หอการค้าไทย อัด ”พาณิชย์” หลงทางแก้ปัญหาค่าบาท เพราะมัวแต่จัดงานโปรโมต ทั้งๆ ที่บาทแข็งทำสินค้าไทยสู้คู่แข่งไม่ได้ แนะแก้ที่ต้นเหตุ อ้อนแบงก์ชาติหันมามองบ้าง “บุญทรง”รับส่งออกกระทบแน่ โดยเฉพาะเกษตร ล่าสุดนัดถกแก้บาทแข็ง 9 เม.ย.นี้ ส่อเจอโรคเลื่อน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาทผันผวนที่กระทบต่อภาคการส่งออกว่า ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยปัญหาตอนนี้อยู่ที่ราคาสินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย จีน และเวียดนามได้ เนื่องจากค่าบาทแข็งค่าขึ้น 5% นับจากต้นปี ขณะที่ค่าเงินคู่แข่งกับแข็งค่าเพียงเล็กน้อย รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องหาเครื่องมือดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนแข็งค่าเกินกว่าประเทศคู่แข่งอื่น
“ส่งออกได้ไม่ได้ อยู่ที่ค่าเงินและราคาสินค้า ไม่ได้อยู่ที่การทำตลาดหรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่อยากให้รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาด้วยการทุ่มงบประมาณจัดกิจกรรมเพิ่มเพียงอย่างเดียว เพราะต่อให้โปรโมต แต่สินค้าไทยยังแพงกว่าคู่แข่ง มีมาตรฐานน้อยกว่าคู่แข่ง ก็ขายไม่ได้อยู่ดี”
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ธปท. เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากภาคการค้ามากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการหารือกันมากนัก เพราะตอนนี้ค่าเงินบาทก็ผันผวนมากจนเป็นต้นเหตุให้ภาคส่งออกสะดุดลงไปด้วย จึงอยากให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะไม่กระทบให้การส่งออกในเชิงปริมาณลดลง แต่ในเชิงมูลค่า และราคาอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ยอดขายเมื่อทอนเป็นเงินบาทหายไป โดยกลุ่มสินค้าเกษตร จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีต้นทุนวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก ทำให้เมื่อส่งออกไปแล้ว มีรายได้กลับมาในรูปเงินบาทน้อยลง
ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน กระทรวงฯ พร้อมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อเร่งรัดการส่งออก โดยเป้าหมายการส่งออกจะมีการหารือร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก และภาคเอกชน ในเดือนพ.ค.นี้ แต่เบื้องต้นยังคงยืนยันเป้าหมาย 8-9% เพราะเป็นเป้าทำงาน
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาทผันผวนที่กระทบต่อภาคการส่งออกว่า ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยปัญหาตอนนี้อยู่ที่ราคาสินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย จีน และเวียดนามได้ เนื่องจากค่าบาทแข็งค่าขึ้น 5% นับจากต้นปี ขณะที่ค่าเงินคู่แข่งกับแข็งค่าเพียงเล็กน้อย รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องหาเครื่องมือดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนแข็งค่าเกินกว่าประเทศคู่แข่งอื่น
“ส่งออกได้ไม่ได้ อยู่ที่ค่าเงินและราคาสินค้า ไม่ได้อยู่ที่การทำตลาดหรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่อยากให้รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาด้วยการทุ่มงบประมาณจัดกิจกรรมเพิ่มเพียงอย่างเดียว เพราะต่อให้โปรโมต แต่สินค้าไทยยังแพงกว่าคู่แข่ง มีมาตรฐานน้อยกว่าคู่แข่ง ก็ขายไม่ได้อยู่ดี”
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ธปท. เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากภาคการค้ามากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการหารือกันมากนัก เพราะตอนนี้ค่าเงินบาทก็ผันผวนมากจนเป็นต้นเหตุให้ภาคส่งออกสะดุดลงไปด้วย จึงอยากให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะไม่กระทบให้การส่งออกในเชิงปริมาณลดลง แต่ในเชิงมูลค่า และราคาอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ยอดขายเมื่อทอนเป็นเงินบาทหายไป โดยกลุ่มสินค้าเกษตร จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีต้นทุนวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก ทำให้เมื่อส่งออกไปแล้ว มีรายได้กลับมาในรูปเงินบาทน้อยลง
ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน กระทรวงฯ พร้อมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อเร่งรัดการส่งออก โดยเป้าหมายการส่งออกจะมีการหารือร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก และภาคเอกชน ในเดือนพ.ค.นี้ แต่เบื้องต้นยังคงยืนยันเป้าหมาย 8-9% เพราะเป็นเป้าทำงาน
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน