ธปท.มองแนวโน้มสินเชื่อโดยรวมยังโตต่อเนื่องตามนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐดันสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์โต และตลาดคอนโดมิเนียมที่มีแรงส่งให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรวมโตต่อเนื่อง ยืนยันตลาดสินเชื่อยังไม่มีสัญญาณอะไรที่น่ากลัว ชี้ตอนนี้ตัวสะท้อนหนี้เสียก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นและแบงก์ไม่ได้ผ่อนปรนในการปล่อยกู้ ระบุธปท.ติดตามดูอย่างใกล้ชิดย้ำถ้าเจอปัญหาจะเข้าไปดูแลทันที
แหล่งข่าวสายนโยบายสถาบันการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แม้สินเชื่อโดยรวมล่าสุดเดือนก.พ.ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 14.9% จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 15% แต่ธปท.เชื่อว่าแนวโน้มสินเชื่อในปี 56 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยแรงส่งจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากโครงการรถคันแรกของรัฐบาลที่ยังมีการส่งมอบในปีนี้ค่อนข้างมาก
รวมไปถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยในส่วนของการปล่อยกู้คอนโดมิเนียมที่ตลาดยังไปได้ต่อเนื่องอยู่
“ขณะนี้คุณภาพสินเชื่อยังดีอยู่ไม่ว่าจะเป็นตัวสะท้อนจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)และสินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้ไม่เกิน 3 เดือน(Delinquent Loan)ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากการตรวจสอบก็ไม่ได้ผ่อนปรน ดังนั้นตอนนี้ตลาดสินเชื่อโดยรวมยังไม่มีสัญญาณอะไรที่น่ากลัวและถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็เชื่อว่าธปท.จะเข้ามาดูแลทันที”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)และธปท.ก็มีการติดตามสถานการณ์ของภาวะสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหลักการส่วนไหนที่โตค่อนข้างมากก็จะติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในประเภทคอนโดมิเนียม และสินเชื่อส่วนบุคคลที่เติบโตค่อนข้างมากในขณะนี้
สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวค่อนข้างมากในปี 55 ผลจากปัญหาน้ำท่วมเมื่อช่วงปลายปี 54 และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของโครงการรัฐบาล ทำให้สินเชื่อโดยรวมโตเกือบ 3 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ซึ่งปกติจะสินเชื่อรวมจะโตแค่ 2 เท่าของจีดีพีเท่านั้น ทำให้ในปีก่อนสินเชื่อรวมโต 13.7% หรือมียอดคงค้างสินเชื่ออยู่ที่ 9 ล้านล้านบาท ซึ่งสินเชื่อขยายตัวเลข 2
หลักต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจที่มีการกู้เงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รวมไปถึงสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาคส่งออกก็ยังคงขยายตัวดี จึงเชื่อว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกดีกว่า ทำให้สินเชื่อที่เกี่ยวกับการส่งออกน่าจะขยายตัวดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้เผยแพร่รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงินล่าสุด ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าแนวโน้มสินเชื่อยังเติบโตต่อเนื่อง แต่สถาบันการเงินมีความกังวลคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ
เพิ่มขึ้นมากจากเดิมทีที่เข้มงวดมาตรฐานมุมมองด้านความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้กู้และความเสี่ยงของหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่แล้ว
โดยสถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกประเภทจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ซึ่งมีรายได้ครัวเรือนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายในระยะต่อไป เช่นเดียวกับสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่โตตามธุรกิจที่ตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม
ขณะเดียวกันคาดว่าจะผ่อนคลายมาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพราะปัจจัยการแข่งขัน แต่กลับเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานและเงื่อนไขการให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เพราะกังวลเรื่องคุณภาพสินเชื่อกลุ่มนี้ โดยเมื่อไตรมาสสุดท้ายของปี 55 สถาบันการเงินมีการปรับเพิ่ม Margin ของธุรกิจ SMEsโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมทั้งเข้มงวดด้านวงเงินสินเชื่อ เงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ และอายุสัญญาเงินกู้ อีกทั้งปัจจัยต้นทุนภายในของสถาบันการเงินก็มีส่วนสำคัญ
แหล่งข่าวสายนโยบายสถาบันการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แม้สินเชื่อโดยรวมล่าสุดเดือนก.พ.ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 14.9% จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 15% แต่ธปท.เชื่อว่าแนวโน้มสินเชื่อในปี 56 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยแรงส่งจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากโครงการรถคันแรกของรัฐบาลที่ยังมีการส่งมอบในปีนี้ค่อนข้างมาก
รวมไปถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยในส่วนของการปล่อยกู้คอนโดมิเนียมที่ตลาดยังไปได้ต่อเนื่องอยู่
“ขณะนี้คุณภาพสินเชื่อยังดีอยู่ไม่ว่าจะเป็นตัวสะท้อนจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)และสินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้ไม่เกิน 3 เดือน(Delinquent Loan)ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากการตรวจสอบก็ไม่ได้ผ่อนปรน ดังนั้นตอนนี้ตลาดสินเชื่อโดยรวมยังไม่มีสัญญาณอะไรที่น่ากลัวและถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็เชื่อว่าธปท.จะเข้ามาดูแลทันที”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)และธปท.ก็มีการติดตามสถานการณ์ของภาวะสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหลักการส่วนไหนที่โตค่อนข้างมากก็จะติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในประเภทคอนโดมิเนียม และสินเชื่อส่วนบุคคลที่เติบโตค่อนข้างมากในขณะนี้
สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวค่อนข้างมากในปี 55 ผลจากปัญหาน้ำท่วมเมื่อช่วงปลายปี 54 และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของโครงการรัฐบาล ทำให้สินเชื่อโดยรวมโตเกือบ 3 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ซึ่งปกติจะสินเชื่อรวมจะโตแค่ 2 เท่าของจีดีพีเท่านั้น ทำให้ในปีก่อนสินเชื่อรวมโต 13.7% หรือมียอดคงค้างสินเชื่ออยู่ที่ 9 ล้านล้านบาท ซึ่งสินเชื่อขยายตัวเลข 2
หลักต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจที่มีการกู้เงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รวมไปถึงสินเชื่อที่เกี่ยวกับภาคส่งออกก็ยังคงขยายตัวดี จึงเชื่อว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกดีกว่า ทำให้สินเชื่อที่เกี่ยวกับการส่งออกน่าจะขยายตัวดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้เผยแพร่รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงินล่าสุด ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าแนวโน้มสินเชื่อยังเติบโตต่อเนื่อง แต่สถาบันการเงินมีความกังวลคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ
เพิ่มขึ้นมากจากเดิมทีที่เข้มงวดมาตรฐานมุมมองด้านความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้กู้และความเสี่ยงของหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่แล้ว
โดยสถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกประเภทจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ซึ่งมีรายได้ครัวเรือนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายในระยะต่อไป เช่นเดียวกับสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่โตตามธุรกิจที่ตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม
ขณะเดียวกันคาดว่าจะผ่อนคลายมาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพราะปัจจัยการแข่งขัน แต่กลับเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานและเงื่อนไขการให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เพราะกังวลเรื่องคุณภาพสินเชื่อกลุ่มนี้ โดยเมื่อไตรมาสสุดท้ายของปี 55 สถาบันการเงินมีการปรับเพิ่ม Margin ของธุรกิจ SMEsโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมทั้งเข้มงวดด้านวงเงินสินเชื่อ เงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ และอายุสัญญาเงินกู้ อีกทั้งปัจจัยต้นทุนภายในของสถาบันการเงินก็มีส่วนสำคัญ