เปล่า ผมมิได้เพี้ยนไปที่ตั้งชื่อบทความในทำนองว่าไทยเหมือนไซปรัส ในเกือบทุกกรณีที่มองเห็นเป็นที่ประจักษ์ เราต่างกับเขามากมาย แต่หากทนอ่านต่อไปอาจจะเห็นบางประเด็นที่มีส่วนคล้ายกันมากและหากเรายังดันทุรันทำบางสิ่งบางอย่างในแนวเดียวกับเขา เราจะไม่ต่างกับเขาแน่นอน
ในเบื้องแรก เมืองไทยใหญ่กว่าเมืองเขาหลายสิบเท่าเพราะเรามีคนเกิน 63 ล้านคน ส่วนเขามีไม่ถึง 1 ล้านคน ขนาดทางภูมิศาสตร์ของเราใหญ่กว่าเขามากเพราะเขาอยู่บนเกาะเล็กๆ เท่านั้น ดินฟ้าอากาศของเราร้อนชื้นและฝนตกมาก ในขณะที่ของเขาเป็นแบบอุ่นแห้งและแล้งกว่า เรามีทรัพยากรหลากหลาย ส่วนเขามีไม่มาก เขาแบ่งแยกกันออกเป็นสองส่วน เราไม่เป็นเช่นนั้นแม้จะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำให้เกิดขึ้นก็ตาม ส่วนใต้ของเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศก้าวหน้าและร่ำรวยที่เรียกว่าสหภาพยุโรป ส่วนเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทว่าส่วนใต้ของเขากำลังล้มละลาย ส่วนเราล้มละลายครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2540
การล้มล้มละลายของไซปรัสกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในหลายระดับ ทั้งในด้านเหตุปัจจัยและในด้านการแก้ปัญหา ปล่อยให้เขาเถียงกันไป ผมใคร่ขอให้พิจารณาประเด็นเหล่านี้บ้าง
ประเด็นแรกเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจตามแนวคิดกระแสหลักซึ่งผมมองว่ามันเริ่มเพี้ยนมากขึ้นเรื่อยๆ มาตั้งแต่ครั้งโรนัลด์ เรแกน และมาร์กาเรต แธตเชอร์ ขึ้นเถลิงอำนาจเมื่อกว่า 3 ทศวรรษมาแล้ว แนวคิดถูกผลักดันไปทางด้านตกขอบที่มักรู้จักกันในนามของ “ฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน” แนวคิดใกล้ตกขอบนั้นมีหลักอยู่ว่า รัฐบาลต้องปล่อยภาคเอกชนให้ทำอะไรต่อมิอะไรได้อย่างเสรีที่สุดเพราะระบบตลาดสามารถควบคุมภาคเอกชนได้ยังผลให้การบริหารและการพัฒนาประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด
แนวคิดนั้นผลักดันให้เกิดการเปิดเสรีทางการเงินอย่างกว้างขวาง ธนาคารพาณิชย์ไซปรัสเปิดรับฝากเงินจากภายนอกประเทศแบบแทบไม่อั้น เงินที่นำมาฝากจำนวนมหาศาลนั้นเป็นเงินของชาวรัสเซียที่ร่ำรวยด้วยการเล่นแร่แปรธาตุต่างๆ ในช่วงหลังการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต วงการเงินเชื่อกันว่า ส่วนหนึ่งของเงินจากรัสเซียที่ไหลเข้าไปในไซปรัสนั้นเป็นเงินที่ได้มาจากกิจการผิดกฎหมายซึ่งถูกส่งเข้าไปฟอกก่อนจะนำออกไปที่อื่น
เงินที่ไหลเข้าไปฝากจำนวนมากนั้นสร้างความกดดันให้ธนาคารไซปรัสต้องหาผู้กู้ยืมเพื่อสร้างรายได้สำหรับนำไปจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากชาวไซปรัสส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการเงินจำนวนมากและมีเชื้อสายกรีกทำให้รู้จักกรีซดีกว่าประเทศอื่น เงินให้กู้จึงตกไปอยู่ในกรีซเป็นส่วนใหญ่ เมื่อกรีซล้มละลาย ธนาคารไซปรัสย่อมประสบปัญหาสาหัสจนทำให้ไซปรัสต้องล้มละลายและไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และประเทศร่ำรวยที่หน้าเลือดทั้งหลาย
คงจำกันได้ว่าก่อนปี 2540 เมืองไทยเปิดให้เงินไหลเข้าออกอย่างเสรีตามกลไกที่เรียกกันว่า กรุงเทพวิเทศธนกิจ หรืออะไรเทือกนั้น เงินจำนวนมหาศาลไหลเข้ามาส่งผลให้คนไทยส่วนหนึ่งร่ำรวยขึ้นทันตาเห็นจากการเล่นแร่แปรธาตุทางการเงิน โดยเฉพาะผ่านการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้าของเงินพยายามดึงเงินของเขากลับไป เราไม่มีจะจ่ายส่งผลให้ประเทศชาติสูญเงินสำรองเกือบหมดและเดินเข้าภาวะล้มละลายจนต้องคลานไปกราบกรานไอเอ็มเอฟและประเทศร่ำรวย ฉะนั้น เรากับเขาคล้ายกันในด้านที่หลงเชื่อว่าฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตันคือแนวคิดที่จะทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
เขากับเราพยายามขายของเก่าให้ชาวต่างชาติเพื่อหารายได้ยังผลให้ภาคท่องเที่ยวหาเงินตราต่างประเทศได้สูงมาก แต่เนื่องจากเขามีสตรีเพศจำนวนจำกัด ส่วนเรามีมากมายหลายสิบเท่าของเขา บรรดาสตรีเพศของเราจึงไปขายของเก่าถึงบ้านเขามานานนับทศวรรษแล้ว
หลังจากเกิดภาวะล้มละลาย เราลดค่าเงินบาทเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการส่งออกได้ แต่เขาไม่อยู่ในภาวะที่จะทำได้เนื่องจากเขาใช้เงินยูโรร่วมกับสมาชิกหลายประเทศของสหภาพยุโรป การลดค่าเงินไม่ได้จำกัดทางเลือกสำคัญในบรรดานโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลของเขาขาดดุลงบประมาณติดต่อกันในระดับสูงถึง 5-6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีมาหลายปีส่งผลให้หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนไทยไม่ขาดดุลแบบนั้น เขาจึงมีหนี้สินในอัตราที่สูงกว่าเราคือราว 87% ของจีดีพี ส่วนของเราอยู่ที่ 44% แต่เรากำลังจะผลักดันให้เกิดการกู้ยืมเพิ่มขึ้นให้ถึงอัตรา 60% ของจีดีพี อัตรานี้จะสูงกว่าอัตรา 87% ของเขาเพราะเราเก็บภาษีได้เพียง 17% ของจีดีพี ส่วนเขาเก็บได้กว่า 39% ด้วยเหตุนี้การจะเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก 2.2 ล้านล้านบาทจึงอาจเป็นปัจจัยที่เร่งให้เราเดินเข้าภาวะล้มละลายอีกครั้งในเวลาไม่อีกนาน เมื่อถึงตอนนั้น เขาอาจฟื้นแล้ว แต่เรากลับล่มจม
เขาจะต้องปิดธนาคารใหญ่หมายเลขสองของเขา การปิดธนาคารและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะทำให้ผู้มีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากสูญเงินที่ฝากไว้เกินบัญชีละ 100,000 ยูโร ชาวรัสเซียอาจจะสูญเงินจำนวนมากหากรัฐบาลรัสเซียไม่เข้าไปช่วย วงการเงินและการเมืองระหว่างประเทศเชื่อกันว่ามาตรการนี้มีความจงใจให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐีรัสเซียโดยเฉพาะ เงินทุนจะไหลออกไปจากไซปรัสทำให้ขาดเงินลงทุนส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาไปอีกนาน เราก็ปิดสถาบันการเงินจำนวนมากเมื่อปี 2540 ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่สองปีก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัว
เขามีนักเศรษฐศาสตร์ไม่มากเท่าเราเพราะเขามีคนเพียงจำกัด แต่นักเศรษฐศาสตร์ของเขาจำนวนหนึ่งเข้าใจความเป็นไปในเศรษฐกิจของเขาเป็นอย่างดีและพยายามที่จะเตือนรัฐบาลว่าปัญหาหนักหนาสาหัสอาจเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน หากเขาไม่เปลี่ยนนโยบาย นักเศรษฐศาสตร์ไทยก็เช่นเดียวกัน จำนวนหนึ่งพยายามเตือนรัฐบาลว่าอย่าถล้ำเข้าไปในทางสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเพื่อใช้จ่ายในนโยบายประชานิยมแนวเลวร้าย (อย่าลืมว่านโยบายประชานิยมที่แท้จริงนั้นดี) แต่จากวันที่นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายถูกนำเข้ามาใช้เมื่อปี 2544 ยังไม่มีรัฐบาลไหนฟังคำเตือน รัฐบาลไทยเหมือนรัฐบาลไซปรัสในแง่ที่เมื่อไม่มีศพให้เป็นที่ประจักษ์ต่อหน้าต่อตา จะไม่ปักใจเชื่อว่ามีความตาย
เขาขาดนักเศรษฐศาสตร์ที่จะบอกรัฐบาลว่าการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักกำลังเดินเข้าสู่ทางตัน เรามีนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชาญฉลาดบอกรัฐบาลให้ปรับเปลี่ยนนโยบายไปใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังเพื่อหลีกเลี่ยงทางตันดังกล่าว แต่รัฐบาลเราไม่เคยฟัง ยังพยายามดันทุรังจะถ่ายตามช้าง
คนของเขาฉ้อฉลน้อยกว่าคนของเรา แต่ความฉ้อฉลในประเทศเขาก็อาจมีส่วนทำให้เกิดความล้มละลายในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า คนของเราฉ้อฉลมากรวมทั้งผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการ ในฝ่ายบริหารประเทศและฝ่ายที่อยู่ในรัฐสภา
ผลสุดท้ายเมืองไทยก็จะเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องผจญกับชะตากรรมที่เรียกว่าความล้มละลายในแนวที่เกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2540 และในหลายประเทศหลังจากนั้นรวมทั้งในไซปรัสในปัจจุบันด้วย
ในเบื้องแรก เมืองไทยใหญ่กว่าเมืองเขาหลายสิบเท่าเพราะเรามีคนเกิน 63 ล้านคน ส่วนเขามีไม่ถึง 1 ล้านคน ขนาดทางภูมิศาสตร์ของเราใหญ่กว่าเขามากเพราะเขาอยู่บนเกาะเล็กๆ เท่านั้น ดินฟ้าอากาศของเราร้อนชื้นและฝนตกมาก ในขณะที่ของเขาเป็นแบบอุ่นแห้งและแล้งกว่า เรามีทรัพยากรหลากหลาย ส่วนเขามีไม่มาก เขาแบ่งแยกกันออกเป็นสองส่วน เราไม่เป็นเช่นนั้นแม้จะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามทำให้เกิดขึ้นก็ตาม ส่วนใต้ของเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศก้าวหน้าและร่ำรวยที่เรียกว่าสหภาพยุโรป ส่วนเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทว่าส่วนใต้ของเขากำลังล้มละลาย ส่วนเราล้มละลายครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2540
การล้มล้มละลายของไซปรัสกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในหลายระดับ ทั้งในด้านเหตุปัจจัยและในด้านการแก้ปัญหา ปล่อยให้เขาเถียงกันไป ผมใคร่ขอให้พิจารณาประเด็นเหล่านี้บ้าง
ประเด็นแรกเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจตามแนวคิดกระแสหลักซึ่งผมมองว่ามันเริ่มเพี้ยนมากขึ้นเรื่อยๆ มาตั้งแต่ครั้งโรนัลด์ เรแกน และมาร์กาเรต แธตเชอร์ ขึ้นเถลิงอำนาจเมื่อกว่า 3 ทศวรรษมาแล้ว แนวคิดถูกผลักดันไปทางด้านตกขอบที่มักรู้จักกันในนามของ “ฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน” แนวคิดใกล้ตกขอบนั้นมีหลักอยู่ว่า รัฐบาลต้องปล่อยภาคเอกชนให้ทำอะไรต่อมิอะไรได้อย่างเสรีที่สุดเพราะระบบตลาดสามารถควบคุมภาคเอกชนได้ยังผลให้การบริหารและการพัฒนาประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด
แนวคิดนั้นผลักดันให้เกิดการเปิดเสรีทางการเงินอย่างกว้างขวาง ธนาคารพาณิชย์ไซปรัสเปิดรับฝากเงินจากภายนอกประเทศแบบแทบไม่อั้น เงินที่นำมาฝากจำนวนมหาศาลนั้นเป็นเงินของชาวรัสเซียที่ร่ำรวยด้วยการเล่นแร่แปรธาตุต่างๆ ในช่วงหลังการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต วงการเงินเชื่อกันว่า ส่วนหนึ่งของเงินจากรัสเซียที่ไหลเข้าไปในไซปรัสนั้นเป็นเงินที่ได้มาจากกิจการผิดกฎหมายซึ่งถูกส่งเข้าไปฟอกก่อนจะนำออกไปที่อื่น
เงินที่ไหลเข้าไปฝากจำนวนมากนั้นสร้างความกดดันให้ธนาคารไซปรัสต้องหาผู้กู้ยืมเพื่อสร้างรายได้สำหรับนำไปจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากชาวไซปรัสส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการเงินจำนวนมากและมีเชื้อสายกรีกทำให้รู้จักกรีซดีกว่าประเทศอื่น เงินให้กู้จึงตกไปอยู่ในกรีซเป็นส่วนใหญ่ เมื่อกรีซล้มละลาย ธนาคารไซปรัสย่อมประสบปัญหาสาหัสจนทำให้ไซปรัสต้องล้มละลายและไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และประเทศร่ำรวยที่หน้าเลือดทั้งหลาย
คงจำกันได้ว่าก่อนปี 2540 เมืองไทยเปิดให้เงินไหลเข้าออกอย่างเสรีตามกลไกที่เรียกกันว่า กรุงเทพวิเทศธนกิจ หรืออะไรเทือกนั้น เงินจำนวนมหาศาลไหลเข้ามาส่งผลให้คนไทยส่วนหนึ่งร่ำรวยขึ้นทันตาเห็นจากการเล่นแร่แปรธาตุทางการเงิน โดยเฉพาะผ่านการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้าของเงินพยายามดึงเงินของเขากลับไป เราไม่มีจะจ่ายส่งผลให้ประเทศชาติสูญเงินสำรองเกือบหมดและเดินเข้าภาวะล้มละลายจนต้องคลานไปกราบกรานไอเอ็มเอฟและประเทศร่ำรวย ฉะนั้น เรากับเขาคล้ายกันในด้านที่หลงเชื่อว่าฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตันคือแนวคิดที่จะทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
เขากับเราพยายามขายของเก่าให้ชาวต่างชาติเพื่อหารายได้ยังผลให้ภาคท่องเที่ยวหาเงินตราต่างประเทศได้สูงมาก แต่เนื่องจากเขามีสตรีเพศจำนวนจำกัด ส่วนเรามีมากมายหลายสิบเท่าของเขา บรรดาสตรีเพศของเราจึงไปขายของเก่าถึงบ้านเขามานานนับทศวรรษแล้ว
หลังจากเกิดภาวะล้มละลาย เราลดค่าเงินบาทเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการส่งออกได้ แต่เขาไม่อยู่ในภาวะที่จะทำได้เนื่องจากเขาใช้เงินยูโรร่วมกับสมาชิกหลายประเทศของสหภาพยุโรป การลดค่าเงินไม่ได้จำกัดทางเลือกสำคัญในบรรดานโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลของเขาขาดดุลงบประมาณติดต่อกันในระดับสูงถึง 5-6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีมาหลายปีส่งผลให้หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนไทยไม่ขาดดุลแบบนั้น เขาจึงมีหนี้สินในอัตราที่สูงกว่าเราคือราว 87% ของจีดีพี ส่วนของเราอยู่ที่ 44% แต่เรากำลังจะผลักดันให้เกิดการกู้ยืมเพิ่มขึ้นให้ถึงอัตรา 60% ของจีดีพี อัตรานี้จะสูงกว่าอัตรา 87% ของเขาเพราะเราเก็บภาษีได้เพียง 17% ของจีดีพี ส่วนเขาเก็บได้กว่า 39% ด้วยเหตุนี้การจะเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก 2.2 ล้านล้านบาทจึงอาจเป็นปัจจัยที่เร่งให้เราเดินเข้าภาวะล้มละลายอีกครั้งในเวลาไม่อีกนาน เมื่อถึงตอนนั้น เขาอาจฟื้นแล้ว แต่เรากลับล่มจม
เขาจะต้องปิดธนาคารใหญ่หมายเลขสองของเขา การปิดธนาคารและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะทำให้ผู้มีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากสูญเงินที่ฝากไว้เกินบัญชีละ 100,000 ยูโร ชาวรัสเซียอาจจะสูญเงินจำนวนมากหากรัฐบาลรัสเซียไม่เข้าไปช่วย วงการเงินและการเมืองระหว่างประเทศเชื่อกันว่ามาตรการนี้มีความจงใจให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐีรัสเซียโดยเฉพาะ เงินทุนจะไหลออกไปจากไซปรัสทำให้ขาดเงินลงทุนส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาไปอีกนาน เราก็ปิดสถาบันการเงินจำนวนมากเมื่อปี 2540 ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่สองปีก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัว
เขามีนักเศรษฐศาสตร์ไม่มากเท่าเราเพราะเขามีคนเพียงจำกัด แต่นักเศรษฐศาสตร์ของเขาจำนวนหนึ่งเข้าใจความเป็นไปในเศรษฐกิจของเขาเป็นอย่างดีและพยายามที่จะเตือนรัฐบาลว่าปัญหาหนักหนาสาหัสอาจเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน หากเขาไม่เปลี่ยนนโยบาย นักเศรษฐศาสตร์ไทยก็เช่นเดียวกัน จำนวนหนึ่งพยายามเตือนรัฐบาลว่าอย่าถล้ำเข้าไปในทางสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเพื่อใช้จ่ายในนโยบายประชานิยมแนวเลวร้าย (อย่าลืมว่านโยบายประชานิยมที่แท้จริงนั้นดี) แต่จากวันที่นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายถูกนำเข้ามาใช้เมื่อปี 2544 ยังไม่มีรัฐบาลไหนฟังคำเตือน รัฐบาลไทยเหมือนรัฐบาลไซปรัสในแง่ที่เมื่อไม่มีศพให้เป็นที่ประจักษ์ต่อหน้าต่อตา จะไม่ปักใจเชื่อว่ามีความตาย
เขาขาดนักเศรษฐศาสตร์ที่จะบอกรัฐบาลว่าการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักกำลังเดินเข้าสู่ทางตัน เรามีนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชาญฉลาดบอกรัฐบาลให้ปรับเปลี่ยนนโยบายไปใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังเพื่อหลีกเลี่ยงทางตันดังกล่าว แต่รัฐบาลเราไม่เคยฟัง ยังพยายามดันทุรังจะถ่ายตามช้าง
คนของเขาฉ้อฉลน้อยกว่าคนของเรา แต่ความฉ้อฉลในประเทศเขาก็อาจมีส่วนทำให้เกิดความล้มละลายในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า คนของเราฉ้อฉลมากรวมทั้งผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการ ในฝ่ายบริหารประเทศและฝ่ายที่อยู่ในรัฐสภา
ผลสุดท้ายเมืองไทยก็จะเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องผจญกับชะตากรรมที่เรียกว่าความล้มละลายในแนวที่เกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2540 และในหลายประเทศหลังจากนั้นรวมทั้งในไซปรัสในปัจจุบันด้วย