xs
xsm
sm
md
lg

"แก๊งแดง"ชักศึกเข้าบ้าน! ดึงสหภาพรัฐสภาโลกป้อง"ตู่"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงกรณีที่สหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (ไอพียู) ได้มีคำวินิจฉัยกรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม จนต้องพ้นจากการเป็นส.ส. ว่า ไอพียู ได้มีคำวินิจฉัยว่า โปรดระลึกว่า นายจตุพร ถูกตัดสินลงโทษในวันที่ 10 กรกฎาคม และ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 ในคดีอาญา 2 กระทง โดยถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน (รอลงอาญา 2 ปี) และปรับ 50,000 บาท ตามลำดับ ในข้อหาหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนี้ทั้งสองคดีอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ โปรดระลึกว่า ผู้ตรวจการพิเศษองค์การสหประชาชาติ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งเน้นย้ำในรายงาน (A/HRC/17/27 ของวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) โดยเรียกร้องให้ทุกประเทศยกเลิกโทษทางอาญาในคดีหมิ่นประมาท โปรดระลึกว่า ประเทศไทยลงนามในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ดังนั้นจึงมีพันธกรณี ที่จะต้องคุ้มครองสิทธิที่รับรองไว้ในกติกาดังกล่าว
น.ส.จารุพรรณ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาว่า ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเริ่มอภิปรายเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อรายละเอียดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและการยุบพรรค โปรดระลึกว่า ที่มาของความหวาดกลัวว่า การตัดสิทธิ์ทางการเมืองของนายจตุพร อาจถูกพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ใช้โต้เถียงว่าพรรคผู้นำรัฐบาลเพื่อไทย “ส่งนายจตุพรลงสมัครเลือกตั้งในส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อโดยมิชอบ” จึงเป็นเหตุให้การเลือกตั้งเป็นไปในลักษณะที่ “ไม่ซื่อสัตย์และยุติธรรม” ดังนั้นพรรคการเมืองที่เขาสังกัดควรถูกยุบ
น.ส.จารุพรรณ กล่าวต่อว่า 1. ไอพียู ขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการใหญ่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สำหรับจดหมายและความร่วมมือ
2. ไอพียูยืนยันว่าจดหมายดังกล่าวมิได้ทำให้ไอพียูคลายความกังวลใจกรณีที่นายจตุพร ถูกตัดสิทธิด้วยเหตุผลซึ่งขัดต่อพันธะกรณีที่ประเทศไทยมีต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลโดยตรง
3. เมื่อพิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยจะบัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งทางกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง โดยยับยั้งมิให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ในมาตรา 25 ที่รับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะ” รวมถึงการ “ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้ง” โดยปราศจากการ “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
4. เมื่อพิจารณาในแง่ดังกล่าว การปฏิเสธมิให้ ส.ส.ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จึงเป็น “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล” โดยเฉพาะในบทบัญญัติของกติกาที่รับรองว่าบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาให้ถือเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ ให้ได้รับ “การปฏิบัติที่แตกต่างจากบุคคลผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว” (มาตรา 10 (2)(a) ) ไอพียูระบุว่าการตัดสิทธิของนายจตุพร ยังปรากฏว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 102(4) ซึ่งบัญญัติว่าผู้ที่ถูกตัดสินว่าว่ากระทำความผิดทางอาญาเท่านั้น ที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รวมผู้ถูกกล่าวหาทางอาญา
น.ส.จารุพรรณ ระบุว่า 5. ซึ่งไม่ต่างจากกรณีที่ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของนายจตุพร ถูกเพิกถอนในเวลาที่ยังมิได้มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใด และในกรณีของคำปราศรัยอันปรากฎว่าเป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก ได้ย้ำเตือนถึงความกังวลว่า ศาลสามารถตัดสินกรณีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลระหว่างนายจตุพร และพรรคการเมืองนั้นโดยอันที่จริงก็มิได้มีข้อพิพาทใดระหว่างนายจตุพร และพรรคการเมืองนั้นเลย 6.จากข้อเท็จจริงข้างบน ไอพียูจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจ้าหน้าที่รัฐไทยจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อพิจารณาการตัดสิทธิของนายจตุพร อีกครั้งและรับรองว่าบทบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ทางไอพียูประสงค์ที่จะได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้
7. ทางไอพียูยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาทางกฎหมายและข้อเท็จจริงซึ่งอ้างอิงอันเกี่ยวกับข้อหาของนายจตุพร และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งถอนประกันนายจตุพร ดังนั้นไอพียูจึงประสงค์ที่จะขอสำเนาซึ่งเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าว และพิจารณาว่า ในกรณีนี้อาจเป็นเป็นประโยชน์ที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีในศาล และร้องขอให้เลขานุการใหญ่จัดการการนัดหมายที่จำเป็น
8. ความกังวลของไอพียูต่อกรณีที่นายจตุพร ถูกสั่งฟ้อง ตัดสินและลงโทษในความผิดหมิ่นประมาท ในกรณีนี้ ความเห็นของผู้ตรวจการพิเศษขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ความผิดหมิ่นประมาทมิควรที่จะเป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น ไอพียูจึงประสงค์ที่จะเห็นเจ้าหน้าที่รัฐไทยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประสงค์ที่จะได้รับสำเนาเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าว รวมถึงได้รับแจ้งถึงขั้นตอนการอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว
9. ทางไอพียูพิจารณาว่า คดีในปัจจุบันมีการแตกกิ่งการสาขานอกเหนือจากกรณีของนายจตุพร และยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางรัฐธรรมนูญและระบบระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและศาล ทางไอพียูจึงร้องขอให้เลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยกประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการที่ทรงประสิทธิภาพ รวมถึงค้นหาถึงความเป็นไปได้ว่าทางไอพียูจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างในกรณีดังกล่าว
10. ทางไอพียูร้องขอให้เลขาธิการใหญ่ส่งมตินี้ไปยังเจ้าหน้าที่รัฐที่ทรงประสิทธิภาพและผู้ให้ข้อมูล
11. ทางไอพียูร้องขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบคดีนี้อย่างต่อเนื่อง และรายงานให้ทางไอพียูทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
กำลังโหลดความคิดเห็น