กรมการค้าต่างประเทศเผยสหรัฐฯ ประกาศเปิดทบทวนโครงการจีเอสพีที่ให้กับสินค้าไทยประจำปี 2555 คาดสินค้าไทยที่สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอคงหรือคืนสิทธิรวม 13 รายการ แนะผู้ส่งออกเร่งยื่นคำร้องภายใน 12 เม.ย.นี้
นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2556 เปิดการทบทวนโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่สหรัฐฯ ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงไทย ประจำปี 2555 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ส่งออกไทย ผู้นำเข้าสหรัฐฯ และภาครัฐบาล สามารถยื่นคำร้องในการทบทวนดังกล่าวได้ ภายในวันที่ 12 เม.ย. 2556 ซึ่งมีสินค้าไทยที่สามารถยื่นคำร้องขอคงหรือคืนสิทธิจีเอสพีรวม 13 รายการ
ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยขอคงสิทธิจีเอสพีกรณี De Minimis Waiver คือ สินค้าที่ส่งออกไปสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ของสินค้าชนิดดังกล่าวที่สหรัฐฯ นำเข้าจากทั่วโลก แต่มูลค่าการนำเข้ายังไม่ถึงเพดานที่กำหนดสำหรับปี 2555 เท่ากับ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว 7 รายการ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้สด มีส่วนแบ่งตลาด 58% แต่มูลค่าอยู่ที่ 8.98 ล้านเหรียญสหรัฐ, ทุเรียนสด ส่วนแบ่ง 100% มูลค่า 2.98 ล้านเหรียญสหรัฐ มะละกอตากแห้ง ส่วนแบ่ง 97% มูลค่า 4.57 ล้านเหรียญสหรัฐ , มะขามตากแห้ง ส่วนแบ่ง 64% มูลค่า 2.88 ล้านเหรียญสหรัฐ, ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง ส่วนแบ่ง 82% มูลค่า 8.22 ล้านเหรียญสหัรัฐ มะละกอแปรรูป ส่วนแบ่ง 67% มูลค่า 4.25 ล้านเหรียญสหรัฐ และรูปปั้นเนื้อละเอียด ส่วนแบ่ง 55% มูลค่า 0.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนสินค้าที่ไทยขอคืนสิทธิจีเอสพีกรณี Redesignation คือสินค้าที่ถูกระงับสิทธิไปแล้ว แต่มูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีต่อมาต่ำกว่าเพดานที่สหรัฐฯ กำหนด (ปี 2555 เท่ากับ 155 ล้านเหรียญสหรัฐ) ก็สามารถขอคืนสิทธิจีเอสพีได้ ซึ่งมีสินค้าไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว 6 รายการ ได้แก่ แป้งธัญพืช ถูกตัดสิทธิเมื่อปี 2549 มีมูลค่านำเข้าเพียง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ, ปลาแมกเคอเรลปรุงแต่ง ถูกตัดสิทธิปี 2552 มีมูลค่านำเข้า 13.49 ล้านเหรียญสหรัฐ กุ้งปรุงแต่งผสมเนื้อปลา ถูกตัดสิทธิปี 2553 มีมูลค่า 0.11 ล้านเหรียญสหรัฐ, เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ถูกตัดสิทธิปี 2550 มีมูลค่า 3.36 ล้านเหรียญสหรัฐ, บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก ถูกตัดสิทธิปี 2549 มูลค่า 139 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระเบื้องปูพื้นและผนัง ถูกตัดสิทธิปี 2532 มีมูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
“สหรัฐฯ ได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยื่นคำร้องเพื่อขอคงหรือคืนสิทธิจีเอสพีได้ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ส่งสินค้าดังกล่าวไปตลาดสหรัฐฯ ยื่นคำร้องเพื่อขอคงสิทธิให้สินค้าไทยภายในกำหนด โดยคำร้องที่ยื่นให้สหรัฐฯ นั้น ต้องแสดงถึงความสูญเสียของไทย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ หากสินค้าไทยไม่ได้รับการคงหรือคืนสิทธิให้กับประเทศไทย” นางปราณีกล่าว
นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2556 เปิดการทบทวนโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่สหรัฐฯ ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงไทย ประจำปี 2555 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ส่งออกไทย ผู้นำเข้าสหรัฐฯ และภาครัฐบาล สามารถยื่นคำร้องในการทบทวนดังกล่าวได้ ภายในวันที่ 12 เม.ย. 2556 ซึ่งมีสินค้าไทยที่สามารถยื่นคำร้องขอคงหรือคืนสิทธิจีเอสพีรวม 13 รายการ
ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยขอคงสิทธิจีเอสพีกรณี De Minimis Waiver คือ สินค้าที่ส่งออกไปสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ของสินค้าชนิดดังกล่าวที่สหรัฐฯ นำเข้าจากทั่วโลก แต่มูลค่าการนำเข้ายังไม่ถึงเพดานที่กำหนดสำหรับปี 2555 เท่ากับ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว 7 รายการ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้สด มีส่วนแบ่งตลาด 58% แต่มูลค่าอยู่ที่ 8.98 ล้านเหรียญสหรัฐ, ทุเรียนสด ส่วนแบ่ง 100% มูลค่า 2.98 ล้านเหรียญสหรัฐ มะละกอตากแห้ง ส่วนแบ่ง 97% มูลค่า 4.57 ล้านเหรียญสหรัฐ , มะขามตากแห้ง ส่วนแบ่ง 64% มูลค่า 2.88 ล้านเหรียญสหรัฐ, ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง ส่วนแบ่ง 82% มูลค่า 8.22 ล้านเหรียญสหัรัฐ มะละกอแปรรูป ส่วนแบ่ง 67% มูลค่า 4.25 ล้านเหรียญสหรัฐ และรูปปั้นเนื้อละเอียด ส่วนแบ่ง 55% มูลค่า 0.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนสินค้าที่ไทยขอคืนสิทธิจีเอสพีกรณี Redesignation คือสินค้าที่ถูกระงับสิทธิไปแล้ว แต่มูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีต่อมาต่ำกว่าเพดานที่สหรัฐฯ กำหนด (ปี 2555 เท่ากับ 155 ล้านเหรียญสหรัฐ) ก็สามารถขอคืนสิทธิจีเอสพีได้ ซึ่งมีสินค้าไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว 6 รายการ ได้แก่ แป้งธัญพืช ถูกตัดสิทธิเมื่อปี 2549 มีมูลค่านำเข้าเพียง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ, ปลาแมกเคอเรลปรุงแต่ง ถูกตัดสิทธิปี 2552 มีมูลค่านำเข้า 13.49 ล้านเหรียญสหรัฐ กุ้งปรุงแต่งผสมเนื้อปลา ถูกตัดสิทธิปี 2553 มีมูลค่า 0.11 ล้านเหรียญสหรัฐ, เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ถูกตัดสิทธิปี 2550 มีมูลค่า 3.36 ล้านเหรียญสหรัฐ, บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติก ถูกตัดสิทธิปี 2549 มูลค่า 139 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระเบื้องปูพื้นและผนัง ถูกตัดสิทธิปี 2532 มีมูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
“สหรัฐฯ ได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยื่นคำร้องเพื่อขอคงหรือคืนสิทธิจีเอสพีได้ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ส่งสินค้าดังกล่าวไปตลาดสหรัฐฯ ยื่นคำร้องเพื่อขอคงสิทธิให้สินค้าไทยภายในกำหนด โดยคำร้องที่ยื่นให้สหรัฐฯ นั้น ต้องแสดงถึงความสูญเสียของไทย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ หากสินค้าไทยไม่ได้รับการคงหรือคืนสิทธิให้กับประเทศไทย” นางปราณีกล่าว