ASTV ผู้จัดการรายวัน : ที่สุดประธานรัฐสภาก็ต้องเรียกประชุมร่วมฯช่วงหลังสงกรานต์ตามที่เราเรียกร้อง
นพ.วรงค์ : การเปิดประชุมร่วมรัฐสภานั้นจะต้องเกิดขึ้น เพราะกระบวนการเรื่องเวลาในการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่สมบูรณ์จบ ที่ผ่านมาทางฝ่ายค้านก็ไม่เคยคัดค้านในเรื่องจำนวนวัน แต่การประชุมครั้งนั้นประธานทำผิดถึงสองข้อ คือหนึ่งการที่ ส.ว.เสนอให้มีการยุติการอภิปรายและลงมติรับร่าง ในกรณีนี้ตามข้อบังคับจะต้องมีการขอมติจากที่ระชุมก่อนถึงจะมีการตัดสินใจได้ แต่ในครั้งนี้ประธานก็ได้มีมติให้ยุติการอภิปรายทันที ส่วนข้อที่ 2 ก็คือการกำหนดกรอบเวลาวันแปรญัตติ ซึ่งมีผู้เสนอ 15 วันกับ 60 วัน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็ต้องมีการขอมติจากที่ประชุมแต่ในขณะนั้นองค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับว่าญัตติดังกล่าวยังค้างอยู่ในที่ประชุม แต่ทางประธานสมศักดิ์กับรวบรัดให้มีการแปรญัตติ 15 วันทันที นั่นหมายความว่าทางประธานทำผิดรัฐธรรมนูญ การนัดหมายให้มีการประชุม ก็คงเพราะเกรงว่าตัวเองจะถูกถอดถอน เพราะกระทำผิดชัดเจน
ASTV ผู้จัดการรายวัน : มองได้ไหมว่าเป็นเกมที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามรวบรัดให้เรื่องนี้จบโดยเร็ว
นพ.วรงค์ : ความคิดเห็นของผมทางประธานสมศักดิ์เขาก็หวั่นๆอยู่ เพราะหลักฐานมันชัดเจนว่ารัฐบาลพยายามจะบีบให้เกมนี้เดินหน้าเร็วขึ้น เราก็ทำได้แค่พยายามอธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจ เพราะรัฐบาลก็พยายามเบี่ยงเบนให้ประชาชนเข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ตายน้ำตื้นว่าญัตติตกไปแล้ว
ASTV ผู้จัดการรายวัน : หลายฝ่ายห่วงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
นพ.วรงค์ : แน่นอน เพราะอย่าลืมว่าการแก้ไข 3 ร่าง 4 มาตรา โดยเฉพาะมาตรา 68 จะเป็นช่องทางในการเลยเถิดเพื่อแก้ทั้งฉบับ โดยหลักการของประชาธิปไตยคือการเพิ่มสิทธิให้กับประชาชนและลดอำนาจรัฐ แต่การแก้ไขครั้งนี้กลับเป็นการตัดสิทธิประชาชน ยิ่งถ้ามาดูเป็นเจาะเข้าไปจะเห็นว่ามีการหมกเม็ดในวรรค 1 เพราะคนที่จะร้องศาลในข้อหาล้มล้างรัฐธรรมนูญให้ร้องได้เฉพาะการล้มล้างในหมวด 3 ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้หมวด 15 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเขาแก้ไขตามนี้แล้ว เขาจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ยกเว้นการทำผิดในหมวดที่ 3 ซึ่งก็คือหมวดเสรีภาพ มันจึงมีค่าเท่ากับตัดมาตรา 68 ทิ้งไปเลย ไม่มีผลบังคับใข้อีก ผมจึงเชื่อว่ามาตรานี้จะนำไปสู่การแก้ไขทั้งฉบับ
"ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็เคยหางโผล่กับเรื่องนี้มาแล้ว เขาบอกว่าจะยุบศาลฎีกาแผนกคดีอาญา นักการเมือง จะยุบศาลรัฐธรรมนูญ เหมือนกับว่าจะยุบศาลเกือบทั้งหมด และยังจะยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช.กกต.รวมไปถึงประธานศาลฎีการก็ต้องมาจากรัฐสภา"
ASTV ผู้จัดการรายวัน : แล้วยังมีการสอดไส้เรื่องไหนที่น่าเป็นห่วงอีกไหม
นพ.วรงค์ : น่าเป็นห่วงเรื่องที่มาและวาระของ ส.ว.เรากำลังหลงประเด็นที่มาเถียงกันเรื่องเลือกตั้งหรือสรรหา เพราะความจริงแล้วประเด็นอยู่ที่ ต่อไปนี้ ส.ว.จะไม่ต้องจำกัดวาระอีกต่อไป เพราะถ้าปกติ ส.ว.จะทำงานเพียงแค่วาระเดียว อีก 6 ปีก็ครบวาระแล้ว ทุกคนก็จะทำหน้าที่เต็มที่และทำเพื่อส่วนรวม แต้ถ้ามีการปลดล็อควาระลงต่อได้อีก ส.ว.ก็จะต้องทำงานเพื่อฐานเสียงก็จะมีการผูกขาดเหมือน ส.ส.ก็จะทำให้เกิดการวิ่งเต้นเพื่อเม็ดเงินเพื่อนำไปดูแลประชาชน ซึ่งเงินที่ได้ก็จะมาจากพรรคการเมือง ก็จะกลายเป็นการต้อนเข้าคอกโดยพรรคการเมืองที่พยายามควบรวมอำนาจทั้งหมด การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถ้าผ่านไปได้นั่นหมายความว่า รัฐบาลจะคุมทั้งกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ ส.ว.หรือแม้กระทั่งการทำสัญญาค้าขายที่จะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ในมาตรา 190 ที่เป็นประโยชน์ของทุนสามานย์
ASTV ผู้จัดการรายวัน : หรืออย่างร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ค้าน แต่ก็สู้จำนวนเสียงในสภาไม่ได้
นพ.วรงค์ : เสียงข้างมากวันนี้จะทำอะไรเขาก็ทำไป โดยที่เขาไม่แคร์ โดยอาศัยว่ามีมวลชนมาคอยคุ้มกัน เราต้องเข้าใจว่าสาธารณูปโภคอย่างรถไฟความเร็วสูงใครๆก็ชอบ มันก็เปรียบเสมือนนักศึกษาเพิ่งเรียนจบแต่อยากขับรถเบ๊นซ์ อยากมีบ้านหลังใหญ่โต เราก็ชอบ แต่วิธีการที่ได้มา รวมไปถึงฐานะทางการเงินของเราพร้อมหรือไม่ คนธรรมดามีฐานะเพียงพอที่จะกู้เงินหรือไม่ ประเทศชาติก็เหมือนกัน ฐานะประเทศไทยไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง ประเทศอังกฤษเขารวยกว่าเรา มีการพัฒนาเยอะมากกว่าเรา เขายังเปิดโอกาสให้ต่างชาติ เอกชนเข้ามาร่วมทุน แต่ทำไมรัฐบาลต้องผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งที่ประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือแม้แต่เยอรมัน เขาพร้อมที่จะร่วมทุน แต่คุณจะเอาประเทศชาติไปล่มจมกับคุณหรือ แล้วที่แสบที่สุดคือ คุณกู้เงินมาถลุงใน 7 ปี ถามว่าจะได้เป้าหมายตามนั้นหรือ ผมตอบเลยว่าไม่มีทาง ที่สุดแล้วก็อาจจะมีสภาพเหมือนกับโรงพักร้างนั่นแหละ และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญคุณต้องใช้หนี้ในปีที่11 ใครจะมาใช้หนี้กับคุณ ถึงเวลานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะอายุ 75-76 ปีอาจจะเป็นอะไรตายไปก่อนแล้วก็ได้ เอาเป็นว่าคนจำนวนไม่น้อยในสภาฯตายก่อนแน่นอน ซึ่งผมเชื่อว่าสุดท้ายก็เหมือนกับโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ก็หนีไม่พ้นถูกมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ค้านแหลก ไม่สนใจประโยชน์ส่วนรวม
นพ.วรงค์ : ความจริงแล้วรถไฟความเร็วสูงจะต้องเชื่อมจากเมืองนี้ไปเมืองนั้น ถ้าเราสามารถเชื่อมไปถึงประเทศจากจีนเข้าลาวมาถึงไทยไปมาเลเซียถึงสิงค์โปร์แล้วไปยังประเทศอินโดนีเซีย ผมเชื่อว่ามันจะเป็นเส้นทางสายท่องเที่ยวที่คุ้มค่า ลำพังมาทำแค่ในประเทศใครจะเอาเงินที่ไหนมานั่งกับคุณ มันไม่คุ้มหรอก วันหนึ่งจะได้สักกี่เที่ยวกัน
“ทางเลือกในโครงการใหญ่ๆแบบนี้การร่วมลงทุนดีที่สุด เราไม่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด แต่บริษัทร่วมทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบ อาจจะแบ่งเป็น 51-49 รัฐบาลไม่ต้องรับภาระ แต่รัฐบาลไม่เอา เพราะต้องการกินรวบไม่หวังแบ่งเค้กให้ใคร เหมือนโครงการรับจำนำข้าว”
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ดูแล้วการเมืองในสภายากที่ทัดทานฝ่ายรัฐบาลได้ เป็นแบบนี้คงต้องหันไปหวังพึ่งการเมืองภาคประชาชนแทน
นพ.วรงค์ : ประชาชนก็สู้มาตั้งแต่ปี 2548 ก็คงล้านะ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วผมเชื่อว่าคนไทยจะออกมา ตอนนี้รัฐบาลกำลังรวบอำนาจ อย่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทคือผลประโยชน์ แก้ไขรัฐธรรมนูญคือ อำนาจ และสุดท้ายคือการนิรโทษกรรมเพื่อให้ตัวเองมาเสวยอำนาจและผลประโยชน์ตรงนี้ เขาต้องการเอาเงินเก็บไว้ในตัวเยอะๆ สุดท้ายประเทศจะล่มจมก็ไม่สนใจ ดีไม่ดีก็กลับมาซื้อของถูกในประเทศไทยได้ ผมไม่เชื่อว่าการผูกขาดแล้วประชาชนจะอยู่ดีกินดี อย่างเช่นประเทศเขมรที่ใช้สูตรนี้อยู่ คุณทักษิณก็พยายามจะทำให้ประเทศเป็นแบบกัมพูชา การจะมาอ้างว่าจะทำให้ประเทศเป็นแบบสิงคโปร์มันเป็นไปไม่ได้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่โปร่งใสมากและติดอับดับเรื่องนี้ด้วย แต่เรากับเขาไม่เหมือนกัน เพราะสันดานของคนมันต่างกัน วินัยก็ต่างกัน เพราะคุณโกงมาตลอดแม้แต่เรื่องข้าว เพราะฉะนั้นคุณก็จะโดนเอาไปเปรียบเทียบกับฮุนเซน ผมเห็นทิศทางที่ประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่ความล่มจม เพราะเมื่อคุณได้ชัยชนะมา คุณใช้มันด้วยความอหังการและอยุติธรรม สุดท้ายความหายนะจะมาเยือนคุณ
ASTV ผู้จัดการรายวัน : อ่านเป้าหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร อยากกลับมาเป็นนายกฯไหม
นพ.วรงค์ : คุณทักษิณคงคิดว่าถ้าเขาสามารถนิรโทษกรรมเข้ามาได้ก็จะกลับมาใช้อำนาจที่เตรียมเอาไว้ แต่เชื่อว่าคนอย่างคุณทักษิณคิดไปไกลกว่าเรื่องกลับมาเป็นนายกฯ เพราะเขาพูดอยู่เรื่อยว่าเขาต้องกลับมาชดใช้บุญคุณแผ่นดิน เห็นได้จากสิ่งที่เขาแก้ไขก็คือการรวบอำนาจแบบน่ากลัว
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ถ้าเป็นแบบนั้นจริงบ้านเมืองคงวุ่นวายน่าดู
นพ.วรงค์ : ผมเรียกว่ากลียุคดีกว่า ถ้าประชาชนยังหูเบาแล้วถูกพวกนี้หลอกง่ายๆ เพราะถ้าสังเกตจะเห็นว่าเขาพุ่งเป้าไปที่คนจน แต่ตอนนี้ความขลังเขาอาจจะน้อยลง เพราะคนจนเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้อย่างที่รัฐบาลประกาศไว้ ตอนนี้ก็คงเหลือพวกบรรดาแกนนำที่ยังได้ผลประโยชน์อยู่ก็อาจจะยอมเสียเงินจ้างชาวบ้าน100-200 บาทเพื่อมาร่วมชุมนุม แต่ไม่น่าจะขลังด้วยใจเหมือนแต่ก่อน รัฐบาลไม่เคยจริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องอะไรแบบจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องปากท้อง เรื่องภาคใต้ รัฐบาลทำงานแบบสร้างภาพชวนเชื่อ อาศัยว่ามีสื่อในการโฆษณาอยู่ในมือผม รู้สึกสมเพชนะ แต่ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งพวกที่ช่วยกันโฆษณาตีปี๊บก็จะได้รับกรรมด้วยกันหมด
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังขายได้ ยังมีมวลชนพร้อมออกมาหนุนหลัง
นพ.วรงค์ : ผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งคนไทยจะเกิดความรู้สึกว่า “มึงหลอกกู” เพราะตอนแรกเป็นอุดมการณ์ของชาวบ้านจริงๆที่อยากเห็นคุณทักษิณ มาช่วยก็เลยให้โอกาสเลือกพรรคเพื่อไทยอย่างเต็มที่ ด้วยความใฝ่ฝันที่จะอยู่ดีกินดี แต่พอเลือกมาแล้วหนี้ก็มากขึ้น เงินที่คิดว่าจะได้ก็ต้องรอที 3-4เดือน ได้ก็ไม่เต็มที่ พอมันเกิดกระแสว่าไม่เอาแล้ว เมื่อวันนั้นคุณทักษิณจะไม่มีที่ยืน ผมว่ามันใกล้แล้วนะ อารมณ์ชาวบ้านเริ่มมีแล้ว แต่เขาไม่มีพื้นที่สื่อที่จะมาให้พวกเขาได้พูด แต่พวกผมรับโทรศัพท์อยู่เรื่อยๆ ถ้าเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งเราสามารถทำให้พวกเขาคิดได้ว่าโดนทักษิณหลอก พรรคเพื่อไทยจะแพ้แบบถล่มทลาย
“ผมเชื่อนะว่า คนอย่างคุณทักษิณ คิดแบบเดียวกับที่ผมพูด แต่คนมันไม่จริงใจเลยไม่คิดว่าจะทำอะไรให้ดีกว่านี้ มีความอหังการคิดว่าใช้เงินซื้อได้ การวางเกมให้น้องสาวอีกคน (นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) เข้ามาเป็น ส.ส.เพื่อที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นการดูถูกประชาชน แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีนะ ผมสนับสนุน เพราะมันจะทำให้ประชาชนได้เห็นว่าสุดท้ายที่คุณอ้างถึงประชาชนแต่แท้จริงแล้วก็ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง”
นพ.วรงค์ : การเปิดประชุมร่วมรัฐสภานั้นจะต้องเกิดขึ้น เพราะกระบวนการเรื่องเวลาในการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่สมบูรณ์จบ ที่ผ่านมาทางฝ่ายค้านก็ไม่เคยคัดค้านในเรื่องจำนวนวัน แต่การประชุมครั้งนั้นประธานทำผิดถึงสองข้อ คือหนึ่งการที่ ส.ว.เสนอให้มีการยุติการอภิปรายและลงมติรับร่าง ในกรณีนี้ตามข้อบังคับจะต้องมีการขอมติจากที่ระชุมก่อนถึงจะมีการตัดสินใจได้ แต่ในครั้งนี้ประธานก็ได้มีมติให้ยุติการอภิปรายทันที ส่วนข้อที่ 2 ก็คือการกำหนดกรอบเวลาวันแปรญัตติ ซึ่งมีผู้เสนอ 15 วันกับ 60 วัน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็ต้องมีการขอมติจากที่ประชุมแต่ในขณะนั้นองค์ประชุมไม่ครบ เท่ากับว่าญัตติดังกล่าวยังค้างอยู่ในที่ประชุม แต่ทางประธานสมศักดิ์กับรวบรัดให้มีการแปรญัตติ 15 วันทันที นั่นหมายความว่าทางประธานทำผิดรัฐธรรมนูญ การนัดหมายให้มีการประชุม ก็คงเพราะเกรงว่าตัวเองจะถูกถอดถอน เพราะกระทำผิดชัดเจน
ASTV ผู้จัดการรายวัน : มองได้ไหมว่าเป็นเกมที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามรวบรัดให้เรื่องนี้จบโดยเร็ว
นพ.วรงค์ : ความคิดเห็นของผมทางประธานสมศักดิ์เขาก็หวั่นๆอยู่ เพราะหลักฐานมันชัดเจนว่ารัฐบาลพยายามจะบีบให้เกมนี้เดินหน้าเร็วขึ้น เราก็ทำได้แค่พยายามอธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจ เพราะรัฐบาลก็พยายามเบี่ยงเบนให้ประชาชนเข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ตายน้ำตื้นว่าญัตติตกไปแล้ว
ASTV ผู้จัดการรายวัน : หลายฝ่ายห่วงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
นพ.วรงค์ : แน่นอน เพราะอย่าลืมว่าการแก้ไข 3 ร่าง 4 มาตรา โดยเฉพาะมาตรา 68 จะเป็นช่องทางในการเลยเถิดเพื่อแก้ทั้งฉบับ โดยหลักการของประชาธิปไตยคือการเพิ่มสิทธิให้กับประชาชนและลดอำนาจรัฐ แต่การแก้ไขครั้งนี้กลับเป็นการตัดสิทธิประชาชน ยิ่งถ้ามาดูเป็นเจาะเข้าไปจะเห็นว่ามีการหมกเม็ดในวรรค 1 เพราะคนที่จะร้องศาลในข้อหาล้มล้างรัฐธรรมนูญให้ร้องได้เฉพาะการล้มล้างในหมวด 3 ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้หมวด 15 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเขาแก้ไขตามนี้แล้ว เขาจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ยกเว้นการทำผิดในหมวดที่ 3 ซึ่งก็คือหมวดเสรีภาพ มันจึงมีค่าเท่ากับตัดมาตรา 68 ทิ้งไปเลย ไม่มีผลบังคับใข้อีก ผมจึงเชื่อว่ามาตรานี้จะนำไปสู่การแก้ไขทั้งฉบับ
"ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็เคยหางโผล่กับเรื่องนี้มาแล้ว เขาบอกว่าจะยุบศาลฎีกาแผนกคดีอาญา นักการเมือง จะยุบศาลรัฐธรรมนูญ เหมือนกับว่าจะยุบศาลเกือบทั้งหมด และยังจะยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช.กกต.รวมไปถึงประธานศาลฎีการก็ต้องมาจากรัฐสภา"
ASTV ผู้จัดการรายวัน : แล้วยังมีการสอดไส้เรื่องไหนที่น่าเป็นห่วงอีกไหม
นพ.วรงค์ : น่าเป็นห่วงเรื่องที่มาและวาระของ ส.ว.เรากำลังหลงประเด็นที่มาเถียงกันเรื่องเลือกตั้งหรือสรรหา เพราะความจริงแล้วประเด็นอยู่ที่ ต่อไปนี้ ส.ว.จะไม่ต้องจำกัดวาระอีกต่อไป เพราะถ้าปกติ ส.ว.จะทำงานเพียงแค่วาระเดียว อีก 6 ปีก็ครบวาระแล้ว ทุกคนก็จะทำหน้าที่เต็มที่และทำเพื่อส่วนรวม แต้ถ้ามีการปลดล็อควาระลงต่อได้อีก ส.ว.ก็จะต้องทำงานเพื่อฐานเสียงก็จะมีการผูกขาดเหมือน ส.ส.ก็จะทำให้เกิดการวิ่งเต้นเพื่อเม็ดเงินเพื่อนำไปดูแลประชาชน ซึ่งเงินที่ได้ก็จะมาจากพรรคการเมือง ก็จะกลายเป็นการต้อนเข้าคอกโดยพรรคการเมืองที่พยายามควบรวมอำนาจทั้งหมด การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถ้าผ่านไปได้นั่นหมายความว่า รัฐบาลจะคุมทั้งกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ ส.ว.หรือแม้กระทั่งการทำสัญญาค้าขายที่จะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ในมาตรา 190 ที่เป็นประโยชน์ของทุนสามานย์
ASTV ผู้จัดการรายวัน : หรืออย่างร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ค้าน แต่ก็สู้จำนวนเสียงในสภาไม่ได้
นพ.วรงค์ : เสียงข้างมากวันนี้จะทำอะไรเขาก็ทำไป โดยที่เขาไม่แคร์ โดยอาศัยว่ามีมวลชนมาคอยคุ้มกัน เราต้องเข้าใจว่าสาธารณูปโภคอย่างรถไฟความเร็วสูงใครๆก็ชอบ มันก็เปรียบเสมือนนักศึกษาเพิ่งเรียนจบแต่อยากขับรถเบ๊นซ์ อยากมีบ้านหลังใหญ่โต เราก็ชอบ แต่วิธีการที่ได้มา รวมไปถึงฐานะทางการเงินของเราพร้อมหรือไม่ คนธรรมดามีฐานะเพียงพอที่จะกู้เงินหรือไม่ ประเทศชาติก็เหมือนกัน ฐานะประเทศไทยไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง ประเทศอังกฤษเขารวยกว่าเรา มีการพัฒนาเยอะมากกว่าเรา เขายังเปิดโอกาสให้ต่างชาติ เอกชนเข้ามาร่วมทุน แต่ทำไมรัฐบาลต้องผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งที่ประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือแม้แต่เยอรมัน เขาพร้อมที่จะร่วมทุน แต่คุณจะเอาประเทศชาติไปล่มจมกับคุณหรือ แล้วที่แสบที่สุดคือ คุณกู้เงินมาถลุงใน 7 ปี ถามว่าจะได้เป้าหมายตามนั้นหรือ ผมตอบเลยว่าไม่มีทาง ที่สุดแล้วก็อาจจะมีสภาพเหมือนกับโรงพักร้างนั่นแหละ และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญคุณต้องใช้หนี้ในปีที่11 ใครจะมาใช้หนี้กับคุณ ถึงเวลานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะอายุ 75-76 ปีอาจจะเป็นอะไรตายไปก่อนแล้วก็ได้ เอาเป็นว่าคนจำนวนไม่น้อยในสภาฯตายก่อนแน่นอน ซึ่งผมเชื่อว่าสุดท้ายก็เหมือนกับโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ก็หนีไม่พ้นถูกมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ค้านแหลก ไม่สนใจประโยชน์ส่วนรวม
นพ.วรงค์ : ความจริงแล้วรถไฟความเร็วสูงจะต้องเชื่อมจากเมืองนี้ไปเมืองนั้น ถ้าเราสามารถเชื่อมไปถึงประเทศจากจีนเข้าลาวมาถึงไทยไปมาเลเซียถึงสิงค์โปร์แล้วไปยังประเทศอินโดนีเซีย ผมเชื่อว่ามันจะเป็นเส้นทางสายท่องเที่ยวที่คุ้มค่า ลำพังมาทำแค่ในประเทศใครจะเอาเงินที่ไหนมานั่งกับคุณ มันไม่คุ้มหรอก วันหนึ่งจะได้สักกี่เที่ยวกัน
“ทางเลือกในโครงการใหญ่ๆแบบนี้การร่วมลงทุนดีที่สุด เราไม่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด แต่บริษัทร่วมทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบ อาจจะแบ่งเป็น 51-49 รัฐบาลไม่ต้องรับภาระ แต่รัฐบาลไม่เอา เพราะต้องการกินรวบไม่หวังแบ่งเค้กให้ใคร เหมือนโครงการรับจำนำข้าว”
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ดูแล้วการเมืองในสภายากที่ทัดทานฝ่ายรัฐบาลได้ เป็นแบบนี้คงต้องหันไปหวังพึ่งการเมืองภาคประชาชนแทน
นพ.วรงค์ : ประชาชนก็สู้มาตั้งแต่ปี 2548 ก็คงล้านะ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วผมเชื่อว่าคนไทยจะออกมา ตอนนี้รัฐบาลกำลังรวบอำนาจ อย่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทคือผลประโยชน์ แก้ไขรัฐธรรมนูญคือ อำนาจ และสุดท้ายคือการนิรโทษกรรมเพื่อให้ตัวเองมาเสวยอำนาจและผลประโยชน์ตรงนี้ เขาต้องการเอาเงินเก็บไว้ในตัวเยอะๆ สุดท้ายประเทศจะล่มจมก็ไม่สนใจ ดีไม่ดีก็กลับมาซื้อของถูกในประเทศไทยได้ ผมไม่เชื่อว่าการผูกขาดแล้วประชาชนจะอยู่ดีกินดี อย่างเช่นประเทศเขมรที่ใช้สูตรนี้อยู่ คุณทักษิณก็พยายามจะทำให้ประเทศเป็นแบบกัมพูชา การจะมาอ้างว่าจะทำให้ประเทศเป็นแบบสิงคโปร์มันเป็นไปไม่ได้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่โปร่งใสมากและติดอับดับเรื่องนี้ด้วย แต่เรากับเขาไม่เหมือนกัน เพราะสันดานของคนมันต่างกัน วินัยก็ต่างกัน เพราะคุณโกงมาตลอดแม้แต่เรื่องข้าว เพราะฉะนั้นคุณก็จะโดนเอาไปเปรียบเทียบกับฮุนเซน ผมเห็นทิศทางที่ประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่ความล่มจม เพราะเมื่อคุณได้ชัยชนะมา คุณใช้มันด้วยความอหังการและอยุติธรรม สุดท้ายความหายนะจะมาเยือนคุณ
ASTV ผู้จัดการรายวัน : อ่านเป้าหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร อยากกลับมาเป็นนายกฯไหม
นพ.วรงค์ : คุณทักษิณคงคิดว่าถ้าเขาสามารถนิรโทษกรรมเข้ามาได้ก็จะกลับมาใช้อำนาจที่เตรียมเอาไว้ แต่เชื่อว่าคนอย่างคุณทักษิณคิดไปไกลกว่าเรื่องกลับมาเป็นนายกฯ เพราะเขาพูดอยู่เรื่อยว่าเขาต้องกลับมาชดใช้บุญคุณแผ่นดิน เห็นได้จากสิ่งที่เขาแก้ไขก็คือการรวบอำนาจแบบน่ากลัว
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ถ้าเป็นแบบนั้นจริงบ้านเมืองคงวุ่นวายน่าดู
นพ.วรงค์ : ผมเรียกว่ากลียุคดีกว่า ถ้าประชาชนยังหูเบาแล้วถูกพวกนี้หลอกง่ายๆ เพราะถ้าสังเกตจะเห็นว่าเขาพุ่งเป้าไปที่คนจน แต่ตอนนี้ความขลังเขาอาจจะน้อยลง เพราะคนจนเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้อย่างที่รัฐบาลประกาศไว้ ตอนนี้ก็คงเหลือพวกบรรดาแกนนำที่ยังได้ผลประโยชน์อยู่ก็อาจจะยอมเสียเงินจ้างชาวบ้าน100-200 บาทเพื่อมาร่วมชุมนุม แต่ไม่น่าจะขลังด้วยใจเหมือนแต่ก่อน รัฐบาลไม่เคยจริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องอะไรแบบจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องปากท้อง เรื่องภาคใต้ รัฐบาลทำงานแบบสร้างภาพชวนเชื่อ อาศัยว่ามีสื่อในการโฆษณาอยู่ในมือผม รู้สึกสมเพชนะ แต่ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งพวกที่ช่วยกันโฆษณาตีปี๊บก็จะได้รับกรรมด้วยกันหมด
ASTV ผู้จัดการรายวัน : ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังขายได้ ยังมีมวลชนพร้อมออกมาหนุนหลัง
นพ.วรงค์ : ผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งคนไทยจะเกิดความรู้สึกว่า “มึงหลอกกู” เพราะตอนแรกเป็นอุดมการณ์ของชาวบ้านจริงๆที่อยากเห็นคุณทักษิณ มาช่วยก็เลยให้โอกาสเลือกพรรคเพื่อไทยอย่างเต็มที่ ด้วยความใฝ่ฝันที่จะอยู่ดีกินดี แต่พอเลือกมาแล้วหนี้ก็มากขึ้น เงินที่คิดว่าจะได้ก็ต้องรอที 3-4เดือน ได้ก็ไม่เต็มที่ พอมันเกิดกระแสว่าไม่เอาแล้ว เมื่อวันนั้นคุณทักษิณจะไม่มีที่ยืน ผมว่ามันใกล้แล้วนะ อารมณ์ชาวบ้านเริ่มมีแล้ว แต่เขาไม่มีพื้นที่สื่อที่จะมาให้พวกเขาได้พูด แต่พวกผมรับโทรศัพท์อยู่เรื่อยๆ ถ้าเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งเราสามารถทำให้พวกเขาคิดได้ว่าโดนทักษิณหลอก พรรคเพื่อไทยจะแพ้แบบถล่มทลาย
“ผมเชื่อนะว่า คนอย่างคุณทักษิณ คิดแบบเดียวกับที่ผมพูด แต่คนมันไม่จริงใจเลยไม่คิดว่าจะทำอะไรให้ดีกว่านี้ มีความอหังการคิดว่าใช้เงินซื้อได้ การวางเกมให้น้องสาวอีกคน (นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) เข้ามาเป็น ส.ส.เพื่อที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นการดูถูกประชาชน แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีนะ ผมสนับสนุน เพราะมันจะทำให้ประชาชนได้เห็นว่าสุดท้ายที่คุณอ้างถึงประชาชนแต่แท้จริงแล้วก็ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง”