เพราะสภาฯ เป็นพวกรัฐบาลเป็นพวกเดียวกัน
กลไกตรวจสอบจึงมิได้อยู่ที่สภาฯ แต่เพียงลำพัง
แม้ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทสามารถผ่านสภาฯ ไปได้ แต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ว่ากู้ไปทำไมได้ การต่อสู้กับการใช้เสียงข้างมากโดย ส.ส.มาสร้างปัญหาประเทศจึงยังมีต่อไป
มีหลายคนที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปัจจุบันเพื่อยุบเลิกองค์กรอิสระที่มีอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อ้างว่าเกะกะไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะขัดขวางการทำงานของ ส.ส. ผู้มาจากการเลือกตั้ง แต่ผู้ที่สนับสนุนจะบอกความจริงกับประชาชนหรือไม่ว่าอำนาจอธิปไตยในปัจจุบันมีเหลือแค่ 2 อำนาจคือ ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)+ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาฯ) รวมเป็น 1 อำนาจและศาลอีก 1 อำนาจ
การมีองค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในระบบเพื่อถ่วงดุลอำนาจให้เกิดการตรวจสอบ จะบอกว่ามีฝ่ายค้าน มีสภาฯ ก็ตรวจสอบได้แล้วนั้นหาได้ถูกต้องไม่ เหตุก็เพราะระบบรัฐสภาทำให้เกิดรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงมีเสียงข้างมากและเป็นพวกเดียวกับ ส.ส.ส่วนใหญ่ในสภาฯ ฉะนั้นสภาฯ จะมาตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างไร
พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเป็นกฎหมายกู้เงิน มิใช่กฎหมายจ่ายเงิน รัฐธรรมนูญฉบับไหนๆ ก็กำหนดไว้ว่าการจ่ายเงินที่รัฐหามาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีเก็บภาษีหรือกู้มาต้องทำเป็นกฎหมายเพื่อให้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นได้ กฎหมายงบประมาณฯ จึงเป็นกฎหมายที่ว่านี้ เพื่อ “หมายหัว” ว่าจะจ่ายเงินเพื่อการใด แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือมีแต่กฎหมายกู้เงินแต่ไม่ยอมทำกฎหมายจ่ายเงินและหลีกเลี่ยงไม่ยอมรวมทั้ง 2 กฎหมายเข้าด้วยกัน
การจ่ายเงินโดยทำเป็นงบประมาณเป็นการรวมการจ่ายเงินเข้ากับการกู้เงินเพราะมีกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่มีระเบียบทั้งการจ่ายเงินและกู้เงินว่าจะทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้าง ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ เพดานการกู้เงินที่จะระบุว่ารัฐบาลสามารถกู้ได้มากน้อยเพียงใด
วินัยทางการคลังที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตมิใช่เป็นเพราะรัฐมนตรีสาบานว่าจะไม่โกง หากแต่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ต่างหากอย่ามั่วหรือทำให้สับสน
การกู้เงินจำนวนมากที่เกินเลยขอบเขตเพดานการกู้และไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ไม่ยอมทำเป็นงบประมาณเพื่อจ่ายเงินจึงเป็นเครื่องแสดงว่าหลีกเลี่ยงวินัยทางการคลังและมีเจตนาอื่นแอบแฝงโดยแท้ ข้ออ้างสำคัญก็คือ ต้องการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องใช้งบลงทุนสูงเกินกว่าที่เพดานการกู้ในงบประมาณในแต่ละปีจะอนุญาตให้ทำได้
ประเด็นที่สังคมควรใส่ใจรับรู้ไว้ก็คือ การคลังรัฐต่างกับเอกชนหรือไม่อย่างไร เพราะพฤติกรรมที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กระทำมาโดยตลอดก็คือ พยายามจะใช้จ่ายเงินรัฐแบบเอกชน
รัฐมีวิธีการคลังที่ต่างจากเอกชนก็เนื่องมาจากเงินที่รัฐหามาได้และจ่ายออกไปไม่มีเจ้าของที่แท้จริง จะอ้างเงินของประชาชนก็ได้แต่บอกได้ไหมว่าเป็นของประชาชนคนใดและจ่ายให้ประชาชนชื่ออะไร ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เงินนี้เขาเรียกว่า “เงินหลวง” ซึ่งมีเจ้าของมีตัวตนแน่นอน “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ในสมัยก่อนจึงเป็นการคอร์รัปชันในสมัยปัจจุบันแต่ชัดเจนกว่าเพราะระบุว่า “ฉ้อ” ใคร หรือ “บัง“ เงินใคร
รัฐใช้วิธีตั้งงบประมาณรายจ่ายมาก่อนแล้วจึงมองวิธีการหารายได้ในภายหลังเพราะคำนึงถึงพันธกิจ หรือ Mission ที่มีอยู่กับประเทศและประชาชนเป็นลำดับแรก แต่เอกชนจะดูรายรับหรือเงินในกระเป๋าก่อนจะตั้งงบประมาณรายจ่ายเนื่องจากมุ่งแต่จะแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง การจ่ายเงินนอกจากจะต้องขออนุมัติต่อสภาฯ แล้วยังต้องจ่ายแบบ “หมายหัว” เพื่อให้รู้ว่าจะจ่ายไปเพื่อการใด และ “ต้องยุ่งยากและล่าช้า” ซึ่งเป็นธรรมชาติของเงินที่ไม่มีเจ้าของที่แท้จริงจะให้คล่องตัวเหมือนเอกชนนั้นทำไม่ได้
การทำงบประมาณจึงเป็นการทำตามกฎหมายเพื่อที่รวมรายจ่ายและรายรับเข้ามาด้วยกันในลักษณะของการรวมบัญชี หรือ Consolidate เพื่อที่จะทำให้ทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริงว่ามีรายรับเท่าใดและรายจ่ายเท่าใด การแยกการกู้และขอยกเว้นไม่ทำกฎหมายคือ พ.ร.บ.งบประมาณเพื่อจ่ายเงินที่กู้มาจำนวนนี้จึงเป็นการผิดหลักการของการรวมบัญชี
ญี่ปุ่นในสมัยสิ้นสุดสงครามโลกใหม่ๆ ในช่วงปี ค.ศ.1947-9 กฎหมายที่มีอยู่ก็ห้ามมิให้รัฐบาลออกพันธบัตรมากู้ยืมเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นจึงหลีกเลี่ยงกติกาด้วยการให้สถาบันการเงินของรัฐออกพันธบัตรกู้แทนรัฐบาลเพื่อเอาเงินมาลงทุนฟื้นฟูประเทศ ผลก็คือเกิดภาวะเงินเฟ้อหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ขึ้นมา จนสหรัฐฯ ในฐานะผู้ยึดครองต้องบังคับให้ทำการรวมบัญชีของภาครัฐเข้ามาด้วยกันทุกบัญชีไม่ว่ารัฐบาลจะกู้เองหรือให้คนอื่นกู้ให้ก็ตาม การบังคับให้รวมบัญชีจึงทำให้ทราบถึงสถานะทางการคลังที่เป็นอยู่ เงินเฟ้อจึงลดลงได้
เช่นเดียวกับรัฐบาลญี่ปุ่นในยุคแผ่นดินไหว สึนามิ และรังสีรั่วไหล ในช่วงปี ค.ศ. 2011 ก็มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินอย่างฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูและบูรณะสาธารณูปโภคอย่างเร่งด่วน แต่ก็ด้วยการจัดทำงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม (Supplement Budget) ถึง 2 ครั้งจากงบประมาณปกติ หาได้ฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนประชาชนออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท หรือออกพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำแต่อย่างใดไม่
กติกาที่มีอยู่จึงมิใช่ข้อจำกัดตามที่อ้างแต่อย่างใด ด้วยเงินลงทุนประมาณปีละ 3 แสนล้านโดยเฉลี่ยรัฐบาลสามารถที่จะทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนเป็นการเพิ่มเติมก็ได้หากคิดว่าจำเป็น อย่าคิดว่าฝ่ายค้านจะตีรวนไม่ให้ความร่วมมือ หากมีความชอบธรรมตอบโจทย์ได้ว่าทำไปเพื่ออะไรเช่นที่รัฐบาลญี่ปุ่นทำ ฝ่ายค้านจะปฏิเสธไปได้อย่างไร แม้แต่การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 100 % ก็ทำได้และทำมาแล้ว ดังนั้นการลงทุนผ่านระบบงบประมาณจึงมิใช่ข้อจำกัดในการลงทุนแต่อย่างใด
องค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. และ ศาลรัฐธรรมนูญ จึงถูกออกแบบไว้ให้เป็นอำนาจที่ 3 ตามรัฐธรรมนูญ เป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายที่จะกลั่นกรองตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลและสภาฯ ที่กลายเป็นพวกเดียวกันว่ากระทำไปโดยชอบกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ มิใช่เอาแต่เสียงข้างมากไม่ฟังเหตุผลเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันก่อน เหตุก็เพราะเงินที่รัฐบาลหามาไม่ใช่เงินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่อย่างใด การใช้จ่ายเงินกู้จึงต้องทำตามกฎหมายนั่นคือต้องทำเป็นงบประมาณ
ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีบทเรียนแล้วว่า รัฐมนตรีคลังให้การเท็จต่อหน้าศาลจากการอ้างความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องออกเป็น พ.ร.ก.กู้เงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาทที่พฤติกรรมของรัฐบาลที่ผ่านมามิได้ใช้จ่ายอย่างเร่งด่วนตามที่แถลงไว้กับศาลแต่อย่างใด
ประเด็นที่ศาลคงจะต้องวินิจฉัยก็คือ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลเมื่อกู้มาแล้วต้องใช้จ่ายเงินกู้นั้นตามกฎหมายงบประมาณหรือไม่ ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคตว่ารัฐสามารถจะใช้จ่ายเหมือนเอกชนได้หรือไม่ หากจะหลีกเลี่ยงไม่วินิจฉัย ผลเสียก็ย่อมจะตกอยู่กับประเทศชาติเพราะเท่ากับว่าเห็นด้วยว่ารัฐบาลสามารถที่จะทำได้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการใช้จ่ายเงินงบของรัฐก็จะถูกละเมิด นี่คือบทเรียนและข้อเท็จจริงที่คนชั้นกลางล่างควรรู้ไว้
กลไกตรวจสอบจึงมิได้อยู่ที่สภาฯ แต่เพียงลำพัง
แม้ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทสามารถผ่านสภาฯ ไปได้ แต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ว่ากู้ไปทำไมได้ การต่อสู้กับการใช้เสียงข้างมากโดย ส.ส.มาสร้างปัญหาประเทศจึงยังมีต่อไป
มีหลายคนที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปัจจุบันเพื่อยุบเลิกองค์กรอิสระที่มีอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อ้างว่าเกะกะไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะขัดขวางการทำงานของ ส.ส. ผู้มาจากการเลือกตั้ง แต่ผู้ที่สนับสนุนจะบอกความจริงกับประชาชนหรือไม่ว่าอำนาจอธิปไตยในปัจจุบันมีเหลือแค่ 2 อำนาจคือ ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)+ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาฯ) รวมเป็น 1 อำนาจและศาลอีก 1 อำนาจ
การมีองค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในระบบเพื่อถ่วงดุลอำนาจให้เกิดการตรวจสอบ จะบอกว่ามีฝ่ายค้าน มีสภาฯ ก็ตรวจสอบได้แล้วนั้นหาได้ถูกต้องไม่ เหตุก็เพราะระบบรัฐสภาทำให้เกิดรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงมีเสียงข้างมากและเป็นพวกเดียวกับ ส.ส.ส่วนใหญ่ในสภาฯ ฉะนั้นสภาฯ จะมาตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างไร
พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเป็นกฎหมายกู้เงิน มิใช่กฎหมายจ่ายเงิน รัฐธรรมนูญฉบับไหนๆ ก็กำหนดไว้ว่าการจ่ายเงินที่รัฐหามาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีเก็บภาษีหรือกู้มาต้องทำเป็นกฎหมายเพื่อให้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นได้ กฎหมายงบประมาณฯ จึงเป็นกฎหมายที่ว่านี้ เพื่อ “หมายหัว” ว่าจะจ่ายเงินเพื่อการใด แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือมีแต่กฎหมายกู้เงินแต่ไม่ยอมทำกฎหมายจ่ายเงินและหลีกเลี่ยงไม่ยอมรวมทั้ง 2 กฎหมายเข้าด้วยกัน
การจ่ายเงินโดยทำเป็นงบประมาณเป็นการรวมการจ่ายเงินเข้ากับการกู้เงินเพราะมีกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่มีระเบียบทั้งการจ่ายเงินและกู้เงินว่าจะทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้าง ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ เพดานการกู้เงินที่จะระบุว่ารัฐบาลสามารถกู้ได้มากน้อยเพียงใด
วินัยทางการคลังที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตมิใช่เป็นเพราะรัฐมนตรีสาบานว่าจะไม่โกง หากแต่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ต่างหากอย่ามั่วหรือทำให้สับสน
การกู้เงินจำนวนมากที่เกินเลยขอบเขตเพดานการกู้และไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ไม่ยอมทำเป็นงบประมาณเพื่อจ่ายเงินจึงเป็นเครื่องแสดงว่าหลีกเลี่ยงวินัยทางการคลังและมีเจตนาอื่นแอบแฝงโดยแท้ ข้ออ้างสำคัญก็คือ ต้องการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคที่ต้องใช้งบลงทุนสูงเกินกว่าที่เพดานการกู้ในงบประมาณในแต่ละปีจะอนุญาตให้ทำได้
ประเด็นที่สังคมควรใส่ใจรับรู้ไว้ก็คือ การคลังรัฐต่างกับเอกชนหรือไม่อย่างไร เพราะพฤติกรรมที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กระทำมาโดยตลอดก็คือ พยายามจะใช้จ่ายเงินรัฐแบบเอกชน
รัฐมีวิธีการคลังที่ต่างจากเอกชนก็เนื่องมาจากเงินที่รัฐหามาได้และจ่ายออกไปไม่มีเจ้าของที่แท้จริง จะอ้างเงินของประชาชนก็ได้แต่บอกได้ไหมว่าเป็นของประชาชนคนใดและจ่ายให้ประชาชนชื่ออะไร ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เงินนี้เขาเรียกว่า “เงินหลวง” ซึ่งมีเจ้าของมีตัวตนแน่นอน “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ในสมัยก่อนจึงเป็นการคอร์รัปชันในสมัยปัจจุบันแต่ชัดเจนกว่าเพราะระบุว่า “ฉ้อ” ใคร หรือ “บัง“ เงินใคร
รัฐใช้วิธีตั้งงบประมาณรายจ่ายมาก่อนแล้วจึงมองวิธีการหารายได้ในภายหลังเพราะคำนึงถึงพันธกิจ หรือ Mission ที่มีอยู่กับประเทศและประชาชนเป็นลำดับแรก แต่เอกชนจะดูรายรับหรือเงินในกระเป๋าก่อนจะตั้งงบประมาณรายจ่ายเนื่องจากมุ่งแต่จะแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง การจ่ายเงินนอกจากจะต้องขออนุมัติต่อสภาฯ แล้วยังต้องจ่ายแบบ “หมายหัว” เพื่อให้รู้ว่าจะจ่ายไปเพื่อการใด และ “ต้องยุ่งยากและล่าช้า” ซึ่งเป็นธรรมชาติของเงินที่ไม่มีเจ้าของที่แท้จริงจะให้คล่องตัวเหมือนเอกชนนั้นทำไม่ได้
การทำงบประมาณจึงเป็นการทำตามกฎหมายเพื่อที่รวมรายจ่ายและรายรับเข้ามาด้วยกันในลักษณะของการรวมบัญชี หรือ Consolidate เพื่อที่จะทำให้ทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริงว่ามีรายรับเท่าใดและรายจ่ายเท่าใด การแยกการกู้และขอยกเว้นไม่ทำกฎหมายคือ พ.ร.บ.งบประมาณเพื่อจ่ายเงินที่กู้มาจำนวนนี้จึงเป็นการผิดหลักการของการรวมบัญชี
ญี่ปุ่นในสมัยสิ้นสุดสงครามโลกใหม่ๆ ในช่วงปี ค.ศ.1947-9 กฎหมายที่มีอยู่ก็ห้ามมิให้รัฐบาลออกพันธบัตรมากู้ยืมเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นจึงหลีกเลี่ยงกติกาด้วยการให้สถาบันการเงินของรัฐออกพันธบัตรกู้แทนรัฐบาลเพื่อเอาเงินมาลงทุนฟื้นฟูประเทศ ผลก็คือเกิดภาวะเงินเฟ้อหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ขึ้นมา จนสหรัฐฯ ในฐานะผู้ยึดครองต้องบังคับให้ทำการรวมบัญชีของภาครัฐเข้ามาด้วยกันทุกบัญชีไม่ว่ารัฐบาลจะกู้เองหรือให้คนอื่นกู้ให้ก็ตาม การบังคับให้รวมบัญชีจึงทำให้ทราบถึงสถานะทางการคลังที่เป็นอยู่ เงินเฟ้อจึงลดลงได้
เช่นเดียวกับรัฐบาลญี่ปุ่นในยุคแผ่นดินไหว สึนามิ และรังสีรั่วไหล ในช่วงปี ค.ศ. 2011 ก็มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินอย่างฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูและบูรณะสาธารณูปโภคอย่างเร่งด่วน แต่ก็ด้วยการจัดทำงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม (Supplement Budget) ถึง 2 ครั้งจากงบประมาณปกติ หาได้ฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนประชาชนออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท หรือออกพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำแต่อย่างใดไม่
กติกาที่มีอยู่จึงมิใช่ข้อจำกัดตามที่อ้างแต่อย่างใด ด้วยเงินลงทุนประมาณปีละ 3 แสนล้านโดยเฉลี่ยรัฐบาลสามารถที่จะทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนเป็นการเพิ่มเติมก็ได้หากคิดว่าจำเป็น อย่าคิดว่าฝ่ายค้านจะตีรวนไม่ให้ความร่วมมือ หากมีความชอบธรรมตอบโจทย์ได้ว่าทำไปเพื่ออะไรเช่นที่รัฐบาลญี่ปุ่นทำ ฝ่ายค้านจะปฏิเสธไปได้อย่างไร แม้แต่การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 100 % ก็ทำได้และทำมาแล้ว ดังนั้นการลงทุนผ่านระบบงบประมาณจึงมิใช่ข้อจำกัดในการลงทุนแต่อย่างใด
องค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. และ ศาลรัฐธรรมนูญ จึงถูกออกแบบไว้ให้เป็นอำนาจที่ 3 ตามรัฐธรรมนูญ เป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายที่จะกลั่นกรองตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลและสภาฯ ที่กลายเป็นพวกเดียวกันว่ากระทำไปโดยชอบกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ มิใช่เอาแต่เสียงข้างมากไม่ฟังเหตุผลเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันก่อน เหตุก็เพราะเงินที่รัฐบาลหามาไม่ใช่เงินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่อย่างใด การใช้จ่ายเงินกู้จึงต้องทำตามกฎหมายนั่นคือต้องทำเป็นงบประมาณ
ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีบทเรียนแล้วว่า รัฐมนตรีคลังให้การเท็จต่อหน้าศาลจากการอ้างความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องออกเป็น พ.ร.ก.กู้เงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาทที่พฤติกรรมของรัฐบาลที่ผ่านมามิได้ใช้จ่ายอย่างเร่งด่วนตามที่แถลงไว้กับศาลแต่อย่างใด
ประเด็นที่ศาลคงจะต้องวินิจฉัยก็คือ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลเมื่อกู้มาแล้วต้องใช้จ่ายเงินกู้นั้นตามกฎหมายงบประมาณหรือไม่ ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคตว่ารัฐสามารถจะใช้จ่ายเหมือนเอกชนได้หรือไม่ หากจะหลีกเลี่ยงไม่วินิจฉัย ผลเสียก็ย่อมจะตกอยู่กับประเทศชาติเพราะเท่ากับว่าเห็นด้วยว่ารัฐบาลสามารถที่จะทำได้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการใช้จ่ายเงินงบของรัฐก็จะถูกละเมิด นี่คือบทเรียนและข้อเท็จจริงที่คนชั้นกลางล่างควรรู้ไว้