ.ศ. 2500 มีนักเรียนจบการศึกษาจากต่างประเทศมากมาย หลายคนเข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และเริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นักเรียนไทยในต่างประเทศเริ่มจับกลุ่มคุยกัน ที่สำคัญก็คือการจัดการประชุมทางวิชาการของนักเรียนไทยที่นครชิคาโก มีปราโมทย์ นาครทรรพ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และมีการเชิญ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไปบรรยายด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนกลับมามีบทบาทสำคัญในเวลาต่อมา
ในกลุ่มผู้มีอำนาจเริ่มเกิดความแตกแยกกัน เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม ผู้สืบทอดอำนาจเป็นคนนุ่มนวล และไม่ใช่นายทหารที่เคยคุมกำลังมาก่อน ลูกน้องน้อย อำนาจอยู่ในมือจอมพลประภาส ซึ่งค้ำบัลลังก์อยู่เพราะลูกสาวแต่งงานกับลูกชายจอมพลถนอม บรรดาผู้นำทหารเวลานั้นก็แตกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเสธ.ทวี เป็นต้น ถึงกับเคยมีข่าวว่า เสธ.ทวีคิดจะทำรัฐประหาร พล.ต.ต.สง่า กิตติขจร น้องชายจอมพลถนอม เคยเตือนพี่ชาย และเคยทำเอกสารวิเคราะห์พฤติกรรม และท่าทีของจอมพลประภาส พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เสธ.ทวี จุลละทรัพย์ และพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา แต่ด้วยความซื่อของจอมพลถนอมกลับนำเอกสารนี้ไปแจกจ่ายให้บุคคลเหล่านี้อ่าน
เพราะผู้นำแตกแยกกัน นักเคลื่อนไหวอย่าง ไขแสง สุกใส จึงไปตีสนิทกับพล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ และที่สำนักงานของไขแสงนี้เองที่เป็นแหล่งชุมนุมของผู้นำนักศึกษาอย่าง ธีรยุทธ บุญมี เป็นต้น
ในระยะเวลาเดียวกัน พรรคคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นก็ยังเป็นการปฏิบัติการนอกกรุงเทพฯ ในกรุงเทพฯ มีสมาชิกที่ทำการชักจูงผู้นำนักศึกษา แต่ทำอย่างเงียบๆ ไม่มีคนรู้มากนัก ผู้นำที่มีความสัมพันธ์กับพรรคก็เรียบร้อยไม่โฉ่งฉ่าง จึงไม่เป็นที่สงสัยของใคร
แต่เหตุการณ์ 14 ตุลา ก็ไม่ได้เกิดจากการยุยงของพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ มากกว่า และผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ จอมพลถนอม และจอมพลประภาส เพราะมีหน้าที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โดยตรง เป็นที่น่าสังเกตว่า 14 ตุลา 2516 เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพลเอกกฤษณ์ สีวะรา ขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ. และเมื่อมีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พลเอกกฤษณ์นี้เองที่ดำเนินการยึดอำนาจอย่างเงียบๆ โดยไม่ปราบปรามนักศึกษา หากส่งคนไปประสานงานกับศูนย์กลางนิสิต นักศึกษา
ไม่น่าเชื่อว่านักศึกษาสมัยนี้จะหมดไปไม่เหมือนกับนักศึกษายุคก่อน และเด็กสมัยนี้ก็ไม่รู้เรื่องเหตุการณ์ 14 ตุลาแล้ว เหมือนกับเด็กอเมริกันรุ่นใหม่ที่ไม่รู้จักสงครามเวียดนาม
14 ตุลา สร้างผู้นำนักศึกษาที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองไทยมาเป็นเวลานานหลายคน ที่ไปเป็นอาจารย์ก็มีมาก คนที่ควรเอ่ยถึงก็คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นนักต่อสู้อิสระที่ต่อมาก็แตกออกมาจากพรรคเพราะความขัดแย้งกัน เสกสรรค์ พบว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยตกอยู่ภายใต้การบงการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และบรรดาผู้นำระดับสูงก็มีเชื้อสายจีนทั้งสิ้น
ผมเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยจัดการพบปะระหว่างนักวิชาการ และนิสิต นักศึกษาที่บ้านสะพานควาย และหนีไปสิงคโปร์จนกลับมาในวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลา เมื่อเกิดเรื่องพอดี เหล่านี้ล้วนเป็นความทรงจำซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก
ผมขอรำลึกวีรกรรมของทุกๆ คนที่สละชีวิตในวันนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย
ภายหลังการเริ่มพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ก่อนมีอยู่ 4-5 แห่ง และไม่มีมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดเลย ขอนแก่นเป็นแห่งแรกที่รัฐบาลเปิดมหาวิทยาลัยขึ้น ประเทศนิวซีแลนด์ให้ทุนสร้างตึกคณะเกษตร จำนวนนิสิต นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นหลายหมื่นคน
สิ่งที่กระตุ้นความคิดของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นก็คือ บทบาทของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเรียนอังกฤษผู้ซึ่งเลือกทางเดินอิสระไม่รับราชการ แต่มาทำหนังสือ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” เป็นหนังสือทำนอง Encounter ของอังกฤษ บทความที่ลงพิมพ์ล้วนเป็นข้อเขียนที่มีคุณภาพ และมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและตรงไปตรงมา กล่าวได้ว่าปัญญาชนคนหนุ่มสาวยุคนั้น ไม่มีใครไม่อ่านสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ลักษณะเด่นของสังคมศาสตร์ปริทัศน์ก็คือ อ่านแล้วใจมันร้อนเร่าเพราะแรงอิทธิพลของความคิดเห็นที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนี้เอง
ในขณะที่เด็กหนุ่มเด็กสาวเริ่มมีความคิด มีอุดมคติ แต่การเมืองก็ยังไม่มีการพัฒนา ยังคงมีการรักษาอำนาจของคณะทหารไว้ผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2511 ซึ่งมีการจำกัดอำนาจของพรรคการเมือง ดังนั้น ความคุกรุ่นของสถานการณ์ก็แหลมคมขึ้นเป็นลำดับ
หลัง พ.ศ. 2500 มีนักเรียนจบการศึกษาจากต่างประเทศมากมาย หลายคนเข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และเริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นักเรียนไทยในต่างประเทศเริ่มจับกลุ่มคุยกัน ที่สำคัญก็คือการจัดการประชุมทางวิชาการของนักเรียนไทยที่นครชิคาโก มีปราโมทย์ นาครทรรพ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และมีการเชิญ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไปบรรยายด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนกลับมามีบทบาทสำคัญในเวลาต่อมา
ในกลุ่มผู้มีอำนาจเริ่มเกิดความแตกแยกกัน เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม ผู้สืบทอดอำนาจเป็นคนนุ่มนวล และไม่ใช่นายทหารที่เคยคุมกำลังมาก่อน ลูกน้องน้อย อำนาจอยู่ในมือจอมพลประภาส ซึ่งค้ำบัลลังก์อยู่เพราะลูกสาวแต่งงานกับลูกชายจอมพลถนอม บรรดาผู้นำทหารเวลานั้นก็แตกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเสธ.ทวี เป็นต้น ถึงกับเคยมีข่าวว่า เสธ.ทวีคิดจะทำรัฐประหาร พล.ต.ต.สง่า กิตติขจร น้องชายจอมพลถนอม เคยเตือนพี่ชาย และเคยทำเอกสารวิเคราะห์พฤติกรรม และท่าทีของจอมพลประภาส พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เสธ.ทวี จุลละทรัพย์ และพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา แต่ด้วยความซื่อของจอมพลถนอมกลับนำเอกสารนี้ไปแจกจ่ายให้บุคคลเหล่านี้อ่าน
เพราะผู้นำแตกแยกกัน นักเคลื่อนไหวอย่าง ไขแสง สุกใส จึงไปตีสนิทกับพล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ และที่สำนักงานของไขแสงนี้เองที่เป็นแหล่งชุมนุมของผู้นำนักศึกษาอย่าง ธีรยุทธ บุญมี เป็นต้น
ในระยะเวลาเดียวกัน พรรคคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นก็ยังเป็นการปฏิบัติการนอกกรุงเทพฯ ในกรุงเทพฯ มีสมาชิกที่ทำการชักจูงผู้นำนักศึกษา แต่ทำอย่างเงียบๆ ไม่มีคนรู้มากนัก ผู้นำที่มีความสัมพันธ์กับพรรคก็เรียบร้อยไม่โฉ่งฉ่าง จึงไม่เป็นที่สงสัยของใคร
แต่เหตุการณ์ 14 ตุลา ก็ไม่ได้เกิดจากการยุยงของพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ มากกว่า และผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ จอมพลถนอม และจอมพลประภาส เพราะมีหน้าที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โดยตรง เป็นที่น่าสังเกตว่า 14 ตุลา 2516 เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพลเอกกฤษณ์ สีวะรา ขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ. และเมื่อมีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พลเอกกฤษณ์นี้เองที่ดำเนินการยึดอำนาจอย่างเงียบๆ โดยไม่ปราบปรามนักศึกษา หากส่งคนไปประสานงานกับศูนย์กลางนิสิต นักศึกษา
ไม่น่าเชื่อว่านักศึกษาสมัยนี้จะหมดไปไม่เหมือนกับนักศึกษายุคก่อน และเด็กสมัยนี้ก็ไม่รู้เรื่องเหตุการณ์ 14 ตุลาแล้ว เหมือนกับเด็กอเมริกันรุ่นใหม่ที่ไม่รู้จักสงครามเวียดนาม
14 ตุลา สร้างผู้นำนักศึกษาที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองไทยมาเป็นเวลานานหลายคน ที่ไปเป็นอาจารย์ก็มีมาก คนที่ควรเอ่ยถึงก็คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นนักต่อสู้อิสระที่ต่อมาก็แตกออกมาจากพรรคเพราะความขัดแย้งกัน เสกสรรค์ พบว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยตกอยู่ภายใต้การบงการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และบรรดาผู้นำระดับสูงก็มีเชื้อสายจีนทั้งสิ้น
ผมเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยจัดการพบปะระหว่างนักวิชาการ และนิสิต นักศึกษาที่บ้านสะพานควาย และหนีไปสิงคโปร์จนกลับมาในวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลา เมื่อเกิดเรื่องพอดี เหล่านี้ล้วนเป็นความทรงจำซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก
ผมขอรำลึกวีรกรรมของทุกๆ คนที่สละชีวิตในวันนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย