ASTVผู้จัดการรายวัน-ฝ่ายค้าน"บอยคอต"ไม่อภิปรายช่วง"นิคม"ขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นประธาน พร้อมประกาศไม่รับร่างแก้ไขรธน. ทั้ง 3 ร่าง ชี้ขัดหลัก 3 ป. แถม ปิดหู ปิดตา ประชาชน เพิ่มอำนาจรัฐบาล ด้าน "ส.ว.สมชาย" ยื่นศาลรธน. ขอให้สั่งระงับการแก้รธน. มาตรา 68 , 237 ชี้เข้าข่าย ลิดรอนสิทธิประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างการปกครองฯ พร้อมให้ยุบ 6 พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และสั่งระงับการพิจารณาแก้ไข ขณะที่ศาลรธน.นัดถกด่วน วันนี้
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 สมัยสามัญนิติบัญญัติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช ….
เป็นวันที่สอง เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.55น. วานนี้ (2 เม.ย.) โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ หารือว่า เมื่อคืนวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา นายนิคม กลับไปนอนคิดได้หรือยัง ที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ประท้วงว่า ตัวท่านไม่เหมาะสมในการทำหน้าที่ประธานการประชุม ตนเป็นส.ส.มา 20 ปี ไม่เคยมีอย่างนี้ อยากให้ประธานได้ไตร่ตรอง เพราะนี่เป็นการแก้กฎหมายประวัติศาสตร์ และการกระทำของท่านประธาน ก็เป็นวัติศาสตร์ อีกทั้งตามประเพณีและมารยาท ก็ไม่มีใครเขาทำ เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ประธานสภาฯ ก็ไม่ลงมติ หรือท่านจะยอมใช้เสียงข้างมากลากไป
นายนิคม ชี้แจงว่า เมื่ออยากให้เป็นประวัติศาสตร์ ตนก็จะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน และใช้เอกสิทธิในการเสนอกฎหมาย และขอยืนยันว่า ตนไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน มาตรา 190 และ 237 ซึ่งถือว่า เป็นจุดอ่อนให้กับพรรคการเมือง และฝ่ายบริหารทำงานลำบาก
"ผมขอยืนยันว่า ผมทำหน้าที่ประธานที่ประชุมมา 5 ปีกว่า เห็นการเมืองอ่อนแอ และ 2 มาตรานั้นถือว่าเป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ผมไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และรัฐธรรมนูญรวมทั้งข้อบังคับการประชุม ก็ไม่มีข้อห้ามให้ผู้เสนอชื่อในกฎหมายห้ามปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า ในเวลาลงมติรับหลักการ วาระแรก ผมจะของดออกเสียง" นายนิคม กล่าว
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ได้หารือกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และวิปรัฐบาล ได้ข้อสรุปว่า ในการอภิปราย จะให้เวลาฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 15 ชั่วโมง และฝ่ายค้านจะอภิปรายเฉพาะช่วงที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยจะขออภิปรายครั้งละ 2 คน สลับกับฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.ครั้งละ 1 คน และในช่วงที่นายนิคม ขึ้นเป็นประธาน ฝ่ายค้านจะไม่อภิปราย
** แก้ม.190 แบบมีวาระซ่อนเร้น
ต่อมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปราย ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยกล่าวถึงหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ต้องยึดหลัก 3 ป. คือ ประชาธิปไตย ปฏิรูป และ ปรองดอง คือถ้าเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ก็น่าสนับสนุน ส่วนปฏิรูป หมายถึง ถ้าเป็นปัญหาในเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพความโปร่งใส จะแก้เพื่อให้ระบบมีความโปร่งใสมากขึ้น ส่วนปรองดองนั้นหมายถึง รัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุดของประเทศ การแก้ไขที่ดีที่สุดคือ แก้ในประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นพ้อง โดยต้องถอดสถานะของตัวเองในขณะนั้นออก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาล วุฒิสภา หรือจะเป็นประชาชน ร่างแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 3 ร่างนี้ ไม่เข้าหลักทั้ง 3 หลัก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นการลิดดรอนสิทธิประชาชน 2 ร่าง ส่วนอีก 1 ร่าง ก็นำไปสู่การรวบอำนาจมากยิ่งขึ้น โดยร่างแรก คือการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 190 นั้น รัฐบาลมีเจตนาที่จะปิดช่องประชาชนในการมีส่วนร่วม และลดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการลิดรอนสิทธิประชาชน ที่จะมีส่วนร่วมในการเจรจาการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมา มีปัญหาคนที่ถืออำนาจรัฐ ใช้สถานะตัวเองไปเอื้อธุรกิจของตัวเอง สร้างความเดือดร้อนให้คนในประเทศ
" ผมได้ไปค้นบันทึกผู้จัดทำร่าง รธน. ปี 50 มีการใช้คำว่า “เขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล จึงอยากสอบถามว่า การตัดข้อความดังกล่าวออกไปจะมีผลอย่างไร ยืนยันได้หรือไม่ว่า คำว่า เขตอำนาจรัฐในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 นี้ จะครอบคลุมถึงเรื่องเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือไม่ เพราะกำลังจะมีการเจรจาผลประโยชน์ทางทะเล สิ่งเหล่านี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** แก้ ม.68 เป็นชนวนความขัดแย้ง
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดว่ากรรมการบริหาร พรรคไม่ต้องร่วมรับผิดชอบกับการทำผิด และยังมีการกำหนดในมาตรา 5 พ่วงการนิรโทษกรรม ย้อนหลังให้กับผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จากการยุบพรรคด้วย พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า จากเรื่อง มาตรา 237 โยงมาถึงมาตรา 68 ได้อย่างไร เพราะไม่เคยอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มาก่อน แต่แถมเข้ามาเพื่อตัดสิทธิไม่ให้ประชาชน ยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อพบว่ามีการล้มล้างการปกครอง หรือล้มล้างรัฐธรรมนูญ และที่อ้างว่า ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดความชัดเจน ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะปัญหานี้จบไปตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประชาชนสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
"ความน่าห่วงใยคือ เมื่อแก้แล้วเรื่องที่เคยเป็นคดี ต่อไปจะเป็นอย่างไร เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับสมควรไปทำประชามติก่อน และเขียนด้วยว่า หากมีการร่างรัฐธรรมนูญ พบว่ามีการล้มล้างการปกครอง ประชาชนมีสิทธิร้องได้ แต่ถ้าแก้ไขเสร็จประชาชนจะร้องได้ที่อัยการอย่างเดียว ซึ่งอัยการเคยมีความเห็นแล้วด้วยว่า ไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สงสัยว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ จึงขอให้ยืนยันว่า จะทำเรื่องนี้หรือไม่ เพราะมีการลิดรอนสิทธิประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีผลในการปฏิรูป แต่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แก้ ม.237 เลือกตั้งส.ว.ไม่มีเว้นวรรค
ส่วน ม. 237 ประเด็นที่มาของส.ว. จะอาศัยหลักเดียวว่า เลือกตั้งดีกว่าไม่เลือกตั้ง ไม่ใช่คำตอบ เพราะปัจจุบันวุฒิสภาไม่มีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี การไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือชี้นำในเรื่องกฎหมาย เพราะสุดท้ายเป็นสิทธิของสภาที่จะไม่เอาตามวุฒิสภาได้ แต่วุฒิสภาทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ กลั่นกรองกฎหมาย ต้องการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีผลต่อการเลือกองค์กรอิสระ และการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มาจากการเลือกตั้ง จึงต้องการคนที่มีความเป็นกลางทางการเมือง
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า การเลือกตั้งโดยตรง แม้จะห้ามไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง จะเป็นหลักประกันได้จริงหรือไม่ และเห็นว่าการแก้ไขประเด็นนี้ ถอยหลังมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เพราะกำหนดให้ ส.ว. ลงสมัครเลือกตั้งติดต่อกันได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค ทำให้วุฒิสภา เหมือนสภาผู้แทนราษฎร เพียงแต่ลงเลือกตั้งไม่เปิดเผยว่าสังกัดพรรคไหนเท่านั้น จึงไม่ใช่การปฏิรูป สอดคล้องกับแนวคิด รุกคืบรวบอำนาจ เพื่อหวังผลเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่ต้องการเป็นวุฒิสภา มากกว่า 1 วาระ
** ย้ำฝ่ายค้านไม่รับทั้ง 3 ร่าง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาที่ทำให้บรรยากาศการประชุมสภาไม่ราบรื่น เป็นเพราะคนที่ทำหน้าที่ไม่คิดถึงหลักใหญ่ ไม่แยกแยะว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองมีความขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด
ดังนั้นไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อีกกี่ครั้ง ก็แก้ปัญหาไม่ได้ การให้สัมภาษณ์ของนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ยืนยันว่า ไม่ถอนตัวจากการทำหน้าที่ประธาน เพราะเชื่อว่าเป็นแผนประชาธิปัตย์ ประวิงเวลา ตีรวนแก้ รธน.นั้น ขอยืนยันว่า พวกตนไม่ได้ประวิงเวลา เพราะตกลงกันเรียบร้อยแล้วว่า จะอภิปราย 3 วัน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดทางให้นายนิคมแล้วว่า ไม่ได้ห้ามปฏิบัติหน้าที่ แต่ขอให้ถอนชื่อ ทั้งที่เราไม่เชื่อว่า เมื่อท่านถอนชื่อแล้ว ใจจะกลับมาเป็นกลาง แต่ต้องการรักษาความสง่างาม และความถูกต้องของผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ในที่ประชุม หากยังไม่ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง ว่าต้องทำทุกอย่างตามเจตนารมณ์ของวิถีประชาธิปไตย ยึดความถูกต้อง มีธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญอีกกี่ครั้ง ก็แก้ปัญหาไม่ได้
"จึงขอยืนยันว่า ไม่สามารถรับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างได้ เพราะ 2 ร่าง เป็นการตัดสิทธิ์ประชาชน ไม่ทำให้การเมืองดีขึ้น ส่วนอีก 1 ร่าง เป็นการรุกคืบทางอำนาจ และต่อรองผลประโยชน์" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ยื่นศาลรธน.ระงับแก้ ม.68-ม.237
วานนี้ ( 2 เม.ย.) นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา หนึ่งในกลุ่ม 40 ส.ว. ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัย กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา กับพวก ซึ่งเป็นส.ว.และส.ส. รวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยร่วมกันเข้าชื่อ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…)พ.ศ....ต่อประธานรัฐสภา เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่เป็นเรื่องของสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับการตัดสิทธิหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค กรณีมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้นายสมศักดิ์ และพวกที่เป็นผู้ถูกร้อง ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 และมีคำสั่งยุบพรรคพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ ที่ผู้ถูกร้องทั้งหมดสังกัดอยู่ รวมถึงขณะนี้รัฐสภากำลังมีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะลงมติวาระ 1ในวันที่ 3 เม.ย. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยสั่งให้รัฐสภาระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะพิจารณาคดีเสร็จสิ้น
นายสมชาย กล่าวว่า การเข้าชื่อกันเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จะมีผลเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เนื่องจาก นายสมศักดิ์และพวก เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกความใน มาตรา 68 ซึ่งเป็นบทบัญญัติ ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ ที่สำคัญมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรับรองไว้ด้วยว่า บุคคลมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงย่อมได้รับการคุ้มครอง และผูกพันทุกองค์กร ซึ่งรวมถึงผูกพันนายสมศักดิ์ และพวก ที่เป็นสมาชิกรัฐสภาด้วย
แต่นายสมศักดิ์กับพวก กลับเสนอแก้ไขยกเลิกสิทธิของบุคคลในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ด้วยการยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญออกไป เหลือเพียงให้ผู้ทราบการกระทำยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น จึงเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพประชาชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ,27 ,28, 29 พฤติการณ์ของนายสมศักดิ์และพวก จึงส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ และฝ่าฝืนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22 /2555
"หากปล่อยให้นายสมศักดิ์ และพวกใช้อำนาจหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิก มาตรา 68 จนสำเร็จ แล้วก็จะนำไปสู่การแก้ไขในประเด็นอื่นๆ ตามที่เขาต้องการได้ในภายหลัง รูปการณ์จะเป็นเช่นนี้ต่อไปไม่สิ้นสุด ไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา การเมืองการปกครองประเทศ ก็จะวนเวียนอยู่กับที่ ตามแต่พรรคการเมืองเสียงข้างมากต้องการจะได้อำนาจปกครองประเทศ โดยไม่เคารพกติกาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงต่อรัฐธรรมนูญ และระบอบการปกครองประเทศ ที่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ผมจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิ ยื่นคำร้องต่อศาลฯ เพื่อปกป้องและป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะหากปล่อยให้นายสมศักดิ์กับพวก เดินทางแก้ไขรัฐธรรมนูญจนเสร็จ ศาลไม่สามารถสั่งให้ยกเลิกการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญได้ ก็จะเป็นการปูทางไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 ในที่สุด จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และมีคำสั่งตามที่ร้องขอ"
นายสมชาย ยังกล่าวอีกว่า ความจริงแล้ว ถ้าจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ควรจะพิจารณาเรื่องยังไม่มีการออกกฎหมาย หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมากกว่า เช่น การออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ขณะนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ การตั้งองค์การอิสระจัดการด้านการสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ หรือการที่รัฐบาลยังไม่แถลงผลงานต่อรัฐสภาหลังบริหารงานมาแล้ว 1 ปี เหล่านี้ควรมีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ ให้มีการกำหนดโทษ กรณีไม่มีการปฏิบัติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ไม่ใช่มาแก้ มาตรา 68 ลิดรอนสิทธิประชาชน ซึ่งหลังการยื่นคำร้องของตนในครั้งนี้แล้วก็เชื่อว่าจะมี ส.ว.อีกหลายคน ทยอยเข้ายื่นคำร้องลักษณะนี้อีกเช่นกัน
เมื่อถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่รับคำร้อง เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับกรณีดังกล่าว นายสมชาย กล่าวว่า เชื่อว่าศาลจะไม่คิดเช่นนั้น แต่เชื่อว่า ศาลจะพิจารณายึดหลักข้อกฎหมายไปก่อน ตนได้ชี้ข้อกฎหมายที่ชัดเจน และสมาชิกรัฐสภา กำลังกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้มีก่อนหน้านี้ จึงถือว่าขณะนี้ก็ได้มีการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญ คงจะได้พิจารณาวินิจฉัยได้ทันเวลา
**ศาลรธน.ถกคำร้องแก้รธน.วันนี้
นายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงานได้ตรวจสอบข้อมูลตามคำร้อง ที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นขอให้ศาลรธน. วินิจฉัยสั่งระงับ และยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 68 และม.237 เรียบร้อยแล้ว และเตรียมที่จะนำเสนอคำร้องดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ ( 3 เม.ย.) เวลา 15.00 น. ส่วนคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดออกมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะตุลาการ ต้องติดตาม รอดู
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมดังกล่าวของคณะตุลาการฯ ไม่ได้เป็นการประชุมประจำสัปดาห์ เพราะก่อนหน้านี้คณะตุลาการได้มีการหารือว่า คำร้องที่มีอยู่ ยังอยู่ในขั้นตอนให้ผู้ร้องผู้ถูกร้องทำการชี้แจง จึงให้งดการประชุมประจำสัปดาห์ โดยจะไปเริ่มประชุมใหม่ในเดือนพ.ค. แต่เมื่อนายสมชายได้มายื่นคำร้อง และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยให้สั่งระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้ก่อน ทางเลขาธิการสำนักงาน จึงได้แจ้งให้คณะตุลาการฯทราบ เพื่อให้มีการประชุมด่วน ว่าจะรับ หรือไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัย หรือไม่ และถ้ารับวินิจฉัยแล้ว จะกำหนดกระบวนการพิจารณาอย่างไร โดยคำขอฉุกเฉินครั้งนี้ ก็เหมือนกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยได้รับ ในกรณีที่มีการร้องว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งไปยังเลขาธิการรัฐสภา ให้ระงับการลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 มาแล้ว
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 สมัยสามัญนิติบัญญัติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช ….
เป็นวันที่สอง เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.55น. วานนี้ (2 เม.ย.) โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ หารือว่า เมื่อคืนวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา นายนิคม กลับไปนอนคิดได้หรือยัง ที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ประท้วงว่า ตัวท่านไม่เหมาะสมในการทำหน้าที่ประธานการประชุม ตนเป็นส.ส.มา 20 ปี ไม่เคยมีอย่างนี้ อยากให้ประธานได้ไตร่ตรอง เพราะนี่เป็นการแก้กฎหมายประวัติศาสตร์ และการกระทำของท่านประธาน ก็เป็นวัติศาสตร์ อีกทั้งตามประเพณีและมารยาท ก็ไม่มีใครเขาทำ เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ประธานสภาฯ ก็ไม่ลงมติ หรือท่านจะยอมใช้เสียงข้างมากลากไป
นายนิคม ชี้แจงว่า เมื่ออยากให้เป็นประวัติศาสตร์ ตนก็จะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน และใช้เอกสิทธิในการเสนอกฎหมาย และขอยืนยันว่า ตนไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน มาตรา 190 และ 237 ซึ่งถือว่า เป็นจุดอ่อนให้กับพรรคการเมือง และฝ่ายบริหารทำงานลำบาก
"ผมขอยืนยันว่า ผมทำหน้าที่ประธานที่ประชุมมา 5 ปีกว่า เห็นการเมืองอ่อนแอ และ 2 มาตรานั้นถือว่าเป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ผมไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และรัฐธรรมนูญรวมทั้งข้อบังคับการประชุม ก็ไม่มีข้อห้ามให้ผู้เสนอชื่อในกฎหมายห้ามปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า ในเวลาลงมติรับหลักการ วาระแรก ผมจะของดออกเสียง" นายนิคม กล่าว
ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ได้หารือกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และวิปรัฐบาล ได้ข้อสรุปว่า ในการอภิปราย จะให้เวลาฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 15 ชั่วโมง และฝ่ายค้านจะอภิปรายเฉพาะช่วงที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยจะขออภิปรายครั้งละ 2 คน สลับกับฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.ครั้งละ 1 คน และในช่วงที่นายนิคม ขึ้นเป็นประธาน ฝ่ายค้านจะไม่อภิปราย
** แก้ม.190 แบบมีวาระซ่อนเร้น
ต่อมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปราย ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยกล่าวถึงหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ต้องยึดหลัก 3 ป. คือ ประชาธิปไตย ปฏิรูป และ ปรองดอง คือถ้าเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ก็น่าสนับสนุน ส่วนปฏิรูป หมายถึง ถ้าเป็นปัญหาในเชิงระบบ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพความโปร่งใส จะแก้เพื่อให้ระบบมีความโปร่งใสมากขึ้น ส่วนปรองดองนั้นหมายถึง รัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุดของประเทศ การแก้ไขที่ดีที่สุดคือ แก้ในประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นพ้อง โดยต้องถอดสถานะของตัวเองในขณะนั้นออก เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาล วุฒิสภา หรือจะเป็นประชาชน ร่างแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 3 ร่างนี้ ไม่เข้าหลักทั้ง 3 หลัก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นการลิดดรอนสิทธิประชาชน 2 ร่าง ส่วนอีก 1 ร่าง ก็นำไปสู่การรวบอำนาจมากยิ่งขึ้น โดยร่างแรก คือการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 190 นั้น รัฐบาลมีเจตนาที่จะปิดช่องประชาชนในการมีส่วนร่วม และลดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีการลิดรอนสิทธิประชาชน ที่จะมีส่วนร่วมในการเจรจาการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมา มีปัญหาคนที่ถืออำนาจรัฐ ใช้สถานะตัวเองไปเอื้อธุรกิจของตัวเอง สร้างความเดือดร้อนให้คนในประเทศ
" ผมได้ไปค้นบันทึกผู้จัดทำร่าง รธน. ปี 50 มีการใช้คำว่า “เขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล จึงอยากสอบถามว่า การตัดข้อความดังกล่าวออกไปจะมีผลอย่างไร ยืนยันได้หรือไม่ว่า คำว่า เขตอำนาจรัฐในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 นี้ จะครอบคลุมถึงเรื่องเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือไม่ เพราะกำลังจะมีการเจรจาผลประโยชน์ทางทะเล สิ่งเหล่านี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** แก้ ม.68 เป็นชนวนความขัดแย้ง
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดว่ากรรมการบริหาร พรรคไม่ต้องร่วมรับผิดชอบกับการทำผิด และยังมีการกำหนดในมาตรา 5 พ่วงการนิรโทษกรรม ย้อนหลังให้กับผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง จากการยุบพรรคด้วย พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่า จากเรื่อง มาตรา 237 โยงมาถึงมาตรา 68 ได้อย่างไร เพราะไม่เคยอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มาก่อน แต่แถมเข้ามาเพื่อตัดสิทธิไม่ให้ประชาชน ยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อพบว่ามีการล้มล้างการปกครอง หรือล้มล้างรัฐธรรมนูญ และที่อ้างว่า ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดความชัดเจน ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะปัญหานี้จบไปตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประชาชนสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
"ความน่าห่วงใยคือ เมื่อแก้แล้วเรื่องที่เคยเป็นคดี ต่อไปจะเป็นอย่างไร เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับสมควรไปทำประชามติก่อน และเขียนด้วยว่า หากมีการร่างรัฐธรรมนูญ พบว่ามีการล้มล้างการปกครอง ประชาชนมีสิทธิร้องได้ แต่ถ้าแก้ไขเสร็จประชาชนจะร้องได้ที่อัยการอย่างเดียว ซึ่งอัยการเคยมีความเห็นแล้วด้วยว่า ไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สงสัยว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ จึงขอให้ยืนยันว่า จะทำเรื่องนี้หรือไม่ เพราะมีการลิดรอนสิทธิประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีผลในการปฏิรูป แต่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แก้ ม.237 เลือกตั้งส.ว.ไม่มีเว้นวรรค
ส่วน ม. 237 ประเด็นที่มาของส.ว. จะอาศัยหลักเดียวว่า เลือกตั้งดีกว่าไม่เลือกตั้ง ไม่ใช่คำตอบ เพราะปัจจุบันวุฒิสภาไม่มีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี การไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือชี้นำในเรื่องกฎหมาย เพราะสุดท้ายเป็นสิทธิของสภาที่จะไม่เอาตามวุฒิสภาได้ แต่วุฒิสภาทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ กลั่นกรองกฎหมาย ต้องการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีผลต่อการเลือกองค์กรอิสระ และการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มาจากการเลือกตั้ง จึงต้องการคนที่มีความเป็นกลางทางการเมือง
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า การเลือกตั้งโดยตรง แม้จะห้ามไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง จะเป็นหลักประกันได้จริงหรือไม่ และเห็นว่าการแก้ไขประเด็นนี้ ถอยหลังมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เพราะกำหนดให้ ส.ว. ลงสมัครเลือกตั้งติดต่อกันได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค ทำให้วุฒิสภา เหมือนสภาผู้แทนราษฎร เพียงแต่ลงเลือกตั้งไม่เปิดเผยว่าสังกัดพรรคไหนเท่านั้น จึงไม่ใช่การปฏิรูป สอดคล้องกับแนวคิด รุกคืบรวบอำนาจ เพื่อหวังผลเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่ต้องการเป็นวุฒิสภา มากกว่า 1 วาระ
** ย้ำฝ่ายค้านไม่รับทั้ง 3 ร่าง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาที่ทำให้บรรยากาศการประชุมสภาไม่ราบรื่น เป็นเพราะคนที่ทำหน้าที่ไม่คิดถึงหลักใหญ่ ไม่แยกแยะว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองมีความขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด
ดังนั้นไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อีกกี่ครั้ง ก็แก้ปัญหาไม่ได้ การให้สัมภาษณ์ของนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ยืนยันว่า ไม่ถอนตัวจากการทำหน้าที่ประธาน เพราะเชื่อว่าเป็นแผนประชาธิปัตย์ ประวิงเวลา ตีรวนแก้ รธน.นั้น ขอยืนยันว่า พวกตนไม่ได้ประวิงเวลา เพราะตกลงกันเรียบร้อยแล้วว่า จะอภิปราย 3 วัน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดทางให้นายนิคมแล้วว่า ไม่ได้ห้ามปฏิบัติหน้าที่ แต่ขอให้ถอนชื่อ ทั้งที่เราไม่เชื่อว่า เมื่อท่านถอนชื่อแล้ว ใจจะกลับมาเป็นกลาง แต่ต้องการรักษาความสง่างาม และความถูกต้องของผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ในที่ประชุม หากยังไม่ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง ว่าต้องทำทุกอย่างตามเจตนารมณ์ของวิถีประชาธิปไตย ยึดความถูกต้อง มีธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญอีกกี่ครั้ง ก็แก้ปัญหาไม่ได้
"จึงขอยืนยันว่า ไม่สามารถรับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างได้ เพราะ 2 ร่าง เป็นการตัดสิทธิ์ประชาชน ไม่ทำให้การเมืองดีขึ้น ส่วนอีก 1 ร่าง เป็นการรุกคืบทางอำนาจ และต่อรองผลประโยชน์" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ยื่นศาลรธน.ระงับแก้ ม.68-ม.237
วานนี้ ( 2 เม.ย.) นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา หนึ่งในกลุ่ม 40 ส.ว. ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัย กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา กับพวก ซึ่งเป็นส.ว.และส.ส. รวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยร่วมกันเข้าชื่อ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…)พ.ศ....ต่อประธานรัฐสภา เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่เป็นเรื่องของสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับการตัดสิทธิหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค กรณีมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้นายสมศักดิ์ และพวกที่เป็นผู้ถูกร้อง ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 และมีคำสั่งยุบพรรคพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ ที่ผู้ถูกร้องทั้งหมดสังกัดอยู่ รวมถึงขณะนี้รัฐสภากำลังมีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะลงมติวาระ 1ในวันที่ 3 เม.ย. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยสั่งให้รัฐสภาระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะพิจารณาคดีเสร็จสิ้น
นายสมชาย กล่าวว่า การเข้าชื่อกันเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จะมีผลเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เนื่องจาก นายสมศักดิ์และพวก เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกความใน มาตรา 68 ซึ่งเป็นบทบัญญัติ ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ ที่สำคัญมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรับรองไว้ด้วยว่า บุคคลมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงย่อมได้รับการคุ้มครอง และผูกพันทุกองค์กร ซึ่งรวมถึงผูกพันนายสมศักดิ์ และพวก ที่เป็นสมาชิกรัฐสภาด้วย
แต่นายสมศักดิ์กับพวก กลับเสนอแก้ไขยกเลิกสิทธิของบุคคลในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ด้วยการยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญออกไป เหลือเพียงให้ผู้ทราบการกระทำยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น จึงเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพประชาชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ,27 ,28, 29 พฤติการณ์ของนายสมศักดิ์และพวก จึงส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ และฝ่าฝืนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22 /2555
"หากปล่อยให้นายสมศักดิ์ และพวกใช้อำนาจหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิก มาตรา 68 จนสำเร็จ แล้วก็จะนำไปสู่การแก้ไขในประเด็นอื่นๆ ตามที่เขาต้องการได้ในภายหลัง รูปการณ์จะเป็นเช่นนี้ต่อไปไม่สิ้นสุด ไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา การเมืองการปกครองประเทศ ก็จะวนเวียนอยู่กับที่ ตามแต่พรรคการเมืองเสียงข้างมากต้องการจะได้อำนาจปกครองประเทศ โดยไม่เคารพกติกาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงต่อรัฐธรรมนูญ และระบอบการปกครองประเทศ ที่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ผมจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิ ยื่นคำร้องต่อศาลฯ เพื่อปกป้องและป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะหากปล่อยให้นายสมศักดิ์กับพวก เดินทางแก้ไขรัฐธรรมนูญจนเสร็จ ศาลไม่สามารถสั่งให้ยกเลิกการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญได้ ก็จะเป็นการปูทางไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 ในที่สุด จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และมีคำสั่งตามที่ร้องขอ"
นายสมชาย ยังกล่าวอีกว่า ความจริงแล้ว ถ้าจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ควรจะพิจารณาเรื่องยังไม่มีการออกกฎหมาย หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมากกว่า เช่น การออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ขณะนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ การตั้งองค์การอิสระจัดการด้านการสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ หรือการที่รัฐบาลยังไม่แถลงผลงานต่อรัฐสภาหลังบริหารงานมาแล้ว 1 ปี เหล่านี้ควรมีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ ให้มีการกำหนดโทษ กรณีไม่มีการปฏิบัติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ไม่ใช่มาแก้ มาตรา 68 ลิดรอนสิทธิประชาชน ซึ่งหลังการยื่นคำร้องของตนในครั้งนี้แล้วก็เชื่อว่าจะมี ส.ว.อีกหลายคน ทยอยเข้ายื่นคำร้องลักษณะนี้อีกเช่นกัน
เมื่อถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่รับคำร้อง เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับกรณีดังกล่าว นายสมชาย กล่าวว่า เชื่อว่าศาลจะไม่คิดเช่นนั้น แต่เชื่อว่า ศาลจะพิจารณายึดหลักข้อกฎหมายไปก่อน ตนได้ชี้ข้อกฎหมายที่ชัดเจน และสมาชิกรัฐสภา กำลังกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้มีก่อนหน้านี้ จึงถือว่าขณะนี้ก็ได้มีการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญ คงจะได้พิจารณาวินิจฉัยได้ทันเวลา
**ศาลรธน.ถกคำร้องแก้รธน.วันนี้
นายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงานได้ตรวจสอบข้อมูลตามคำร้อง ที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นขอให้ศาลรธน. วินิจฉัยสั่งระงับ และยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม. 68 และม.237 เรียบร้อยแล้ว และเตรียมที่จะนำเสนอคำร้องดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ ( 3 เม.ย.) เวลา 15.00 น. ส่วนคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดออกมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะตุลาการ ต้องติดตาม รอดู
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมดังกล่าวของคณะตุลาการฯ ไม่ได้เป็นการประชุมประจำสัปดาห์ เพราะก่อนหน้านี้คณะตุลาการได้มีการหารือว่า คำร้องที่มีอยู่ ยังอยู่ในขั้นตอนให้ผู้ร้องผู้ถูกร้องทำการชี้แจง จึงให้งดการประชุมประจำสัปดาห์ โดยจะไปเริ่มประชุมใหม่ในเดือนพ.ค. แต่เมื่อนายสมชายได้มายื่นคำร้อง และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยให้สั่งระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้ก่อน ทางเลขาธิการสำนักงาน จึงได้แจ้งให้คณะตุลาการฯทราบ เพื่อให้มีการประชุมด่วน ว่าจะรับ หรือไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัย หรือไม่ และถ้ารับวินิจฉัยแล้ว จะกำหนดกระบวนการพิจารณาอย่างไร โดยคำขอฉุกเฉินครั้งนี้ ก็เหมือนกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยได้รับ ในกรณีที่มีการร้องว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งไปยังเลขาธิการรัฐสภา ให้ระงับการลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 มาแล้ว