เมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณากำหนดวันแปรญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 10.30 น. โดยนายสมศักดิ์ แจ้งต่อที่ประชุมว่า นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ได้เสนอเพิ่มวันแปรญัตติเป็น 30 วัน ขณะที่นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอวันแปรญัตติเป็น 60 วัน ดังนั้นตนขอดำเนินการลงมติในญัตติดังกล่าวต่อ โดยไม่อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาหารือใดๆ ต่อที่ประชุมอีกแล้ว
แต่นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้สิทธิ์ประท้วงว่านายสมศักดิ์ ได้ทำผิดข้อบังคับและผิดรัฐธรมนูญ เนื่องจากการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และตามรายงานการประชุมวันดังกล่าว ได้ระบุชัดเจน ดังนั้นการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาวันนี้จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก และหากจะมีการประชุม ถือเป็นการนัดประชุมเถื่อน
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายชี้แจงว่า ในการพิจารณาเมื่อวันที่ 3 เม.ย.นั้น เมื่อองค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับญัตตินั้นได้ตกไป และในชั้นของการตรวจสอบองค์ประชุม ผู้เสนอญัตติไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แสดงว่าไม่ต้องการให้ญัตติดังกล่าวผ่าน เมื่อไม่มีการลงมติ ก็ต้องอนุโลมว่าระยะเวลาแปรญัตติต้องเป็นไปตามข้อบังคับ คือ 15 วัน แต่การเรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อสงสัยที่ว่า เมื่อองค์ประชุมไม่ครบญัตติที่เสนอจะตกไปหรือไม่ โดยให้ที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบ
ด้านนายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้ตนเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติในญัตติดังกล่าวอีกครั้ง ถ้าไม่เปิดประชุมจะยื่นถอดถอน เพราะตนได้ดำเนินการผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการเรียกประชุมครั้งนี้ เป็นไปตามคำเรียกร้อง แต่เมื่อเปิดประชุม กลับมาประท้วงตนว่าทำผิดรัฐธรรมนูญอีก ไม่ทราบว่าจะยืนถอดถอนอีกหรือไม่ ดังนั้นตนขอวินิจฉัยตามข้อบังคับคือ ในวันที่ 3 เม.ย. มีสมาชิกรัฐสภาขอเพิ่มระยะวันแปรญัตติเป็น 60 วัน ตามขั้นตอนต้องตรวจสอบองค์ประชุม เมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแต่องค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับว่าเวลาแปรญัตติจะเป็น 15 วัน ตามข้อบังคับ ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นตนก็ดำเนินการปิดประชุม ถือว่าดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ยืนยันว่าไม่เคยพูดว่าจะไม่เรียกประชุมอีก พูดแค่ว่าอะไรยอมได้ ก็ยอมกัน โดยในความเห็นส่วนตัวเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ เมื่อมีญัตติค้าง จึงเรียกประชุมเพื่อขอมติ ให้จบกระบวนการ
จากนั้น นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงนายสมศักดิ์ โดยระบุว่าเมื่อมีญัตติที่คาอยู่ในที่ประชุม ก็ต้องมีการนัดประชุมต่อเพื่อลงมติในวันถัดไป แต่นายสมศักดิ์ สรุปว่าองค์ประชุมไม่ครบ และให้วันแปรญัตติเป็นไปตามข้อบังคับ จึงถือว่าไม่ชอบ ซึ่งการประชุมรัฐสภาไม่ใช่การประชุมบริษัท
ทำให้นายสมศักดิ์ ที่ได้ชี้แจงโต้แย้งอยู่เป็นระยะๆ กล่าวขึ้นว่า หากให้ตนวินิจฉัยในสิ่งที่ตนวินิจฉัยไปแล้ว ตนจะไม่อนุญาตให้ประท้วงอีก ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โห่กลางสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ในการประชุมวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้เกิดปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ ดังนั้นการประชุมต้องสิ้นสุดลงและประธานจะต้องนัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดวันแปรญัตติใหม่อีกครั้ง แต่ประธานกลับตัดบทให้มีการแปรญัติภายใน 15 วัน ซึ่งเรื่องนี้ก็มีหลายคนทักท้วง ตนจึงมาให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชนว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จึงควรเรียกประชุมใหม่
ส่วนที่ถามว่า ประชาธิปัตย์ทักท้วงว่า เรียกประชุมทำไมนั้น ก็เกิดมาจากที่พวกตนได้ไปเช็กชวเลข ที่ได้มีการบันทึกการประชุม โดยในชวเลขได้บันทึกแล้วว่า ให้กำหนดวันแปรญัติภายใน 15 วัน ดังนั้นในวันนี้ถ้าจะให้ลงมติ ก็ต้องยอมรับก่อนว่า ในวันนั้นองค์ประชุมไม่ครบก่อน จึงต้องมาขอลงมติในวันนี้
เช่นเดียวกับ นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เห็นว่า วันนั้นประธานชี้ขาดว่าจบไปแล้ว ดังนั้นวันนี้หากจะมีการลงมติ ประธานต้องยอมรับก่อนว่า ที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องมีการลงมติใหม่ สอดคล้องกับ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้ประท้วงการหน้าที่ประธาน โดยเห็นด้วยตามที่นายชวนได้ระบุไปก่อนหน้านี้ การดำเนินการประชุมจึงเป็นไปอย่างถูกต้อง และจะต้องมีการกำหนดวันแปรญัติให้ชัดว่า 15 วันนั้นจะนับตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งถ้านับตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.นั้น ตนเห็นว่า ไม่ถูกต้อง เท่ากับว่า นายสมศักดิ์ เดินไปสู่กับดักตัวเอง ดังนั้นจึงต้องนับตั้งแต่วันนี้
ขณะที่นายสมศักดิ์ ยังคงยืนยันว่า ได้ทำหน้าที่ตามข้อบังคับแล้ว และตัดบทขอมติจากที่ประชุมทันที ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนเดินออกจากห้องประชุม ขณะที่ นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เดินไปหน้าบัลลังก์ พร้อมชูกระดาษที่เขียนคำว่า “เผด็จการ” เพื่อเป็นการประท้วงนายสมศักดิ์ ด้วย
ในที่สุด ที่ประชุมมีมติกำหนดวันแปรญัตติ 15 วัน ด้วยคะแนน 356 ต่อ 19 เสียง งดออกเสียง 33 ไม่ลงคะแนน 5 จากนั้นนายสมศักดิ์ ประกาศว่า ให้เริ่มนับวันแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. ดังนั้น จะสิ้นสุดการส่งคำแปรญัตติ ในวันที่ 19 เม.ย.นี้ และสั่งปิดประชุมทันที
**ปชป.ยื่นแปรญัตติแก้รธน.กว่า100คน
แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า การที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้สมาชิกยื่นคำแปรญัตติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันนี้ (19 เม.ย.) นั้น ในส่วนพรรค ประชาธิปัตย์ ไม่มีปัญหาว่าจะยื่นไม่ทัน เพราะผู้ที่จะยื่นแปรญัตติ ซึ่งมีทั้งหมด 100 กว่าคน ได้เตรียมทำคำแปรญัตติไว้แล้ว และส่วนใหญ่ก็ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ประจำคณะกรรมาธิการชุดต่างๆไปแล้ว ซึ่งส.ส.ของพรรค จะยื่นแปรญัตติในทุกมาตราของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ
** "ปู"หนีกระทู้ถามสดตามเคย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ ซึ่งจะมีการพิจารณากระทู้ถามสด แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้อยู่ร่วมประชุมด้วย โดยมีกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านที่ถามนายกรัฐมนตรี 3 เรื่อง ประกอบด้วย ผลการตรวจสอบการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และปัญหาโครงการรับจำนำข้าว ถามโดยน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ มอบหมายให้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ มาตอบแทน
กระทู้ถามสด เรื่องความตั้งใจของรัฐบาลในการเสนอตัวประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมโลก World Expo 2020 ถามนายกรัฐมนตรีโดย ผศ.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามเรื่องการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ถามนายกรัฐมนตรีโดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
** อัด"ค้อนปลอม"รับใบสั่ง
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าว ตำหนิพฤติกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมรัฐสภา ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ว่าจงใจกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จากการสรุปให้แปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ 15 วัน ทั้งๆ ที่นายอรรถพร พลบุตร ส.ส. เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน แต่องค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ต้องปิดประชุมโดยไม่มีการลงมติ จึงถือว่าญัตติดังกล่าวยังค้างการพิจารณาอยู่ ดังนั้นประธานในที่ประชุมจะทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากปิดประชุม และเรียกประชุมใหม่เพื่อให้ลงมติในญัตติที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จก่อน แต่นายสมศักดิ์ กลับสรุปให้การแปรญัตติมีกำหนด 15 วัน และนัดให้มีการประชุมกรรมาธิการฯ ในวันรุ่งขึ้นทันที
"พฤติกรรมของประธาน ถือว่าจงใจที่จะทำผิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีใบสั่งมา ทำให้พยายามเร่งรัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้จบโดยเร็ว ทั้งที่กระบวนการพิจารณายังมีปัญหา ตั้งแต่มีการปิดอภิปรายโดยไม่มีการลงมติ จากนั้นมีการตั้งกรรมาธิการฯ ซึ่งต้องถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะการปิดอภิปรายมิชอบ และเมื่อนายอรรถพร เสนอแปรญัตติ 60 วัน แต่องค์ประชุมไม่ครบ ประธาน ก็ยังสรุปอีกว่า ให้แปรญัตติภายใน 15 วัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจประธานที่จะดำเนินการได้ และขัดรัฐธรรมนูญกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา อย่างชัดเจน ดีไม่ดีอาจติดคุกด้วย ซึ่งผมจะยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เพื่อถอดถอน และดำเนินคดีอาญากับ นายสมศักดิ์ ในสัปดาห์หน้า และจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายล้มล้างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 เนื่องจากมีการล้มล้างอำนาจประชาชน" นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น พบว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หลังจากมีการพิจารณาครบสามวาระแล้ว
**แก้รธน.50 เท่ากับประหารปชต.
รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "พิชาย ณ ภูเก็ต" มีใจความว่า
"รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คือสัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้ของนักการเมืองเผด็จการทุนสามานย์"
วาทกรรมและเรื่องเล่าเชิงนิยาย ที่บรรดาเหล่านักการเมืองทุนสามานย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นมายาคติ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คือ การโจมตีว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นผลพวงจากอำนาจรัฐประหาร จึงขาดความเป็นประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงคือ รัฐธรรมนูญ 50 เกิดจากอำนาจประชาชน โดยการลงประชามติทั่วประเทศ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของประเทศไทยที่มีฐานจากอำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน รัฐธรรมนูญ 50 จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้ของนักการเมืองเผด็จการทุนสามานย์ ทั้งยังเป็นขวากหนามคอยขวางกั้น มิให้เหล่านักการเมืองกระทำการตามอำเภอใจ และลุแก่อำนาจได้โดยง่าย เหล่านักการเมืองทุนสามานย์ จึงใช้เล่ห์เพทุบายครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อแก้ไขและประหารรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อยึดอำนาจกลับคืนมาให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า ประชาชนมีสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้ และสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการกระทำการของบุคคล และพรรคการเมืองใดที่เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แต่ทว่านักการเมืองสามานย์ทั้งหลายกลับเห็นว่าสิทธิเรื่องนี้ของประชาชน เป็นการคุกคามต่อความมั่นคงในการครองอำนาจของตนเอง พวกเขาจึงรวมหัวกันยกเลิกการใช้สิทธิพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยทางตรงของประชาชน ทำลายการเชื่อมโยงระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับประชาชน อันเป็นการล้มล้างข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยยืนยันสิทธิของประชาชนไปแล้วในปี 2555
นักการเมืองสามานย์ ได้มอบอำนาจในการวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์ประชาธิปไตยของประชาชน แก่อัยการสูงสุด อันเป็นองค์กรที่มีบุคลากรระดับสูงจำนวนมากมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับทางการเมือง และ อยู่ภายใต้การสั่งการของนักการเมือง เห็นได้จากการที่นักการเมืองแต่งตั้งอัยการ ไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง และอัยการที่ได้รับการแต่งตั้ง ก็ยอมรับอำนาจโดยไปดำรงตำแหน่งกรรมการตามคำสั่ง
" สิ่งนี้จึงเป็นหลักฐานบ่งชี้อย่างชัดแจ้งว่าอัยการสูงสุด อยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง เพราะหากอัยการเป็นอิสระจริง ก็ต้องปฏิเสธคำสั่งของนักการเมืองโดยไม่ไปดำรงตำแหน่งกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่ถูกแต่งตั้ง นอกจากลิดรอนสิทธิการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว นักการเมืองสามานย์ ยังกีดกันประชาชนออกจากกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่รัฐบาลไปทำกับต่างชาติ ในเรื่องที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงของดินแดน และที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพื่อปิดหูปิดตาประชาชนให้มืดบอด นักการเมืองสามานย์ ก็ย่อมมีวิธีคิดที่ชั่วช้า โดยเห็นว่า หากให้ประชาชนรู้มาก ไม่ว่าจะผ่านทางการถกเถียงในรัฐสภา หรือประชาพิจารณ์ก็ดี โอกาสที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ และถูกเปิดโปงเกี่ยวกับการกระทำที่ซ่อนเร้นแอบแฝง ก็มีมาก ยิ่งมีการตรวจสอบมากเท่าไร พวกนักการเมืองสามานย์ ก็จะได้รับผลประโยชน์จากการทุจริต การขายชาติ ขายแผ่นดิน และการขายทรัพยากรน้อยลงเท่านั้น"
สิ่งที่นักการเมืองสามานย์อ้างเพื่อแก้ไขมาตรา 190 ก็คือ มาตรานี้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ ทำให้การบริหารล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แต่เหตุผลแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังก็คือ มาตรา 190 เป็นอุปสรรคที่ทำให้การทุจริต และการเตรียมการขายชาติขายทรัพยากรของนักการเมืองสามานย์ มีประสิทธิภาพลดลง
ดังนั้นเป้าประสงค์ของการแก้ไขมาตรา 190 ก็คือ การสร้างสมรรถนะและประสิทธิภาพในการทุจริต คอร์รัปชันของนักการเมืองสามานย์นั่นเอง
ส่วนการแก้ไขประเด็นการยกเลิกการยุบพรรคการเมือง ยกเลิกโทษแก่กรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่กระทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง สะท้อนอย่างชัดเจนว่า นักการเมืองสามานย์ มุ่งตอบโจทย์ในอันที่จะสร้างประโยชน์แก่ตนเอง เพราะพวกเขาส่วนใหญ่ได้รับเลือกตั้งมาด้วยการใช้วิธีการทุจริตเลือกตั้งทั้งสิ้น จึงต้องหาทางยกเลิกบทลงโทษแก่ตัวเองลงไปให้หมด นัยของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ของนักการเมืองสามานย์ คือ การทำลายประชาธิปไตยลงไปอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะเงื่อนไขของประชาธิปไตยนั้นคือ การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ และเที่ยงธรรม แต่เมื่อนักการเมืองสามานย์ทำลายมาตรการในการสร้างความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของการเลือกตั้ง และปล่อยให้ผู้กระทำผิดทุจริตเลือกตั้งลอยนวลไปโดยไม่ต้องรับโทษ ก็ย่อมแสดงว่า การกระทำของเขา อาจเข้าข่ายเป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นักการเมืองสามานย์ร่วมมือกับสมาชิกวุฒิสภาสามานย์บางกลุ่ม แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในลักษณะต่างตอบแทน โดยให้สมาชิกวุฒิสภายื่นแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองสามานย์ และให้นักการเมืองสามานย์ ยื่นร่างแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของวุฒิสมาชิกในเรื่องวาระในการดำรงตำแหน่ง
แต่เดิมนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้ แต่ด้วยความกระหายอำนาจ หกปีจึงยังไม่อิ่ม สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ การครองอำนาจไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต ทั้งยังมีการยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา โดยอ้างว่าการสรรหา ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงคือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจำนวนมาก กลับทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน และผลประโยชน์ของประเทศชาติเสียยิ่งกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
"ที่น่าอัปยศก็คือ สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ที่มาจากการเลือกตั้ง แทนที่จะทำหน้าที่รับใช้ประชาชน และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ กลับทำหน้าที่ในการรับใช้นักการเมืองทุนสามานย์ เยี่ยงเดียวกับบรรดาสมุนของนักการเมืองทุนสามานย์ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ด้านหนึ่งเป็นการปฏิบัติการเพื่อขจัดสิทธิอำนาจของประชาชนในการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย และปิดกั้นประชาชนจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสนธิสัญญากับต่างชาติ และอีกด้านหนึ่ง เป็นการสร้างความมั่นคงในทางการเมืองแก่กรรมการบริหารพรรคการเมือง และตัวพรรคการเมืองเอง ทั้งหมดนี้เป็นปฏิบัติการส่วนหน้าของนักการเมืองสามานย์ อันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการล้มล้างและประหารรัฐธรรมนูญในระยะต่อไป หากนักการเมืองสามานย์สามารถประหารรัฐธรรมนูญ ที่มาจากอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง อันได้แก่การแก้ไข มาตรา 291 ได้สำเร็จ และเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ตามความต้องการของกลุ่มตนเอง และเหล่าสาวกเสื้อแดง ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ว่า แผนการขั้นต่อไปของนักการเมืองสามานย์และเหล่าสมุน ก็คือการเตรียมการไปสู่ “การประหารระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ในอนาคตเป็นลำดับต่อไป
หากประชาชนไทยไม่สามารถสกัดกั้นหรือหยุดยั้งปฏิบัติการประหารรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของนักการเมืองสามานย์ได้ อนาคตของสังคมไทยก็มีแนวโน้มจมดิ่งไปสู่ทะเลแห่งความมืดมิดไปอีกยาวนาน
--------------------
แต่นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้สิทธิ์ประท้วงว่านายสมศักดิ์ ได้ทำผิดข้อบังคับและผิดรัฐธรมนูญ เนื่องจากการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และตามรายงานการประชุมวันดังกล่าว ได้ระบุชัดเจน ดังนั้นการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาวันนี้จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก และหากจะมีการประชุม ถือเป็นการนัดประชุมเถื่อน
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายชี้แจงว่า ในการพิจารณาเมื่อวันที่ 3 เม.ย.นั้น เมื่อองค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับญัตตินั้นได้ตกไป และในชั้นของการตรวจสอบองค์ประชุม ผู้เสนอญัตติไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แสดงว่าไม่ต้องการให้ญัตติดังกล่าวผ่าน เมื่อไม่มีการลงมติ ก็ต้องอนุโลมว่าระยะเวลาแปรญัตติต้องเป็นไปตามข้อบังคับ คือ 15 วัน แต่การเรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อสงสัยที่ว่า เมื่อองค์ประชุมไม่ครบญัตติที่เสนอจะตกไปหรือไม่ โดยให้ที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบ
ด้านนายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องให้ตนเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติในญัตติดังกล่าวอีกครั้ง ถ้าไม่เปิดประชุมจะยื่นถอดถอน เพราะตนได้ดำเนินการผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการเรียกประชุมครั้งนี้ เป็นไปตามคำเรียกร้อง แต่เมื่อเปิดประชุม กลับมาประท้วงตนว่าทำผิดรัฐธรรมนูญอีก ไม่ทราบว่าจะยืนถอดถอนอีกหรือไม่ ดังนั้นตนขอวินิจฉัยตามข้อบังคับคือ ในวันที่ 3 เม.ย. มีสมาชิกรัฐสภาขอเพิ่มระยะวันแปรญัตติเป็น 60 วัน ตามขั้นตอนต้องตรวจสอบองค์ประชุม เมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแต่องค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับว่าเวลาแปรญัตติจะเป็น 15 วัน ตามข้อบังคับ ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นตนก็ดำเนินการปิดประชุม ถือว่าดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ยืนยันว่าไม่เคยพูดว่าจะไม่เรียกประชุมอีก พูดแค่ว่าอะไรยอมได้ ก็ยอมกัน โดยในความเห็นส่วนตัวเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ เมื่อมีญัตติค้าง จึงเรียกประชุมเพื่อขอมติ ให้จบกระบวนการ
จากนั้น นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงนายสมศักดิ์ โดยระบุว่าเมื่อมีญัตติที่คาอยู่ในที่ประชุม ก็ต้องมีการนัดประชุมต่อเพื่อลงมติในวันถัดไป แต่นายสมศักดิ์ สรุปว่าองค์ประชุมไม่ครบ และให้วันแปรญัตติเป็นไปตามข้อบังคับ จึงถือว่าไม่ชอบ ซึ่งการประชุมรัฐสภาไม่ใช่การประชุมบริษัท
ทำให้นายสมศักดิ์ ที่ได้ชี้แจงโต้แย้งอยู่เป็นระยะๆ กล่าวขึ้นว่า หากให้ตนวินิจฉัยในสิ่งที่ตนวินิจฉัยไปแล้ว ตนจะไม่อนุญาตให้ประท้วงอีก ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โห่กลางสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่า ในการประชุมวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้เกิดปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ ดังนั้นการประชุมต้องสิ้นสุดลงและประธานจะต้องนัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดวันแปรญัตติใหม่อีกครั้ง แต่ประธานกลับตัดบทให้มีการแปรญัติภายใน 15 วัน ซึ่งเรื่องนี้ก็มีหลายคนทักท้วง ตนจึงมาให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชนว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จึงควรเรียกประชุมใหม่
ส่วนที่ถามว่า ประชาธิปัตย์ทักท้วงว่า เรียกประชุมทำไมนั้น ก็เกิดมาจากที่พวกตนได้ไปเช็กชวเลข ที่ได้มีการบันทึกการประชุม โดยในชวเลขได้บันทึกแล้วว่า ให้กำหนดวันแปรญัติภายใน 15 วัน ดังนั้นในวันนี้ถ้าจะให้ลงมติ ก็ต้องยอมรับก่อนว่า ในวันนั้นองค์ประชุมไม่ครบก่อน จึงต้องมาขอลงมติในวันนี้
เช่นเดียวกับ นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เห็นว่า วันนั้นประธานชี้ขาดว่าจบไปแล้ว ดังนั้นวันนี้หากจะมีการลงมติ ประธานต้องยอมรับก่อนว่า ที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องมีการลงมติใหม่ สอดคล้องกับ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้ประท้วงการหน้าที่ประธาน โดยเห็นด้วยตามที่นายชวนได้ระบุไปก่อนหน้านี้ การดำเนินการประชุมจึงเป็นไปอย่างถูกต้อง และจะต้องมีการกำหนดวันแปรญัติให้ชัดว่า 15 วันนั้นจะนับตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งถ้านับตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.นั้น ตนเห็นว่า ไม่ถูกต้อง เท่ากับว่า นายสมศักดิ์ เดินไปสู่กับดักตัวเอง ดังนั้นจึงต้องนับตั้งแต่วันนี้
ขณะที่นายสมศักดิ์ ยังคงยืนยันว่า ได้ทำหน้าที่ตามข้อบังคับแล้ว และตัดบทขอมติจากที่ประชุมทันที ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนเดินออกจากห้องประชุม ขณะที่ นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เดินไปหน้าบัลลังก์ พร้อมชูกระดาษที่เขียนคำว่า “เผด็จการ” เพื่อเป็นการประท้วงนายสมศักดิ์ ด้วย
ในที่สุด ที่ประชุมมีมติกำหนดวันแปรญัตติ 15 วัน ด้วยคะแนน 356 ต่อ 19 เสียง งดออกเสียง 33 ไม่ลงคะแนน 5 จากนั้นนายสมศักดิ์ ประกาศว่า ให้เริ่มนับวันแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. ดังนั้น จะสิ้นสุดการส่งคำแปรญัตติ ในวันที่ 19 เม.ย.นี้ และสั่งปิดประชุมทันที
**ปชป.ยื่นแปรญัตติแก้รธน.กว่า100คน
แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า การที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้สมาชิกยื่นคำแปรญัตติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันนี้ (19 เม.ย.) นั้น ในส่วนพรรค ประชาธิปัตย์ ไม่มีปัญหาว่าจะยื่นไม่ทัน เพราะผู้ที่จะยื่นแปรญัตติ ซึ่งมีทั้งหมด 100 กว่าคน ได้เตรียมทำคำแปรญัตติไว้แล้ว และส่วนใหญ่ก็ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ประจำคณะกรรมาธิการชุดต่างๆไปแล้ว ซึ่งส.ส.ของพรรค จะยื่นแปรญัตติในทุกมาตราของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ
** "ปู"หนีกระทู้ถามสดตามเคย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ ซึ่งจะมีการพิจารณากระทู้ถามสด แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้อยู่ร่วมประชุมด้วย โดยมีกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านที่ถามนายกรัฐมนตรี 3 เรื่อง ประกอบด้วย ผลการตรวจสอบการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และปัญหาโครงการรับจำนำข้าว ถามโดยน.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ มอบหมายให้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ มาตอบแทน
กระทู้ถามสด เรื่องความตั้งใจของรัฐบาลในการเสนอตัวประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมโลก World Expo 2020 ถามนายกรัฐมนตรีโดย ผศ.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามเรื่องการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ถามนายกรัฐมนตรีโดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
** อัด"ค้อนปลอม"รับใบสั่ง
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าว ตำหนิพฤติกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมรัฐสภา ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ว่าจงใจกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จากการสรุปให้แปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ 15 วัน ทั้งๆ ที่นายอรรถพร พลบุตร ส.ส. เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน แต่องค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ต้องปิดประชุมโดยไม่มีการลงมติ จึงถือว่าญัตติดังกล่าวยังค้างการพิจารณาอยู่ ดังนั้นประธานในที่ประชุมจะทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากปิดประชุม และเรียกประชุมใหม่เพื่อให้ลงมติในญัตติที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จก่อน แต่นายสมศักดิ์ กลับสรุปให้การแปรญัตติมีกำหนด 15 วัน และนัดให้มีการประชุมกรรมาธิการฯ ในวันรุ่งขึ้นทันที
"พฤติกรรมของประธาน ถือว่าจงใจที่จะทำผิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีใบสั่งมา ทำให้พยายามเร่งรัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้จบโดยเร็ว ทั้งที่กระบวนการพิจารณายังมีปัญหา ตั้งแต่มีการปิดอภิปรายโดยไม่มีการลงมติ จากนั้นมีการตั้งกรรมาธิการฯ ซึ่งต้องถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะการปิดอภิปรายมิชอบ และเมื่อนายอรรถพร เสนอแปรญัตติ 60 วัน แต่องค์ประชุมไม่ครบ ประธาน ก็ยังสรุปอีกว่า ให้แปรญัตติภายใน 15 วัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจประธานที่จะดำเนินการได้ และขัดรัฐธรรมนูญกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา อย่างชัดเจน ดีไม่ดีอาจติดคุกด้วย ซึ่งผมจะยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เพื่อถอดถอน และดำเนินคดีอาญากับ นายสมศักดิ์ ในสัปดาห์หน้า และจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายล้มล้างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 เนื่องจากมีการล้มล้างอำนาจประชาชน" นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น พบว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หลังจากมีการพิจารณาครบสามวาระแล้ว
**แก้รธน.50 เท่ากับประหารปชต.
รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "พิชาย ณ ภูเก็ต" มีใจความว่า
"รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คือสัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้ของนักการเมืองเผด็จการทุนสามานย์"
วาทกรรมและเรื่องเล่าเชิงนิยาย ที่บรรดาเหล่านักการเมืองทุนสามานย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นมายาคติ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คือ การโจมตีว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นผลพวงจากอำนาจรัฐประหาร จึงขาดความเป็นประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงคือ รัฐธรรมนูญ 50 เกิดจากอำนาจประชาชน โดยการลงประชามติทั่วประเทศ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของประเทศไทยที่มีฐานจากอำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน รัฐธรรมนูญ 50 จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้ของนักการเมืองเผด็จการทุนสามานย์ ทั้งยังเป็นขวากหนามคอยขวางกั้น มิให้เหล่านักการเมืองกระทำการตามอำเภอใจ และลุแก่อำนาจได้โดยง่าย เหล่านักการเมืองทุนสามานย์ จึงใช้เล่ห์เพทุบายครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อแก้ไขและประหารรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อยึดอำนาจกลับคืนมาให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า ประชาชนมีสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้ และสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการกระทำการของบุคคล และพรรคการเมืองใดที่เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แต่ทว่านักการเมืองสามานย์ทั้งหลายกลับเห็นว่าสิทธิเรื่องนี้ของประชาชน เป็นการคุกคามต่อความมั่นคงในการครองอำนาจของตนเอง พวกเขาจึงรวมหัวกันยกเลิกการใช้สิทธิพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยทางตรงของประชาชน ทำลายการเชื่อมโยงระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับประชาชน อันเป็นการล้มล้างข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยยืนยันสิทธิของประชาชนไปแล้วในปี 2555
นักการเมืองสามานย์ ได้มอบอำนาจในการวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์ประชาธิปไตยของประชาชน แก่อัยการสูงสุด อันเป็นองค์กรที่มีบุคลากรระดับสูงจำนวนมากมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับทางการเมือง และ อยู่ภายใต้การสั่งการของนักการเมือง เห็นได้จากการที่นักการเมืองแต่งตั้งอัยการ ไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง และอัยการที่ได้รับการแต่งตั้ง ก็ยอมรับอำนาจโดยไปดำรงตำแหน่งกรรมการตามคำสั่ง
" สิ่งนี้จึงเป็นหลักฐานบ่งชี้อย่างชัดแจ้งว่าอัยการสูงสุด อยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง เพราะหากอัยการเป็นอิสระจริง ก็ต้องปฏิเสธคำสั่งของนักการเมืองโดยไม่ไปดำรงตำแหน่งกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่ถูกแต่งตั้ง นอกจากลิดรอนสิทธิการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว นักการเมืองสามานย์ ยังกีดกันประชาชนออกจากกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่รัฐบาลไปทำกับต่างชาติ ในเรื่องที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงของดินแดน และที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพื่อปิดหูปิดตาประชาชนให้มืดบอด นักการเมืองสามานย์ ก็ย่อมมีวิธีคิดที่ชั่วช้า โดยเห็นว่า หากให้ประชาชนรู้มาก ไม่ว่าจะผ่านทางการถกเถียงในรัฐสภา หรือประชาพิจารณ์ก็ดี โอกาสที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ และถูกเปิดโปงเกี่ยวกับการกระทำที่ซ่อนเร้นแอบแฝง ก็มีมาก ยิ่งมีการตรวจสอบมากเท่าไร พวกนักการเมืองสามานย์ ก็จะได้รับผลประโยชน์จากการทุจริต การขายชาติ ขายแผ่นดิน และการขายทรัพยากรน้อยลงเท่านั้น"
สิ่งที่นักการเมืองสามานย์อ้างเพื่อแก้ไขมาตรา 190 ก็คือ มาตรานี้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ ทำให้การบริหารล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แต่เหตุผลแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังก็คือ มาตรา 190 เป็นอุปสรรคที่ทำให้การทุจริต และการเตรียมการขายชาติขายทรัพยากรของนักการเมืองสามานย์ มีประสิทธิภาพลดลง
ดังนั้นเป้าประสงค์ของการแก้ไขมาตรา 190 ก็คือ การสร้างสมรรถนะและประสิทธิภาพในการทุจริต คอร์รัปชันของนักการเมืองสามานย์นั่นเอง
ส่วนการแก้ไขประเด็นการยกเลิกการยุบพรรคการเมือง ยกเลิกโทษแก่กรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่กระทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง สะท้อนอย่างชัดเจนว่า นักการเมืองสามานย์ มุ่งตอบโจทย์ในอันที่จะสร้างประโยชน์แก่ตนเอง เพราะพวกเขาส่วนใหญ่ได้รับเลือกตั้งมาด้วยการใช้วิธีการทุจริตเลือกตั้งทั้งสิ้น จึงต้องหาทางยกเลิกบทลงโทษแก่ตัวเองลงไปให้หมด นัยของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ของนักการเมืองสามานย์ คือ การทำลายประชาธิปไตยลงไปอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะเงื่อนไขของประชาธิปไตยนั้นคือ การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ และเที่ยงธรรม แต่เมื่อนักการเมืองสามานย์ทำลายมาตรการในการสร้างความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมของการเลือกตั้ง และปล่อยให้ผู้กระทำผิดทุจริตเลือกตั้งลอยนวลไปโดยไม่ต้องรับโทษ ก็ย่อมแสดงว่า การกระทำของเขา อาจเข้าข่ายเป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นักการเมืองสามานย์ร่วมมือกับสมาชิกวุฒิสภาสามานย์บางกลุ่ม แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในลักษณะต่างตอบแทน โดยให้สมาชิกวุฒิสภายื่นแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองสามานย์ และให้นักการเมืองสามานย์ ยื่นร่างแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของวุฒิสมาชิกในเรื่องวาระในการดำรงตำแหน่ง
แต่เดิมนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้ แต่ด้วยความกระหายอำนาจ หกปีจึงยังไม่อิ่ม สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ การครองอำนาจไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต ทั้งยังมีการยกเลิก สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา โดยอ้างว่าการสรรหา ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงคือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจำนวนมาก กลับทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน และผลประโยชน์ของประเทศชาติเสียยิ่งกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
"ที่น่าอัปยศก็คือ สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ที่มาจากการเลือกตั้ง แทนที่จะทำหน้าที่รับใช้ประชาชน และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ กลับทำหน้าที่ในการรับใช้นักการเมืองทุนสามานย์ เยี่ยงเดียวกับบรรดาสมุนของนักการเมืองทุนสามานย์ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ด้านหนึ่งเป็นการปฏิบัติการเพื่อขจัดสิทธิอำนาจของประชาชนในการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย และปิดกั้นประชาชนจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสนธิสัญญากับต่างชาติ และอีกด้านหนึ่ง เป็นการสร้างความมั่นคงในทางการเมืองแก่กรรมการบริหารพรรคการเมือง และตัวพรรคการเมืองเอง ทั้งหมดนี้เป็นปฏิบัติการส่วนหน้าของนักการเมืองสามานย์ อันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการล้มล้างและประหารรัฐธรรมนูญในระยะต่อไป หากนักการเมืองสามานย์สามารถประหารรัฐธรรมนูญ ที่มาจากอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง อันได้แก่การแก้ไข มาตรา 291 ได้สำเร็จ และเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ตามความต้องการของกลุ่มตนเอง และเหล่าสาวกเสื้อแดง ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ว่า แผนการขั้นต่อไปของนักการเมืองสามานย์และเหล่าสมุน ก็คือการเตรียมการไปสู่ “การประหารระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ในอนาคตเป็นลำดับต่อไป
หากประชาชนไทยไม่สามารถสกัดกั้นหรือหยุดยั้งปฏิบัติการประหารรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของนักการเมืองสามานย์ได้ อนาคตของสังคมไทยก็มีแนวโน้มจมดิ่งไปสู่ทะเลแห่งความมืดมิดไปอีกยาวนาน
--------------------