จริงอยู่ ไทยเสียปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชาโดยคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 แต่ก็ต้องเข้าใจว่าศาลไม่ได้พิพากษาเรื่องเขตแดน ไม่ได้ชี้ให้เส้นตามแผนที่ระวางดงรักเป็นเส้นเขตแดน ในบทปฏิบัติการของคำพิพากษาฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาหลักของคดีนี้มี 3 ข้อ
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตใต้อธิปไตยของกัมพูชา ; โดยเหตุนี้
ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแล ซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา ; และ
ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องคืนให้แก่กัมพูชา บรรดาวัตถุชนิดที่ได้ระบุไว้ในคำแถลงสรุปข้อห้าของกัมพูชา ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยอาจจะได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณพระวิหาร นับแต่วันที่ประเทศไทยเข้าครอบครองพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1954
โปรดสังเกตตรงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้
เป็นคำแปลมาจากคำพิพากษาฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งระบุให้ใช้เป็นภาษาหลักของคำพิพากษาคดีนี้ คำภาษาอังกฤษทั้งสองคือ “...in territory under sovereignty of Cambodia” และ “...on Cambodian territory”
นี่เป็นคำแปลภาษาไทยฉบับเป็นทางการโดยกระทรวงการต่างประเทศ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเผยแพร่โดยสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2505 หลังคำพิพากษา 15 วัน คนไทยรุ่นหลังก่อนหน้าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เวลาอ้างอิงถึงคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์นี้แทบทั้งหมดจะอ้างอิงสำนวนแปลฉบับนี้ โดยจะอ้างเลขหน้าและย่อหน้าประกอบด้วย แม้หนังสือเล่มแรกที่พิมพ์เมื่อ 50 ปีฉบับหน้าปกเป็นธงชาติไทยจะหมดลง การจัดพิมพ์ครั้งใหม่ก็ใช้วิธีนำทั้งรูปแบบหนังสือเดิมมาถ่ายเพลทพิมพ์ใหม่โดยไม่ได้จัดรูปเล่มใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ไม่มีแม้กระทั่งคำนำใหม่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบปกหน้าใหม่เป็นสีส้มๆ เท่านั้น ทำให้การถกทางวิชาการถึงตัวคำพิพากษายังคงสามารถอ้างอิงเลขหน้าและย่อหน้าได้เหมือนเดิมโดยไม่มีความสับสน
ศาลไม่ได้ชี้เรื่องเขตแดนไว้ เพราะคำฟ้องและคำขอครั้งแรกของกัมพูชาในคดีนี้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 มีเพียงขอให้ศาลสั่งว่าอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ต่อมากัมพูชาจึงเพิ่มเติมคำฟ้องและคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น คือ ความถูกต้องของแผนที่ระวางดงรัก และเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่ระวางดงรัก
ศาลจึงมีคำพิพากษาตามคำฟ้องและคำขอในครั้งแรกของกัมพูชาเท่านั้น
ศาลไม่ได้ชี้เรื่องเขตแดน – ขอย้ำอีกครั้ง!
การปฏิบัติตามคำพิพากษาของประเทศไทยแม้จะไม่เห็นด้วย ก็คือมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ล้อมรั้วอาณาเขตปราสาทพระวิหาร ซึ่งนอกจากตัวพระวิหารแล้วก็มีพื้นที่อีกรวม 1 ใน 4 ตารางกิโลเมตร และถอนกำลังออกมาจากพื้นที่ดังกล่าวตามคำพิพากษาข้อสองเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2505 แม้แต่ธงไตรรงค์ก็อัญเชิญออกมาโดยวิธีการขุดเสาและแบกออกมาโดยที่ไม่ได้ชักธงลงจากยอดเสา
ประเด็นที่ต้องเข้าใจกันคือเขตที่ล้อมรั้วไว้คือเขตปราสาทพระวิหาร หรือพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่เขตแดนไทย-กัมพูชา
ประเทศไทยยังคงมีจุดยืนเหมือนที่ต่อสู้คดีในช่วงปี 2502 – 2505 มาโดยตลอด 2 ประการว่า
หนึ่ง : เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ที่สันปันน้ำตามข้อ 1 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ
สอง : สันปันน้ำอยู่ที่หน้าผา ตามสรุปผลการสำรวจของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส 3 ชุด คือ ชุดปี ค.ศ. 1904, 1907 และ 1919 โดยมีหลักฐานหลายรายการตามที่ประเทศไทยอ้างไว้ในคำให้การที่ยื่นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2504 และคำติงที่ยื่นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2505
นี่คือจุดยืนที่ประเทศไทยยืนยันมาตลอด ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
เอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ที่กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 นี้ก็ไม่อาจปฏิเสธจุดยืนที่ชัดแจ้งนี้ ดังกล่าวไว้ในคำถาม-คำตอบข้อ 8 หน้า 9 ว่า...
“ถาม : หลังจากปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก ประเทศไทยยึดถือแนวเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารอย่างไร และกัมพูชายึดถือเส้นเขตแดนใด
“ตอบ : ไทยยึดถือสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนตามข้อบทของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1904 ส่วนเส้นขอบเขตปราสาทตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 นั้น ไทยไม่ถือว่าเป็นเขตแดน สำหรับกัมพูชายึดถือเส้นตามแผนที่ 1 : 200,000...”
จะถูกจะผิดและจะลงเอยอย่างไร แต่นี่ก็คือจุดยืนที่ประเทศไทยยึดถือมาโดยตลอด ไม่มีเหตุที่จะต้องเปลี่ยนแปลงจุดยืนประกาศต่อสาธารณะในขณะที่ยังจะต้องมีการเจรจากันอีกหลายยก
แต่แล้วก็เกิด “จุดเปลี่ยน” ต่อจุดยืนของประเทศไทยครั้งสำคัญ
ในเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” เดียวกันนี้เอง ท้ายข้อ 8 ที่เขียนไว้ดีพอสมควรแล้ว กลับมามีนิยามศัพท์ต่อท้าย อยู่ในเอกสารหน้า 10 เป็นนิยามศัพท์คำสันปันน้ำ อย่างที่ผมเขียนเล่ามาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญ นิยามสันปันน้ำใหม่นี้ทำลายคำตอบในข้อ 8 ของจุดยืนเดิมของประเทศไทยเสียสิ้น คือแม้จะจำนนไม่อาจปฏิเสธว่ากว่า 50 ปีมาแล้วประเทศไทยยืนยันว่าเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำ แต่วันนี้กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าไม่รู้ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ไหน เพราะ หนึ่ง อาจไม่ใช่สันเขาหรือหน้าผา, สอง ไม่เคยมีการใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์ และสาม ไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในบริเวณปราสาทพระวิหาร
วันนี้ หลังจากได้อ่านเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ก็พบว่าก่อนจะถึงนิยามสันปันน้ำ กระทรวงการต่างประเทศก็เสมือนได้เปลี่ยนจุดยืนประเทศไทยตั้งแต่ในข้อ 1 หน้า 4 ไปก่อนแล้ว
นั่นคือกระทรวงการต่างประเทศใช้คำแปลภาษาไทยบทปฏิบัติการคำพิพากษา 15 มิถุนายน 2505 แตกต่างไปจากฉบับทางการเดิมเมื่อกว่า 50 ปีก่อน ดังนี้
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
ไทยต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ซึ่งไทยส่งไปประจำที่ปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงปราสาทในดินแดนของกัมพูชา
ไทยต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่ไทยอาจได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณปราสาท
เปลี่ยนคำแปลจาก “อาณาเขต...” มาเป็น “ดินแดน...” กันดื้อๆ เพราะอะไร?
บกพร่องโดยสุจริต หรือบกพร่องโดยมีวาระซ่อนเร้น??
แม้จะไม่มีผลในทางคดีความโดยตรง เพราะคำพิพากษายึดถือฉบับภาษาอังกฤษ คำ “...in territory under sovereignty of Cambodia” และ “...on Cambodian territory” จะมีความหมายอย่างไร แค่ไหน ชัดเจนพอหรือไม่ เพียงใด ถ้าเป็นปัญหาก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ถ้าไม่เป็นปัญหาก็ไม่เป็นปัญหา แต่ผลในทางความเข้าใจของพี่น้องประชาชนคนไทยที่รับสารจากเอกสารนี้และไม่เคยอ่านไม่เคยเข้าใจความนัยของคำพิพากษา 2505 มีแน่
เพราะคำภาษาไทย “ดินแดน” ชักนำให้เข้าใจว่าเป็นเหมือนกับ “เขตแดน” ได้มากกว่า “อาณาเขต” แน่นอน!
การเลือกใช้คำแปลภาษาไทยเมื่อปี 2505 สอดคล้องกับจุดยืนของประเทศไทย ณ วันนั้น การเลือกใช้คำแปลภาษาไทย ณ วันนี้แปลว่าประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนแล้วใช่ไหม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาประกอบกับนิยามสันปันน้ำใหม่ และอื่นๆ ในเอกสาร
จะบกพร่องโดยสุจริตหรือบกพร่องโดยมีวาระซ่อนเร้น ผมไม่อาจตอบได้ แต่บนพื้นฐานของการศึกษาติดตามเรื่องปราสาทพระวิหารทั้งหมดมา 5 ปี และคิดทบทวนไปมาหลายตลบ ผมอดสงสัยใน “เถยจิต” ของกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้
เมื่อผู้มีหน้าที่โดยตรงอาจจะมี “เถยจิต” อย่างนี้เสียแล้ว “จุดจบ” ของประเทศชาติในกรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดนไทย-กัมพูชาจะเป็นอย่างไรยังต้องให้พูดอีกหรือ
มันยากที่จะแปรเป็นอื่น เว้นเสียแต่คนไทยจะตื่นขึ้นมาทันเวลาในปริมาณที่มีนัยสำคัญเท่านั้น!
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตใต้อธิปไตยของกัมพูชา ; โดยเหตุนี้
ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแล ซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา ; และ
ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องคืนให้แก่กัมพูชา บรรดาวัตถุชนิดที่ได้ระบุไว้ในคำแถลงสรุปข้อห้าของกัมพูชา ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยอาจจะได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณพระวิหาร นับแต่วันที่ประเทศไทยเข้าครอบครองพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1954
โปรดสังเกตตรงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้
เป็นคำแปลมาจากคำพิพากษาฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งระบุให้ใช้เป็นภาษาหลักของคำพิพากษาคดีนี้ คำภาษาอังกฤษทั้งสองคือ “...in territory under sovereignty of Cambodia” และ “...on Cambodian territory”
นี่เป็นคำแปลภาษาไทยฉบับเป็นทางการโดยกระทรวงการต่างประเทศ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเผยแพร่โดยสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2505 หลังคำพิพากษา 15 วัน คนไทยรุ่นหลังก่อนหน้าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เวลาอ้างอิงถึงคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์นี้แทบทั้งหมดจะอ้างอิงสำนวนแปลฉบับนี้ โดยจะอ้างเลขหน้าและย่อหน้าประกอบด้วย แม้หนังสือเล่มแรกที่พิมพ์เมื่อ 50 ปีฉบับหน้าปกเป็นธงชาติไทยจะหมดลง การจัดพิมพ์ครั้งใหม่ก็ใช้วิธีนำทั้งรูปแบบหนังสือเดิมมาถ่ายเพลทพิมพ์ใหม่โดยไม่ได้จัดรูปเล่มใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ไม่มีแม้กระทั่งคำนำใหม่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบปกหน้าใหม่เป็นสีส้มๆ เท่านั้น ทำให้การถกทางวิชาการถึงตัวคำพิพากษายังคงสามารถอ้างอิงเลขหน้าและย่อหน้าได้เหมือนเดิมโดยไม่มีความสับสน
ศาลไม่ได้ชี้เรื่องเขตแดนไว้ เพราะคำฟ้องและคำขอครั้งแรกของกัมพูชาในคดีนี้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 มีเพียงขอให้ศาลสั่งว่าอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ต่อมากัมพูชาจึงเพิ่มเติมคำฟ้องและคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น คือ ความถูกต้องของแผนที่ระวางดงรัก และเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่ระวางดงรัก
ศาลจึงมีคำพิพากษาตามคำฟ้องและคำขอในครั้งแรกของกัมพูชาเท่านั้น
ศาลไม่ได้ชี้เรื่องเขตแดน – ขอย้ำอีกครั้ง!
การปฏิบัติตามคำพิพากษาของประเทศไทยแม้จะไม่เห็นด้วย ก็คือมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ล้อมรั้วอาณาเขตปราสาทพระวิหาร ซึ่งนอกจากตัวพระวิหารแล้วก็มีพื้นที่อีกรวม 1 ใน 4 ตารางกิโลเมตร และถอนกำลังออกมาจากพื้นที่ดังกล่าวตามคำพิพากษาข้อสองเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2505 แม้แต่ธงไตรรงค์ก็อัญเชิญออกมาโดยวิธีการขุดเสาและแบกออกมาโดยที่ไม่ได้ชักธงลงจากยอดเสา
ประเด็นที่ต้องเข้าใจกันคือเขตที่ล้อมรั้วไว้คือเขตปราสาทพระวิหาร หรือพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่เขตแดนไทย-กัมพูชา
ประเทศไทยยังคงมีจุดยืนเหมือนที่ต่อสู้คดีในช่วงปี 2502 – 2505 มาโดยตลอด 2 ประการว่า
หนึ่ง : เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ที่สันปันน้ำตามข้อ 1 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ
สอง : สันปันน้ำอยู่ที่หน้าผา ตามสรุปผลการสำรวจของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส 3 ชุด คือ ชุดปี ค.ศ. 1904, 1907 และ 1919 โดยมีหลักฐานหลายรายการตามที่ประเทศไทยอ้างไว้ในคำให้การที่ยื่นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2504 และคำติงที่ยื่นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2505
นี่คือจุดยืนที่ประเทศไทยยืนยันมาตลอด ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
เอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ที่กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 นี้ก็ไม่อาจปฏิเสธจุดยืนที่ชัดแจ้งนี้ ดังกล่าวไว้ในคำถาม-คำตอบข้อ 8 หน้า 9 ว่า...
“ถาม : หลังจากปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก ประเทศไทยยึดถือแนวเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารอย่างไร และกัมพูชายึดถือเส้นเขตแดนใด
“ตอบ : ไทยยึดถือสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนตามข้อบทของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1904 ส่วนเส้นขอบเขตปราสาทตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 นั้น ไทยไม่ถือว่าเป็นเขตแดน สำหรับกัมพูชายึดถือเส้นตามแผนที่ 1 : 200,000...”
จะถูกจะผิดและจะลงเอยอย่างไร แต่นี่ก็คือจุดยืนที่ประเทศไทยยึดถือมาโดยตลอด ไม่มีเหตุที่จะต้องเปลี่ยนแปลงจุดยืนประกาศต่อสาธารณะในขณะที่ยังจะต้องมีการเจรจากันอีกหลายยก
แต่แล้วก็เกิด “จุดเปลี่ยน” ต่อจุดยืนของประเทศไทยครั้งสำคัญ
ในเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” เดียวกันนี้เอง ท้ายข้อ 8 ที่เขียนไว้ดีพอสมควรแล้ว กลับมามีนิยามศัพท์ต่อท้าย อยู่ในเอกสารหน้า 10 เป็นนิยามศัพท์คำสันปันน้ำ อย่างที่ผมเขียนเล่ามาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญ นิยามสันปันน้ำใหม่นี้ทำลายคำตอบในข้อ 8 ของจุดยืนเดิมของประเทศไทยเสียสิ้น คือแม้จะจำนนไม่อาจปฏิเสธว่ากว่า 50 ปีมาแล้วประเทศไทยยืนยันว่าเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำ แต่วันนี้กระทรวงการต่างประเทศบอกว่าไม่รู้ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ไหน เพราะ หนึ่ง อาจไม่ใช่สันเขาหรือหน้าผา, สอง ไม่เคยมีการใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์ และสาม ไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในบริเวณปราสาทพระวิหาร
วันนี้ หลังจากได้อ่านเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ก็พบว่าก่อนจะถึงนิยามสันปันน้ำ กระทรวงการต่างประเทศก็เสมือนได้เปลี่ยนจุดยืนประเทศไทยตั้งแต่ในข้อ 1 หน้า 4 ไปก่อนแล้ว
นั่นคือกระทรวงการต่างประเทศใช้คำแปลภาษาไทยบทปฏิบัติการคำพิพากษา 15 มิถุนายน 2505 แตกต่างไปจากฉบับทางการเดิมเมื่อกว่า 50 ปีก่อน ดังนี้
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
ไทยต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ซึ่งไทยส่งไปประจำที่ปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงปราสาทในดินแดนของกัมพูชา
ไทยต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่ไทยอาจได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณปราสาท
เปลี่ยนคำแปลจาก “อาณาเขต...” มาเป็น “ดินแดน...” กันดื้อๆ เพราะอะไร?
บกพร่องโดยสุจริต หรือบกพร่องโดยมีวาระซ่อนเร้น??
แม้จะไม่มีผลในทางคดีความโดยตรง เพราะคำพิพากษายึดถือฉบับภาษาอังกฤษ คำ “...in territory under sovereignty of Cambodia” และ “...on Cambodian territory” จะมีความหมายอย่างไร แค่ไหน ชัดเจนพอหรือไม่ เพียงใด ถ้าเป็นปัญหาก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ถ้าไม่เป็นปัญหาก็ไม่เป็นปัญหา แต่ผลในทางความเข้าใจของพี่น้องประชาชนคนไทยที่รับสารจากเอกสารนี้และไม่เคยอ่านไม่เคยเข้าใจความนัยของคำพิพากษา 2505 มีแน่
เพราะคำภาษาไทย “ดินแดน” ชักนำให้เข้าใจว่าเป็นเหมือนกับ “เขตแดน” ได้มากกว่า “อาณาเขต” แน่นอน!
การเลือกใช้คำแปลภาษาไทยเมื่อปี 2505 สอดคล้องกับจุดยืนของประเทศไทย ณ วันนั้น การเลือกใช้คำแปลภาษาไทย ณ วันนี้แปลว่าประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนแล้วใช่ไหม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาประกอบกับนิยามสันปันน้ำใหม่ และอื่นๆ ในเอกสาร
จะบกพร่องโดยสุจริตหรือบกพร่องโดยมีวาระซ่อนเร้น ผมไม่อาจตอบได้ แต่บนพื้นฐานของการศึกษาติดตามเรื่องปราสาทพระวิหารทั้งหมดมา 5 ปี และคิดทบทวนไปมาหลายตลบ ผมอดสงสัยใน “เถยจิต” ของกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้
เมื่อผู้มีหน้าที่โดยตรงอาจจะมี “เถยจิต” อย่างนี้เสียแล้ว “จุดจบ” ของประเทศชาติในกรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดนไทย-กัมพูชาจะเป็นอย่างไรยังต้องให้พูดอีกหรือ
มันยากที่จะแปรเป็นอื่น เว้นเสียแต่คนไทยจะตื่นขึ้นมาทันเวลาในปริมาณที่มีนัยสำคัญเท่านั้น!