หากไม่ต้องการเปลี่ยน ก็อย่าแก้
หากจะแก้ ต้องได้ประโยชน์มากกว่าเดิมจึงแก้
การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ได้มีการลงมติในวาระแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรับหลักการโดย ส.ส. และ ส.ว.ฝ่ายรัฐบาล ประชาชนคนเดินดินอย่างชนชั้นกลางล่างจะได้ประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง
ในประเด็นแรกและน่าจะเป็นประเด็นที่ใหญ่ที่สุดก็คือ การแก้ไขมาตรา 68 ในรัฐธรรมนูญที่เดิมให้อัยการและประชาชนเป็นผู้ที่สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ให้เหลือเพียงอัยการแต่เพียงผู้เดียวที่เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าสมควรจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่
สิทธิในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นสำคัญกับประชาชนคนชั้นกลางล่างอย่างไร คำตอบง่ายๆ ก็คือ มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่ให้รัฐบาลอาศัยเสียงข้างมากเข้ามาแก้ไขกฎหมายตามอำเภอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนส่วนน้อยนั่นเอง ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่รวมถึงทุกๆ รัฐบาล
อย่าลืมว่าประเทศไทยในขณะนี้ปกครองด้วยอำนาจ 4 ฝ่ายโดยมีอำนาจจากองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ป.ป.ช.เข้ามาเป็นอำนาจที่ 4 ถ่วงดุลแห่งอำนาจเสียงข้างมากจากการที่รัฐบาลซึ่งใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นพวกเดียวกับสภาฯ ที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมาย หากไม่มีอำนาจที่ 4 นี้แล้วรัฐบาลก็จะรวบอำนาจเอาไปใช้แต่เพียงผู้เดียวเพราะสภาฯ เป็นพวกเดียวกับตนเองอยู่แล้ว ไม่มีทางที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสภาฯ การลิดรอนสิทธิที่ประชาชนมีจากมาตรา 68 จึงเป็นหนึ่งในนั้น
แต่เดิมมาตรานี้มิได้อยู่ในสายตาแต่อย่างใดจนกระทั่งการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยผ่านมาตรา 291 แต่ถูกยับยั้งโดยประชาชนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญและมีวินิจฉัยต่อมาว่าสามารถทำได้ เท่านี้เองก็เป็นประเด็นขึ้นมาจนต้องหาทางแก้ไขมาตรานี้โดยพลัน
พงษ์เทพกล่าวว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการแก้ไขมาตรานี้อันเนื่องมาจากเป็นการป้องกันไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดตามใจชอบได้ทุกเรื่อง ต้องมีการถ่วงดุลและคานอำนาจ (มติชน 4 เม.ษ. 56)
เช่นเดียวกับนันทวัฒน์ นักวิชาการจากจุฬาฯ ที่สนับสนุนให้แก้กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชนแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าให้สิทธิอัยการตรวจสอบคำร้องให้มีข้อเท็จจริงเป็นที่สรุปได้ว่ามีประเด็นที่สมควรยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากข้อกล่าวหาที่จะยื่นได้ตามมาตรานี้เป็นข้อหาอุกฉกรรจ์ (มติชน 4 เม.ษ. 56) เช่นเดียวกับนิตย์ (มติชน 9 เม.ษ. 56) ก็กล่าวว่าผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรานี้ถูกลิดรอนสิทธิแทนที่จะเป็นประชาชนผู้ไปร้อง
โภคินก็บอกว่าคราวที่แล้วที่ศาลออกมายับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญเป็นจินตนาการ แต่คราวนี้เป็นความฝัน นั่นคือกล่าวหาว่าศาลวินิจฉัยไม่ได้ตั้งอยู่บนความจริงแต่อย่างใด (มติชน 8 เม.ษ. 56)
อ่านทัศนะจากมติชนที่คัดเลือกคำสัมภาษณ์นำเสนอเรื่องลิดรอนสิทธิ/คานอำนาจแล้วช่างเศร้าหมองจริงๆ
ประเด็นก็คือ การแก้ไขให้ยื่นผ่านอัยการแต่เพียงองค์กรเดียวก็เป็นการให้อำนาจองค์กรหนึ่งองค์กรใดมาชี้ขาดโดยลำพังเช่นเดียวกันมิใช่หรือ แถมยังหนักกว่าเดิมเพราะเป็นการก้าวก่ายอำนาจศาลว่าจะรับหรือไม่รับเรื่องใดมาพิจารณา หากแก้มาตรานี้ได้ศาลในอนาคตจะอยู่บน “หิ้ง” ไม่มีเรื่องใดให้พิจารณาวินิจฉัยได้เลยหากอัยการไม่เห็นชอบเสียก่อน ตกลงแล้วใครผูกขาดก้าวก่ายอำนาจใครกันแน่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญจะเที่ยวไปพิจารณาเรื่องตามอำเภอใจได้ที่ไหน เท่าที่ผ่านมามีปรากฏเป็นหลักฐานบ้างหรือไม่ว่าทำเช่นนั้น เห็นมีแต่รัฐบาลที่ไปทำเรื่องตามอำเภอใจดุจดังได้ “สัมปทานประเทศไทย” จากคนไทยไปบริหาร ใครจะทักท้วงอย่างไรก็อ้างเสียงข้างมากอยู่ตลอดเวลา ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์อำนาจที่ 4 จึงมีความสำคัญในการถ่วงดุลแห่งอำนาจ
ในทำนองเดียวกันข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนใช่หรือไม่ว่าอัยการทำหน้าที่กลั่นกรองคำร้องได้ดีเลวเพียงใด การที่อัยการรีบชี้ว่าไม่สมควรยื่นเรื่องหลังจากที่ประชาชนหลายกลุ่มยื่นเรื่องให้กับศาลโดยตรงหลังจากที่ยื่นเรื่องให้อัยการดำเนินการแล้วถูกดองเรื่องไว้หลายเดือนและศาลก็กลับชี้ไปในทางตรงกันข้าม อัยการทำแบบนี้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและรอบคอบหรือไม่? ควรให้ประชาชนฝากผีฝากไข้สิทธิประชาชนไว้กับอัยการอีกหรือ?
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีหลักวิเคราะห์ชัดเจนอยู่แล้วว่า ระหว่างทางเลือกเพียงหนึ่งทางกับสองทาง ทางเลือกที่มากกว่าย่อมให้ความพอใจมากกว่าทางเลือกน้อย ทำไมจึงต้องไปจำกัดทางเลือกให้น้อยลงกว่าเดิม
ที่ชัดเจนก็คือ รัฐบาลและอีกหลายคนผ่านสื่อเช่นมติชนต่างสนับสนุนให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการแต่เพียงอย่างเดียว ประเด็นคือทำไมต้องจำกัดทางเลือกเช่นนั้น เหตุก็เพราะพวกคุณคิดว่าควบคุมอัยการได้แต่ควบคุมศาลไม่ได้ คิดในทางกลับกัน หากไม่ใช่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่พวกคุณสนับสนุนอยู่นั้น พวกคุณจะคัดค้านการแก้มาตรานี้หรือไม่ คำตอบก็น่าจะชัดเจนในตัวของมันอยู่แล้ว หากมิใช่เพื่อลิดรอนสิทธิประชาชนในการคานอำนาจกับรัฐบาลจะทำไปเพื่ออะไร ประชาชนไม่ได้อะไรจากการกระทำนี้ของพวกคุณเลยแม้แต่น้อย
ข้อเท็จจริงที่สนับสนุนก็คือ การร้องต่อศาลโดยตรงไม่ผ่านอัยการของสุรพงษ์เมื่อช่วงที่เป็นฝ่ายค้านให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลตามมาตรา 63 ที่ศาลไม่รับคำร้องนั้นมิใช่เพราะเหตุไม่ยื่นผ่านอัยการหากแต่เป็นเหตุจากการยื่นขอให้ยุบพรรคเลยโดยมิได้ขอให้ศาลระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าวเสียก่อน ข้อเขียนของสมหมาย (มติชน 3 เม.ษ. 56) จึงคลาดเคลื่อน ไม่รู้ว่าไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้ แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือทำไมพวกที่สนับสนุนให้แก้จึงไม่คิดบ้างหรือว่าหากไม่มีช่องทางนี้ตอนเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยจะทำอย่างไร ฝ่ายค้านหรือประชาชนเสียงข้างน้อยจึงต้องพึ่งพาอำนาจที่ 4 ที่มีในรัฐธรรมนูญนี้
คนชั้นกลางล่างอย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวในการที่รัฐบาลจะกระทำตามอำเภอใจ ถ้าถามคนชั้นกลางล่างว่าการตัดสินโดยเสียงข้างมากผิดหรือไม่ แน่นอนว่าย่อมไม่ผิด
ถามต่อไปว่าอาศัยเสียงข้างมากแล้วสามารถอนุญาตให้ ฆ่า ข่มขืน ลูกเมียชาวบ้านได้หรือไม่ อาจจะอ้อมแอ้มหรือคิดไปว่า หากไม่ใช่พวกตน ครอบครัวตน หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้าม ก็ไม่น่าจะผิดหรือจำเป็นต้องให้ความสนใจแต่อย่างใด ผิดก็ได้ถูกก็ได้
ถามอีกครั้งว่าอาศัยเสียงข้างมากออกกฎหมายยกเว้นภาษีพวกที่สนับสนุนให้ออกกฎหมายยกเว้นภาษีและหันไปเก็บภาษีพวกที่คัดค้านกฎหมายนี้แทน อย่างนี้ดีหรือไม่? ไม่ต้องรอฟังคำตอบก็จะรู้ทันทีว่าใครจะยอม แล้วทำไมหนนี้จึงไม่ยอมเสียงข้างมากว่าเป็นเสียงสวรรค์
เหตุก็เพราะไม่ช้าหรือเร็วไม่ว่าตนเองจะพยายามเข้าเป็นฝ่ายเสียงข้างมากเท่าใดก็ตามจะกลายเป็นคนส่วนน้อยในที่สุด จะให้มาอยู่กับเสียงข้างมากทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร หากทุกคนเป็นเสียงข้างมากหมดจะเก็บภาษีเอารายได้จากใคร แล้วคนชั้นกลางล่างอย่างพวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะนับเป็นพวก? คนคนนั้นเขาถีบหัวเรือส่งบอกชัดเจนแล้วมิใช่หรือว่าพาเขาขึ้นเรือมาส่งขึ้นฝั่งก็พอแล้ว ต่อไปนี้จะขึ้นเขาไม่ต้องแบกเรือตามมาอีก
ประชาธิปไตยจึงมิใช่เรื่องเสียงข้างมากแต่เพียงลำพัง รัฐบาลเป็นผู้อภิบาลรัฐด้วยการต้องทำตามกฎหมายที่มีอยู่และต้องรักษาเอาไว้อีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐบาลในฐานะผู้รับมอบอำนาจประชาชนจะมาทำตามอำเภอใจบอกว่ารัฐธรรมนูญมันเป็นอุปสรรคทำงานไม่คล่องตัวไม่สะดวกแล้วแก้เลยโดยไม่ถามเจ้าของประเทศที่เป็นคนส่วนน้อยด้วยเสียก่อน อย่างนี้ไม่เรียกว่าฉ้อฉลแล้วจะเรียกว่าอย่างไร
ผู้รู้กฎหมายบอกไว้นานแล้วว่า ในสัญญาอะไรก็แล้วแต่ เมื่อตกลงไปแล้วหากไม่ต้องการเปลี่ยนอะไรก็ไม่ต้องแก้ หากจะแก้นั่นคือต้องการเปลี่ยน จะมาบอกว่าแก้แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนเหมือนเดิมทุกอย่างหากเป็นเช่นนั้นจะแก้ไขไปทำไม ใครโกหกใครบอกได้ใช่ไหม?
รัฐธรรมนูญหากจะแก้ เกณฑ์ที่ต้องทำคือ แก้แล้วประชาชนต้องได้ประโยชน์มากขึ้น มิใช่เสียประโยชน์จากที่เคยได้ แล้วที่พยายามจะแก้รัฐธรรมนูญอยู่นี้มันทำให้ประชาชนที่รวมทั้งคนชั้นกลางล่างได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นตรงที่ใด บอกหน่อยได้ไหม?
หากจะแก้ ต้องได้ประโยชน์มากกว่าเดิมจึงแก้
การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ได้มีการลงมติในวาระแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรับหลักการโดย ส.ส. และ ส.ว.ฝ่ายรัฐบาล ประชาชนคนเดินดินอย่างชนชั้นกลางล่างจะได้ประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง
ในประเด็นแรกและน่าจะเป็นประเด็นที่ใหญ่ที่สุดก็คือ การแก้ไขมาตรา 68 ในรัฐธรรมนูญที่เดิมให้อัยการและประชาชนเป็นผู้ที่สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ให้เหลือเพียงอัยการแต่เพียงผู้เดียวที่เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าสมควรจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่
สิทธิในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นสำคัญกับประชาชนคนชั้นกลางล่างอย่างไร คำตอบง่ายๆ ก็คือ มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่ให้รัฐบาลอาศัยเสียงข้างมากเข้ามาแก้ไขกฎหมายตามอำเภอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนส่วนน้อยนั่นเอง ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่รวมถึงทุกๆ รัฐบาล
อย่าลืมว่าประเทศไทยในขณะนี้ปกครองด้วยอำนาจ 4 ฝ่ายโดยมีอำนาจจากองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ป.ป.ช.เข้ามาเป็นอำนาจที่ 4 ถ่วงดุลแห่งอำนาจเสียงข้างมากจากการที่รัฐบาลซึ่งใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นพวกเดียวกับสภาฯ ที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมาย หากไม่มีอำนาจที่ 4 นี้แล้วรัฐบาลก็จะรวบอำนาจเอาไปใช้แต่เพียงผู้เดียวเพราะสภาฯ เป็นพวกเดียวกับตนเองอยู่แล้ว ไม่มีทางที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสภาฯ การลิดรอนสิทธิที่ประชาชนมีจากมาตรา 68 จึงเป็นหนึ่งในนั้น
แต่เดิมมาตรานี้มิได้อยู่ในสายตาแต่อย่างใดจนกระทั่งการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยผ่านมาตรา 291 แต่ถูกยับยั้งโดยประชาชนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญและมีวินิจฉัยต่อมาว่าสามารถทำได้ เท่านี้เองก็เป็นประเด็นขึ้นมาจนต้องหาทางแก้ไขมาตรานี้โดยพลัน
พงษ์เทพกล่าวว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการแก้ไขมาตรานี้อันเนื่องมาจากเป็นการป้องกันไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดตามใจชอบได้ทุกเรื่อง ต้องมีการถ่วงดุลและคานอำนาจ (มติชน 4 เม.ษ. 56)
เช่นเดียวกับนันทวัฒน์ นักวิชาการจากจุฬาฯ ที่สนับสนุนให้แก้กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชนแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าให้สิทธิอัยการตรวจสอบคำร้องให้มีข้อเท็จจริงเป็นที่สรุปได้ว่ามีประเด็นที่สมควรยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากข้อกล่าวหาที่จะยื่นได้ตามมาตรานี้เป็นข้อหาอุกฉกรรจ์ (มติชน 4 เม.ษ. 56) เช่นเดียวกับนิตย์ (มติชน 9 เม.ษ. 56) ก็กล่าวว่าผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรานี้ถูกลิดรอนสิทธิแทนที่จะเป็นประชาชนผู้ไปร้อง
โภคินก็บอกว่าคราวที่แล้วที่ศาลออกมายับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญเป็นจินตนาการ แต่คราวนี้เป็นความฝัน นั่นคือกล่าวหาว่าศาลวินิจฉัยไม่ได้ตั้งอยู่บนความจริงแต่อย่างใด (มติชน 8 เม.ษ. 56)
อ่านทัศนะจากมติชนที่คัดเลือกคำสัมภาษณ์นำเสนอเรื่องลิดรอนสิทธิ/คานอำนาจแล้วช่างเศร้าหมองจริงๆ
ประเด็นก็คือ การแก้ไขให้ยื่นผ่านอัยการแต่เพียงองค์กรเดียวก็เป็นการให้อำนาจองค์กรหนึ่งองค์กรใดมาชี้ขาดโดยลำพังเช่นเดียวกันมิใช่หรือ แถมยังหนักกว่าเดิมเพราะเป็นการก้าวก่ายอำนาจศาลว่าจะรับหรือไม่รับเรื่องใดมาพิจารณา หากแก้มาตรานี้ได้ศาลในอนาคตจะอยู่บน “หิ้ง” ไม่มีเรื่องใดให้พิจารณาวินิจฉัยได้เลยหากอัยการไม่เห็นชอบเสียก่อน ตกลงแล้วใครผูกขาดก้าวก่ายอำนาจใครกันแน่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญจะเที่ยวไปพิจารณาเรื่องตามอำเภอใจได้ที่ไหน เท่าที่ผ่านมามีปรากฏเป็นหลักฐานบ้างหรือไม่ว่าทำเช่นนั้น เห็นมีแต่รัฐบาลที่ไปทำเรื่องตามอำเภอใจดุจดังได้ “สัมปทานประเทศไทย” จากคนไทยไปบริหาร ใครจะทักท้วงอย่างไรก็อ้างเสียงข้างมากอยู่ตลอดเวลา ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์อำนาจที่ 4 จึงมีความสำคัญในการถ่วงดุลแห่งอำนาจ
ในทำนองเดียวกันข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนใช่หรือไม่ว่าอัยการทำหน้าที่กลั่นกรองคำร้องได้ดีเลวเพียงใด การที่อัยการรีบชี้ว่าไม่สมควรยื่นเรื่องหลังจากที่ประชาชนหลายกลุ่มยื่นเรื่องให้กับศาลโดยตรงหลังจากที่ยื่นเรื่องให้อัยการดำเนินการแล้วถูกดองเรื่องไว้หลายเดือนและศาลก็กลับชี้ไปในทางตรงกันข้าม อัยการทำแบบนี้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและรอบคอบหรือไม่? ควรให้ประชาชนฝากผีฝากไข้สิทธิประชาชนไว้กับอัยการอีกหรือ?
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีหลักวิเคราะห์ชัดเจนอยู่แล้วว่า ระหว่างทางเลือกเพียงหนึ่งทางกับสองทาง ทางเลือกที่มากกว่าย่อมให้ความพอใจมากกว่าทางเลือกน้อย ทำไมจึงต้องไปจำกัดทางเลือกให้น้อยลงกว่าเดิม
ที่ชัดเจนก็คือ รัฐบาลและอีกหลายคนผ่านสื่อเช่นมติชนต่างสนับสนุนให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการแต่เพียงอย่างเดียว ประเด็นคือทำไมต้องจำกัดทางเลือกเช่นนั้น เหตุก็เพราะพวกคุณคิดว่าควบคุมอัยการได้แต่ควบคุมศาลไม่ได้ คิดในทางกลับกัน หากไม่ใช่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่พวกคุณสนับสนุนอยู่นั้น พวกคุณจะคัดค้านการแก้มาตรานี้หรือไม่ คำตอบก็น่าจะชัดเจนในตัวของมันอยู่แล้ว หากมิใช่เพื่อลิดรอนสิทธิประชาชนในการคานอำนาจกับรัฐบาลจะทำไปเพื่ออะไร ประชาชนไม่ได้อะไรจากการกระทำนี้ของพวกคุณเลยแม้แต่น้อย
ข้อเท็จจริงที่สนับสนุนก็คือ การร้องต่อศาลโดยตรงไม่ผ่านอัยการของสุรพงษ์เมื่อช่วงที่เป็นฝ่ายค้านให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลตามมาตรา 63 ที่ศาลไม่รับคำร้องนั้นมิใช่เพราะเหตุไม่ยื่นผ่านอัยการหากแต่เป็นเหตุจากการยื่นขอให้ยุบพรรคเลยโดยมิได้ขอให้ศาลระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าวเสียก่อน ข้อเขียนของสมหมาย (มติชน 3 เม.ษ. 56) จึงคลาดเคลื่อน ไม่รู้ว่าไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้ แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือทำไมพวกที่สนับสนุนให้แก้จึงไม่คิดบ้างหรือว่าหากไม่มีช่องทางนี้ตอนเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยจะทำอย่างไร ฝ่ายค้านหรือประชาชนเสียงข้างน้อยจึงต้องพึ่งพาอำนาจที่ 4 ที่มีในรัฐธรรมนูญนี้
คนชั้นกลางล่างอย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวในการที่รัฐบาลจะกระทำตามอำเภอใจ ถ้าถามคนชั้นกลางล่างว่าการตัดสินโดยเสียงข้างมากผิดหรือไม่ แน่นอนว่าย่อมไม่ผิด
ถามต่อไปว่าอาศัยเสียงข้างมากแล้วสามารถอนุญาตให้ ฆ่า ข่มขืน ลูกเมียชาวบ้านได้หรือไม่ อาจจะอ้อมแอ้มหรือคิดไปว่า หากไม่ใช่พวกตน ครอบครัวตน หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้าม ก็ไม่น่าจะผิดหรือจำเป็นต้องให้ความสนใจแต่อย่างใด ผิดก็ได้ถูกก็ได้
ถามอีกครั้งว่าอาศัยเสียงข้างมากออกกฎหมายยกเว้นภาษีพวกที่สนับสนุนให้ออกกฎหมายยกเว้นภาษีและหันไปเก็บภาษีพวกที่คัดค้านกฎหมายนี้แทน อย่างนี้ดีหรือไม่? ไม่ต้องรอฟังคำตอบก็จะรู้ทันทีว่าใครจะยอม แล้วทำไมหนนี้จึงไม่ยอมเสียงข้างมากว่าเป็นเสียงสวรรค์
เหตุก็เพราะไม่ช้าหรือเร็วไม่ว่าตนเองจะพยายามเข้าเป็นฝ่ายเสียงข้างมากเท่าใดก็ตามจะกลายเป็นคนส่วนน้อยในที่สุด จะให้มาอยู่กับเสียงข้างมากทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร หากทุกคนเป็นเสียงข้างมากหมดจะเก็บภาษีเอารายได้จากใคร แล้วคนชั้นกลางล่างอย่างพวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะนับเป็นพวก? คนคนนั้นเขาถีบหัวเรือส่งบอกชัดเจนแล้วมิใช่หรือว่าพาเขาขึ้นเรือมาส่งขึ้นฝั่งก็พอแล้ว ต่อไปนี้จะขึ้นเขาไม่ต้องแบกเรือตามมาอีก
ประชาธิปไตยจึงมิใช่เรื่องเสียงข้างมากแต่เพียงลำพัง รัฐบาลเป็นผู้อภิบาลรัฐด้วยการต้องทำตามกฎหมายที่มีอยู่และต้องรักษาเอาไว้อีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐบาลในฐานะผู้รับมอบอำนาจประชาชนจะมาทำตามอำเภอใจบอกว่ารัฐธรรมนูญมันเป็นอุปสรรคทำงานไม่คล่องตัวไม่สะดวกแล้วแก้เลยโดยไม่ถามเจ้าของประเทศที่เป็นคนส่วนน้อยด้วยเสียก่อน อย่างนี้ไม่เรียกว่าฉ้อฉลแล้วจะเรียกว่าอย่างไร
ผู้รู้กฎหมายบอกไว้นานแล้วว่า ในสัญญาอะไรก็แล้วแต่ เมื่อตกลงไปแล้วหากไม่ต้องการเปลี่ยนอะไรก็ไม่ต้องแก้ หากจะแก้นั่นคือต้องการเปลี่ยน จะมาบอกว่าแก้แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนเหมือนเดิมทุกอย่างหากเป็นเช่นนั้นจะแก้ไขไปทำไม ใครโกหกใครบอกได้ใช่ไหม?
รัฐธรรมนูญหากจะแก้ เกณฑ์ที่ต้องทำคือ แก้แล้วประชาชนต้องได้ประโยชน์มากขึ้น มิใช่เสียประโยชน์จากที่เคยได้ แล้วที่พยายามจะแก้รัฐธรรมนูญอยู่นี้มันทำให้ประชาชนที่รวมทั้งคนชั้นกลางล่างได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นตรงที่ใด บอกหน่อยได้ไหม?