การต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ได้ดำเนินมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว จึงคิดว่ามีเรื่องที่น่าสนใจและน่าสังเกตอยู่หลายประการเพื่อให้บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ดังนี้
คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)จะตัดสินในบทปฏิบัติการของคำพิพากษาว่าให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาและชี้ชัดว่าด้วยว่าแผนที่ภาคผนวก 1 (แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว) และรวมถึงเส้นเขตแดนตามแผนที่นั้นมิใช่ข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศของไทยจึงคาดหวังว่าศาลโลกจะไม่ตัดสินเส้นเขตแดนหรือแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เกินขอบเขตของบทปฏิบัติการของคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505
แต่ต้องไม่ลืมว่าการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้ใช้ “เหตุผล” ในเรื่อง “กฎหมายปิดปาก” กับแผนที่ภาคผนวก 1 ว่าไทยไม่ปฏิเสธ จึงเท่ากับยอมรับแผนที่ดังกล่าวมาเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสินตัวปราสาทพระวิหารว่าตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
อาจจะเป็นความโชคดีที่เมื่อปี พ.ศ. 2505 ที่ศาลโลกไม่ได้ตัดสินแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 เพราะไทยคงเสียดินแดนมากไปกว่านั้น!!!!
แต่ก็อาจจะเป็นโชคร้ายก็ได้ ที่ศาลโลกได้มีคำพิพากษาออกมาเป็นบทปฏิบัติการวรรค 2 ที่กัมพูชาใช้เป็นข้ออ้างในการตีความต่อศาลโลก และคำขู่นี้ทำให้ประเทศไทยต้องอยู่ในฝันร้ายติดตามต่อมาถึง 50 กว่าปี
นั่นคือมติศาลโลก 9 ต่อ 3 ลงความเห็นว่า: ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือใน “บริเวณใกล้เคียง”บนอาณาเขตของกัมพูชา
กัมพูชาร้องขอต่อศาลโลกเที่ยวนี้รู้ว่าจะขอให้พิพากษาเขตแดนและแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลโลกตีความเกินขอบเขตของคำพิพากษาเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2505 แต่กัมพูชาก็เลี่ยงคำใช้เล่ห์เพทุบายในการขอให้ศาลโลกตีความในบทปฏิบัติการวรรค 2 ว่า การถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชานั้น “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารบนอาณาเขตของกัมพูชา” กินพื้นที่อาณาบริเวณเท่าไหร่?
โดยกัมพูชามีความคาดหวังว่าเมื่อไม่มีคำนิยามพื้นที่การถอนทหารของฝ่ายไทย ปรากฏอยู่ในเนื้อหาทั้งหมดของคำพิพากษาของศาลโลกเลย ดังนั้นศาลโลกก็ควรจะต้องยึดเอา “มูลฐาน”หรือ “เหตุผล” ในการตัดสินปราสาทพระวิหาร ซึ่งก็คือแผนที่ภาคผนวก 1 และ เส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 มาเป็นตัวกำหนด “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารบนอาณาเขตของกัมพูชา” จึงจะสามารถเป็นบทปฏิบัติการที่ปฏิบัติการได้จริง และเรียกร้องให้ศาลโลกจำเป็นต้องชี้ขาดโดยกัมพูชาอ้างถึง การปะทะ การพิพาท ที่มาจากการตีความที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับกัมพูชาทำให้ไม่เกิดสันติภาพกับทั้ง 2 ประเทศ
ขอย้ำว่า ฝ่ายคณะทนายของกัมพูชา ได้อ้างหลายครั้ง ถึงคดีตัวอย่างระหว่าง คาเมรูน กับ ไนจีเรีย ที่มีการให้ศาลโลกตีความโดยใช้เหตุผลหรือมูลฐานในการตัดสินบทปฏิบัติการมาแล้ว!!!
แต่ความจริงฝ่ายไทยก็ไม่ควรจะจนแต้มในเรื่องนี้เสียทีเดียว ด้วยเหตุผลถึง 3 ประการ
ประการแรกคำร้องขอของกัมพูชาในเรื่องขอให้ศาลโลกพิพากษาแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลโลกไม่ได้ตัดสินเป็นบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
ในข้อนี้คนไทยทั้งชาติ และรัฐบาล รวมถึงกองทัพ ควรส่งสัญญาณต่อศาลโลกให้ตระหนักด้วยว่า การตีความที่เกินขอบเขตคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ประเทศไทย กองทัพไทย และประชาชนชาวไทยจะยอมรับไม่ได้ ซึ่งจะกลายเป็นชนวนนำไปสู่การต่อสู้ การปะทะ และการใช้กำลัง ทำให้เกิดความไม่สงบสุข ไม่เกิดสันติภาพ ต่อทั้ง 2 ประเทศ (และนี่คือสิ่งที่ภาคประชาชนหลายส่วนพยายามดำเนินการ)
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ฝ่ายกัมพูชาโฆษณาชวนเชื่ออยู่ฝ่ายเดียวว่า ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรังแก และการตีความของศาลโลกเท่านั้นจะสร้างความสงบสุขระหว่าง 2 ประเทศ หรือ รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศรวมถึงกองทัพ ก็ไม่ควรส่งแสดงท่าทีสัญญาณว่าศาลตัดสินอย่างไรก็จะยอมรับอำนาจศาลโลก เพราะนั่นเท่ากับเป็นการวางยุทธวิธีที่ทำให้ฝ่ายกัมพูชาอาจได้เปรียบทางจิตวิทยาอยู่ฝ่ายเดียวว่าการตัดสินให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชาเท่านั้นจึงจะสร้างความสงบสุขสันติภาพได้
ประการที่สองในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 “คำร้องขอ” ของกัมพูชาต่อศาลโลกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505 นั้นไม่ได้ใช้คำว่า อาณาบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร แต่คำขอนั้นมีความชัดเจนเสียยิ่งกว่านั้นว่า “ขอประทาน ศาลได้โปรด พิพากษาและชี้ขาดว่าราชอาณาจักรไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องถอนหน่วยทหารที่ได้ส่งไปตั้งประจำ ณ บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหารภายในดินแดนกัมพูชา ตั้งแต่ ค.ศ. 1954” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า:
“To adjudge and declare the the Kingdom of Thailand is under an obligation to withdraw the detachments of armed forces it has stationed, since 1954, in Cambodian territory, in the ruins of Temple of Preah Vihear”
คำขอของกัมพูชาขอว่าให้ถอนกำลังทหารออกจาก “บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหาร” ภาษาอังกฤษใช้คำชัดเจนว่า “in the ruins of The Temple of Preah Vihear” หมายความว่าคำขอตามความมุ่งหมายของกัมพูชาได้จำกัดอยู่เพียงการถอนทหารออกจากในตัวซากปราสาทพระวิหารเท่านั้น ซึ่งศาลโลกย่อมไม่สามารถตีความเกินคำขอของกัมพูชาได้
ด้วยเหตุผลนี้ฝ่ายรัฐบาลไทย ใน พ.ศ. 2505 จึงได้ทำคำโต้แย้งในประเด็นนี้มาแล้ว โดยฝ่ายไทยร้องขอมิให้ศาลรับข้อเรียกร้องนี้ไว้พิจารณามาแล้วเพราะเหตุว่า
“(๑)การเรียกร้องดินแดนใน “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร” เป็นการขยายข้อเรียกร้องเดิมซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้เสนอในคำร้องเริ่มคดี และในคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษรโดยตลอด” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“(i) the claim to a region “in the neighbourhood of the temple of Pra Viharn’ constitutes an enlargement of the claim presented by the Government of Cambodia in the application instituting these proceedings and throughout the written pleadings;
(๒)“ถ้อยคำในข้อเรียกร้องนั้นไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้ศาลและรัฐบาลไทยมิอาจหยั่งรู้ว่าขอบเขตแห่งดินแดนที่ประเทศกัมพูชา” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
(ii) the terms of the claim are too vague to allow either the Court or the Government of Thailand to appreciate what are the limits of the territory claimed.
คำถามถัดมาคือคดีนี้ศาลชี้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีขอบเขตของการพิพาทกันระหว่างไทยและกัมพูชาแค่ไหน คำตอบก็น่าจะมาจากคำเกริ่นนำในคำพิพากษาของศาลโลกเองได้พิพากษาระบุอย่างชัดเจนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ดังนี้
“ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่เสนอต่อศาลจึงมีวงจำกัดอยู่ที่ความแตกต่างกันในเรื่องความเห็นเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนืออาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร”
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า:
“Accordlingly, the subject of the dispute submitted to the Court is confined to a difference of view about sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear.”
ประการที่สามจากเหตุผลในประการที่สองนี้เอง ศาลโลกจึงใช้คำว่า “ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“That Thailand is under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory”
คำว่า “Vicinity” ซึ่งแปลว่า “บริเวณใกล้เคียง” ซึ่งกัมพูชาร้องขอให้ตีความนั้น แท้ที่จริงแล้วไม่สามารถตีความไปเกินขอบเขตเป็น “อาณาบริเวณกว้าง” ได้ เพราะย่อมทำให้ผิดความหมายตามคำศัพท์นี้ คำว่า “บริเวณใกล้เคียง” จึงย่อมเป็นคำจำกัดความตามพจนานุกรมอยู่แล้วว่า หมายถึง ละแวกใกล้เคียง, ใกล้หรือประชิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ย่อมหมายถึงพื้นที่ประชิดตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น และเมื่อศาลไม่ได้กำหนดและไม่ได้พิพากษาบทปฏิบัติการให้ครอบคลุมถึงแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 เรื่องระยะพื้นที่ห่างเท่าไหร่จึงไม่ใช่อำนาจของศาลโลกที่จะตีความเกินความหมายของคำพิพากษาเดิมได้
ประเด็นที่น่าจะคิดต่อ ยังมีอยู่อีกว่าต่อให้รัฐบาลไทยต่อสู้คดีความด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักข้างต้นแล้ว ก็ไม่แน่ว่าประเทศไทยจะชนะได้ เพราะแม้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรก ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยก็มั่นใจว่าจะชนะอย่างแน่นอน ทั้งเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หลักฐานชัดเจนว่าแผนที่ภาคผนวก 1 ทำผิด หลักฐานการบันทึกฝ่ายฝรั่งเศสยอมรับว่าบริเวณทิวเขาดงรักเห็นหน้าผาเป็นสันปันน้ำชัดเจน ฯลฯ แต่ศาลโลกกลับใช้เกมการเมืองอ้างกฎหมายประเพณีอังกฤษที่เรียกว่า “กฎหมายปิดปาก”กับประเทศไทยประเทศเดียว ประเทศแรก และประเทศสุดท้ายในโลก ว่าไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 จึงเท่ากับไทยยอมรับแผนที่ดังกล่าว
เพราะความอยุติธรรมที่ศาลโลกได้ทำกับประเทศไทยข้างต้น บรรพชนไทยจึงได้แก้ไขสถานการณ์ด้วยการประท้วง คัดค้าน ล้อมรั้ว ไม่ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 และตั้งข้อสงวนแบบไม่มีอายุความที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต อีกทั้งยังไม่ต่ออายุปฏิญญาการรับอำนาจศาลโลกมากว่า 50 ปีติดต่อกันแล้ว นี่คือความเจ็บปวดและมรดกชิ้นสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักอยู่เสมอว่า “ศาลโลกเป็นศาลการเมือง”ที่ขึ้นอยู่กับการต่อรอง ล็อบบี้ ซึ่งไม่สามารถไว้วางใจในความยุติธรรมได้
เมื่อไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการรับอำนาจศาลโลกโดยบังคับมากว่า 50 ปีแล้ว การจะที่ศาลโลกจะตีความไปไกลกว่าเดิม จึงย่อมทำไม่ได้ และไทยควรประกาศสงวนสิทธิ์ไม่รับอำนาจศาลโลกให้มีความชัดเจนในโอกาสสุดท้ายนี้
เพราะการประกาศสงวนสิทธิ์ไม่รับอำนาจศาลโลกที่ตีความเกินขอบเขตนั้น คือการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้ศาลโลกได้ตระหนักว่าการตีความที่อยุติธรรมเกินขอบเขตเพื่อให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชา จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด การปะทะ ความไม่สงบ และเป็นการทำลายสันติภาพโดยมือของศาลโลกเอง !!!
คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)จะตัดสินในบทปฏิบัติการของคำพิพากษาว่าให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาและชี้ชัดว่าด้วยว่าแผนที่ภาคผนวก 1 (แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว) และรวมถึงเส้นเขตแดนตามแผนที่นั้นมิใช่ข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศของไทยจึงคาดหวังว่าศาลโลกจะไม่ตัดสินเส้นเขตแดนหรือแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เกินขอบเขตของบทปฏิบัติการของคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505
แต่ต้องไม่ลืมว่าการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้ใช้ “เหตุผล” ในเรื่อง “กฎหมายปิดปาก” กับแผนที่ภาคผนวก 1 ว่าไทยไม่ปฏิเสธ จึงเท่ากับยอมรับแผนที่ดังกล่าวมาเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสินตัวปราสาทพระวิหารว่าตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
อาจจะเป็นความโชคดีที่เมื่อปี พ.ศ. 2505 ที่ศาลโลกไม่ได้ตัดสินแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 เพราะไทยคงเสียดินแดนมากไปกว่านั้น!!!!
แต่ก็อาจจะเป็นโชคร้ายก็ได้ ที่ศาลโลกได้มีคำพิพากษาออกมาเป็นบทปฏิบัติการวรรค 2 ที่กัมพูชาใช้เป็นข้ออ้างในการตีความต่อศาลโลก และคำขู่นี้ทำให้ประเทศไทยต้องอยู่ในฝันร้ายติดตามต่อมาถึง 50 กว่าปี
นั่นคือมติศาลโลก 9 ต่อ 3 ลงความเห็นว่า: ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือใน “บริเวณใกล้เคียง”บนอาณาเขตของกัมพูชา
กัมพูชาร้องขอต่อศาลโลกเที่ยวนี้รู้ว่าจะขอให้พิพากษาเขตแดนและแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลโลกตีความเกินขอบเขตของคำพิพากษาเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2505 แต่กัมพูชาก็เลี่ยงคำใช้เล่ห์เพทุบายในการขอให้ศาลโลกตีความในบทปฏิบัติการวรรค 2 ว่า การถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชานั้น “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารบนอาณาเขตของกัมพูชา” กินพื้นที่อาณาบริเวณเท่าไหร่?
โดยกัมพูชามีความคาดหวังว่าเมื่อไม่มีคำนิยามพื้นที่การถอนทหารของฝ่ายไทย ปรากฏอยู่ในเนื้อหาทั้งหมดของคำพิพากษาของศาลโลกเลย ดังนั้นศาลโลกก็ควรจะต้องยึดเอา “มูลฐาน”หรือ “เหตุผล” ในการตัดสินปราสาทพระวิหาร ซึ่งก็คือแผนที่ภาคผนวก 1 และ เส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 มาเป็นตัวกำหนด “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารบนอาณาเขตของกัมพูชา” จึงจะสามารถเป็นบทปฏิบัติการที่ปฏิบัติการได้จริง และเรียกร้องให้ศาลโลกจำเป็นต้องชี้ขาดโดยกัมพูชาอ้างถึง การปะทะ การพิพาท ที่มาจากการตีความที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับกัมพูชาทำให้ไม่เกิดสันติภาพกับทั้ง 2 ประเทศ
ขอย้ำว่า ฝ่ายคณะทนายของกัมพูชา ได้อ้างหลายครั้ง ถึงคดีตัวอย่างระหว่าง คาเมรูน กับ ไนจีเรีย ที่มีการให้ศาลโลกตีความโดยใช้เหตุผลหรือมูลฐานในการตัดสินบทปฏิบัติการมาแล้ว!!!
แต่ความจริงฝ่ายไทยก็ไม่ควรจะจนแต้มในเรื่องนี้เสียทีเดียว ด้วยเหตุผลถึง 3 ประการ
ประการแรกคำร้องขอของกัมพูชาในเรื่องขอให้ศาลโลกพิพากษาแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลโลกไม่ได้ตัดสินเป็นบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
ในข้อนี้คนไทยทั้งชาติ และรัฐบาล รวมถึงกองทัพ ควรส่งสัญญาณต่อศาลโลกให้ตระหนักด้วยว่า การตีความที่เกินขอบเขตคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ประเทศไทย กองทัพไทย และประชาชนชาวไทยจะยอมรับไม่ได้ ซึ่งจะกลายเป็นชนวนนำไปสู่การต่อสู้ การปะทะ และการใช้กำลัง ทำให้เกิดความไม่สงบสุข ไม่เกิดสันติภาพ ต่อทั้ง 2 ประเทศ (และนี่คือสิ่งที่ภาคประชาชนหลายส่วนพยายามดำเนินการ)
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ฝ่ายกัมพูชาโฆษณาชวนเชื่ออยู่ฝ่ายเดียวว่า ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรังแก และการตีความของศาลโลกเท่านั้นจะสร้างความสงบสุขระหว่าง 2 ประเทศ หรือ รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศรวมถึงกองทัพ ก็ไม่ควรส่งแสดงท่าทีสัญญาณว่าศาลตัดสินอย่างไรก็จะยอมรับอำนาจศาลโลก เพราะนั่นเท่ากับเป็นการวางยุทธวิธีที่ทำให้ฝ่ายกัมพูชาอาจได้เปรียบทางจิตวิทยาอยู่ฝ่ายเดียวว่าการตัดสินให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชาเท่านั้นจึงจะสร้างความสงบสุขสันติภาพได้
ประการที่สองในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 “คำร้องขอ” ของกัมพูชาต่อศาลโลกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505 นั้นไม่ได้ใช้คำว่า อาณาบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร แต่คำขอนั้นมีความชัดเจนเสียยิ่งกว่านั้นว่า “ขอประทาน ศาลได้โปรด พิพากษาและชี้ขาดว่าราชอาณาจักรไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องถอนหน่วยทหารที่ได้ส่งไปตั้งประจำ ณ บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหารภายในดินแดนกัมพูชา ตั้งแต่ ค.ศ. 1954” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า:
“To adjudge and declare the the Kingdom of Thailand is under an obligation to withdraw the detachments of armed forces it has stationed, since 1954, in Cambodian territory, in the ruins of Temple of Preah Vihear”
คำขอของกัมพูชาขอว่าให้ถอนกำลังทหารออกจาก “บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหาร” ภาษาอังกฤษใช้คำชัดเจนว่า “in the ruins of The Temple of Preah Vihear” หมายความว่าคำขอตามความมุ่งหมายของกัมพูชาได้จำกัดอยู่เพียงการถอนทหารออกจากในตัวซากปราสาทพระวิหารเท่านั้น ซึ่งศาลโลกย่อมไม่สามารถตีความเกินคำขอของกัมพูชาได้
ด้วยเหตุผลนี้ฝ่ายรัฐบาลไทย ใน พ.ศ. 2505 จึงได้ทำคำโต้แย้งในประเด็นนี้มาแล้ว โดยฝ่ายไทยร้องขอมิให้ศาลรับข้อเรียกร้องนี้ไว้พิจารณามาแล้วเพราะเหตุว่า
“(๑)การเรียกร้องดินแดนใน “บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร” เป็นการขยายข้อเรียกร้องเดิมซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้เสนอในคำร้องเริ่มคดี และในคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษรโดยตลอด” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“(i) the claim to a region “in the neighbourhood of the temple of Pra Viharn’ constitutes an enlargement of the claim presented by the Government of Cambodia in the application instituting these proceedings and throughout the written pleadings;
(๒)“ถ้อยคำในข้อเรียกร้องนั้นไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้ศาลและรัฐบาลไทยมิอาจหยั่งรู้ว่าขอบเขตแห่งดินแดนที่ประเทศกัมพูชา” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
(ii) the terms of the claim are too vague to allow either the Court or the Government of Thailand to appreciate what are the limits of the territory claimed.
คำถามถัดมาคือคดีนี้ศาลชี้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีขอบเขตของการพิพาทกันระหว่างไทยและกัมพูชาแค่ไหน คำตอบก็น่าจะมาจากคำเกริ่นนำในคำพิพากษาของศาลโลกเองได้พิพากษาระบุอย่างชัดเจนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ดังนี้
“ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่เสนอต่อศาลจึงมีวงจำกัดอยู่ที่ความแตกต่างกันในเรื่องความเห็นเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนืออาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร”
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า:
“Accordlingly, the subject of the dispute submitted to the Court is confined to a difference of view about sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear.”
ประการที่สามจากเหตุผลในประการที่สองนี้เอง ศาลโลกจึงใช้คำว่า “ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“That Thailand is under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory”
คำว่า “Vicinity” ซึ่งแปลว่า “บริเวณใกล้เคียง” ซึ่งกัมพูชาร้องขอให้ตีความนั้น แท้ที่จริงแล้วไม่สามารถตีความไปเกินขอบเขตเป็น “อาณาบริเวณกว้าง” ได้ เพราะย่อมทำให้ผิดความหมายตามคำศัพท์นี้ คำว่า “บริเวณใกล้เคียง” จึงย่อมเป็นคำจำกัดความตามพจนานุกรมอยู่แล้วว่า หมายถึง ละแวกใกล้เคียง, ใกล้หรือประชิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ย่อมหมายถึงพื้นที่ประชิดตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น และเมื่อศาลไม่ได้กำหนดและไม่ได้พิพากษาบทปฏิบัติการให้ครอบคลุมถึงแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 เรื่องระยะพื้นที่ห่างเท่าไหร่จึงไม่ใช่อำนาจของศาลโลกที่จะตีความเกินความหมายของคำพิพากษาเดิมได้
ประเด็นที่น่าจะคิดต่อ ยังมีอยู่อีกว่าต่อให้รัฐบาลไทยต่อสู้คดีความด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักข้างต้นแล้ว ก็ไม่แน่ว่าประเทศไทยจะชนะได้ เพราะแม้คดีปราสาทพระวิหารภาคแรก ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยก็มั่นใจว่าจะชนะอย่างแน่นอน ทั้งเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หลักฐานชัดเจนว่าแผนที่ภาคผนวก 1 ทำผิด หลักฐานการบันทึกฝ่ายฝรั่งเศสยอมรับว่าบริเวณทิวเขาดงรักเห็นหน้าผาเป็นสันปันน้ำชัดเจน ฯลฯ แต่ศาลโลกกลับใช้เกมการเมืองอ้างกฎหมายประเพณีอังกฤษที่เรียกว่า “กฎหมายปิดปาก”กับประเทศไทยประเทศเดียว ประเทศแรก และประเทศสุดท้ายในโลก ว่าไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 จึงเท่ากับไทยยอมรับแผนที่ดังกล่าว
เพราะความอยุติธรรมที่ศาลโลกได้ทำกับประเทศไทยข้างต้น บรรพชนไทยจึงได้แก้ไขสถานการณ์ด้วยการประท้วง คัดค้าน ล้อมรั้ว ไม่ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 และตั้งข้อสงวนแบบไม่มีอายุความที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต อีกทั้งยังไม่ต่ออายุปฏิญญาการรับอำนาจศาลโลกมากว่า 50 ปีติดต่อกันแล้ว นี่คือความเจ็บปวดและมรดกชิ้นสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักอยู่เสมอว่า “ศาลโลกเป็นศาลการเมือง”ที่ขึ้นอยู่กับการต่อรอง ล็อบบี้ ซึ่งไม่สามารถไว้วางใจในความยุติธรรมได้
เมื่อไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการรับอำนาจศาลโลกโดยบังคับมากว่า 50 ปีแล้ว การจะที่ศาลโลกจะตีความไปไกลกว่าเดิม จึงย่อมทำไม่ได้ และไทยควรประกาศสงวนสิทธิ์ไม่รับอำนาจศาลโลกให้มีความชัดเจนในโอกาสสุดท้ายนี้
เพราะการประกาศสงวนสิทธิ์ไม่รับอำนาจศาลโลกที่ตีความเกินขอบเขตนั้น คือการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้ศาลโลกได้ตระหนักว่าการตีความที่อยุติธรรมเกินขอบเขตเพื่อให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชา จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด การปะทะ ความไม่สงบ และเป็นการทำลายสันติภาพโดยมือของศาลโลกเอง !!!