ศูนย์ข่าวหาดใหญ่-มือดีแขวนป้าย "นครรัฐปัตตานี" ริมถนนสาย 42 ปัตตานี-หาดใหญ่ 8 จุดในพื้นที่นาประดู่อีก 2 คาดฝีมือแนวร่วมชุดเดียวกับที่เคยแขวนธงชาติเสือเหลือง เชื่อต้องการปั่นกระแสในช่วงที่รัฐบาลเตรียมเจรจา BRN รอบ 2 "ภราดร" เผยได้รายชื่อ 15 คนนำทีมถก BRN แล้ว แย้มดึงภาคประชาสังคมร่วมด้วย ออกตัวขออุบชื่อเป็นความลับ หวั่นไม่ปลอดภัย โวต่อสายคุยทุกกลุ่มแล้ว แต่ยังขาด “สะแปอิง บาซอ-มะแซ อุเซ็ง”
วานนี้ (25 มี.ค.) พ.ต.อ.ยุคล ประสาทนานนท์ ผกก.สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดเข้าตรวจสอบริมถนนสาย 418 ปัตตานี-ยะลา หลังมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีนำป้ายผ้าสีขาวที่มีข้อความว่า “สันติภาพ เอกภาพ นครรัฐปัตตานี” มาแขวนไว้กับต้นไม้ริมถนนตลอดเส้นทาง รวมไปถึงสาย 42 ปัตตานี-หาดใหญ่ รวมแล้ว 8 จุดโดยก่อนที่จะเก็บผ้าดังกล่าว ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดได้เข้าตรวจสอบก่อนว่าจะเป็นแผนลวงหรือไม่ เพื่อป้องกันเหตุระเบิด
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในพื้นที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ ได้มีการแขวนป้ายลักษณะเดียวกันอีก 2 จุด คือ บริเวณตลาดใหม่นาประดู่ และหน้าโรงเรียนป่าพ้อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เก็บผ้าดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือกลุ่มแนวร่วมชุดใหม่ และอาจจะเป็นชุดเดียวกับที่เคยนำธงชาติมาเลเซียมาปักไว้ เพื่อสร้างความวุ่นวาย และสร้างกระแสในช่วงที่จะมีการเจรจากับกลุ่ม BRN ในวันที่ 28 มี.ค.ที่จะถึงนี้
ขณะที่ช่วงเวลา 10.50 น.ได้เกิดเหตุคนร้าย 2 คนขับขี่รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้านเสียชีวิตคาที่ 1 ราย เหตุเกิดที่บนถนนสายนาเกตุ-แม่ลาน หมู่ 7 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี จากการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบศพผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือนางนุกูล ปานแดง อายุ 33 ปี ชาวบ้านในหมู่ 1 ต.ควนนูรี อ.โคกโพธิ์ สภาพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มม.เสียชีวิตคาที่
ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่พบปลอกกระสุนขนาด 9 มม.จำนวน 4 ปลอก จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ ยังพบใบปลิวตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐ และกล่องวัตถุต้องสงสัยด้วย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบหวังเป็นการลวงทำร้ายเจ้าหน้าที่ ส่วนสาเหตุเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ไม่สงบของแนวร่วมในพื้นที่
**คลอด15รายชื่อคณะเจรจาวันนี้
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจากับกลุ่มตัวแทนแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 28 มี.ค.ที่มาเลเซียว่า จากการได้ลงไปที่ จ.ยะลา เมื่อวันที่ 24 มี.ค. โดยการประสานของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งได้หารือร่วมกับผู้นำศาสนา ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่เพื่อคัดเลือกตัวแทนที่มาจากภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อจัดหาผู้แทนร่วมคณะหารือ 15 คนที่จะไปเจรจาที่มาเลเซียในวันที่ 28 มี.ค. ในประเด็นเรื่อง การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยองค์ประกอบของคณะที่จะไปเจรจา 15 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ข้าราชการประจำ ประกอบด้วย สมช. ศอ.บต. กระทรวงกลาโหม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ตำรวจสันติบาล กระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะส่งตัวแทนไปร่วมเจรจา รวมถึงสถาบันพระปกเกล้าด้วย รวมแล้วประมาณ 6-7 คน สำหรับอีก 5-6 คนจะเป็นภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้นำศาสนา และภาควิชาการในพื้นที่ ซึ่งไม่เกินวันที่ 26 มี.ค. จะได้รายชื่อที่จะไปร่วมเจรจาในส่วนของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ โดยขอปิดรายชื่อไว้เป็นความลับ เนื่องจากหากเปิดเผยรายชื่อไปอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยได้ แต่จะไม่มีกลุ่มการเมืองไปร่วมการเจรจาในครั้งนี้
ส่วนตัวแทนคณะฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบที่จะมาร่วมเจรจาร่วมกับกลุ่มบีอาร์เอ็นมีนั้น ล่าสุดจากการประสานงานคาดว่าจะมีกลุ่มอื่นมาเพิ่ม แต่ยังไม่ทั้งหมด เพราะจะต้องพิจารณากลุ่มที่จะเข้ามาร่วมด้วยว่ามีความจำเป็นมากน้อยขนาดไหน แนวโน้มคาดว่าจะมีกลุ่มพูโลบางส่วน และกลุ่มอื่นอีก แต่ความชัดเจนคงจะทราบในวันที่ 28 มี.ค.นี้
"ขณะนี้มีการประสานงานไปทุกกลุ่มแล้ว ส่วนนายสะแปอิง บาซอ กับนายมะแซ อุเซ็งนั้นคงไม่ยกระดับไปถึงขนาดนั้น เพราะในชั้นนี้ยังเป็นการพูดคุยเพื่อสร้างและยกระดับความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อนำไปสู่สันติภาพก่อน และได้มีการส่งสัญญาณไปถึงกองกำลังฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่แล้ว แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวแทนฝ่ายปฏิบัติการมาร่วมหารือในครั้งนี้และคนที่มาร่วมหารือก็เป็นตัวแทนของทั้ง 2 คน"
รายงานข่าวแจ้งว่าตัวแทนที่จะร่วมในการเจรจาวันที่ 28 มี.ค.นี้ เบื้องต้นมีแล้ว 5 รายที่ชัดเจน คือ 1.พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. 2.พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม 3.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. 4.พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และ 5.พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5)
**เชื่อโจรบึ้มหวังแสดงศักยภาพ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่า เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น เขาต้องการแสดงศักยภาพ เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะในพื้นที่มีปัญหาทับซ้อนกันหลายปัญหา อย่าเพิ่งไปวิตกว่า การพูดคุยจะได้ผลหรือไม่ ขอให้ทำไปก่อน ทั้งนี้ ขอให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้วย เพราะเขาต้องทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กดดัน และไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากมีเรื่องศาสนา เราใช้ความรุนแรงมากเกินไปก็ไม่ได้ เพราะจะมีผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม อย่าให้เครดิตกับพวกเหล่านี้มากนัก ต้องให้เครดิตกับเจ้าหน้าที่ของเราที่สามารถทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามบานปลายไปสู่สากลได้
"อย่ามาพูดว่า การพูดคุยตอนเช้า แล้วตอนเย็นจะยุติ หรือทำแค่ 1-2 วันจะจบ อย่าคิดอย่างนั้น ต้องให้เวลาเขาบ้าง ในการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติ ทุกคนต้องพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานหลายสิบปี และผมยังไม่เห็นกรอบการพูดคุยของเลขาธิการ สมช.ในวันที่ 28 มี.ค. แต่ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมพูดคุยอยู่แล้ว โดยในครั้งแรกที่ไปพูดคุย แค่ให้รู้จักกันก่อนว่า ใครเป็นใคร พวกไหนอย่างไร มีอำนาจจริงหรือไม่ ครั้งที่ 2 เป็นการแสดงความเชื่อมันซึ่งกันและกันว่า สามารถจะลดความรุนแรงตรงไหนได้บ้าง ซึ่งบางครั้ง บางกลุ่มอาจจะไม่เชื่อและก่อความรุนแรง ซึ่งต้องรอดูต่อไป" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**"อังคณา"ร่วมทีม สมช.เจรจา BRN
นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพในภาคใต้ กล่าวว่า ได้รับการทาบทามจากผู้เกี่ยวข้องให้ร่วมเป็น 1 ใน 15 คณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่เข้าร่วมพูดคุยกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น เพื่อนำไปสู่กระบวนการร่วมสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ซึ่งหากมีมติให้ความไว้วางใจเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการอันสำคัญครั้งนี้ ก็พร้อมทำหน้าที่ในฐานะผู้ที่มุ่งหวังเห็นแสงสว่างของสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างเต็มความสามารถ
"ส่วนตัวเชื่อว่าประเด็นหลักและสาระสำคัญของการพูดคุยในวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะเป็นเรื่องของการลดสถิติความรุนแรง รวมถึงการหยุดความรุนแรงกับกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ และหยุดระเบิดรุนแรงขนาดใหญ่ในเขตเมือง ซึ่งหลังจากการพูดคุยแล้วคงจะได้เห็นทิศทางและแนวโน้มรวมถึงปริมาณของสถานการณ์ในพื้นที่เด่นชัดขึ้นว่าการพูดคุยมีผลขนาดไหนและจะเป็นในไปในทิศทางใด ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดกรอบแนวทางการพูดคุยในรอบต่อไปด้วย"
นางอังคณากล่าวว่า ในการหารืออยากเห็นทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยในประเด็นของเรื่องกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะความอยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการขออภัยโทษให้กับผู้ต้องหาในอดีต หรือการนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกออกหมายจับในคดีความไม่สงบ จำเป็นต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ แล้ว ยังจำเป็นต้องมองในเรื่องของความเป็นธรรมกับครอบครัวเหยื่อหรือครอบครัวผู้ถูกกระทำด้วย โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นเด็กและสตรี ซึ่งบางรายวันนี้ชีวิตดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น มิติของสถานการณ์ในพื้นที่จำเป็นต้องมองกันรอบด้านทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สมช.หรือบีอาร์เอ็น ก็ตาม
ทั้งนี้ สิ่งที่อยากให้ทั้ง สมช.และ บีอาร์เอ็น พูดคุยกันมากที่สุดในรอบนี้ หรือรอบต่อไป คือ เรื่องความเป็นธรรม, เศรษฐกิจปากท้อง, ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินในกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ คุณภาพชีวิตที่ทุกคนสะท้อนให้กับการทำงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ร่วม200เวทีของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพในภาคใต้ ในช่วงที่ผ่านมา
"ทุกคนล้วนคาดหวังให้ชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุขกับกระบวนการพูดคุยระหว่าง สมช.กับบีอาร์เอ็นในครั้งนี้ ดังนั้นต้องไม่ลืมว่านอกจากประเด็นเรื่องของการกระจายอำนาจการปกครองในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งสอดรับกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ตามที่เป็นข่าวมาหลายวันตลอดช่วงที่ผ่านมา อยากให้พูดถึงเรื่องความยุติธรรม ปัญหาปากท้องเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่แห่งนี้บ้างว่าทั้งสองฝ่ายมีแผนหรือยุทธศาสตร์พื้นฐานการพัฒนาร่วมกันอย่างไร"นางอังคณากล่าว
วานนี้ (25 มี.ค.) พ.ต.อ.ยุคล ประสาทนานนท์ ผกก.สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดเข้าตรวจสอบริมถนนสาย 418 ปัตตานี-ยะลา หลังมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีนำป้ายผ้าสีขาวที่มีข้อความว่า “สันติภาพ เอกภาพ นครรัฐปัตตานี” มาแขวนไว้กับต้นไม้ริมถนนตลอดเส้นทาง รวมไปถึงสาย 42 ปัตตานี-หาดใหญ่ รวมแล้ว 8 จุดโดยก่อนที่จะเก็บผ้าดังกล่าว ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดได้เข้าตรวจสอบก่อนว่าจะเป็นแผนลวงหรือไม่ เพื่อป้องกันเหตุระเบิด
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในพื้นที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ ได้มีการแขวนป้ายลักษณะเดียวกันอีก 2 จุด คือ บริเวณตลาดใหม่นาประดู่ และหน้าโรงเรียนป่าพ้อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เก็บผ้าดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือกลุ่มแนวร่วมชุดใหม่ และอาจจะเป็นชุดเดียวกับที่เคยนำธงชาติมาเลเซียมาปักไว้ เพื่อสร้างความวุ่นวาย และสร้างกระแสในช่วงที่จะมีการเจรจากับกลุ่ม BRN ในวันที่ 28 มี.ค.ที่จะถึงนี้
ขณะที่ช่วงเวลา 10.50 น.ได้เกิดเหตุคนร้าย 2 คนขับขี่รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้านเสียชีวิตคาที่ 1 ราย เหตุเกิดที่บนถนนสายนาเกตุ-แม่ลาน หมู่ 7 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี จากการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบศพผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือนางนุกูล ปานแดง อายุ 33 ปี ชาวบ้านในหมู่ 1 ต.ควนนูรี อ.โคกโพธิ์ สภาพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มม.เสียชีวิตคาที่
ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่พบปลอกกระสุนขนาด 9 มม.จำนวน 4 ปลอก จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ ยังพบใบปลิวตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐ และกล่องวัตถุต้องสงสัยด้วย ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบหวังเป็นการลวงทำร้ายเจ้าหน้าที่ ส่วนสาเหตุเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ไม่สงบของแนวร่วมในพื้นที่
**คลอด15รายชื่อคณะเจรจาวันนี้
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจากับกลุ่มตัวแทนแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 28 มี.ค.ที่มาเลเซียว่า จากการได้ลงไปที่ จ.ยะลา เมื่อวันที่ 24 มี.ค. โดยการประสานของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งได้หารือร่วมกับผู้นำศาสนา ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่เพื่อคัดเลือกตัวแทนที่มาจากภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อจัดหาผู้แทนร่วมคณะหารือ 15 คนที่จะไปเจรจาที่มาเลเซียในวันที่ 28 มี.ค. ในประเด็นเรื่อง การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยองค์ประกอบของคณะที่จะไปเจรจา 15 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ข้าราชการประจำ ประกอบด้วย สมช. ศอ.บต. กระทรวงกลาโหม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ตำรวจสันติบาล กระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะส่งตัวแทนไปร่วมเจรจา รวมถึงสถาบันพระปกเกล้าด้วย รวมแล้วประมาณ 6-7 คน สำหรับอีก 5-6 คนจะเป็นภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้นำศาสนา และภาควิชาการในพื้นที่ ซึ่งไม่เกินวันที่ 26 มี.ค. จะได้รายชื่อที่จะไปร่วมเจรจาในส่วนของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ โดยขอปิดรายชื่อไว้เป็นความลับ เนื่องจากหากเปิดเผยรายชื่อไปอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยได้ แต่จะไม่มีกลุ่มการเมืองไปร่วมการเจรจาในครั้งนี้
ส่วนตัวแทนคณะฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบที่จะมาร่วมเจรจาร่วมกับกลุ่มบีอาร์เอ็นมีนั้น ล่าสุดจากการประสานงานคาดว่าจะมีกลุ่มอื่นมาเพิ่ม แต่ยังไม่ทั้งหมด เพราะจะต้องพิจารณากลุ่มที่จะเข้ามาร่วมด้วยว่ามีความจำเป็นมากน้อยขนาดไหน แนวโน้มคาดว่าจะมีกลุ่มพูโลบางส่วน และกลุ่มอื่นอีก แต่ความชัดเจนคงจะทราบในวันที่ 28 มี.ค.นี้
"ขณะนี้มีการประสานงานไปทุกกลุ่มแล้ว ส่วนนายสะแปอิง บาซอ กับนายมะแซ อุเซ็งนั้นคงไม่ยกระดับไปถึงขนาดนั้น เพราะในชั้นนี้ยังเป็นการพูดคุยเพื่อสร้างและยกระดับความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อนำไปสู่สันติภาพก่อน และได้มีการส่งสัญญาณไปถึงกองกำลังฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่แล้ว แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวแทนฝ่ายปฏิบัติการมาร่วมหารือในครั้งนี้และคนที่มาร่วมหารือก็เป็นตัวแทนของทั้ง 2 คน"
รายงานข่าวแจ้งว่าตัวแทนที่จะร่วมในการเจรจาวันที่ 28 มี.ค.นี้ เบื้องต้นมีแล้ว 5 รายที่ชัดเจน คือ 1.พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. 2.พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม 3.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. 4.พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และ 5.พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5)
**เชื่อโจรบึ้มหวังแสดงศักยภาพ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่า เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น เขาต้องการแสดงศักยภาพ เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะในพื้นที่มีปัญหาทับซ้อนกันหลายปัญหา อย่าเพิ่งไปวิตกว่า การพูดคุยจะได้ผลหรือไม่ ขอให้ทำไปก่อน ทั้งนี้ ขอให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้วย เพราะเขาต้องทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กดดัน และไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากมีเรื่องศาสนา เราใช้ความรุนแรงมากเกินไปก็ไม่ได้ เพราะจะมีผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม อย่าให้เครดิตกับพวกเหล่านี้มากนัก ต้องให้เครดิตกับเจ้าหน้าที่ของเราที่สามารถทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามบานปลายไปสู่สากลได้
"อย่ามาพูดว่า การพูดคุยตอนเช้า แล้วตอนเย็นจะยุติ หรือทำแค่ 1-2 วันจะจบ อย่าคิดอย่างนั้น ต้องให้เวลาเขาบ้าง ในการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติ ทุกคนต้องพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานหลายสิบปี และผมยังไม่เห็นกรอบการพูดคุยของเลขาธิการ สมช.ในวันที่ 28 มี.ค. แต่ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมพูดคุยอยู่แล้ว โดยในครั้งแรกที่ไปพูดคุย แค่ให้รู้จักกันก่อนว่า ใครเป็นใคร พวกไหนอย่างไร มีอำนาจจริงหรือไม่ ครั้งที่ 2 เป็นการแสดงความเชื่อมันซึ่งกันและกันว่า สามารถจะลดความรุนแรงตรงไหนได้บ้าง ซึ่งบางครั้ง บางกลุ่มอาจจะไม่เชื่อและก่อความรุนแรง ซึ่งต้องรอดูต่อไป" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**"อังคณา"ร่วมทีม สมช.เจรจา BRN
นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพในภาคใต้ กล่าวว่า ได้รับการทาบทามจากผู้เกี่ยวข้องให้ร่วมเป็น 1 ใน 15 คณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่เข้าร่วมพูดคุยกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น เพื่อนำไปสู่กระบวนการร่วมสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ซึ่งหากมีมติให้ความไว้วางใจเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการอันสำคัญครั้งนี้ ก็พร้อมทำหน้าที่ในฐานะผู้ที่มุ่งหวังเห็นแสงสว่างของสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างเต็มความสามารถ
"ส่วนตัวเชื่อว่าประเด็นหลักและสาระสำคัญของการพูดคุยในวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะเป็นเรื่องของการลดสถิติความรุนแรง รวมถึงการหยุดความรุนแรงกับกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ และหยุดระเบิดรุนแรงขนาดใหญ่ในเขตเมือง ซึ่งหลังจากการพูดคุยแล้วคงจะได้เห็นทิศทางและแนวโน้มรวมถึงปริมาณของสถานการณ์ในพื้นที่เด่นชัดขึ้นว่าการพูดคุยมีผลขนาดไหนและจะเป็นในไปในทิศทางใด ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดกรอบแนวทางการพูดคุยในรอบต่อไปด้วย"
นางอังคณากล่าวว่า ในการหารืออยากเห็นทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยในประเด็นของเรื่องกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะความอยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการขออภัยโทษให้กับผู้ต้องหาในอดีต หรือการนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกออกหมายจับในคดีความไม่สงบ จำเป็นต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ แล้ว ยังจำเป็นต้องมองในเรื่องของความเป็นธรรมกับครอบครัวเหยื่อหรือครอบครัวผู้ถูกกระทำด้วย โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นเด็กและสตรี ซึ่งบางรายวันนี้ชีวิตดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น มิติของสถานการณ์ในพื้นที่จำเป็นต้องมองกันรอบด้านทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สมช.หรือบีอาร์เอ็น ก็ตาม
ทั้งนี้ สิ่งที่อยากให้ทั้ง สมช.และ บีอาร์เอ็น พูดคุยกันมากที่สุดในรอบนี้ หรือรอบต่อไป คือ เรื่องความเป็นธรรม, เศรษฐกิจปากท้อง, ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินในกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ คุณภาพชีวิตที่ทุกคนสะท้อนให้กับการทำงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ร่วม200เวทีของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพในภาคใต้ ในช่วงที่ผ่านมา
"ทุกคนล้วนคาดหวังให้ชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุขกับกระบวนการพูดคุยระหว่าง สมช.กับบีอาร์เอ็นในครั้งนี้ ดังนั้นต้องไม่ลืมว่านอกจากประเด็นเรื่องของการกระจายอำนาจการปกครองในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งสอดรับกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ตามที่เป็นข่าวมาหลายวันตลอดช่วงที่ผ่านมา อยากให้พูดถึงเรื่องความยุติธรรม ปัญหาปากท้องเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่แห่งนี้บ้างว่าทั้งสองฝ่ายมีแผนหรือยุทธศาสตร์พื้นฐานการพัฒนาร่วมกันอย่างไร"นางอังคณากล่าว