นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตรา ว่า ไม่น่าจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ทำให้เดือนเมษายน เป็นเดือนเดือดทางการเมือง เพราะสาระที่แก้ ไม่มีอะไรมาก จึงไม่น่าจะส่งผลอะไร ไม่ว่าจะเป็นประเด็นมาตรา 190 หรือมาตรา 237 แต่ที่อาจจะมีการมองต่างมุมก็ คือ มาตรา 68 และเรื่องของส.ว. และการลงชื่อเพื่อยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ ก็ไม่มีใครถูกหลอกให้ร่วมลงชื่อ เพราะทุกคนมีวุฒิภาวะ และมีความคิดเป็นของตัวเอง
"การยื่นแก้ไขมาตรา 68 ก็ไม่ใช่การยัดไส้เข้ามา แต่เป็นสิทธิของสมาชิก และการปิดช่องทางไม่ให้ประชาชนยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่ใช่การตัดสิทธิของประชาชน เนื่องจากยังมีสิทธิยื่นต่ออัยการสูงสุดได้ จึงไม่ใช่การปูทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ค้างการพิจารณา วาระ 3 ในรัฐสภา เพราะเรื่องนี้เป็นแนวทางที่เขาจะทำอยู่แล้ว ดังนั้นอะไรที่เป็นเรื่องถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็ทำไม่ได้ "ประธานรัฐสภา กล่าว
ทั้งนี้ การแก้ไขมาตรา 68 เป็นปัญหาเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาการเดินขบวน เพราะประเด็นนี้ ตนไม่คิดว่าเป็นการตัดสิทธิประชาชน เป็นเพียงขั้นตอนการตรวจสอบเท่านั้น คือแทนที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง รับเรื่องเอง ตรวจสอบเอง ชงเอง กินเอง สอบเอง คงไม่ได้ ต้องมีการคานอำนาจ เป็นเรื่องการคานอำนาจ ไม่ใช่การตัดสิทธิประชาชนเพราะยังมีสิทธิยื่นได้ตลอดเหมือนเดิมผ่านอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นการถ่วงดุล ดีกว่าจะให้องค์กรเดียวไปรับผิดชอบทุกเรื่อง เพราะจะยิ่งไปกันใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 50 หากประชาชนพบปัญหาการล้มล้างรัฐธรรมนูญ หรือล้มการปกครอง สามารถที่จะยื่นได้สองช่องทาง คือ อัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อแก้ไขแล้ว จะทำให้เหลือเพียงช่องทางเดียว คือ ยื่นต่ออัยการสูงสุด จะถือเป็นการมัดมือชกประชาชน หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องมีตำรวจ อัยการ ให้มีศาล แค่องค์กรเดียวดี หรือไม่ ก็คงทำไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นการคานอำนาจ
"การยื่นแก้ไขมาตรา 68 ก็ไม่ใช่การยัดไส้เข้ามา แต่เป็นสิทธิของสมาชิก และการปิดช่องทางไม่ให้ประชาชนยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่ใช่การตัดสิทธิของประชาชน เนื่องจากยังมีสิทธิยื่นต่ออัยการสูงสุดได้ จึงไม่ใช่การปูทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ค้างการพิจารณา วาระ 3 ในรัฐสภา เพราะเรื่องนี้เป็นแนวทางที่เขาจะทำอยู่แล้ว ดังนั้นอะไรที่เป็นเรื่องถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็ทำไม่ได้ "ประธานรัฐสภา กล่าว
ทั้งนี้ การแก้ไขมาตรา 68 เป็นปัญหาเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาการเดินขบวน เพราะประเด็นนี้ ตนไม่คิดว่าเป็นการตัดสิทธิประชาชน เป็นเพียงขั้นตอนการตรวจสอบเท่านั้น คือแทนที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง รับเรื่องเอง ตรวจสอบเอง ชงเอง กินเอง สอบเอง คงไม่ได้ ต้องมีการคานอำนาจ เป็นเรื่องการคานอำนาจ ไม่ใช่การตัดสิทธิประชาชนเพราะยังมีสิทธิยื่นได้ตลอดเหมือนเดิมผ่านอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นการถ่วงดุล ดีกว่าจะให้องค์กรเดียวไปรับผิดชอบทุกเรื่อง เพราะจะยิ่งไปกันใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 50 หากประชาชนพบปัญหาการล้มล้างรัฐธรรมนูญ หรือล้มการปกครอง สามารถที่จะยื่นได้สองช่องทาง คือ อัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อแก้ไขแล้ว จะทำให้เหลือเพียงช่องทางเดียว คือ ยื่นต่ออัยการสูงสุด จะถือเป็นการมัดมือชกประชาชน หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องมีตำรวจ อัยการ ให้มีศาล แค่องค์กรเดียวดี หรือไม่ ก็คงทำไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นการคานอำนาจ