ครม.เห็นชอบซื้อรถเมล์ NGV 3,138 คัน วงเงิน 1.3 หมื่นล. “ชัชชาติ”ยันซื้อดีกว่าเช่าเพราะใช้เงินน้อยกว่า เตรียมร่างTOR ใน 7 เดือนประมูลสิ้นปี คาดแยกประมูล 8 เขตไม่รวบเป็นสัญญาเดียวหวั่นซ้ำรอยประมูลโรงพัก
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (9 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง(รถเมล์NGV) จำนวน 3,183 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินประมาณ 13,162.2 ล้านบาท มีค่าซ่อมบำรุง 10 ปี ประมาณ 13,858.408 ล้านบาท มูลค่าโครงการรวม 27,020.608 ล้านบาท
โดยหากเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดที่แล้วที่ใช้วิธีเช่า 4,000 คัน วงเงินรวม 64,853 ล้านบาท เป็นรถปรับอากาศทั้งหมดราคาคันละ 5.5 ล้านบาทรวมกับค่าซ่อมบำรุง ถือว่าการซื้อมีข้อดีในเรื่องใช้เงินน้อยกว่าและรถเป็นของขสมก.ตั้งแต่วันรับมอบ หากบำรุงรักษาอย่างดีรถก็ยังสามารถใช้งานได้นาน 17-20 ปี และจะทำให้ขสมก.ขาดทุนลดลง 1,363 ล้านบาทต่อปีจากปัจจุบันขาดทุนประมาณ 5,500 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ ได้มีการชี้แจงต่อที่ประชุมครม.ถึงหลักการซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน ที่มีทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดา เนื่องจากปัจจุบัน ขสมก.มีรถเมล์ฟรี 800 คัน มีผู้โดยสาร 750,000 คนต่อวัน รถธรรมดา 640 คัน เก็บค่าโดยสาร 6 บาทมีผู้โดยสาร 420,000 คนต่อวัน รถปรับอากาศ 1,280 คันค่าโดยสารเฉลี่ย 14 บาทมีผู้โดยสาร 560,000 คนต่อวัน จะเห็นว่าเป็นผู้ใช้บริการรถธรรมดาถึง 70% ดังนั้น การซื้อรถปรับอากาศทั้งหมดประชาชนจ่ายค่าโดยสารที่ 14 บาทไม่ไหว และถ้าจะเก็บแค่ 6 บาท ขสมก.ก็อยู่ไม่ได้ ผู้ใช้บริการรถเมล์มากกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินและ BTS ที่ใช้เงินลงทุนมากกว่าและแม้อนาคตรถไฟฟ้าจะขยายมากขึ้น แต่รถเมล์ยังมีความจำเป็นมากกว่าเพราะเป็นบริการถึงบ้าน ใช้เป็นฟีดเดอร์ให้รถไฟฟ้า
หลังจากนี้ จะจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) คาดว่าใช้เวลา 6-7 เดือนในการจึงจะเปิดประกวดราคา โดยจะเชิญสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ตั้งแต่ขั้นตอนร่าง TOR เพื่อความโปร่งใส และเห็นว่าควรให้แต่ละเขตเดินรถของ ขสมก.ซึ่งมีทั้งหมด 8 เขต เปิดประกวดราคาแยกกันเพื่อให้เกิดการแข่งขัน
เนื่องจากหากประมูลแบบรวบเป็นสัญญาเดียวทั้ง 3,183 คัน จะเป็นสัญญาที่ใหญ่เกินไปและอาจจะเกิดปัญหา เหมือนกรณีประมูลก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศได้
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เคยมีความเห็นให้ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถเมล์จากเดิมที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพียงอย่างเดียว เป็นสามารถใช้แก๊สโซฮอล์ E85 และน้ำมัน ED95 ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงใหม่นั้น ขสมก.ต้องศึกษาเพื่อวางแผนการใช้พลังงานทางเลือกในอนาคตด้วย
สำหรับแผนฟื้นฟู ขสมก.นั้นเบื้องต้นทางคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ยอมที่จะตัดหนี้ให้ ขสมก.จำนวน 25% ของหนี้ 70,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนรวมถึงโครงการเกษียณก่อนอายุ (Early Retire) ใหม่
สำหรับการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183คัน แบ่งเป็นรถปรับอากาศ 1,524 คันราคาคันละ 4.5 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุง 10 ปีเฉลี่ย 1,381 บาทต่อคันต่อวัน รถธรรมดา 1,659 คัน ราคาคันละ 3.8 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุง 10 ปีเฉลี่ย 1,020 บาทต่อคันต่อวันนอกจากนี้การซื้อรถใหม่มีต้นทุนดำเนินการต่ำที่สุด โดยมีต้นทุนรวม 134,029 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นค่าผ่านชำระเงินซื้อรถใหม่ 45,560 บาทต่อเดือน ค่าซ่อมบำรุง 41,429 บาทต่อเดือน ค่าเชื้อเพลิง NGV 47,040 บาทต่อเดือน ส่วนใช้รถเก่ามีต้นทุนดำเนินการรวม 181,440 บาทต่อเดือนขณะที่การจ้างเอกชนเดินรถแบบ PBC มีต้นทุนดำเนินการรวม 143,640 บาทต่อเดือน
***เล็งย้าย'หมอชิต'ผุด ระบบขนส่งอนาคต
นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังได้เปิดเผยถึงการเรียกผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ทั้งหมดเข้าหารือเพื่อหาข้อสรุปโดยเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเร่งพิจารณาว่า จะมีการย้ายหรือหาพื้นที่รองรับขยายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหรือไม่ หากจะย้ายไปอยู่ที่อื่นจริงก็ไม่ควรจะไกลมากเกินไป เพราะเกรงว่าผู้โดยสารที่ใช้บริการในเส้นทางสั้นระยะทางไม่เกิน 300 กม. อาจจะหันไปใช้บริการรถตู้โดยสารแทน
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บ.ข.ส.โดยตรง หากต้องย้ายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ออกไปจริง ควรมีสถานีรถโดยสารอยู่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมการขนส่งทุกระบบในอนาคต เพื่อเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารไม่ใช่เป็นจุดพักรถให้มาจอดรอทั้งวัน.
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (9 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง(รถเมล์NGV) จำนวน 3,183 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินประมาณ 13,162.2 ล้านบาท มีค่าซ่อมบำรุง 10 ปี ประมาณ 13,858.408 ล้านบาท มูลค่าโครงการรวม 27,020.608 ล้านบาท
โดยหากเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดที่แล้วที่ใช้วิธีเช่า 4,000 คัน วงเงินรวม 64,853 ล้านบาท เป็นรถปรับอากาศทั้งหมดราคาคันละ 5.5 ล้านบาทรวมกับค่าซ่อมบำรุง ถือว่าการซื้อมีข้อดีในเรื่องใช้เงินน้อยกว่าและรถเป็นของขสมก.ตั้งแต่วันรับมอบ หากบำรุงรักษาอย่างดีรถก็ยังสามารถใช้งานได้นาน 17-20 ปี และจะทำให้ขสมก.ขาดทุนลดลง 1,363 ล้านบาทต่อปีจากปัจจุบันขาดทุนประมาณ 5,500 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ ได้มีการชี้แจงต่อที่ประชุมครม.ถึงหลักการซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน ที่มีทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดา เนื่องจากปัจจุบัน ขสมก.มีรถเมล์ฟรี 800 คัน มีผู้โดยสาร 750,000 คนต่อวัน รถธรรมดา 640 คัน เก็บค่าโดยสาร 6 บาทมีผู้โดยสาร 420,000 คนต่อวัน รถปรับอากาศ 1,280 คันค่าโดยสารเฉลี่ย 14 บาทมีผู้โดยสาร 560,000 คนต่อวัน จะเห็นว่าเป็นผู้ใช้บริการรถธรรมดาถึง 70% ดังนั้น การซื้อรถปรับอากาศทั้งหมดประชาชนจ่ายค่าโดยสารที่ 14 บาทไม่ไหว และถ้าจะเก็บแค่ 6 บาท ขสมก.ก็อยู่ไม่ได้ ผู้ใช้บริการรถเมล์มากกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินและ BTS ที่ใช้เงินลงทุนมากกว่าและแม้อนาคตรถไฟฟ้าจะขยายมากขึ้น แต่รถเมล์ยังมีความจำเป็นมากกว่าเพราะเป็นบริการถึงบ้าน ใช้เป็นฟีดเดอร์ให้รถไฟฟ้า
หลังจากนี้ จะจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) คาดว่าใช้เวลา 6-7 เดือนในการจึงจะเปิดประกวดราคา โดยจะเชิญสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ตั้งแต่ขั้นตอนร่าง TOR เพื่อความโปร่งใส และเห็นว่าควรให้แต่ละเขตเดินรถของ ขสมก.ซึ่งมีทั้งหมด 8 เขต เปิดประกวดราคาแยกกันเพื่อให้เกิดการแข่งขัน
เนื่องจากหากประมูลแบบรวบเป็นสัญญาเดียวทั้ง 3,183 คัน จะเป็นสัญญาที่ใหญ่เกินไปและอาจจะเกิดปัญหา เหมือนกรณีประมูลก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศได้
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เคยมีความเห็นให้ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถเมล์จากเดิมที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพียงอย่างเดียว เป็นสามารถใช้แก๊สโซฮอล์ E85 และน้ำมัน ED95 ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงใหม่นั้น ขสมก.ต้องศึกษาเพื่อวางแผนการใช้พลังงานทางเลือกในอนาคตด้วย
สำหรับแผนฟื้นฟู ขสมก.นั้นเบื้องต้นทางคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ยอมที่จะตัดหนี้ให้ ขสมก.จำนวน 25% ของหนี้ 70,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนรวมถึงโครงการเกษียณก่อนอายุ (Early Retire) ใหม่
สำหรับการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183คัน แบ่งเป็นรถปรับอากาศ 1,524 คันราคาคันละ 4.5 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุง 10 ปีเฉลี่ย 1,381 บาทต่อคันต่อวัน รถธรรมดา 1,659 คัน ราคาคันละ 3.8 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุง 10 ปีเฉลี่ย 1,020 บาทต่อคันต่อวันนอกจากนี้การซื้อรถใหม่มีต้นทุนดำเนินการต่ำที่สุด โดยมีต้นทุนรวม 134,029 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นค่าผ่านชำระเงินซื้อรถใหม่ 45,560 บาทต่อเดือน ค่าซ่อมบำรุง 41,429 บาทต่อเดือน ค่าเชื้อเพลิง NGV 47,040 บาทต่อเดือน ส่วนใช้รถเก่ามีต้นทุนดำเนินการรวม 181,440 บาทต่อเดือนขณะที่การจ้างเอกชนเดินรถแบบ PBC มีต้นทุนดำเนินการรวม 143,640 บาทต่อเดือน
***เล็งย้าย'หมอชิต'ผุด ระบบขนส่งอนาคต
นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังได้เปิดเผยถึงการเรียกผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ทั้งหมดเข้าหารือเพื่อหาข้อสรุปโดยเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเร่งพิจารณาว่า จะมีการย้ายหรือหาพื้นที่รองรับขยายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหรือไม่ หากจะย้ายไปอยู่ที่อื่นจริงก็ไม่ควรจะไกลมากเกินไป เพราะเกรงว่าผู้โดยสารที่ใช้บริการในเส้นทางสั้นระยะทางไม่เกิน 300 กม. อาจจะหันไปใช้บริการรถตู้โดยสารแทน
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บ.ข.ส.โดยตรง หากต้องย้ายสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ออกไปจริง ควรมีสถานีรถโดยสารอยู่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมการขนส่งทุกระบบในอนาคต เพื่อเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารไม่ใช่เป็นจุดพักรถให้มาจอดรอทั้งวัน.