ASTVผู้จัดการรายวัน-“ประภัสร์”เผยพบผู้บุกรุกที่ดินรถไฟสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) เพิ่มจาก 500 เป็นกว่า 1,000 หลังคาเรือน เตรียมสำรวจสุดท้ายก่อนเสนอของบรื้อถอนเพิ่มจากเดิมกำหนดไว้เพียง 70 ล้านบาท พร้อมเร่งปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ รับรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิ้งค์ เล็งเพิ่มรางแยกวิ่งเพื่อความปลอดภัยเดินหน้าเซ้นจ้างที่ปรึกษาคุมงานก่อสร้างและงานระบบกว่า 1,500 ล้านบาท ส่วนสัญญา3 (รถไฟฟ้า) คาดเปิดซองเทคนิคเม.ย.นี้ ด้านครม.เห็นชอบเพิ่มค่าเวนคืนทางด่วนศรีรัชอีก 605 ลบ.
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังลงนามสัญญาจ้างงานบริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต กับกลุ่มบริษัท TEAM Association วานนี้ (26 มี.ค.) ว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1(สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) และสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) นั้น
ล่าสุดผู้รับเหมาก่อสร้างได้เข้าไปในพื้นที่แล้ว ซึ่งสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ผู้รับเหมาได้เริ่มการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา และจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ตามสัญญา ทั้งนี้ได้มีการปรับรูปแบบการก่อสร้างเล็กน้อย โดยเพิ่มราง จาก 3 Track เป็น 4 Track เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมืองสายสีแดงและแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) ซึ่งยอมรับว่างอาจจะกระทบต่องบประมาณในการก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้นโดยจะมีการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
แต่จากการเพิ่มรางที่ออกแบบไว้จากเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างให้ล่าช้าออกไป ส่วนเสาและตอม่อโครงการโอปเวลล์เดิมนั้น จากการตรวจสอบพบว่า สามารถนำมาใช้ได้ประมาณ 50 %ซึ่งฐานรากของตอม่อโฮปเวลล์ที่ออกแบบไว้มีความแข็งแรงเพียงพอ โดยจะมีการทดสอบความแข็งแรงเพื่อความปลอดภัยอีกครั้งก่อนก่อสร้างแน่นอน
ทั้งนี้ จากการสำรวจล่าสุด ยังพบว่าผู้บุกรุกแนวก่อสร้างของรถไฟสายสีแดงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิมช่วงที่เริ่มออกแบบและสำรวจพบมีผู้บุกรุกประมาณ 500 กว่าหลังคาเรือนเพิ่มเป็นกว่า 1,000 หลังคาเรือนในปัจจุบัน ทำให้ต้องเสนอขอเพิ่มงบในส่วนขอการโยกย้ายผู้บุกรุกที่เดิมตั้งไว้ประมาณ 70ล้านบาทและจะประสานกับฝ่ายพัสดุกรมบัญชีกลางเพื่อขอว่าจ้างผู้รับเหมาโดยวิธีพิเศษในการโยกย้ายและรื้อถอนด้วย
ส่วนความคืบหน้าในส่วนของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้านั้น นายประภัสร์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำตอบรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ที่ข้อดูข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุปจากนั้นถึงจะดำเนินการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคได้ภายในเดือนเมษายนนี้
สำหรับงานควบคุมงานก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต มูลค่าสัญญา 1,168,433,400 บาท และ 676,762,500 เยน และควบคุมงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน มูลค่าสัญญา 89,863,712 บาท
ครม.เห็นชอบเพิ่มค่าเวนคืนทางด่วนศรีรัชอีก 605 ลบ.
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.วานนี้(26 มี.ค.) เห็นชอบขยายกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 หรือทางพิเศษศรีรัช ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพิ่มเติมอีก 605 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมดที่กทพ.ต้องรับภาระ 31,300 ล้านบาท เนื่องจากไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินโดยล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.55 ได้เบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 31,299.58 ล้านบาท คงเหลือเงินอยู่เพียง 420,000 บาท
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังลงนามสัญญาจ้างงานบริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต กับกลุ่มบริษัท TEAM Association วานนี้ (26 มี.ค.) ว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1(สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) และสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) นั้น
ล่าสุดผู้รับเหมาก่อสร้างได้เข้าไปในพื้นที่แล้ว ซึ่งสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ผู้รับเหมาได้เริ่มการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา และจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ตามสัญญา ทั้งนี้ได้มีการปรับรูปแบบการก่อสร้างเล็กน้อย โดยเพิ่มราง จาก 3 Track เป็น 4 Track เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมืองสายสีแดงและแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) ซึ่งยอมรับว่างอาจจะกระทบต่องบประมาณในการก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้นโดยจะมีการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
แต่จากการเพิ่มรางที่ออกแบบไว้จากเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างให้ล่าช้าออกไป ส่วนเสาและตอม่อโครงการโอปเวลล์เดิมนั้น จากการตรวจสอบพบว่า สามารถนำมาใช้ได้ประมาณ 50 %ซึ่งฐานรากของตอม่อโฮปเวลล์ที่ออกแบบไว้มีความแข็งแรงเพียงพอ โดยจะมีการทดสอบความแข็งแรงเพื่อความปลอดภัยอีกครั้งก่อนก่อสร้างแน่นอน
ทั้งนี้ จากการสำรวจล่าสุด ยังพบว่าผู้บุกรุกแนวก่อสร้างของรถไฟสายสีแดงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิมช่วงที่เริ่มออกแบบและสำรวจพบมีผู้บุกรุกประมาณ 500 กว่าหลังคาเรือนเพิ่มเป็นกว่า 1,000 หลังคาเรือนในปัจจุบัน ทำให้ต้องเสนอขอเพิ่มงบในส่วนขอการโยกย้ายผู้บุกรุกที่เดิมตั้งไว้ประมาณ 70ล้านบาทและจะประสานกับฝ่ายพัสดุกรมบัญชีกลางเพื่อขอว่าจ้างผู้รับเหมาโดยวิธีพิเศษในการโยกย้ายและรื้อถอนด้วย
ส่วนความคืบหน้าในส่วนของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้านั้น นายประภัสร์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำตอบรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ที่ข้อดูข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุปจากนั้นถึงจะดำเนินการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคได้ภายในเดือนเมษายนนี้
สำหรับงานควบคุมงานก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต มูลค่าสัญญา 1,168,433,400 บาท และ 676,762,500 เยน และควบคุมงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน มูลค่าสัญญา 89,863,712 บาท
ครม.เห็นชอบเพิ่มค่าเวนคืนทางด่วนศรีรัชอีก 605 ลบ.
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.วานนี้(26 มี.ค.) เห็นชอบขยายกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 หรือทางพิเศษศรีรัช ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพิ่มเติมอีก 605 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมดที่กทพ.ต้องรับภาระ 31,300 ล้านบาท เนื่องจากไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินโดยล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.55 ได้เบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 31,299.58 ล้านบาท คงเหลือเงินอยู่เพียง 420,000 บาท