ASTVผู้จัดการรายวัน -ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกองค์คณะพิจารณาคดี ป.ป.ช. ฟ้อง “นพดล ปัทมะ” อดีต รมว.ตปท. ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีลงนามแถลงการณ์เขาพระวิหาร ร่วมไทย-กัมพูชา โดยไม่ผ่านสภา และนัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 26 เม.ย.นี้ “ยิ่งลักษณ์" กำชับทำงานด้วยความรอบคอบ เตรียมนำผลหารือเข้าสมช.พิจาณาอีกครั้ง 29 มี.ค. ก่อนให้ครม.อนุมัติ
วานนี้ (26 มี.ค.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้ลงมติเลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน เพื่อพิจารณาคดีหมายเลขดำ อม.3/2556 ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย.51 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย
โดยผลการลงมติ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือก นายเอกชัย ชินณพงศ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา , นายชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา , นายวีระพล ตั้งสุวรรณ , นายนิยุต สุภัทรพาหิรผล , นายกรองเกียรติ คมสัน , นายชาติชาย อัครวิบูลย์ , นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา , นายกำพล ภู่สุดแสวง และนายปัญญา ถนอมรอด ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ( อดีตประธานศาลฎีกา ) เป็นองค์คณะทั้ง 9 คน พิจารณาคดี ซึ่งภายหลังจากนี้ องค์คณะทั้งเก้าจะร่วมกันประชุมภายในเพื่อลงมติเลือกผู้พิพากษา 1 ใน 9 เป็นเจ้าของสำนวน
ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องคดีดังกล่าวหรือไม่ ในวันที่ 26 เม.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดี ป.ป.ช. มอบให้ทนายความยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา ฯ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้บรรยายเหตุการณ์ที่มีการกล่าวหานายนพดล กระทำผิดว่า เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช รับหน้าที่นายกรัฐมนตรีแล้ว วันที่ 3-4 มี.ค.2551 นายสมัครไปพบผู้นำกัมพูชาเรื่องขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และนายนพดล รมว.ต่างประเทศ ขณะนั้น จำเลยไปหารือกับนายสก อาน รองนายกฯ และรมต.ประจำสำนักนายกฯกัมพูชา ที่ทางกัมพูชาของให้ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
จากนั้นจำเลยได้นำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศพิจารณา ทางนายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในขณะนั้น มีบันทึกช่วยจำคัดค้านเรื่องดังกล่าว แต่จำเลยไม่เห็นด้วยจึงเสนอครม.ให้นายวีรชัย พลาศรัยพ้นจากตำแหน่ง ทั้งที่นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงทักท้วง แต่จำเลยยังยืนยันว่าไม่สามารถรวมงานกับอธิบดีที่มีความคิดเช่นนี้ได้
ต่อมาจำเลยยังเดินทางไปเขมรอีกหารือกับนายซก อาน เรื่องปราสาทพระวิหารรวมไปถึงการกำหนดเขตทางทะเลระหว่างประเทศ และจะทำแถลงการณ์ร่วม โดยนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ แบบปิดบังอำพรางและมีเหตุจูงใจแอบแฝงอยู่ และเมื่อนำเข้าที่ประชุมครม.โดยไม่มีเอกสารแจกให้ที่ประชุมพิจารณาล่วงหน้า เพียงแต่แสดงแผนที่บนจอภาพ ใช้เวลา 15 นาที ซึ่งโจทก์เห็นว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา นี้เป็นหนังสือสัญญาซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ต้องขออนุมัติจากรัฐสภา และ จะต้องออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญา และรับฟังความเห็นจากประชาชน
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (26 มี.ค.) หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมข้าราชการฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร (กรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร) โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสนาธิการทหารบก พ.อ.ธีรวัฒน์ บุญยะวัฒน์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ หนึ่งในคณะทำงานต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร เปิดเผยว่า ในที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมในการชี้แจงด้วยวาจาครั้งสุดท้าย ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ (ศาลโลก) ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.นี้ โดยจะนำผลหารือในครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสมช. ในวันที่ 29 มี.ค. ก่อนจะนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมครม.สัญจรที่ จ.ฉะเชิงเทรา ในวันที่ 31 มี.ค โดยทางกัมพูชาจะเป็นผู้แถลงด้วยวาจาก่อน ในวันที่ 15 เม.ย. และไทยจะแถลงในวันถัดมา จากนั้นจะเว้นไปหนึ่งวัน ก่อนจะแถลงอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. โดยกัมพูชาจะเริ่มแถลงก่อนเช่นเดิม
วานนี้ (26 มี.ค.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้ลงมติเลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน เพื่อพิจารณาคดีหมายเลขดำ อม.3/2556 ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย.51 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย
โดยผลการลงมติ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือก นายเอกชัย ชินณพงศ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา , นายชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา , นายวีระพล ตั้งสุวรรณ , นายนิยุต สุภัทรพาหิรผล , นายกรองเกียรติ คมสัน , นายชาติชาย อัครวิบูลย์ , นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา , นายกำพล ภู่สุดแสวง และนายปัญญา ถนอมรอด ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ( อดีตประธานศาลฎีกา ) เป็นองค์คณะทั้ง 9 คน พิจารณาคดี ซึ่งภายหลังจากนี้ องค์คณะทั้งเก้าจะร่วมกันประชุมภายในเพื่อลงมติเลือกผู้พิพากษา 1 ใน 9 เป็นเจ้าของสำนวน
ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องคดีดังกล่าวหรือไม่ ในวันที่ 26 เม.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดี ป.ป.ช. มอบให้ทนายความยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา ฯ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้บรรยายเหตุการณ์ที่มีการกล่าวหานายนพดล กระทำผิดว่า เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช รับหน้าที่นายกรัฐมนตรีแล้ว วันที่ 3-4 มี.ค.2551 นายสมัครไปพบผู้นำกัมพูชาเรื่องขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และนายนพดล รมว.ต่างประเทศ ขณะนั้น จำเลยไปหารือกับนายสก อาน รองนายกฯ และรมต.ประจำสำนักนายกฯกัมพูชา ที่ทางกัมพูชาของให้ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
จากนั้นจำเลยได้นำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศพิจารณา ทางนายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในขณะนั้น มีบันทึกช่วยจำคัดค้านเรื่องดังกล่าว แต่จำเลยไม่เห็นด้วยจึงเสนอครม.ให้นายวีรชัย พลาศรัยพ้นจากตำแหน่ง ทั้งที่นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงทักท้วง แต่จำเลยยังยืนยันว่าไม่สามารถรวมงานกับอธิบดีที่มีความคิดเช่นนี้ได้
ต่อมาจำเลยยังเดินทางไปเขมรอีกหารือกับนายซก อาน เรื่องปราสาทพระวิหารรวมไปถึงการกำหนดเขตทางทะเลระหว่างประเทศ และจะทำแถลงการณ์ร่วม โดยนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ แบบปิดบังอำพรางและมีเหตุจูงใจแอบแฝงอยู่ และเมื่อนำเข้าที่ประชุมครม.โดยไม่มีเอกสารแจกให้ที่ประชุมพิจารณาล่วงหน้า เพียงแต่แสดงแผนที่บนจอภาพ ใช้เวลา 15 นาที ซึ่งโจทก์เห็นว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา นี้เป็นหนังสือสัญญาซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ต้องขออนุมัติจากรัฐสภา และ จะต้องออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญา และรับฟังความเห็นจากประชาชน
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (26 มี.ค.) หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมข้าราชการฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร (กรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร) โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสนาธิการทหารบก พ.อ.ธีรวัฒน์ บุญยะวัฒน์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ หนึ่งในคณะทำงานต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร เปิดเผยว่า ในที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมในการชี้แจงด้วยวาจาครั้งสุดท้าย ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ (ศาลโลก) ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.นี้ โดยจะนำผลหารือในครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสมช. ในวันที่ 29 มี.ค. ก่อนจะนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมครม.สัญจรที่ จ.ฉะเชิงเทรา ในวันที่ 31 มี.ค โดยทางกัมพูชาจะเป็นผู้แถลงด้วยวาจาก่อน ในวันที่ 15 เม.ย. และไทยจะแถลงในวันถัดมา จากนั้นจะเว้นไปหนึ่งวัน ก่อนจะแถลงอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. โดยกัมพูชาจะเริ่มแถลงก่อนเช่นเดิม