ASTVผู้จัดการรายวัน - จับตาราคาน้ำมันโลกปีหน้าคาดยังคงผันผวน และทรงตัวในระดับสูง ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 105 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และอาจเห็นราคาทะลุ 130 เหรียญสหรัฐในต้นปีหน้าหากเหตุการณ์ไม่สงบในตะวันออกกลาง นักวิชาการจี้รัฐเร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหลังจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนและกองทุนฯในน้ำมันเบนซินไปอุดหนุนดีเซลและแอลพีจี
นายสุรงค์ บุลกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงทิศทางและแนวโน้มสถานการณ์น้ำมันของโลกในปี 2556 ในงาน The Annual Petroleum Outlook Forum “ถอดรหัส” ราคาน้ำมันโลกปี 2013 และเจาะลึกโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับทีมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่มปตท. หรือ PRISM ว่า ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี 2556คาดว่าจะยังคงผันผวนและทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบในปีนี้ที่ 105-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 90 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปัจจัยเศรษฐกิจทั้งอียูและผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯจะมีผลต่อราคาน้ำมันด้วย
โดยไตรมาส 1/2556 ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสเคลื่อนไหวเกินกรอบที่คาดการณ์ไว้ได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่นเหตุการณ์การเมืองในตะวันออกกลาง อาจดันให้ราคาน้ำมันทะลุ 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ ซึ่งเหมื่อเหตุการ์สงบราคาจะอ่อนตัวลงมา ก่อนขยับขึ้นไปในช่วงไตรมาส 3-4/2556 ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานในประเทศไทยจะโตขึ้นประมาณ 4%
ส่วนทิศทางราคาดีเซลในตลาดโลกนับวันจะสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่ม ขณะที่ประเทศไทยตรึงราคาขายดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร หากรัฐยังตรึงราคาเช่นนี้จะทำให้การใช้ดีเซลโตขึ้นเรื่อยๆ หากราคาดีเซลตลาดโลกขึ้นอีก 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กองทุนน้ำมันฯจะเอาเงินที่ไหนไปชดเชย เพราะรัฐเตรียมยกเลิกเบนซิน 91 ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯได้อีกเช่นเดียวกับแอลพีจีที่มีการใช้ในภาคขนส่งและครัวเรือนเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาถูก
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวยอมรับว่า ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศยังไม่เหมาะสม เนื่องจากราคายังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยเบนซิน 91 และ 95 มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราที่สูง ขณะที่แก๊สโซฮอล์และก๊าซแอลพีจีได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ โดยราคาเบนซิน 95 สูงถึงลิตรละ 49 บาทเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายเนื่องจากมียอดการใช้เบนซิน 95 เพียง 1แสนลิตรต่อวัน ซึ่งเห็นว่าเป็นระดับราคาที่สูงเกินไป ขณะที่เบนซิน 91 มีการใช้วันละ 8 ล้านลิตรต่อวัน ค่าการตลาดเฉลี่ย 1.50 บาทต่อลิตรเป็นระดับที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงพลังงานกำลังศึกษาปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะราคาแอลพีจี ที่กองทุนน้ำมันฯต้องจ่ายชดเชยถึงเดือนละ4 พันล้านบาทจากการนำเข้าแอลพีจีเดือนละ 1 แสนตัน โดยทางกลุ่มโรงกลั่นฯได้เสนอให้ปรับราคาขายหน้าโรงกลั่นให้เป็นราคาตลาดโลกจากที่ปัจจุบันราคา 76% อิงราคาตลาดโลก และ 24% อิงราคาควบคุมในประเทศ หากรัฐปรับสูตรราคาขายหน้าโรงกลั่นให้เหมาะสมจะมีแอลพีจีจากโรงกลั่นมาขายตลาดได้เพิ่มอีกหลายหมื่นตันต่อเดือน จากปัจจุบันมีประมาณ 8 หมื่นตันต่อเดือน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า โครงสร้างราคาน้ำมันของไทย มีการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนในอัตราสูง มีการเก็บภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และกองทุนเพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เสียภาษีรวมกองทุนฯ จะอยู่ในอัตราประมาณ 16-17 บาทต่อลิตร คิดเป็นประมาณ 38-40%ของราคาขายปลีก ในขณะที่น้ำมันดีเซลเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราที่ต่ำเพียงครึ่งสตางค์ต่อลิตร แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบิดเบือน และการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 จนถึงปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้รวมประมาณ 1.68 แสนล้านบาท
ซึ่งโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ ควรจะมีการพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งในส่วนดีเซล และเบนซิน ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีส่วนที่สร้างผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมพอๆ กัน และต้องแสดงให้เห็นว่าดีเซลไม่ใช่น้ำมันสำรับคนจนอีกต่อไปเพราะรถหรูก็มีการใช้ดีเซลกันมาก ไม่ควรอุดหนุน ส่วนส่วนกองทุนน้ำมันฯ ต้องไม่นำมาอุดหนุนราคาพลังงานโดยมีการเก็บเงินในระดับประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาทก็เพียงพอแล้ว
นายสุรงค์ บุลกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงทิศทางและแนวโน้มสถานการณ์น้ำมันของโลกในปี 2556 ในงาน The Annual Petroleum Outlook Forum “ถอดรหัส” ราคาน้ำมันโลกปี 2013 และเจาะลึกโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับทีมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่มปตท. หรือ PRISM ว่า ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี 2556คาดว่าจะยังคงผันผวนและทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบในปีนี้ที่ 105-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 90 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปัจจัยเศรษฐกิจทั้งอียูและผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯจะมีผลต่อราคาน้ำมันด้วย
โดยไตรมาส 1/2556 ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสเคลื่อนไหวเกินกรอบที่คาดการณ์ไว้ได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่นเหตุการณ์การเมืองในตะวันออกกลาง อาจดันให้ราคาน้ำมันทะลุ 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ ซึ่งเหมื่อเหตุการ์สงบราคาจะอ่อนตัวลงมา ก่อนขยับขึ้นไปในช่วงไตรมาส 3-4/2556 ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานในประเทศไทยจะโตขึ้นประมาณ 4%
ส่วนทิศทางราคาดีเซลในตลาดโลกนับวันจะสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่ม ขณะที่ประเทศไทยตรึงราคาขายดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร หากรัฐยังตรึงราคาเช่นนี้จะทำให้การใช้ดีเซลโตขึ้นเรื่อยๆ หากราคาดีเซลตลาดโลกขึ้นอีก 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กองทุนน้ำมันฯจะเอาเงินที่ไหนไปชดเชย เพราะรัฐเตรียมยกเลิกเบนซิน 91 ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯได้อีกเช่นเดียวกับแอลพีจีที่มีการใช้ในภาคขนส่งและครัวเรือนเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาถูก
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวยอมรับว่า ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศยังไม่เหมาะสม เนื่องจากราคายังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยเบนซิน 91 และ 95 มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราที่สูง ขณะที่แก๊สโซฮอล์และก๊าซแอลพีจีได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ โดยราคาเบนซิน 95 สูงถึงลิตรละ 49 บาทเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายเนื่องจากมียอดการใช้เบนซิน 95 เพียง 1แสนลิตรต่อวัน ซึ่งเห็นว่าเป็นระดับราคาที่สูงเกินไป ขณะที่เบนซิน 91 มีการใช้วันละ 8 ล้านลิตรต่อวัน ค่าการตลาดเฉลี่ย 1.50 บาทต่อลิตรเป็นระดับที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงพลังงานกำลังศึกษาปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะราคาแอลพีจี ที่กองทุนน้ำมันฯต้องจ่ายชดเชยถึงเดือนละ4 พันล้านบาทจากการนำเข้าแอลพีจีเดือนละ 1 แสนตัน โดยทางกลุ่มโรงกลั่นฯได้เสนอให้ปรับราคาขายหน้าโรงกลั่นให้เป็นราคาตลาดโลกจากที่ปัจจุบันราคา 76% อิงราคาตลาดโลก และ 24% อิงราคาควบคุมในประเทศ หากรัฐปรับสูตรราคาขายหน้าโรงกลั่นให้เหมาะสมจะมีแอลพีจีจากโรงกลั่นมาขายตลาดได้เพิ่มอีกหลายหมื่นตันต่อเดือน จากปัจจุบันมีประมาณ 8 หมื่นตันต่อเดือน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า โครงสร้างราคาน้ำมันของไทย มีการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนในอัตราสูง มีการเก็บภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และกองทุนเพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เสียภาษีรวมกองทุนฯ จะอยู่ในอัตราประมาณ 16-17 บาทต่อลิตร คิดเป็นประมาณ 38-40%ของราคาขายปลีก ในขณะที่น้ำมันดีเซลเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราที่ต่ำเพียงครึ่งสตางค์ต่อลิตร แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบิดเบือน และการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 จนถึงปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้รวมประมาณ 1.68 แสนล้านบาท
ซึ่งโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ ควรจะมีการพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งในส่วนดีเซล และเบนซิน ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีส่วนที่สร้างผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมพอๆ กัน และต้องแสดงให้เห็นว่าดีเซลไม่ใช่น้ำมันสำรับคนจนอีกต่อไปเพราะรถหรูก็มีการใช้ดีเซลกันมาก ไม่ควรอุดหนุน ส่วนส่วนกองทุนน้ำมันฯ ต้องไม่นำมาอุดหนุนราคาพลังงานโดยมีการเก็บเงินในระดับประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาทก็เพียงพอแล้ว