วานนี้(7 เม.ย.56) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 9 เม.ย. กระทรวงการคลัง ขอความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ทั้งนี้ กค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ เช่น 1. มาตรา 7 (1) ได้กำหนดให้กรณีข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ และทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านแต่มิได้กำหนดให้ กค. สามารถกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดที่พักอาศัยของทางราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. มาตรา 7 ได้กำหนดให้ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ประกอบกับมาตรา 4 ได้กำหนดในนิยามคำว่า “ข้าราชการ” หมายความว่าข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
3.บทบัญญัติตามข้อ 2 มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับกับข้าราชการ 8 ประเภทตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น มิได้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นแต่อย่างใด
ดังนั้น กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่น ที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการใน 8 ประเภทตามพระราชกฤษฎีกานี้ ย่อมถือว่าท้องที่ที่ผู้ที่โอนมารับราชการประจำสำนักงานใหม่เป็นท้องที่ที่เริ่มต้นในการรับราชการเป็นครั้งแรก จึงยังไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ แต่เมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ในภายหลัง จึงจะเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 ดังกล่าว ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ
ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านเป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ จึงเห็นควรกำหนดบทบัญญัติมาตรา 7/1 กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว คือ 1. กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดที่พักอาศัยของทางราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 2. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้
2. มาตรา 7 ได้กำหนดให้ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ประกอบกับมาตรา 4 ได้กำหนดในนิยามคำว่า “ข้าราชการ” หมายความว่าข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
3.บทบัญญัติตามข้อ 2 มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับกับข้าราชการ 8 ประเภทตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น มิได้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นแต่อย่างใด
ดังนั้น กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่น ที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการใน 8 ประเภทตามพระราชกฤษฎีกานี้ ย่อมถือว่าท้องที่ที่ผู้ที่โอนมารับราชการประจำสำนักงานใหม่เป็นท้องที่ที่เริ่มต้นในการรับราชการเป็นครั้งแรก จึงยังไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ แต่เมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ในภายหลัง จึงจะเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 ดังกล่าว ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ
ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านเป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ จึงเห็นควรกำหนดบทบัญญัติมาตรา 7/1 กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว คือ 1. กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดที่พักอาศัยของทางราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 2. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานตามกฎหมายอื่นที่ได้โอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เป็นครั้งแรก ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้