xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นไทยยังมีแรงขายผลบจ.Q1ดันดัชนี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTV ผู้จัดการรายวัน – หุ้นไทยยังมีแรงเทขายทำกำไร กดเม.ย.ความผันผวนยังมีต่อเนื่อง โบรกฯเชื่อเงินเยนทะลัก จะเข้าเพิ่มสภาพคล่องเม็ดเงินลงทุนให้สูงยิ่งขึ้นทั้งโลก และจะทะลักเข้าเอเชีย ภาพรวมยังมั่นใจปัจจัยพื้นฐาน และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยผลักดันดัชนีไปต่อ คาดพ.ค.เริ่มเห็นสัญญาณไต่ระดับกลับจุดเดิม จากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสนับสนุน

นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี จำกัด กล่าวถึงทิศทางหุ้นไทยในไตรมาส 2 ว่า นักลงทุนต้องมองภาพรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลักๆปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งปัจจัยภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบหลักๆต่อตลาดหุ้น คือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะเป็นอย่างไร เพราะตลาดหุ้นดาวน์โจนในช่วงที่ผ่านมา มีการขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นข่าวดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก

ถัดมาคือปัญหาหนี้ของยูโรโซน ไม่ว่าจะเป็นของไซปรัสที่กำลังเป็นปัญหา ตามมาด้วยสโลเวเนียที่อยู่ในช่วงการขอความช่วยเหลือซึ่งต้องติดตามว่าจะเป็นอย่างไร การเมืองของประเทศอิตาลี และสกุลเงินยูโรที่มีผลต่อราคาน้ำมัน จึงมองว่าในยุโรปยังถือว่าเป็นปัจจัยลบ เพราะมีการลุกลามของภาวะหนี้เสียที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่น่ากังวลมากนักเพราะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ดังนั้นถ้ายุโรปยังไม่ฟื้น ราคาน้ำมันจะฟื้นตัวยากน่าจะอยู่ที่ระดับ 106-110 เหรียญ/บาเรล ในไตรมาสที่2

ประเด็นถัดมาคือเม็ดเงินต่างชาติตลาดหุ้นในไตรมาสที่ 2 นับจากนี้ไปยังมีเงินลงทุนไหลเข้าในปริมาณที่เยอะอยู่ จากล่าสุดที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)ประกาศมาตรการอัดฉีดเม็ดเงิน 7.5หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจากของเดิม 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ มามาตรการQEของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพราะฉะนั้นสภาพคล่องในตลาดหุ้นตรงนี้ต่อไปอีก 3-4 เดือนข้างหน้าจะยังคงไปได้ในทิศทางที่ดีอยู่

ขณะเดียวกัน ที่หลายฝ่ายต่างพากันวิตกอยู่คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ถ้ายังไม่มีการสู้รบกันก็ยังไม่มีอะไร เพราะไกลตัวอยู่ จริงๆแล้วในประเทศคู่ค้าพวกนี้ถ้าเกิดขึ้นจริง จะกระทบกับจีนมากกว่าที่เกิดขึ้นกับไทย ไม่ควรวิตกจนเกินไป

ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น จะมีปัจจัยเรื่องการเมืองในประเทศที่ตอนนี้รัฐบาลยังมีเสถียรภาพอยู่ ในสถานะกลางๆยังไม่ผลต่อตลาดหุ้น แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนตัวหรือมีการเลือกตั้งใหม่จะมีผลลบต่อตลาด หรือหากการขอกู้เงิน 2.2ล้านล้านบาทชะงักก็จะมีผลกระทบต่อตลาดทุน ตรงนี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ยังต้องจับตาดูต่อไป

ปัจจัยต่อมาคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีมาตรการอะไรใหม่ๆออกมา ที่จะมีผลเช่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีมาตรการอะไรออกมาที่คุมค่าเงินบาทหรือการแตะเบรกหรืออะไรที่มีสาระสำคัญต่อตลาดหุ้นหรือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หรือตลาดต่ออุตสาหกรรมไทย

ปัจจัยที่ 3 คือ การที่กลุ่มธนาคารจะประกาศงบหลังสงกรานต์ออกมา ซึ่งไตรมาสแรกของธนาคารเชื่อว่ายังมีผลประกอบการที่ดีอยู่ ในเชิงของการเลือกหุ้นก็จะต้องดูเป็นรายตัวไปมีทั้งตัวที่ถูกที่แพง จากสถิติที่ผ่านมาหุ้นในกลุ่มที่ขึ้นมาสูงที่สุด ยังอยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์รวมถึงกลุ่มที่รับเหมาด้วย ตลาดหุ้นขึ้นมาจากปีที่แล้วทั้งปี 34% แต่ถ้าดูจากรอบที่ขึ้นมาจริงๆ วันที่ 22 พฤษจิกายน ดัชนีจะขึ้นมาถึงเกือบ 20% กลุ่มที่แพงที่สุดคือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่มีรับเหมาเป็นตัวสำคัญ ตามมาด้วยกลุ่มขนส่ง และกลุ่มโรงพยาบาล ที่ขึ้นมาเกือบ 40% ที่เหลือยังอยู่ในระดับ 10-20% ที่ถูกที่สุดจะเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี กับหุ้นกลุ่มอาหาร

เพราะฉะนั้นเมื่อสามารถเทียบเคียงดูได้ว่าหุ้นกลุ่มไหนควรลงทุน ถ้ามองจากนี้หุ้นยังปรับตัวลดลง เป็นจังหวะที่น่าเข้าไปถือ มองรอบการลงทุนระยะสั้น น่าจะไปแตะจุดสูงสุดเดิมได้ หรืออาจจะขึ้นไปสูงสุดเหนือกลุ่มเดิมที่เคยไปได้ ต้องรอดูซักพักนึง ในระยะกลางที่ 1,600 จุดน่าจะประมาณนี้

“สัดส่วนวอลุ่มที่ซื้อขายรายย่อยตั้งแต่เปิดตลาดมาหลายสิบปีก็สูงมาโดยตลอด ตอนนี้ก็สูงถึงกว่า 50% คงไม่ลดลง สถาบันก็ยังซื้อไม่มากอยู่ และยังมีในส่วนของพอร์ตลงทุนของบล. อีกด้วย สัดส่วนซื้อขายของวอลุ่มต่างชาติเป็นสิ่งที่มองขาดได้ยากเพราะซื้อขายสลับไปมา เดือนนี้ขึ้น เดือนนั้นลง มีการสวิงตัวมาก มีทั้งเปิดบวกเและปิดลบ เพราะต่างชาติมีสภาพคล่องเยอะ”

ก่อนหน้านี้ นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการสายงานการเงินบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 1,600 จุด P/E ประมาณ 12.5 เท่าถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศ และการเติบโตของจีดีพีที่คาดว่าจะอยูที่ 5% และอัตรารการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะอยู่ประมาณ20% ซึ่ทำให้ระยะยาวยังอาจเห็นดัชนีหุ้นไทยขึ้นไปถึง 1,720 จุด P/E Forward ประมาณ 15 เท่า

นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยภายนอก ตั้งแต่มาตรการQE ของสหรัฐฯ ที่ทำให้สภาคล่องของระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อีกทั้งจากมาตรการผลักดันค่าเงินเยนให้เฟ้อ2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น จะกลายเป็นอีก1แหล่งเงินทุนที่จะมีการพูดถึงไปตลอด1ปีจากนี้ ซึ่งเชื่อว่าเม็ดเงินเหล่านี้บางส่วนจะไหลเข้ามาลงทุนในภูิภาค รวมถึงไทย เพราะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น3 เดือนยังอยู่ในระดับที่สูง

"ระยะสั้นเราจะเห็นถึงการปรับฐานของหุ้นไทย ซึ่งอาจปรับตัวลงไป 8-12% มาอยู่แถว1,440 จุด แต่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดัชนีปรับตัวขึ้นมาแรง จึงต้องมีการปรับฐานบ้าง ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนยังมีอยู่ทั้งภายในและนอกประเทศ โดยรวมเมษายนยังมีความผันผวนอยู่ เพราะเป็นเทศกาลมีวันหยุดเยอะ แต่พอพฤษภาคม เชื่อว่าจะปรับตัวไปต่อ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือการทยอยประกาศผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส1 และเชื่อว่าในสัปดาห์ที่3 - 4 ของเมษายน นักลงทุนจะกลับมาซื้อเพิ่มหลังหยุดพักในช่วงเทศกาลมา"

โดย หุ้นที่น่าสนใจลงทุน 5 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจที่มีโอกาสขยายการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)และธุรกิจที่มีการขยายงานเกี่ยวข้องในต่างจังหวัด เช่น TICON , PM , TK และ CPF, ธุรกิจพลังงานทดแทน ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น SPCG และ GUNKUL, ธุรกิจสื่อทีวีและสื่อสาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอลและ 3G เช่น SAMART และ ADVANC, ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ เช่น CK , ITD และ STEC, กลุ่มธุรกิจที่ผลประกอบการพลิกกลับมาเติบโตได้ดี (Turn around) เช่น TRUE , TTA และ THAI

ด้าน บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ประเมินแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้(17-19 เม.ย.) โดยคาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,490 และ 1,450 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,528 และ 1,550 ตามลำดับ โดยดัชนีน่าจะยังคงผันผวน ต้องระวังแรงขายทำกำไร

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญที่ต้องจับตา ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 1/2556 ของจีน ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ เครื่องชี้ที่อยู่อาศัย ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เครื่องชี้ภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด
กำลังโหลดความคิดเห็น