โบรกเกอร์มองหุ้นไทยสัปดาห์นี้ชะลอความผันผวน ต่างชาติมีทั้งซื้อและขาย เหตุเข้าสู่ช่วงเทศกาล นักลงทุนขายปรับพอร์ตรับสงกรานต์ ทิศทางโดยรวมยังเป็นขาลงจากหลายปัจจัยลบทั้งใน และนอกประเทศกดดัน เตือนจับตานโยบายแบงก์ชาติญี่ปุ่น ปั๊มเงินเข้าระบบระยะแรกส่งผลดี แต่ต่อไปอาจเกิดสงครามค่าเงิน
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี จำกัด กล่าวถึงภาวะตลาดหุ้นไทยว่า ภาพรวมที่ผ่านมาดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศใช้นโยบายทางการเงินเข้ามาในระบบ แต่ค่าเงินเยนกลับติดลบ ทั้งนี้ ในระยะแรกจะดีต่อตลาดทุน แต่ระยะต่อมาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเรื่องสงครามค่าเงิน เพราะทุกคนอยากให้เงินอ่อนค่า แต่เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้น
อีกด้านหนึ่งคือ ตลาดหุ้นยุโรปที่มีปรับตัวลงบ้าง ฟื้นตัวขึ้นมาบ้างสลับกันไป เพราะช่วงเวลาในการเปิดตลาดยุโรปกับตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน การเมืองในประเทศที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่กระทบต่อตลาดมากนัก ต่างชาติยังเข้าลงทุนอยู่จะมีสลับซื้อ และสลับขายเป็นระยะ
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย ประเมินทิศทางดัชนีหุ้นไทยช่วงวันที่ 9-12 เม.ย.2556 ว่า ตลาดยังคงอยู่ในช่วงปรับฐาน สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามคือ บันทึกการประชุมเฟด ยอดค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีคาดแนวรับอยู่ที่ระดับ 1,480 และ 1,415 แนวต้า 1,556 และ 1,560 จุด
ขณะที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวผันผวนอยู่ที่บริเวณต่ำกว่า 1,600 จุด โดยมีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เงินบาทที่แข็งค่า ตลอดจนสถานการณ์ที่ยังไม่นิ่งของเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. บริษัทจดทะเบียนใน S&P500 จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2556 แม้จะมีการประเมินกันว่ารายได้โดยรวมจะโตขึ้น 1.2% แต่กำไรคาดว่าจะหดตัวลง 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่ไตรมาสที่แล้วขยายตัวกว่า 8% เป็น Sentiment เชิงลบกดดันตลาดหุ้นโลก เคลื่อนไหวในทิศทางที่ผันผวน
น.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมช่วงนี้นักลงทุนลดความเสี่ยงก่อนที่จะเข้าช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์ จึงได้ขายปรับพอร์ตอีกระลอก สำหรับปัจจัยในประเทศยังมีเรื่องของการเมืองที่ยังไม่จบ ความเสี่ยงยังมีในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ และการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท แม้จะผ่านวาระแรกการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ยังต้องผ่านวาระการพิจารณาอีกหลายครั้ง
ส่วนปัจจัยจากนอกประเทศมีความกังวลปัญหาความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ได้พบผู้เสียชีวิตในกัมพูชา ทำให้ทางการไทยต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ต้องรอดูปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วย ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้ตัดงบประมาณอัตโนมัติไปแล้วตั้งแต่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ตอนนี้ก็เริ่มเห็นการชะลอการเติบโตในด้านการผลิต การลงทุนเวลานี้มีความไม่แน่นอนมากขึ้น นักลงทุนคงจะต้องปรับตัวให้ทัน
โดยแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีเคลื่อนไหวไม่มาก ดังนั้น หากดัชนีฯ ไม่สามารถผ่านระดับ 1,540 จุดไปได้ จึงมองไปในทางลบ โดยมีแนวรับแรก 1,500-1,480 จุด แนวรับถัดไป 1,460-1,450 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,540 จุด แนวต้านถัดไป 1,560-1,570 จุด
อนึ่ง ดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เม.ย. ปิดที่ระดับ 1,489.53 จุด ลดลง 38.93 จุด หรือ -2.55% มูลค่าการซื้อขาย 49,849.76 ล้านบาท
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี จำกัด กล่าวถึงภาวะตลาดหุ้นไทยว่า ภาพรวมที่ผ่านมาดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศใช้นโยบายทางการเงินเข้ามาในระบบ แต่ค่าเงินเยนกลับติดลบ ทั้งนี้ ในระยะแรกจะดีต่อตลาดทุน แต่ระยะต่อมาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเรื่องสงครามค่าเงิน เพราะทุกคนอยากให้เงินอ่อนค่า แต่เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้น
อีกด้านหนึ่งคือ ตลาดหุ้นยุโรปที่มีปรับตัวลงบ้าง ฟื้นตัวขึ้นมาบ้างสลับกันไป เพราะช่วงเวลาในการเปิดตลาดยุโรปกับตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน การเมืองในประเทศที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่กระทบต่อตลาดมากนัก ต่างชาติยังเข้าลงทุนอยู่จะมีสลับซื้อ และสลับขายเป็นระยะ
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย ประเมินทิศทางดัชนีหุ้นไทยช่วงวันที่ 9-12 เม.ย.2556 ว่า ตลาดยังคงอยู่ในช่วงปรับฐาน สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามคือ บันทึกการประชุมเฟด ยอดค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีคาดแนวรับอยู่ที่ระดับ 1,480 และ 1,415 แนวต้า 1,556 และ 1,560 จุด
ขณะที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวผันผวนอยู่ที่บริเวณต่ำกว่า 1,600 จุด โดยมีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เงินบาทที่แข็งค่า ตลอดจนสถานการณ์ที่ยังไม่นิ่งของเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. บริษัทจดทะเบียนใน S&P500 จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2556 แม้จะมีการประเมินกันว่ารายได้โดยรวมจะโตขึ้น 1.2% แต่กำไรคาดว่าจะหดตัวลง 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่ไตรมาสที่แล้วขยายตัวกว่า 8% เป็น Sentiment เชิงลบกดดันตลาดหุ้นโลก เคลื่อนไหวในทิศทางที่ผันผวน
น.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมช่วงนี้นักลงทุนลดความเสี่ยงก่อนที่จะเข้าช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์ จึงได้ขายปรับพอร์ตอีกระลอก สำหรับปัจจัยในประเทศยังมีเรื่องของการเมืองที่ยังไม่จบ ความเสี่ยงยังมีในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ และการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท แม้จะผ่านวาระแรกการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ยังต้องผ่านวาระการพิจารณาอีกหลายครั้ง
ส่วนปัจจัยจากนอกประเทศมีความกังวลปัญหาความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ได้พบผู้เสียชีวิตในกัมพูชา ทำให้ทางการไทยต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ต้องรอดูปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วย ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้ตัดงบประมาณอัตโนมัติไปแล้วตั้งแต่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ตอนนี้ก็เริ่มเห็นการชะลอการเติบโตในด้านการผลิต การลงทุนเวลานี้มีความไม่แน่นอนมากขึ้น นักลงทุนคงจะต้องปรับตัวให้ทัน
โดยแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีเคลื่อนไหวไม่มาก ดังนั้น หากดัชนีฯ ไม่สามารถผ่านระดับ 1,540 จุดไปได้ จึงมองไปในทางลบ โดยมีแนวรับแรก 1,500-1,480 จุด แนวรับถัดไป 1,460-1,450 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,540 จุด แนวต้านถัดไป 1,560-1,570 จุด
อนึ่ง ดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เม.ย. ปิดที่ระดับ 1,489.53 จุด ลดลง 38.93 จุด หรือ -2.55% มูลค่าการซื้อขาย 49,849.76 ล้านบาท