นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมไทย - เมียนมาร์เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตั้งสถาบันที่เป็นองค์กรมหาชนภายใต้ชื่อ "เนด้า" มีเม็ดเงินลงทุนร้อยกว่าล้านบาท โดยสถาบันดังกล่าว มีหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวกให้เกิดความราบรื่น ในการลงทุนระหว่างภาคเอกชนกับทางรัฐบาลไทย-เมียนมาร์ ที่ร่วมกันระดมทุนผ่านนิติบุคคลพิเศษ (Special Purpose Vehicle - SPV) เพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมทุนจากนักลงทุน เข้าไปลงทุนในโครงการต่างๆ ภายในใต้กรอบงบประมาณ 3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ สถาบันเนด้า จะทำหน้าอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับภาคเอกชนที่จะเข้าไปลงทุนในโครงการทวาย ภายใต้การระดมทุนแบบนิติบุคคลย่อย หรือ SPV ที่ภาคเอกชนจะเข้าลงทุนเอง ล่าสุดรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบสัญญา หรือเงื่อนไขผลตอบแทนการลงทุนต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามร่วมกันระหว่างรัฐบาลเมียมาร์ และรัฐบาลไทยจากตัวแทนสถาบันเนด้า
"คาดว่าปลายเดือนพ.ค.นี้ โครงการทวายจะได้ข้อสรุปทั้งหมด โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูง(เจเอชซี)พิจารณาร่วมกันที่เมืองเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะมีการลงนามร่วมกัน" นายนิวัฒน์ธำรง ระบุ
สำหรับข้อกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการลงทุนของเมียนมาร์ ที่จะผ่านสภาประมาณกลางปีนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบเบื้องต้นเห็นว่า เหมาะสมและสร้างแรงจูงใจนักลงทุนพอสมควร ลักษณะโดยรวมคล้ายกฎมหายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ของไทย เช่น สิทธิพิเศษทางภาษีใน 8 ปีแรกการลงทุน เป็นต้น
รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของการแก้ไขสัญญาเดิมที่ทำไว้กับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี ตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้แก้ไขสัญญา ยืนยันว่า ในส่วนเม็ดเงินลงทุนที่ไอทีดีได้ลงทุนไปก่อนแล้ว เช่น การปรับพื้นที่ หรือ สาธารณูปโภค จะคืนให้ในรูปกองทุน กล่าวคือ เมื่อมีกลุ่มบริษัทต่างๆ มาลงทุนเอสพีซี จะแบ่งปันผลตอบแทนบางส่วนให้กับไอทีดี ตอบแทน หรือไอทีดี ประสงค์ให้อยู่ในรูปหุ้นโครงการทวายย่อมทำได้
ทั้งนี้ สถาบันเนด้า จะทำหน้าอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับภาคเอกชนที่จะเข้าไปลงทุนในโครงการทวาย ภายใต้การระดมทุนแบบนิติบุคคลย่อย หรือ SPV ที่ภาคเอกชนจะเข้าลงทุนเอง ล่าสุดรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบสัญญา หรือเงื่อนไขผลตอบแทนการลงทุนต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามร่วมกันระหว่างรัฐบาลเมียมาร์ และรัฐบาลไทยจากตัวแทนสถาบันเนด้า
"คาดว่าปลายเดือนพ.ค.นี้ โครงการทวายจะได้ข้อสรุปทั้งหมด โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูง(เจเอชซี)พิจารณาร่วมกันที่เมืองเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะมีการลงนามร่วมกัน" นายนิวัฒน์ธำรง ระบุ
สำหรับข้อกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการลงทุนของเมียนมาร์ ที่จะผ่านสภาประมาณกลางปีนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบเบื้องต้นเห็นว่า เหมาะสมและสร้างแรงจูงใจนักลงทุนพอสมควร ลักษณะโดยรวมคล้ายกฎมหายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ของไทย เช่น สิทธิพิเศษทางภาษีใน 8 ปีแรกการลงทุน เป็นต้น
รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของการแก้ไขสัญญาเดิมที่ทำไว้กับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี ตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้แก้ไขสัญญา ยืนยันว่า ในส่วนเม็ดเงินลงทุนที่ไอทีดีได้ลงทุนไปก่อนแล้ว เช่น การปรับพื้นที่ หรือ สาธารณูปโภค จะคืนให้ในรูปกองทุน กล่าวคือ เมื่อมีกลุ่มบริษัทต่างๆ มาลงทุนเอสพีซี จะแบ่งปันผลตอบแทนบางส่วนให้กับไอทีดี ตอบแทน หรือไอทีดี ประสงค์ให้อยู่ในรูปหุ้นโครงการทวายย่อมทำได้