พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานผลการคำนวณอัตราค่าผ่านทางด่วน หลังจากที่ได้มีการประกาศตัวเลขดัชนีผู้บริโภค (CPI) สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.ออกมาโดยเบื้องต้นพบว่า ตัวเลขที่ออกมาอยู่ที่ประมาณ 51 บาทกว่า ซึ่งกทพ.ใช้หลักการปัดเศษลง ทำให้ในวันที่ 1 ก.ย.56 ซึ่งจะครบกำหนด 5 ปีที่ต้องมีการปรับค่าผ่านทางตามสัญญาสัมปทานระหว่าง กทพ.กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL จาก 45 บาทเป็น 50 บาท หรือปรับขึ้น 5 บาท
ทั้งนี้ ในฐานะ รมต.ที่กำกับดูแล กทพ. หากพิจารณาตามเงื่อนไขต่างๆ ตามสัญญาแล้วพบว่าจะต้องปรับขึ้น ก็จะไม่มีการยับยั้งใดๆแน่นอน ไม่กังวลว่าจะมีผลกระทบต่อคะแนนเสียง และเห็นว่าประชาชนผู้ใช้ทางควรต้องยอมรับในเรื่องดังกล่าวด้วย
ขณะที่สิ่งที่ต้องกังวลและเร่งแก้ไขโดยด่วนมากกว่า คือ ปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนทั้งหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และทางลงสู่ถนนด้านล่าง ที่มีความพยายามแก้ปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ผลยังไม่ค่อยน่าพอใจ ดังนั้น จึงห่วงเรื่องที่ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ทางด่วนมากกว่ากรณีที่จะมีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง
ด้านนายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการฯกทพ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาอัตราค่าผ่านทางแล้ว โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อเตรียมการปรับค่าผ่านทางของทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1 ) และทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ที่มี นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด และกรรมการบอร์ด กทพ. เป็นประธาน จะมีการประชุมนัดแรกในวันที่ 10 เม.ย.นี้ โดยจะรวบรวมประเด็นที่สัญญากำหนดไว้เกี่ยวกับการปรับค่าผ่านทางทั้งหมด และประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัย ตลอดจนความเห็นของอัยการ เพื่อกำหนดกรอบสำหรับการเจรจาอย่างรอบคอบ เนื่องจากยังมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกันอยู่ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.) เห็นชอบก่อนเจรจากับ BECL ต่อไป
สำหรับหลักการของ กทพ. ในการคำนวณค่าผ่านทางเมื่อคำนวณการเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคแล้วมีเศษหากไม่ถึง 5 บาท ให้ปัดทิ้ง เช่น ค่าผ่านทาง 40 บาท ส่วนเพิ่มดัชนีผู้บริโภค18.79 % ค่าผ่านทางใหม่เท่ากับ 40 X 1.1879 = 47.52 บาท ปัดเศษทิ้งเท่ากับ 45 บาท (เศษ 2.52 บาทไม่ถึง 5 บาท ตัดทิ้ง) โดยโครงข่ายในเขตเมือง (ทางด่วนขั้นที่ 1 บวก ขั้นที่ 2 ส่วนA, และโครงข่ายนอกเมืองส่วน C และ D ปรับครั้งหนึ่งรวมกันไม่เกิน 10 บาท เช่น ในเขตเมืองปรับแล้วจาก 30 บาทเป็น 40 บาท นอกเขตเมืองจะปรับไมได้เลย ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2541 ที่ในเขตเมืองปรับขึ้นจาก 30 บาทเป็น 40 บาท ดังนั้น ส่วนC จากถนนประชาชื่น-ถนนแจ้งวัฒนะ เดิม 15 บาท ยังคงเป็น 15 บาท ปรับขึ้นไม่ได้เพราะในเมืองปรับขึ้นไปแล้ว 10 บาท
ส่วนหลักการของ BECL ในการคำนวณค่าผ่านทางเมื่อคำนวณการเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคแล้วมีเศษหากไม่ถึง 5 บาทให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็ม 5 บาท เช่น ปรับแล้วได้ 447.52 บาทต้องปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มเป็น 50 บาท โดยโครงข่ายในเขตเมืองและนอกเมืองแยกกันปรับโดยในเมืองขึ้นได้ไม่เกิน 10 บาท ในขณะที่โครงข่ายนอกเมือง ก็ขึ้นได้ไม่เกิน 10 บาทเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ จะทำให้อัตราค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ จาก 45 บาท ปรับเป็น 50 บาท รถยนต์ 6-10 ล้อ จาก 70 บาท เป็น 80 บาท และรถยนต์ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปจาก 100 บาทเป็น 115 บาท ซึ่งการปรับอัตราค่าผ่านทางตามสัญญาฯ ได้มีการดำเนินการมาแล้ว จำนวน 3 ครั้ง เมื่อปี 2541 , 2546 และ 2551 และครั้งที่ 4 ในปี 2556.
ทั้งนี้ ในฐานะ รมต.ที่กำกับดูแล กทพ. หากพิจารณาตามเงื่อนไขต่างๆ ตามสัญญาแล้วพบว่าจะต้องปรับขึ้น ก็จะไม่มีการยับยั้งใดๆแน่นอน ไม่กังวลว่าจะมีผลกระทบต่อคะแนนเสียง และเห็นว่าประชาชนผู้ใช้ทางควรต้องยอมรับในเรื่องดังกล่าวด้วย
ขณะที่สิ่งที่ต้องกังวลและเร่งแก้ไขโดยด่วนมากกว่า คือ ปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนทั้งหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และทางลงสู่ถนนด้านล่าง ที่มีความพยายามแก้ปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ผลยังไม่ค่อยน่าพอใจ ดังนั้น จึงห่วงเรื่องที่ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ทางด่วนมากกว่ากรณีที่จะมีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง
ด้านนายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการฯกทพ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาอัตราค่าผ่านทางแล้ว โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อเตรียมการปรับค่าผ่านทางของทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1 ) และทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ที่มี นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด และกรรมการบอร์ด กทพ. เป็นประธาน จะมีการประชุมนัดแรกในวันที่ 10 เม.ย.นี้ โดยจะรวบรวมประเด็นที่สัญญากำหนดไว้เกี่ยวกับการปรับค่าผ่านทางทั้งหมด และประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัย ตลอดจนความเห็นของอัยการ เพื่อกำหนดกรอบสำหรับการเจรจาอย่างรอบคอบ เนื่องจากยังมีประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกันอยู่ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.) เห็นชอบก่อนเจรจากับ BECL ต่อไป
สำหรับหลักการของ กทพ. ในการคำนวณค่าผ่านทางเมื่อคำนวณการเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคแล้วมีเศษหากไม่ถึง 5 บาท ให้ปัดทิ้ง เช่น ค่าผ่านทาง 40 บาท ส่วนเพิ่มดัชนีผู้บริโภค18.79 % ค่าผ่านทางใหม่เท่ากับ 40 X 1.1879 = 47.52 บาท ปัดเศษทิ้งเท่ากับ 45 บาท (เศษ 2.52 บาทไม่ถึง 5 บาท ตัดทิ้ง) โดยโครงข่ายในเขตเมือง (ทางด่วนขั้นที่ 1 บวก ขั้นที่ 2 ส่วนA, และโครงข่ายนอกเมืองส่วน C และ D ปรับครั้งหนึ่งรวมกันไม่เกิน 10 บาท เช่น ในเขตเมืองปรับแล้วจาก 30 บาทเป็น 40 บาท นอกเขตเมืองจะปรับไมได้เลย ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2541 ที่ในเขตเมืองปรับขึ้นจาก 30 บาทเป็น 40 บาท ดังนั้น ส่วนC จากถนนประชาชื่น-ถนนแจ้งวัฒนะ เดิม 15 บาท ยังคงเป็น 15 บาท ปรับขึ้นไม่ได้เพราะในเมืองปรับขึ้นไปแล้ว 10 บาท
ส่วนหลักการของ BECL ในการคำนวณค่าผ่านทางเมื่อคำนวณการเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคแล้วมีเศษหากไม่ถึง 5 บาทให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็ม 5 บาท เช่น ปรับแล้วได้ 447.52 บาทต้องปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มเป็น 50 บาท โดยโครงข่ายในเขตเมืองและนอกเมืองแยกกันปรับโดยในเมืองขึ้นได้ไม่เกิน 10 บาท ในขณะที่โครงข่ายนอกเมือง ก็ขึ้นได้ไม่เกิน 10 บาทเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ จะทำให้อัตราค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ จาก 45 บาท ปรับเป็น 50 บาท รถยนต์ 6-10 ล้อ จาก 70 บาท เป็น 80 บาท และรถยนต์ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปจาก 100 บาทเป็น 115 บาท ซึ่งการปรับอัตราค่าผ่านทางตามสัญญาฯ ได้มีการดำเนินการมาแล้ว จำนวน 3 ครั้ง เมื่อปี 2541 , 2546 และ 2551 และครั้งที่ 4 ในปี 2556.