ASTVผู้จัดการรายวัน-เปิดเวทีส่งสัญญาณหายนะพลังงานไทยปี73 ไทยต้องควักเงินสร้างกองเรือนำเข้าแอลเอ็นจี ท่าเรือ คลัง กว่าล้านล้านบาท เสี่ยงทั้งความมั่นคงประชาชนรับค่าไฟอีก10ปี 6บาทต่อหน่วย เผยไทยควักเงินอุ้มแอลพีจีและดีเซลเม.ย.นี้ทะลุ 3.6แสนล้านบาท
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน(สนพ.) เปิดเผยในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องหายนะพลังงานไทย? จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ว่า เราจะประสบปัญหาหายนะแน่ถ้าไม่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยปล่อยให้มีการพึ่งก๊าซฯ ผลิตไฟสูง70%ซึ่ง ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี2010)จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีถึง23 ล้านตันในปลายปี2573 ซึ่งไทยต้องจัดหากองเรือในการขนถึง21ลำหรือต้องลงทุน1ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมท่าเรือและคลัง
"เราต้องขนกันตลอด24ชั่วโมงและการทำท่าเรือก็ไม่ได้หาที่ได้ง่ายๆและสำคัญเรือขนเวลานี้ มีผู้ผลิตน้อยรายคิวจองยาวหลายปีเราจะทำอย่างไร"นายสุเทพกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงานกล่าวว่า ไทยมีโอกาสเสี่ยงหายนะด้านพลังงานในอนาคตถ้าไม่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเพราะอนาคตแหล่งผลิตอ่าวไทยจะหมดลงใน10ปีข้างหน้าจะทำให้ไทยจะต้องจ่ายเงินนำเข้าพลังงานที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี2555 ไทยจ่ายไป1.44 ล้านล้านบาทซึ่งประเมินการใช้และผลิตปัจจุบันไทยต้องนำเข้าก๊าซเพิ่ม52%ในปี2573จากปัจจุบัน21%นำเข้าแอลพีจีเป็น8ล้านตันต่อปีจาก1.8ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ไทยจะต้องเร่งปรับโครงสร้างพลังงานให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดการประหยัดโดยเฉพาะแอลพีจีที่ตรึงราคาจนทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแบกภาระแล้ว 1.33แสนล้านบาท และวันที่21เมษายน56ไทยจะต้องสูญเสียรายได้จากการยกเว้นภาษีสรรพสามิต5บาทต่อลิตรครบ2ปีเป็นเงินอีก2.3 แสนล้านบาทรวมอุดหนุนสองเรื่อง3.6แสนล้านบาทซึ่งงบเหล่านี้น่าจะนำมาลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
นายพงษ์ดิษฐ พจนา รองผู้ว่าการกิจการสังคมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่าหายนะจะเกิดขึ้นแน่ถ้ายังปล่อยให้การบริหารจัดการพลังงานเป็นเช่นนี้ด้วยการพึ่งก๊าซผลิตไฟ70%ซึ่งการใช้ก๊าซอ่าวไทย57% พม่า 38% ภูฮ่อม 2-3%. แต่อีก10ปีก๊าซอ่าวไทยจะหมดลงถาวรถ้าไทยไม่เลือกพลังงานพื้นฐานที่ทีเพียงก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน น้ำ และนิวเคลียร์เท่าถ้าไม่เลือกลดความเสี่ยงก๊าซก็ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีซึ่งค่าไฟฟ้าในอีก10ปีฐานจะเป็น6บาทต่อหน่วยแน่นอน.
"เราใช้ไฟฟ้าปีละ 1,500เมกกะวัตต์จะไปพึ่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดแทนไม่ได้เพราะการผลิตไม่เสถียรก็เหลือเชื้อเพลิงหลักไม่กีี่ตัวซึ่งถ้าไม่เอาอะไรเลยเราจะวิกฤตทั้งความมั่นคงและราคาค่าไฟจะทำให้อนาคตขีดความสามารของไทยจะลดลง"
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ กลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท.กล่าวว่า. ไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเป็นอันดับ19ของโลก สามารถผลิตเป็นอันดับ32มีสำรองเป็นอันดับ47 ของโลกจะเห็นว่าไทยมีความเสี่ยงในการจัดหาและการพึ่งพาพลังงานที่ต้องนำเข้าอย่างมากซึ่งเป็นเพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตแต่ไทยพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก
"เราจะต้องวางแผนในการจัดหาพลังงานล่วงหน้าให้ดีไม่อย่างนั้นเราจะลำบาก"นายณัฐชาติกล่าว
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน(สนพ.) เปิดเผยในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องหายนะพลังงานไทย? จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ว่า เราจะประสบปัญหาหายนะแน่ถ้าไม่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยปล่อยให้มีการพึ่งก๊าซฯ ผลิตไฟสูง70%ซึ่ง ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี2010)จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีถึง23 ล้านตันในปลายปี2573 ซึ่งไทยต้องจัดหากองเรือในการขนถึง21ลำหรือต้องลงทุน1ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมท่าเรือและคลัง
"เราต้องขนกันตลอด24ชั่วโมงและการทำท่าเรือก็ไม่ได้หาที่ได้ง่ายๆและสำคัญเรือขนเวลานี้ มีผู้ผลิตน้อยรายคิวจองยาวหลายปีเราจะทำอย่างไร"นายสุเทพกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงานกล่าวว่า ไทยมีโอกาสเสี่ยงหายนะด้านพลังงานในอนาคตถ้าไม่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเพราะอนาคตแหล่งผลิตอ่าวไทยจะหมดลงใน10ปีข้างหน้าจะทำให้ไทยจะต้องจ่ายเงินนำเข้าพลังงานที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี2555 ไทยจ่ายไป1.44 ล้านล้านบาทซึ่งประเมินการใช้และผลิตปัจจุบันไทยต้องนำเข้าก๊าซเพิ่ม52%ในปี2573จากปัจจุบัน21%นำเข้าแอลพีจีเป็น8ล้านตันต่อปีจาก1.8ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ไทยจะต้องเร่งปรับโครงสร้างพลังงานให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดการประหยัดโดยเฉพาะแอลพีจีที่ตรึงราคาจนทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแบกภาระแล้ว 1.33แสนล้านบาท และวันที่21เมษายน56ไทยจะต้องสูญเสียรายได้จากการยกเว้นภาษีสรรพสามิต5บาทต่อลิตรครบ2ปีเป็นเงินอีก2.3 แสนล้านบาทรวมอุดหนุนสองเรื่อง3.6แสนล้านบาทซึ่งงบเหล่านี้น่าจะนำมาลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
นายพงษ์ดิษฐ พจนา รองผู้ว่าการกิจการสังคมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่าหายนะจะเกิดขึ้นแน่ถ้ายังปล่อยให้การบริหารจัดการพลังงานเป็นเช่นนี้ด้วยการพึ่งก๊าซผลิตไฟ70%ซึ่งการใช้ก๊าซอ่าวไทย57% พม่า 38% ภูฮ่อม 2-3%. แต่อีก10ปีก๊าซอ่าวไทยจะหมดลงถาวรถ้าไทยไม่เลือกพลังงานพื้นฐานที่ทีเพียงก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน น้ำ และนิวเคลียร์เท่าถ้าไม่เลือกลดความเสี่ยงก๊าซก็ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีซึ่งค่าไฟฟ้าในอีก10ปีฐานจะเป็น6บาทต่อหน่วยแน่นอน.
"เราใช้ไฟฟ้าปีละ 1,500เมกกะวัตต์จะไปพึ่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดแทนไม่ได้เพราะการผลิตไม่เสถียรก็เหลือเชื้อเพลิงหลักไม่กีี่ตัวซึ่งถ้าไม่เอาอะไรเลยเราจะวิกฤตทั้งความมั่นคงและราคาค่าไฟจะทำให้อนาคตขีดความสามารของไทยจะลดลง"
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ กลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท.กล่าวว่า. ไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเป็นอันดับ19ของโลก สามารถผลิตเป็นอันดับ32มีสำรองเป็นอันดับ47 ของโลกจะเห็นว่าไทยมีความเสี่ยงในการจัดหาและการพึ่งพาพลังงานที่ต้องนำเข้าอย่างมากซึ่งเป็นเพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตแต่ไทยพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก
"เราจะต้องวางแผนในการจัดหาพลังงานล่วงหน้าให้ดีไม่อย่างนั้นเราจะลำบาก"นายณัฐชาติกล่าว